วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร"แนะเทคนิคการโค้ช แก่พระสงฆ์นักเผยแผ่ทั่วประเทศ ภายใต้หลักสูตร "Coaching For Peace"



วันที่ ๑๖  พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่วัดนครสวรรค์  จ.นครสวรรค์  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เปิดเผยว่า เมื่อคนในสังคมทุกข์ที่สุด พระสงฆ์พระนักเผยแผ่รุ่นใหม่จะออกแบบมรรควิธีอย่างไร? ให้สามารถตอบโจทย์ กลุ่มเป้าหมาย โค้ชเป็นเครื่องมือหนึ่งสามารถออกจากความทุกข์ได้ได้รับนิมนต์เพื่อพัฒนาโค้ชพระสงฆ์นักเผยแผ่จากทั่วประเทศ ภายใต้หลักสูตร "Coaching For Peace" ซึ่งจัดฝึกอบรม ณ วัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิจัยของพระวุทธ สุเมโธ PCC ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยจัดขึ้นระหว่าง ๑๔ - ๑๘ เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๖๖  มีประเด็นการโค้ชชีวิต ๔ ประการ ประกอบด้วย 

๑)ทุกข์สุขของชีวิต โดยมองว่าชีวิตมนุษย์มักจะเป็นชีวิตที่ดราม่า โดยมีความทุกข์และสุขสลับกันไปมา แต่เวลามนุษย์มีความทุกข์สามารถหา Choice  ซึ่งเป็นทางเลือกของชีวิตได้  แม้จะเจอยุคที่มีความเปราะบาง สิ่งสำคัญต้องสร้างความตระหนักว่า "รู้ทุกข์แต่ไม่เป็นทุกข์" จึงสามารถบริหารความทุกข์ผ่านการส่งต่อ แปรเปลี่ยน และก้าวข้าม ซึ่งสามารถถอดบทเรียนผู้เผชิญกับความทุกข์ในสมัยพุทธกาล มีทุกข์ที่สุดในชีวิต ประกอบด้วย "การสูญเสีย ใช้ความรุนแรง  มิจฉาทิฐิ และสติหลุดเป็นบ้า" โดยสภาวะจิตหนึ่งทุกคนสามารถฆ่าตนเองและคนอื่นได้  ซึ่งอะไรที่เราไม่สามารถจัดการได้จงจัดการใจของเราเอง 

๒) อริยสัจโมเดล  วิเคราะห์ขั้นทุกข์ซึ่งเป็นปัญหาของแต่ละบุคคล  วิเคราะห์สมุทัยเป็นสาเหตุของความทุกข์ใต้ภูเขาน้ำแข็ง วิเคราะห์นิโรธเป็นการมองเป้าหมายในการโค้ช และวิเคราะห์มรรคเป็นวิธีการที่เป็นสัมมาวิธีการ เป็นวิธีการที่ถูกต้อง โดยมองผ่านอริยสัจโมเดลจะทำให้หา "มรรควิธี" ที่เป็นสัมมาทิฐิ  จึงขอชื่นชมหลวงพี่วุทธในการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพตามแนวทางบันได ๙ ขั้น โดยพระสงฆ์และสังคมจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในงานวิจัยชิ้นนี้  เพราะสามารถนำไปโค้ชบุคคลที่มีความทุกข์มีความเปราะบาง ผ่าน "ธรรมะสะอาด ฉลาดประยุกต์  สนุกมีสาระ"  

๓) เทคนิคการโค้ช โดยการโค้ชเป็นเครื่องมือหนึ่งในการออกจากความทุกข์  โดยไม่มีศาสตร์ใดดีที่สุดมีแต่ศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุด แต่เครื่องมือหนึ่งที่พระนักเผยแผ่รุ่นใหม่จะต้องสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและจำเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคเปราะบาง คือ เทคนิคการโค้ช เพราะการโค้ชเป็นเครื่องมือที่สร้างการตระหนักรู้ด้วยตนเอง ผ่าน "การฟัง การถาม การสะท้อน และการชื่นชม" สามารถค้นพบและหาคำตอบด้วยตนเอง 

๔)พระนักเผยแผ่  งต้องระดับจากพระสงฆ์นักเผยแผ่เป็นพระสงฆ์โค้ชสติ เป็นการปรับวิธีการที่หลากหลายเพราะกลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลาย ใช้วิธีการเดิมๆ คงไม่ตอบโจทย์ จึงต้องเรียนรู้เครื่องมือที่หลากหลาย จึงย้ำว่า วิธีการสำคัญกว่าเป้าหมาย  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รูปแบบการเรียนภาษาบาลีของพระสงฆ์เมียนมา ที่คณะสงฆ์ไทยจะนำมาเป็นต้นแบบ

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568  ที่ห้องประชุมโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระปิ่นเกล้า ชั้น 2 วัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พระธรรมว...