วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

จังหวัดนครพนมสืบสานพระราชปณิธาน "นาหว้าโมเดล" ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนางัว

  


จังหวัดนครพนมสืบสานพระราชปณิธาน "นาหว้าโมเดล" ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนางัว สนับสนุนให้เยาวชนรุ่นใหม่สืบสานการทอผ้าพื้นเมืองให้คงไว้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล  

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567  นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนมได้ร่วมสืบสานพระราชปณิธานโครงการ นาหว้าโมเดล ในโอกาสครบรอบ 50 ปี โครงการศิลปาชีพ โดยได้มอบหมายให้นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยผู้นำ อช. ภาคีเครือข่าย กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพบปะให้กำลังใจกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนางัว พร้อมติดตามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโรงเรือนเลี้ยงไหมและโรงเรือนองค์ความรู้หม่อนไหม ณ แปลงฟื้นฟูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม  

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยการยกระดับและพัฒนาชุมชนต้นแบบการทอผ้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชนบ้านนาหว้า เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้ทดลองขายผลิตภัณฑ์ และต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชนบ้านนาหว้า ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสู่สากล การลงพื้นที่พบปะและให้กำลังใจในครั้งนี้พัฒนาการจังหวัดนครพนมได้ให้แนวทางการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผ้าถิ่นไทย มีการอนุรักษ์ลายผ้าโบราณ ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติให้สวยงามพร้อมทั้งสร้างสรรค์ลายผ้าให้เป็นสากล เพื่อให้ได้รับความนิยม สร้างทางเลือกที่หลากหลาย สำหรับกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้รายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้น 

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวต่อว่า จังหวัดนครพนมยังมีนโยบายส่งเสริมการทอผ้าลายมุก ซึ่งเป็นแบบลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครพนม นำไปประยุกต์ร่วมกับลายขอพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม พัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมด้านผ้าทอมือจังหวัดนครพนม ที่มีมายาวนานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน อีกทั้งสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ได้สืบสานและอนุรักษ์การทอผ้าพื้นเมืองให้คงไว้เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงตั้งพระทัยมั่นในการ สืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จย่าของพระองค์ ด้วยพระวิสัยทัศน์และพระอัจฉริยภาพ ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน พร้อมส่งเสริมผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัยและทุกโอกาส 

"นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาทรงมีพระดำริให้ฟื้นฟูการเลี้ยงหนอนไหม สำหรับโครงการนาหว้าโมเดล เพื่อให้ช่างทอผ้าสามารถนำเส้นใยจากหนอนไหมไปผลิตผืนผ้าได้ทุกเมื่อ ตามต้องการ โดยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรเส้นใย เพื่อให้ช่างทอผ้าสามารถพึ่งพาตนเองในด้านการสร้างสรรค์ผืนผ้าตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำได้อย่างยั่งยืน โดยจังหวัดนครพนมได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมโรงเรือนเลี้ยงไหมและโรงเรือนองค์ความรู้หม่อนไหม ณ แปลงฟื้นฟูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตามโครงการสืบสานพระราชปณิธาน "นาหว้าโมเดล" และในโอกาสครบรอบ 50 ปี โครงการศิลปาชีพที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้สนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ระยะทาง 2,700 เมตร เพื่อให้พี่น้องประชาชน และเครือข่ายที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ได้รับความสะดวกสบายจากการใช้ทางสัญจร โดยขณะนี้ได้ก่อสร้างถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว" นายวันชัยฯ กล่าวทิ้งท้าย

 

#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood

 


รบ.อินเดียหนุนสร้างศูนย์ดาไลลามะเพื่อภูมิปัญญาทิเบตและอินเดียโบราณพุทธคยา 76 ไร่



เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567   เพจตุ๊ปู พระฉัตรนเรศร์  ได้โพสต์ข้อความว่า โครงการสร้างศูนย์ดาไลลามะเพื่อภูมิปัญญาทิเบตและอินเดียโบราณ พุทธคยา The Dalai Lama Centre for Tibetan and Indian Ancient Wisdom द दलाई लामा सेंटर फॉर तिब्बती और इंडियन एनशिएंट विस्डम  https://maps.app.goo.gl/YdaxFoPgY2w84Snw7  โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางของอินเดีย รัฐบาลแห่งรัฐพิหาร รัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ทิเบต The Dalai Lama Trust ลามะ โซปา รินโปเช ผู้อำนวยการฝ่ายจิตวิญญาณของ FPMT และ Ven. Roger Kunsang ตลอดจนองค์กร FPMT อื่นๆ และสมาชิกโครงการ Maitreya Project



ศูนย์แห่งนี้สร้างขึ้นบนพื้นที่ 30 เอเคอร์ (ราว 76 ไร่) เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างสถาบันพระพุทธศาสนานานาชาติที่ส่งเสริมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ในเรื่องความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ ในพื้นที่นี้ได้รับพรอย่างลึกซึ้งจากพระพุทธศาสนา บนดินแดนแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หรือ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ แห่งนี้

ดีอี เตือนภัย คนรักผ้าไทย ระวังเพจเฟชบุ๊คปลอม มิจฉาชีพหลอก ตั้งราคาสินค้าถูกเกินจริง



เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567     นางสาววงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอี) กล่าวว่า ดีอี ได้รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนกลุ่มร้านค้าผ้าไหมไทย โดยคุณละมุล เจ้าของร้าน ชนวีร์ผ้าไหมไทย จังหวัดชัยภูมิ ได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันร้านผ้าไทยทั่วทั้งประเทศได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพออนไลน์ในรูปแบบเดียวกัน คือ

1) มิจฉาชีพได้แอบนำรูปผ้าไทย หรือเสื้อผ้าทางร้านไปแอบอ้างขายในเพจปลอมที่สร้างขึ้น โดยมีการตั้งราคาขายที่ถูกกว่าราคาร้านทั่วไปหลายเท่า เพื่อหลอกจูงใจให้คนหลงเชื่อ และโอนเงิน ก่อนจะทำการปิดเพจหนี

2) มิจฉาชีพจะทำการยิงแอดโฆษณาเพื่อหลอกล่อกลุ่มผู้ซื้อ โดยเพจปลอมจะมีผู้ติดตามและจำนวนผู้กดไลค์โพสต์จำนวนมาก ทำให้ผู้ชื้อหลงเชื่อว่าเป็นร้านค้าจริงที่ได้รับความนิยม

3) มิจฉาชีพจะทำการลอกเลียนแบบเพจร้านที่มีชื่อเสียง โดยปัจจุบันการไลฟ์ก็สามารถนำคลิปจากเพจจริงมาไลฟ์พร้อมกัน เพื่อสร้างความสับสนให้แก่ผู้ซื้อ

4) กลุ่มมิจฉาชีพจะมุ่งเป้าในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุที่นิยมการสวมใส่ผ้าไทย และมีกำลังทรัพย์ในการซื้อผ้าผืนหรือชุดผ้าไทยจากทั่วประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อร้านค้าและผู้ขาย

เพื่อป้องกันความเสียหายกับประชาชน ดีอี ได้ประสานงานกับพันธมิตรในการปิดกั้นเพจปลอมแล้ว 

“ดีอีขอให้ท่านที่สนใจจะสั่งซื้อผ้าไทยผ่านออนไลน์ ขอให้ท่านตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเพจ ก่อนที่ท่านจะกดคำสั่งซื้อสินค้า และขอให้ท่านพิจารณาว่าราคาสินค้าสอดคล้องกับสินค้าที่ท่านจะสั่งซื้อหรือไม่เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ หากท่านมีความสงสัยว่าร้านค้าออนไลน์ที่ท่านสินค้าที่ท่านสั่งซื้อเป็นสินค้าปลอม หรือร้านค้าปลอม ขอให้ท่านแจ้งไปยังศูนย์แก้ปัญหาหลอกลวงทางออนไลน์ หรือ AOC 1441 เพื่อตรวจสอบและป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางออนไลน์” นางสาววงศ์อะเคื้อ กล่าวว่า ดีอีจะดำเนินงานร่วมกับพันธมิตร ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้ประชาชนปลอดภัยจากภัยออนไลน์มากที่สุด


ไอแบงก์ เข้าเยี่ยมแสดงความคารวะและยินดี นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี คนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย



วันที่ 31 มกราคม 2567 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) นำโดย นายระบิล พรพัฒน์กุล กรรมการและประธานอนุกรรมการบริหาร นางอัมพร ปุรินทวรกุล กรรมการ นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล กรรมการ และดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.มะรอนิง สาแลมิง ประธานที่ปรึกษา นายสันติ เสือสมิง ที่ปรึกษา และนายเสนีย์ อยู่เป็นสุข ที่ปรึกษา เข้ามอบแจกันดอกไม้แสดงความคารวะและยินดีกับ นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี คนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย หลังจากได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา

นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี เป็นบุคคลที่มีคุณูปการด้านศาสนาอิสลามมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการเงินการธนาคารตามหลักชะรีอะฮ์ท่านถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ท่านดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษา (ด้านศาสนา) ตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 บุคคลแรกของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการธนาคารในปี 2546 จนถึงปี 2555 รวมระยะเวลา 9 ปี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับหลักการของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อให้การประกอบธุรกิจของธนาคารไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม จากนั้นท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการด้านการเงินอิสลาม ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นตำแหน่งล่าสุดก่อนได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ในปัจจุบัน

ในนามคณะกรรมการธนาคาร คณะผู้บริหารและพนักงาน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ขอร่วมแสดงความคารวะและยินดีกับท่านจุฬาราชมนตรี นายอรุณ บุญชม และอำนวยพรให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป และในโอกาสนี้ ท่านได้ขอพรให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ เพื่อความยั่งยืน เคียงข้างพี่น้องมุสลิมและชาวไทยทุกคนตลอดไป


ที่มา - เพจกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance

ส่งท้ายโครงการฯ พระธรรมยาตราพันกว่ารูปจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา และถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระธรรมกาย



วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567  หลวงพ่อทัตตชีโว เมตตาเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญสมาธิภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย ในโครงการธรรมยาตรา กตัญญูบูชามหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 12 โดยมีพระธรรมยาตรา จำนวน 1,140 รูป พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก 

โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอภิสรา เกษอินทร์ นายอำเภอคลองหลวง เป็นผู้แทนพสกนิกรเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายสุเทพ วงษ์แจ้ง นายกเทศมนตรีเมืองท่าโขลง และ รศ.(พิเศษ) ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ถวายเครื่องไทยธรรมแด่หลวงพ่อทัตตชีโว ประธานสงฆ์

พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ประชาสัมพันธ์โครงการธรรมยาตรา ปีที่ 12 กล่าวว่า ตลอดเดือนมกราคม พระธรรมยาตราทั้ง 1,140 รูป ดำเนินกิจวัตรตามบทฝึกพระใหม่ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน สถานศึกษา และประชาชนในพื้นที่จัดพิธีจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ถวายมหาสังฆทานแด่วัดในชุมชน รวม 368 วัด เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา, ทอดผ้าป่าบำรุงวัดในท้องถิ่น รวม 31 วัด, มอบทุนการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเยาวชนในชุมชน รวม 30 ทุน เป็นการปลูกฝังให้เยาวชนรักวัดในท้องถิ่นด้วยกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามหลัก “บวร” (บ้าน-วัด-โรงเรียน) การรณรงค์รักษา ศีล 5 ในหมู่ประชาชน เป็นต้น ซึ่งรูปแบบกิจกรรมทั้งหมดนี้ สอดคล้องกับโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หมู่บ้านรักษาศีล 5 ) ของคณะสงฆ์ไทย เพื่อนำบุญที่เกิดขึ้นน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ด้วย

สำหรับพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และจุดประทีปเพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี จัดให้มีขึ้นในพื้นที่อนุสรณ์สถานอันเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมา มาแล้ว 6 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ม.ค. ณ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) โลตัสแลนต์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อนุสรณ์สถานลำดับที่ 1 สถานที่เกิดด้วยรูปกายเนื้อ ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ม.ค. ณ อนุสรณ์สถานคลองบางนางแท่น จ.นครปฐม อนุสรณ์สถานลำดับที่ 2 สถานที่ตั้งมโนปณิธานบวชตลอดชีวิต ครั้งที่ 3 วันที่ 14 ม.ค. ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อนุสรณ์สถานลำดับที่ 3 สถานที่เกิดในเพศสมณะ ครั้งที่ 4 วันที่ 20 ม.ค. ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี อนุสรณ์สถานลำดับที่ 4 สถานที่เกิดด้วยกายธรรม ครั้งที่ 5 วันที่ 24 ม.ค. ณ อนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายครั้งแรก ครั้งที่ 6 ณ อาคารธรรมยาตรา กตัญญูบูชามหาปูชนียาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จ.กรุงเทพมหานคร สถานที่ค้นคว้าและเผยแผ่วิชชาธรรมกาย และ ครั้งนี้เป็นสุดท้าย ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี อนุสรณ์สถานลำดับที่ 7 สถานที่ขยายวิชชาธรรมกาย

โครงการธรรมยาตรา กตัญญูบูชามหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง เป็นพุทธประเพณีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-31 มกราคม ของทุกปี สามารถติดตามรายละเอียดโครงการฯ ได้ที่ www.ธรรมยาตรา.com, www.dhammakaya.net, www.gbnus.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร.02-831-1234


นางรองบุรีรัมย์สานพลัง "บวร" ปวารณา ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

 


นางรองบุรีรัมย์สานพลัง "บวร" ปวารณา ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่สู่วัดส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนและวัดปลอดบุหรี่ ประจำปี 2567 

เมื่อวันที่ 29-30 มกราคม พ.ศ. 2567 นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มอบหมายให้ นางรัชนีกร สวัสดิ์พูน ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธี ปวารณา สานพลัง บวร เพื่อขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่ สู่วัดส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนและวัดปลอดบุหรี่ ประจำปี 2567  ซึ่งคณะสงฆ์อำเภอนางรอง ร่วมกับ ฝ่ายปกครองท้องที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์  โรงพยาบาลนางรอง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ได้จัดขึ้น ณ วัดโพธาราม ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่  29 มกราคม  2567 สำหรับพระสงฆ์ พระสังฆาธิการ และไวยาวัจกร วัดในโซนตะวันออก จำนวน 51 วัด และ  วัดในโซนตะวันตก จำนวน 51 วัด ณ วัดบ้านถนน ตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 30 มกราคม 2567  

         


 

นางรัชนีกร สวัสดิ์พูน ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ปรารภว่า ฐานะพุทธศาสนิกชน ตระหนักดีว่า “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ทั้งในภาพรวมระดับชาติและระดับพื้นที่ล้วนเป็นข้อตกลงร่วมหรือกติกาที่เป็นเจตจํานงและพันธะร่วมของพระสงฆ์ คณะสงฆ์ รัฐ ชุมชน สังคม  และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พึงส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมและโครงการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนากิจการพระพุทธศาสนาและนโยบายของคณะสงฆ์ ” จึงได้พร้อมใจ ด้วยปีติยินดี ถวายการปวารณา ร่วมมือสานพลังบวร เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่การปฏิบัติให้ครอบคลุมในระดับพื้นที่พร้อมทั้งร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาหนุนเสริมและยกระดับวัดให้เป็นศูนย์กลางของสังคมเป็นวัดส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน เพื่อหนุนเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ในทุกระดับ ส่งเสริมและสนับสนุนให้พระสงฆ์ พระคิลานุปัฏฐาก ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีบทบาทในการเป็นผู้นําด้านสุขภาวะในชุมชนและสังคม ทั้งยังสามารถร่วมกันจัดทําธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่อย่างบูรณาการและเป็นองค์รวมโดยไม่ขัดหรือแย้งกับธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชน เป็นสุข”ทั้งในระดับพื้นที่และขยายสู่ระดับชาติอย่างยั่งยืน สืบต่อไป



พระครูปริยัติภัทรคุณ เจ้าคณะอำเภอนางรอง กล่าวว่า ตามที่ มหาเถระสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทยได้มีมติครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๖/ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๕๖๖ มติที่ ๓๓๖/๒๕๖๖ เรื่องธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เห็นชอบให้คณะสงฆ์ทุกระดับใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นกรอบ แนวทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรค และการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ชุมชนและสังคม ตามหลักพระธรรมวินัย บนหลักการทางธรรม นําทางโลก ซึ่งมีความสอดคล้องเชื่อมโยง กับแผนพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา ระยะที่ ๒ (๒๕๖๕-๒๕๖๙) ที่มีเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ คือ พุทธศาสน์มั่นคง โดยมีการบูรณาการโครงการและกิจกรรมของคณะกรรมการของมหาเถระสมาคมทุกฝ่ายและหลักการของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๖๕ และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ พุทธศักราช ๒๕๕๕ จากธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕ สู่ แผนงานและยุทธศาสตร์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในทุกระดับและส่งเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการเป็นผู้นําด้านสุขภาวะชุมชนและสังคมต่อไป โดยจัดให้มีพิธี ปวารณา เพื่อแสดงออกในการ รวมพลังบวร ในการตกลงใจและยินยอมพร้อมใจ ร่วมมือกันขับเคลื่อนภารกิจอย่างเต็มสรรพกำลัง 



พร้อมทั้งจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้กับพระสงฆ์ พระสังฆาธิการ เจ้าคณะผู้ปกครองและผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ไวยาวัจกรวัด ระดับอำเภอ เรื่องการบริหารจัดการวัดสู่วัดส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนให้วัดเป็นวัดปลอดบุหรี่และความรู้เรื่อง พรบ.ยาสูบ ในระดับพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการ วัดปลอดบุหรี่ สุขภาพดีด้วยวิถีธรรม มีการเสวนาแลกเปลี่ยนและนำเสนอสถานการณ์ “ปัญหาการสูบบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบ และบทเรียนการทำงานปีที่ผ่านมา” โดย...ทีมวิทยากร จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง โรงพยาบาลนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์และศูนย์อนามัยที่ ๙ นครราชสีมา การแบ่งกลุ่มระดมสรรพปัญญาจัดทำแผนและแลกเปลี่ยนกลุ่มย่อย ประเด็น ต่าง ๆ ได้แก่  • สถานการณ์ปัญหาบุหรี่ภายในวัด  • จะร่วมมือแก้ไขปัญหาได้อย่างไร • ปัจจัยเงื่อนไขอะไรที่ทำให้สำเร็จและไม่สำเร็จ • สิ่งที่ต้องการหนุนเสริมในการทำงาน ปิดท้ายรายการ สรุปแนวทางขับเคลื่อนและร่วมกำหนดทิศทาง ด้วย“ปฏิญญาวัดส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน อำเภอนางรอง ๒๕๖๗ ” ส่งมอบภารกิจพระคิลานุปัฏฐากในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม สู่การพัฒนาศักยภาพ ยกระดับเป็นพระธรรมทูตสุขภาวะควบคู่พระบริบาล ในระดับพื้นที่อำเภอนางรอง ตามลำดับในวาระ ดังกล่าวด้วย

พระครูโสภณมหิทธิธรรม,ดร.เลขานุการเจ้าคณะอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ในฐานะ ผู้แทนเครือข่ายพระคิลานุปัฏฐาก ๔ ภาค และเครือข่ายสุขภาวะวิถีพุทธ การสาธารณสงเคราะห์เพื่อสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า จากการที่มาร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็น.... “รูปธรรมและการขับเคลื่อนงานวัดส่งเสริมสุขภาพและบทบาทพระคิลานุปัฏฐากในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม“กล่าวได้ว่า การจัดพิธี“ปวารณา” สานพลังเพื่อขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่และการออกแบบกิจกรรมเช่นนี้  น่าจะเป็นนางรองโมเดล เป็นจุดเริ่มต้นระดับอำเภอแรก ๆ ของประเทศ จึงขออนุโมทนาและขอชื่นชมในความสมัครสมานสามัคคีจากทุกภาคส่วน เพราะการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ นั้น ยังจําเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือของชุมชนสังคมหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในขณะเดียวกันพระสงฆ์ผู้มีสุขภาพดี มีความรอบรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพก็สามารถทําหน้าที่ในการเป็นผู้นําด้านสุขภาวะชุมชนและสังคมซึ่งเป็นปฏิการะต่ออุปการะที่ชุมชนและสังคมได้กระทําต่อท่านด้วย 



ด้านนายชีวี เชื้อมาก สาธารณสุขอำเภอนางรอง  กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)  กล่าวว่า ด้วยตระหนักถึง ภัยอันตราย จากพิษภัยจากสารเสพติดและบทกำหนดโทษต่าง ๆ  ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนรวมทั้งพระสงฆ์และบทบาทของวัดในการเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ในอดีตนั้นพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านสุขภาวะโดยเฉพาะสุขภาวะทางปัญญานำภูมิปัญญามาดูแลสุขภาวะญาติโยม ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์สู่การปฏิบัติ การดำเนินโครงการวัดปลอดบุหรี่ สุขภาพดีด้วยวิถีธรรม อันเป็นเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการต่อจากพิธีปวารณา ในครั้งนี้ จัดเป็นโครงการหนึ่งที่ขับเคลื่อนตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ และชุมชนลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆด้วย ประกอบกับรัฐบาลได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ เป็น “พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ ” และอนุบัญญัติ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อ รวมทั้งมติมหาเถรสมาคม มติที่ ๒๙๗/๒๕๖๒ เรื่อง กำหนดให้วัด ศาสนสถาน ดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พุทธศักราช ๒๕๖๐ มติมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๕๑ /๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติวัดปลอดบุหรี่ และปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามกฎหมาย และมติมหาเถรสมาคม มติที่ ๘๘๑/๒๕๖๖ เรื่องแนวทางปฏิบัติการจัดงานบุญปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตามลำดับว่า เป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ ต่อการนำไปปรับใช้ในดำเนินชีวิตและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ปลอดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย

          


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานโครงการในระดับพื้นที่ กล่าวปิดท้ายว่า การจัดกิจกรรมและพิธี “ปวารณา” สานพลังบวรฯ ในครั้งนี้ เป็นโครงการร่วมระหว่าง คณะสงฆ์อำเภอนางรอง ร่วมกับ ฝ่ายปกครองท้องที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์  โรงพยาบาลนางรอง ศูนย์อนามัยที่ ๙ นครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนโดย มูลนิธิโพธิยาลัย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายโครงการวัดปลอดบุหรี่ สุขภาพดีด้วยวิถีธรรม สมัชชาสุขภาวะวิถีพุทธจังหวัดบุรีรัมย์ เครือข่ายพระคิลานุปัฏฐาก  ๔ ภาค และเครือข่ายสุขภาวะวิถีพุทธ การสาธารณสงเคราะห์เพื่อสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขออนุโมทนาขอบพระคุณท่าน พระครูโพธิธรรมรังษี (ไสว ทิฏฺฐธมฺโม)  



เจ้าคณะตำบลถนนหัก เจ้าอาวาสัดโพธาราม เจ้าอธิการบุญรอด รตนวณฺโณ เจ้าคณะตำบลหัวถนน เจ้าอาวาสวัดบ้านถนน พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ผู้นำชุมชน ทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อสถานที่และให้ความอุปถัมภ์ ด้านภัตตาหารและน้ำดื่ม น้ำปานะ ถวายภัตตาหารเพล  แด่พระสงฆ์ เลี้ยงอาหาร แด่ผู้ที่เข้าประชุมตลอดกิจกรรมตามโครงการในโอกาสนี้ 


วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567

กรมศิลปากรผนึกกำลังภาคประชาชนร่วมอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ



เมื่อวันที่  30 มกราคม 2567 นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยมีอาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ทำการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บคัมภีร์ใบลานตามหลักวิชาการ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรม

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกบรรจุกล่องอยู่ในหอพระไตรปิฎก ซึ่งคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิมภายในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้อัญเชิญคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกดังกล่าวไปประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐฯ โดยบรรจุไว้ในกล่องพระธรรม    ทำด้วยไม้มีขนาดพอเหมาะกับคัมภีร์ชุดหนึ่งๆ หรือหมวดหนึ่งๆ ตามพระไตรปิฎก ด้านสันกล่องได้จารึกหมวดหมู่ชื่อเรื่องด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาบาลี-ไทย ลักษณะคล้ายประดับเกล็ดหอยฝังเนื้อไม้ วางเรียงไว้ตามชั้นต่างๆ ในตู้พระธรรมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่ในฐานะเอกสารโบราณที่ควรอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

ทั้งนี้ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้นำอาสาสมัครเข้าสำรวจตรวจสอบปริมาณกล่องคัมภีร์อย่างละเอียด พบกล่องคัมภีร์ใบลานจำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง สภาพกล่องชำรุดเสียหาย ภายในกล่องพบคัมภีร์อยู่ในสภาพชำรุดมาก แยกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ คัมภีร์ใบลานที่จับผลึก ติดแน่น แข็งเป็นท่อน คัมภีร์ใบลานชำรุด พลัดผูก หัก งอ ผิดรูป และคัมภีร์ใบลาน ถูกแมลงสัตว์กัดกิน เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ป่นเป็นผง เมื่อประเมินปริมาณงานที่ต้องดำเนินการแล้ว มีคัมภีร์ใบลานที่ชำรุดไม่สามารถจัดหมวดหมู่ ชื่อเรื่อง ลงทะเบียนได้ประมาณ 80% ของคัมภีร์ที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนอีก 20% สามารถดำเนินการต่อในขั้นตอนตามหลักวิชาการได้ เช่น ทำความสะอาด เปลี่ยนสายสนอง อ่านวิเคราะห์ชื่อเรื่อง ออกเลขทะเบียน สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน สำรวจ อนุรักษ์ จัดเก็บ คัมภีร์ใบลานชำรุดมากทั้ง 3 ลักษณะนั้น จะมีการทำความสะอาด เขียนป้ายบอกลักษณะชำรุด ห่อ มัด และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ ส่วนคัมภีร์ใบลานที่สามารถอ่านศึกษาเนื้อหาได้ จะได้ดำเนินการตามหลักวิชาการในการอนุรักษ์ ทำทะเบียน และจัดเก็บต่อไป 

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือและสร้างการรับรู้ระหว่างคณะสงฆ์ กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เพื่ออนุรักษ์สืบสานคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนให้มีอายุยืนยาว อีกทั้งยังเกิดเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์เอกสารโบราณ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งต่อมรดกภูมิปัญญาให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป


พระพรหมเสนาบดีประธานฝ่ายสงฆ์ "อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพม."ประธานฝ่ายฆราวาส พิธีเปิดอบรมปฐมนิเทศพระธรรมจาริกบนพื้นที่สูง



เมื่อวันที่  31 มกราคม 2567 พระสุธีรัตนบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro

 ความว่า เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก @ ชีวิตคือการเดินทางตามหาจาริกาโน่ และพระธรรมจาริก ช่วงนี้ 28-4 กุมภาพันธ์ 2567 ชีพจรลงเท้างานคณะสงฆ์และงานมหาวิทยาลัย

29 มกราคม 67 ร่วมถวายมุทิตาแด่พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ในวันแห่งการให้ อายุมงคลมงคลและเนื่องในวโรกาสที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ แด่ท่านเจ้าคุณ

 30 มกราคม 67 งานอบรมปฐมนิเทศพระธรรมจาริก โดยมีพระเดชพระคุณ พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๗ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมด้วย พระธรรมวชิโกศล  ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาคเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา พระอารามหลวง พระธรรมวชิราธิบดี ประธานคณะพระธรรมจาริก เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอุดมบัณฑิต ดร. รองประธานคณะพระธรรมจาริก รองเจ้าคณะภาค ๖ พระวิมลมุนี ดร. รองประธานคณะพระธรรมจาริก รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่  พระธรรมจาริก พระสังฆาธิการ และมี นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ เป็นประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก นางอารีย์ พันธุ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ โอกาสนี้ นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เข้าถวายเครื่องอัฐบริขาร จำนวน ๘๖ ชุดศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกเข้าถวายเวชภัณฑ์ จำนวน ๓๐๐ ชุด ในการนี้ได้บรรยายแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนพื้นที่สูง “จาริกาโน่” 

31 มกราคม 67 งานประชุมวิชาการว่าด้วยการพัฒนาสังคมและชุมชน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งานนี้พี่น้อง ชาว CSD ทั่วประเทศมาพบปะกันมากมาย 45 มหาวิทยาลัย

1 กุมภาพันธ์ 67 งานประชุมสภาวิชาการสัญจร ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำปาง นำเสนอหลักสูตรใหม่ ปรัชญาและโลกศึกษา (Philosophy and Global Studies) 

2-4 กุมภาพันธ์ 67 งานลงพื้นที่จังหวัดตาก นำนิสิตปริญญาโทสาขาพัฒนาสังคมลงพื้นที่อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด จังหวัดตาก เยี่ยมเยือนดูงาน ลงทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน ณ โครงการพระธรรมจาริก บนดอยสูง


 “นฤมล”นำทีมไทยแลนด์เพิ่มมูลค่ายางพารา สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจกว่า 4 หมื่นล้าน



 เมื่อวันที่  30 มกราคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย เป็นประธานการประชุมแนวทางการดำเนินการเพิ่มมูลค่ายางพาราไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมี ดร.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายเพิก เลิศวงพง ประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยหลังการประชุมว่า การยางแห่งประเทศไทยได้รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูแลพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง ด้วยกลไกตลาดเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย โดยตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา สามารถดูแลราคายางเพิ่มขึ้นถึงกิโลกรัมละ 20 บาท คิดเป็นมูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ

ที่ประชุมได้มีข้อสรุปสำหรับแนวทางการดำเนินการเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราไทยอีกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเตรียมความพร้อมรองรับการประกาศใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา และโครงการเพิ่ทมูลค่ายางพาราด้วยยางแปรรูป เช่น ยางล้อ หมอนยาง ที่นอนยาง รองเท้ายาง เป็นต้น โดยทั้งสองแนวทางนี้จะสอดประสานกันในการเสริมให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้น

“ท่านนายกฯ เศรษฐา และ รมว.ธรรมนัส รวมถึงผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย มีความมุ่งมั่นที่จะดูแลพี่น้องชาวสวนยาง ด้วยโครงการข้างต้น และกลไกตลาด จะทำให้ราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มรายได้ให้พี่น้องชาวสวนยางโดยตรง และยังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้อีกปีละกว่าแสนล้านบาทโดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน” ผู้แทนการค้าย้ำ


เจ้าคุณอเมริกาตั้งจิตพาญาติธรรมอเมริกาและไทยในสหรัฐฯแสวงบุญแดนพุทธภูมิ



วันที่ ๒๙  มกราคม  ๒๕๖๗   พระวิเทศวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำอเมริกา รัฐโอไอโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประธานเปิดกิจกรรมสันติสนทนา ผ่านกิจกรรม "Storytelling ดินแดนพุทธภูมิอินเดียเนปาล" โดยมีญาติธรรมกัลยาณมิตรของวัดปากน้ำอเมริกาเข้าร่วมกิจกรรม Storytelling จำนวน  ๒๐ รูปคน โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างศรัทธาให้เข้มแข็งและสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในมิติของดินแดนพุทธภูมิอันเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งในช่วงปลายปี ๒๕๖๗ หรือ ต้นปี ๒๕๖๘ ทางวัดปากน้ำอเมริกาจะนำพาญาติโยมเดินทางไปแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล จึงเป็นที่มาของการเล่าธรรมผ่านภาพเป็นการ Storytelling เพื่อสร้างความรับรู้สร้างความเข้าใจสร้างศรัทธา

โดยมีการเตรียมความพร้อมก่อนการ Storytelling โดย พระอาจารย์วีระศักดิ์  ชยธมฺโม  (Ajahn Tah) เป็นผู้ดำเนินรายการกิจกรรม ผ่านการตั้งคำถามในการเรียนรู้และได้แนะนำพระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. โค้ชสันติ และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ Storytelling ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล แบบเชิงลึก 

โดยมองถึง Storytelling ในดินแดนพุทธภูมิ โดยการเล่าสะท้อนถึงระดับเล่าเรื่องราวระดับสุตมยปัญญา เรื่องราวระดับจินตามยปัญญา และระดับภาวนามยปัญญา ซึ่งคำว่า Intelligence: แปลว่าฉลาด มาจากคำว่า Inter แปลว่า ระหว่าง และ Legere แปลว่า การเลือก คำว่า ฉลาด จึงหมายความว่า ความสามารถในการเลือกระหว่างสิ่งดีกับเลือกสิ่งไม่ดีอันหมายถึงปัญญาในการใคร่ครวญผ่านโยนิโสมนสิการอย่างมีสติ 

ความสำเร็จวัดกันที่การเดินทางไม่ใช่จุดหมายปลายทางเสมอไป โดยการเดินทางอย่าเพียงแค่ให้เกิด Connection คือการรู้จักกันมีเครือข่ายเท่านั้น แต่ต้องยกระดับไปให้ถึง Relation เป็นความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือกันหาทางความร่วมมือกัน ซึ่งขั้นสูงสุดในการเดินทางจะต้องนำไปสู่ Trust เป็นการรู้ใจกันอย่างลึกซึ้งถึงใจ ให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมมืออย่างมืออาชีพ โดยการเดินทางภายนอกจะต้องยกระดับไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน เพราะการเดินทางในแต่ละครั้งย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน ย่อมมีเหตุมีปัจจัยที่มีบุญสัมพันธ์แต่ละสถานที่ เวลา บุคคล เรื่องราวที่เกิดขึ้น จะต้องมีบุญสัมพันธ์กัน

ภาพจะมีการสะท้อนถึง ๒ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)FACT หมายถึง ภาพสะท้อนถึงเหตุการณ์แห่งความจริงที่เกิดขึ้นจริง อาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงประวัติศาสตร์ความจริงของแต่สถานที่ที่เราไป ๒)STORY หมายถึง ภาพสะท้อนความรู้สึกผ่านเรื่องราวต่างๆ ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ถ่ายภาพจะบอกเรื่องราวในช่วงขณะนั้นที่จะสื่อสารผ่านภาพ โดยผู้ถ่ายกำลังจะบอกอะไรบางอย่าง ชีวิตที่ดีภาพที่ดีจะต้องมีเรื่องราว สถานที่แต่ละที่ย่อมมีเรื่องราวเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าของสถานที่นั้น ชีวิตเราเช่นกันควรมีเรื่องราวเพื่อย้ำเตือนตนเองและผู้อื่นเพื่อสร้างคุณค่ามูลค่ารวมถึงแบรนด์ชีวิตผ่านเรื่องราวอีกด้วย  

ภาพจึงมีเรื่องราวเสมอ มีทั้งภาพเล่าเรื่องปลายปิดและภาพเล่าเรื่องปลายเปิด จึงมีคำกล่าวว่า “ไม่มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวในภาพ” เพราะถ้ามองผ่านปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนาภาพจะบอกเรื่องราวถึงมิติประกอบด้วย ภาพเชิงป้องกัน ภาพเชิงแก้ไข ภาพเชิงเยียวยา และภาพเชิงรักษาพัฒนา ภาพที่ดีจึงต้องกระทบธรรม แต่ไม่กระทบคน พยายามสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักบอกให้เรามีสติ รวมถึงป้องกันความขัดแย้งป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น 

พระพุทธศาสนามี ๒ ภาพ ประกอบด้วย ภาพแบบธรรมาธิษฐานซึ่งสะท้อนธรรมะขั้นสูง และภาพแบบบุคลาธิษฐานสะท้อนถึงเรื่องราวเหตุการณ์รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น การถ่ายภาพต้องหลงใหล หมกหมุ่น อธิษฐานบารมี โฟกัสให้เวลา มีความปรารถนาแรงกล้า เพราะจุดหมายปลายทางอาจไม่ใช่ที่สุดของความงดงาม จึงต้องออกเดินทางปีละครั้ง ไปยังที่ที่คุณยังไม่เคยไปหรือ สถานที่นั้นเคยไปมาแล้ว ก็ได้  

ในทางพระพุทธศาสนาการถ่ายภาพจะต้องมีพละเป็นฐาน: พลังภายใน อันประกอบด้วย ๑)ศรัทธาพละ ๒)วิริยะพละ ๓)สติพละ ๔)สมาธิพละ ๕)ปัญญาพละ พลังจึงมีความยิ่งใหญ่อย่างเช่น พลังความรัก Love (ทัชมาฮาล)พลังศรัทธา Faith (พีรมิดอียิปต์) และพลังหวัง Hope (กำแพงเมืองจีน) จึงเริ่มด้วยคำว่าศรัทธา ท่านผู้รู้ได้สะท้อนว่าอำนาจก่อเกิดลูกน้องผ่านสั่งการ คำสั่ง อิทธิพลก่อให้เกิดลูกศิษย์ผ่านการจูงใจ เชื่อใจ ศรัทธาก่อเกิดสาวกผ่านการปฏิบัติคำสอน และบารมีก่อเกิดทายาทผ่านการมีอุดมการณ์ 

การเดินทางจึงช่วยเยียวยา บำบัด มีความเป็นสัปปายะ เป็นการให้เราได้อยู่กับตัวเองมีโอกาสทบทวน เบาสบายมีอิสระปล่อยวาง ลืมปัญหามันไปซะบ้าง เติมเต็มชีวิตให้มีรอยยิ้ม เพิ่มสารแห่งความสุขให้ชีวิต ได้มองเห็นชีวิตในแบบอื่นๆ และลองทำสิ่งใหม่เดินทางคนเดียว 

คำว่า Sacrifice หมายความว่า เป็นการเสียสละเวลาที่เราจะต้องไปเรียนรู้ เป็นการเสียสละเวลาเพื่อเดินตามฝันตนเอง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะรู้ว่าตนเองไปไหนแต่นักเดินทางจะไม่รู้ว่าตนเองไปไหน ชีวิตควรเดินทางเพราะชีวิตมี ๒ จาก ประกอบด้วย จากเป็น และ จากตาย  ซึ่งชีวิตนี้มีค่ามีเวลาจำกัด เราจึงเหลือเวลาไม่มากพอ ที่จะไปทะเลาะหรือเบียดเบียนรวมถึงขัดแย้งกับใคร การเดินทางจึงเป็นการลงทุนในตัวเองเพราะใบปริญญามีวันหมดอายุ จงจ่ายให้ตนเองก่อนจ่ายให้คนอื่น จ่ายให้ตนเองไปเรียนรู้ในโลกใบนี้ จงฝึกเป็นผู้นำอย่าฝึกเป็นผู้ตาม ปริญญาความฝันเป็นเรื่องเดียวกัน การเดินจึงช่วงที่จะให้อภัยใครบางคนถึงแม้จะคำกล่าวที่ว่า "การแก้แค้นไม่ใช่คำตอบเสมอไป แต่การให้อภัยไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเช่นกัน"  


มส.อนุมัติพระพรหมบัณฑิตและคณะ ร่วมประชุมใหญ่สภาสงฆ์พุทธโลก ครั้งที่ ๑๑ ที่ประเทศนิวซีแลนด์


เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงลาการประชุม ทรงมีพระบัญชาให้ สมเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ ซึ่งก่อนเริ่มการประชุมมหาเถรสมาคม นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เชิญปฏิทินหลวง พุทธศักราช ๒๕๖๗ ถวายแด่กรรมการมหาเถรสมาคมที่เข้าร่วมประชุม และกราบทูลถวายเปิดการประชุม พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น คณะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แถลงข่าวการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยมีวาระการประชุมมหาเถรสมาคม อาทิ

๑. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร จำนวน ๑ ตำแหน่ง ดังนี้

     -พระครูกิตติธรรมนิวิฐ (ณรงค์ศักดิ์) ฉายา ฐิตธมฺโม อายุ ๖๕ พรรษา ๕๕ วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร และเจ้าคณะอำเภอโพนนาแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร เป็นรูปที่ ๓

๒. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๓ ตำแหน่ง ดังนี้

     -พระครูพิศาลโพธิธรรม (อภิชาติ) ฉายา อภิชาโต อายุ ๕๕ พรรษา ๓๑ วัดศรีมหาโพธิ์ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีมหาโพธิ์ และเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นรูปที่ ๓

     -พระครูสารกิจประยุต (กาบ) ฉายา ฐานทตฺโต อายุ ๖๖ พรรษา ๔๕ วัดธัญญาวาส ตำบลลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดธัญญาวาส และรองเจ้าคณะอำเภอเมืองมหาสารคาม ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นรูปที่ ๔

     -พระมหาอรรถพงษ์ ฉายา สิริโสภโณ อายุ ๓๗ พรรษา ๑๗ วัดมหาชัย พระอารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๓. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร จำนวน ๑ รูป ดังนี้

     -พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์ (จินดา) ฉายา จินฺตมโย อายุ ๖๖ พรรษา ๔๔ วัดสิงห์ท่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสิงห์ท่า และเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร

๔. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๗ รูป ดังนี้

     -พระโสภณปริยัติวิธาน (สนั่น) ฉายา รตนโชโต วัดสะแก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสะแก พระอารามหลวง และเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๓

     -พระเมธีสุตาภรณ์ (เหมือน) ฉายา  อุปมงฺกโร อายุ ๖๔ พรรษา ๔๔ วัดคีรีวันต์ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดคีรีวันต์ และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๔

     -พระศรีวชิรานุวัตร (พงษ์เชฏฐ์) ฉายา ธีรวํโส อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑ วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๕

     -พระมหาวิเชียร ฉายา กลฺยาโณ อายุ ๕๙ พรรษา ๓๙ วัดหนองเข้ ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองเข้ และเจ้าคณะอำเภอเสิงสาง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๖

     -พระครูโกวิทกิตติสาร (ธนเกียรติ) ฉายา โกวิโท อายุ ๖๑ พรรษา ๔๑ วัดโนนหมัน ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโนนหมัน และเจ้าคณะอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๗

     -พระครูปริยัติสีมาภรณ์ (สมคิด) ฉายา ปคุโณ อายุ ๖๐ พรรษา ๒๗ วัดบึง ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบึง พระอารามหลวง เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา และรองเจ้าคณะอำเภอจักราช ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๘

     -พระครูปริยัติธรรมภาณี (สุรวุฒิ) ฉายา ปิยภาณี อายุ ๕๘ พรรษา ๓๘ วัดดอนขวาง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวันครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานคณะสงฆ์ภาค ๑๑ และรองเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๕. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓ รูป ดังนี้

     -พระมงคลสุตกิจ (บุญถิ่น) ฉายา ปุญฺญสิริ อายุ ๕๕ พรรษา ๓๕ วัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าคณะอำเภอห้วยราช ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นรูปที่ ๓

     -พระวชิรกิตติบัณฑิต (ทองขาว) ฉายา กิตฺติธโร อายุ ๖๖ พรรษา ๔๖ วัดนายาว ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดนายาว และรองเจ้าคณะอำเภอหนองหงส์ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นรูปที่ ๔

     -พระครูสิริคณารักษ์ (ผล) ฉายา ปิยธมฺโม อายุ ๕๘ พรรษา ๓๙ วัดจำปา ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดจำปา และเจ้าคณะอำเภอประโคนชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๖. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๓ รูป ดังนี้

     -พระปริยัติกิจวิธาน (สมวงษ์) ฉายา สีลภูสิโต อายุ ๗๓ พรรษา ๕๑ วัดชัยภูมิวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิวนาราม และเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ

     -พระครูสิริวชิรากร (สมพร) ฉายา อริยปญฺโญ อายุ ๗๒ พรรษา ๔๙ วัดวิเชียรธรรมาราม ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น  จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดวิเชียรธรรมาราม และเจ้าคณะอำเภอบ้านแท่น ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ เป็นรูปที่ ๓

     -พระครูพิทักษ์ชยานุกิจ (กิตติพศ) ฉายา สุมโน อายุ ๖๖ พรรษา ๓๔ วัดชัยภูมิพิทักษ์ ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๗. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง ขอเสนอแต่งตั้งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชนบท รวมจำนวน ๖ รูป ดังนี้

     -พระครูปริยัติสารโกศล (สอน) ฉายา รวิวณฺโณ อายุ ๙๐ พรรษา ๗๐ เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว ตำบลเก่างิ้ว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙

     -พระครูศรีวิสุทธิสารเมธี (ปาน) ฉายา สุขจิตฺโต อายุ ๘๙ พรรษา ๖๘ เจ้าอาวาสวัดดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพระยืน ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น

     -พระครูรัตนทีปาภิบาล (บัวลา) ฉายา พุทฺธวโร อายุ ๘๔ พรรษา ๖๓ เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น  ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านฝาง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น

     -พระครูมงคลสารกิจ (ทองหลาง) ฉายา ฉินฺนาลโย อายุ ๘๐ พรรษา ๖๐ เจ้าอาวาสวัดศิริชัยมงคล ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น

     -พระครูมัชฌิมธรรมโสภณ (วุฒิพัน) ฉายา โสภโณ อายุ ๖๗ พรรษา ๔๗ เจ้าอาวาสวัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น

     -พระครูวิบูลสารโสภณ (บุญเต็ม) ฉายา ชนาสโภ อายุ ๘๓ พรรษา ๔๕ เจ้าอาวาสวัดศรีภูบาล ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลห้วยแก ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชนบท

๘. มติมหาเถรสมาคมรับทราบเรื่อง การสอบธรรมสนามหลวง จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้

     -ครั้งที่ ๕/๒๕๖๖ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพุทธรังษีญาณสังวราราม เมืองนิวไทเป สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

     -ครั้งที่ ๗/๒๕๖๖ ณ วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๗

     -ครั้งที่ ๘/๒๕๖๖ ณ วัดระฆังญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗

     -ครั้งที่ ๙/๒๕๖๖ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ วัดไทยลอสแองเจลิส วัดพุทธประทีป วัดพุทธดัลลัส วัดอตัมมยตาราม วัดปากน้ำมิชิแกน วัดญาณรังษี และวัดฟลอริดาธรรมาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา

๙. มติมหาเถรสมาคมรับทราบ เรื่อง รายงานการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ดังนี้

     -พระธรรมสุธี (นรินทร์) ฉายา นรินฺโท อายุ ๘๐ พรรษา ๖๐ วัดหัวลำโพง พระอารามหลวง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง พระอารามหลวง และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร

๑๐. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง เสนอขอแต่งตั้งพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ ดังนี้ 

     -พระครูสุทธิสารนันท์ (เผชิญ) ฉายา นนฺทิสาโร อายุ ๘๖ พรรษา ๖๖ วัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าสุทธาวาส และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอป่าโมก ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง

     -พระเทพสุวรรณมุนี (ประถม) ฉายา กนฺตสีโล อายุ ๗๗ พรรษา ๕๕ วัดต้นสน ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดต้นสน และเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๒

     -พระครูพิศาลประชานุกิจ (ดำรงค์) ฉายา จกฺกวโร อายุ ๘๐ พรรษา ๕๘ วัดหนองใหญ่ศิริธรรม ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองใหญ่ศิริธรรม และเจ้าคณะอำเภอหนองใหญ่ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหนองใหญ่

๑๑. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ จำนวน ๔ รูป ดังนี้

     -พระมหาทองกอ สิริธมฺโม อายุ ๕๖ พรรษา ๓๑ วัดพระบรมธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์

     -พระมหาพิจิตร ธมฺมวิจิตฺโต อายุ ๓๒ พรรษา ๑๒ วัดท่าหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการศึกษา

     -พระครูสมุห์โกเมนทร์ คุณวีโร อายุ ๔๕ พรรษา ๒๓ วัดสวนดอก ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการเผยแผ่

     -พระครูใบฎีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท อายุ ๔๓ พรรษา ๒๑ วัดสวนดอก ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการปกครอง

๑๒. มติมหาเถรสมาคมรับทราบ เรื่อง สำนักงานศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.) แก้ไขแบบฟอร์มหนังสือขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ มีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขหนังสือขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ ตามแบบของคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ดังนี้

         ๑. ตราสัญสักษณ์ ศ.ต.ภ.

         ๒. สิ่งที่ส่งมาด้วย ได้แก่ สำเนาหนังสือสุทธิ บัตรประจำตัวประชาชนพระ ทะเบียนบ้านของวัด และหนังสือนิมนต์ หรือตารางการเดินทาง

         ๓. หมายเหตุ คือ ๑. หนังสือขออนุญาตฉบับนี้ให้ติดรูปถ่าย ๒ นิ้ว เจ้าอาวาสเซ็นชื่อทับรูปถ่ายผู้ขออนุญาตเดินทางและขีดคร่อมใต้ลายเซ็น แม้เจ้าอาวาสขออนุญาตเดินทางให้เช็นเช่นเดียวกัน แล้วเสนอเจ้าคณะและคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เพื่อพิจารณาตามลำดับ ที่ประชุมมีมติรับทราบ

๑๓. มติมหาเถรสมาคมเห็นชอบ เรื่อง ขอยกพระสังมาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส จำนวน ๒ รูป ดังนี้

     -พระครูปัญญาประยุต อายุ ๗๙ พรรษา ๕๙ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์สโมสร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และเจ้าคณะอำเภอรือเสาะ - ศรีสาคร ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส

     -พระครูการุณยนิวิฐ อายุ ๗๙ พรรษา ๕๖ เจ้าอาวาสวัดตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสและเจ้าคณะอำเภอระเงะ - จะแนะ - เจาะไอร้อง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส

๑๓. มติมหาเถรสมาคมเห็นชอบ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน ๑ เรื่อง

๑๔. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม และคณะขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ในการประชุมใหญ่สภาสงฆ์พุทธโลก ครั้งที่ ๑๑ ในระหว่างวันที่ ๒ - ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพุทธควอนอัม (Quan Am) เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

๑๕. มติมหาเถรสมาคมพิจารณา เรื่องการจัดการศาสนสมบัติ จำนวน ๗ เรื่อง

๑๖. มติมหาเถรสมาคมเห็นชอบ เรื่องการสาธารณสงเคราะห์ เรื่อง ขอความเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์สามเณร และผู้นำทางศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และมีกำหนดจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวฯ ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี


ที่มา - สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


ปลัดมหาดไทยร่วมกับคณะสงฆ์ มอบบ้านครัวเรือนเป้าหมายจากฐานข้อมูล TPMAP พื้นที่อำเภอชะอำเพชรบุรี



ปลัดมหาดไทยร่วมกับคณะสงฆ์โดยเมตตาคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดพระเชตุพน ประกอบพิธีมอบบ้านครัวเรือนเป้าหมายจากฐานข้อมูล TPMAP ในพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เน้นย้ำ บูรณาการภาคีเครือข่ายหนุนเสริมช่วยกันดูแลคนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 เมื่อวันที่  30 มกราคม 2567  ที่บ้านเลขที่ 103 หมู่ 10 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบบ้านผู้สูงอายุให้แก่คุณยายพัชร์ภรณ์ แซ่โล้ อายุ 88 ปี โดยความเมตตาของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ในโอกาสนี้ ได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระมงคลวชิรากร (สมบัติ ญาณวโร ป.ธ.5) เลขานุการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม และคณะสงฆ์วัดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ร่วมมอบบ้าน โดยมีนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นางวันเพ็ญ มังศรี นายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ นายภคพัส ส่งวัฒนายุทธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นางสาวเบญจวรรณ มีเผือก หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมพิธีฯ



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวมหาดไทย กล่าวว่า ด้วยเมตตาคุณของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พระมหาเถระผู้มีปฏิปทาอันแรงกล้าในการสนับสนุนช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบางและประชาชนผู้มีความลำบากขัดสนในพื้นที่โดยรอบศูนย์ปฏิบัติธรรม "ธมฺมรํสี" อันเป็นธรณีสงฆ์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้พ้นจากความทุกข์ยากในการดำรงชีวิต จึงมอบหมายให้ท่านเจ้าประคุณพระเทพวชิรโสภณ เจ้าคณะภาค 12 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ได้เป็นผู้นำภาคีเครือข่ายภาคศาสนา นำท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พัฒนาพื้นที่ของศูนย์ปฏิบัติธรรม “ธมฺมรํสี” ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา สมุนไพร และนวดแผนโบราณ แบบฉบับวัดโพธิ์ และพัฒนาเป็น “วนอุทยานต้นไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 77 จังหวัด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพันธุกรรมพืชเกิดประโยชน์แก่เยาวชน/คนรุ่นต่อไป และเป็นสถานที่แห่งการบำบัดรักษาความทุกข์ยากให้มลายหายไปจากร่างกายและจิตใจของคนในพื้นที่และบุคคลทั่วไป

"การดำเนินการมอบบ้านผู้สูงอายุให้แก่คุณยายพัชร์ภรณ์ แซ่โล้ ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนค้นหาและแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าของกลไกกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีด้วยระบบ TPMAP ของกรมการปกครอง ซึ่งครอบครัวของคุณยายเป็นครัวเรือนตกเกณฑ์ เข้าข่ายเป็นครัวเรือนเปราะบางจากฐานข้อมูล และด้วยกุศลจิตของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วรมหาวิหาร ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้โปรดเมตตาเป็นภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน จึงได้มีบัญชาให้พวกเราทุกคนได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายบูรณาการช่วยกันสร้างบ้านให้กับคุณยายจนกระทั่งเสร็จสรรพสมบูรณ์พร้อมและจัดพิธีมอบให้วันนี้ อันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่สำคัญของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และกระทรวงมหาดไทยที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนผ่าน MOU บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับปณิธานของคนมหาดไทยในการหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยพร้อมที่จะขับเคลื่อนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนทุกคนโดยมีพระสงฆ์เป็นหลักชัยอย่างยั่งยืน" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ระหว่างกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่แน่วแน่ในการที่คณะสงฆ์ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมร่วมกับภาคราชการและภาควิชาการ ได้หนุนเสริมความหวังของประเทศชาติ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุข ตลอดจนพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นครู คลัง ช่าง หมอ ด้วยการอบรมสั่งสอน เป็นคลังอาหาร สรรพวิทยาการ พร้อมทั้งเกื้อหนุนนำในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในหลากหลายมิติ โดยใช้หลักแห่งความเมตตาธรรม คือความหวังดี ความปรารถนาดีต่อกัน ในการจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบรรเทาทุกข์ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่เป็นภารกิจหลักของกระทรวงมหาดไทยในการหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนข้าราชการและกลไกในระดับพื้นที่ทุกจังหวัด ได้ร่วมกันขับเคลื่อนและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน อันเป็นการประสานพลังความร่วมมือเพื่อสนับสนุนส่งเสริมบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน สร้างสังคม/ชุมชนให้เอื้อต่อการพัฒนา อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประกาศเป็นปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร” ตลอดไป 


"การทำพิธีมอบบ้านในวันนี้ จึงเป็นการเริ่มต้นสิ่งที่ดีโดยการนำของคณะสงฆ์ ซึ่งท่านได้เมตตาทำให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว สิ่งสำคัญที่พวกเราชาวมหาดไทยจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง คือ เรามิได้มองแค่ในส่วนของการแก้ไขปัญหาด้วยการส่งมอบบ้านเพียงอย่างเดียวแล้วจะถือว่างานสำเร็จ เพราะเป็นเสมือนยาฝรั่ง ที่แก้ไขเพียงเฉพาะหน้า แต่เรายังมองถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือ มิติยาไทย โดยการทำให้คุณยายพัชร์ภรณ์ แซ่โล้ ซึ่งเป็นครัวเรือนเปราะบางจากระบบฐานข้อมูล TPMAP มีความมั่นคงทางอาหาร อาทิ การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และการน้อมนำพระราชดำริเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี "บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง" ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไว้บริเวณรอบบ้าน เพื่อเป็นอาหารประจำครัวเรือน รวมถึงนำหลักการขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลกันและกันในชุมชน ซึ่งในส่วนนี้ต้องขอแรงจากภาคีเครือข่ายและประชาชนผู้มีจิตอาสาทั้งผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ได้ช่วยเหลือคุณยาย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนตลอดไป และเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติ


ด้านนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี กล่าว่า จังหวัดเพชรบุรี พร้อมทีมงาน 7 ภาคีเครือข่าย ทั้งภาคราชการ ภาคศาสนา  ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ได้บูรณาการความร่วมมือ สานพลังกันในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" พี่น้องประชาชน และขับเคลื่อนกิจกรรมซ่อมสร้างบ้าน คุณยายพัชร์ภรณ์ แซ่โล้ ด้วยงบประมาณของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร โดยเมตตาคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ด้วยงบประมาณ รวมจำนวน 89,429 บาท ซึ่งจัดให้เป็นค่าวัสดุปรับปรุงบ้าน โดยในส่วนช่างจิตอาสา ไม่คิดค่าแรง ดำเนินการซ่อมสร้างระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2567 เสร็จสิ้นวันที่ 25 มกราคม 2567 รวมระยะเวลาซ่อมสร้าง 26 วัน" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood

ปลัดวธ.ร่วมพิธีถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์แด่พระเมธีวชิโรดม



ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมพิธีถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แด่พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) และถวายทุนการศึกษาแด่สามเณร

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมพิธีถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แด่พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และถวายทุนการศึกษาแด่สามเณร โดยมี ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัด และประชาชนเข้าร่วม ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน



พระเมธีวชิโรดม หรือชื่อเมื่อแรกเกิดว่า วุฒิชัย บุญถึง หรือรู้จักกันดีในนามปากกา ว.วชิรเมธี เป็นภิกษุชาวไทย มีชื่อเสียงว่าเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักบรรยายธรรม และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพ และเมตตาธรรม โดยผู้มอบรางวัลได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ 



พระเมธีวชิโรดมอุทิศตนทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบ “ธรรมประยุกต์” (Applied Buddhism) จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางด้วยผลงานธรรมนิพนธ์ในชุด "ธรรมะติดปีก"  (ประกอบด้วยธรรมะติดปีก ธรรมะบันดาล ธรรมะดับร้อน ธรรมะหลับสบาย) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในแบบ "ธรรมประยุกต์" หรือ Applied Buddhism ของท่านทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาธรรมะในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง ทั้งวงการเทศน์ที่ลดความเข้มขลัง ทางธรรมเนียมนิยมลงมาสู่การเทศน์เชิงปฏิภาณหรือเทศน์ปนทอล์คที่ทำให้การแสดงธรรมกลายเป็นเรื่องทันสมัยมีชีวิตชีวาเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม วงการเขียนหนังสือธรรมะที่หนังสือธรรมะกลายเป็นหนังสือยอดนิยมของคนทุกวัย


วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

รัฐบาลกระตุ้นการท่องเที่ยวทางบก เชื่อมโยง ไทย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย Drive Tourism



โฆษกรัฐบาล เผยรัฐบาลกระตุ้นการท่องเที่ยวทางบก เชื่อมโยง ไทย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย Drive Tourism พร้อมศึกษามาตรการอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดนทางบก ส่งเสริมความร่วมมือระดับประเทศและประชาชน ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ

วันที่ 30 มกราคม 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มุ่งสนับสนุนสร้างความร่วมมือ และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนด้วยการบูรณาการแนวทางการท่องเที่ยวจุดหมายปลายทางเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน (One Destination) และการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสองทาง (Two-way Tourism) ผ่านโครงการท่องเที่ยวเชื่อมโยงทางบก 5 ประเทศ (Drive Tourism) ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยลาว และเวียดนาม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ในฐานะที่ภาคการท่องเที่ยวเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งจะเป็นเครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

รัฐบาลต้องการผลักดัน Drive Tourism โดยได้ศึกษาเส้นทางเชื่อมโยงหลายเส้นเพื่อตรวจสอบเส้นทางที่สะดวกและปลอดภัย ค้นคว้าข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นที่มีศักยภาพ ตลอดจนศึกษามาตรการอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยวแบบขับรถด้วยตนเองตลอดเส้นทาง  

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการหารือกับทั้ง 4 ประเทศตามโครงการ Drive Tourism รัฐบาลยังได้หารือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาธุรกิจอเมริกา-อาเซียนประจำภูมิภาคเอเชีย (U.S.-Asean Business Council: USABC) และสภาการท่องเที่ยวและการเดินทางโลก (World Travel and Tourism Council: WTTC) ถึงแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ WTTC ยังได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของ 2 ประเด็นหลักในมิติการท่องเที่ยว ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่าการท่องเที่ยวเชิงปริมาณ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  

“นายกรัฐมนตรีส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยว และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในระดับรัฐบาล และประชาชน เพื่อประโยชน์ร่วมกันทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มการท่องเที่ยวจากทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค” นายชัย กล่าว

"สุดาวรรณ" เจรจาเชื่อมท่องเที่ยว 5 ประเทศอาเซียนสำเร็จ


 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในระหว่างการไปร่วมประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาซียน ครั้งที่ 27(ASEAN Tourism Forum : ATF 2024) ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ใช้โอกาสนี้หารือกับรัฐมนตรีและหน่วยงานด่านการท่องเที่ยวของ 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา โดยทุกประเทศเห็นชอบในหลักการให้เกิดความร่วมมือเดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค (Intraregional Connectivity) ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการ ASEAN Drive Tourism ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยยึดโยงกับแผนการดำเนินการที่ผ่านมาของไทยและของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน


“โครงการ ASEAN Drive Tourism เป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทย ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางบก หรือ Land Connectivity เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ กระจายรายได้ และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นของทั้ง 5 ประเทศ”


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวต่อไปว่า จากนี้ไปจะมีการหารือเพิ่มเติมในระดับคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความแตกต่างของกฎระเบียบจราจร และโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอให้มีการนำเรียนนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศ เพื่อยกระดับประเด็นดังกล่าว สู่วาระการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานต่อไป


นอกจากนี้ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะนำเส้นทางท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ จุดท่องเที่ยว ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกของแต่ละประเทศ นำไปประชาสัมพันธ์และทำการตลาดร่วมกัน โดยไทยมีเป้าหมายที่จะประกาศเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง “ASEAN Drive Tourism” ให้แก่สื่อมวลชนทั่วโลกและผู้ประกอบการท่องเที่ยวในงาน ITB Berlin ในวันที่ 5-7 มีนาคม 2567 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีด้วย


สำหรับตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้มีการหารือกัน เช่น กัมพูชาเสนอให้มีการเชื่อมโยงผ่านพื้นที่เมืองหลักและเมืองรอง อาทิ ศรีโสภณ พระตะบอง รวมถึงเส้นทางพรมแดนกัมพูชา -เวียดนาม เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จัก ได้ให้ความเห็นในประเด็นการอำนวยความสะดวกผ่านช่องทางตรวจลงตรา โดยเสนอกลไก ACMECS Visa รวมถึงประเด็นการเพิ่มการลงทุนภาคบริการไปยังเมืองรองต่างๆ ของกัมพูชา นอกจากนี้ มีเส้นทางที่ทางไทยเสนอกับเวียดนาม อาทิ เส้นทางที่ 1: ไทย (มุกดาหาร) – สปป. ลาว (สันหวันนะเขต) – เวียดนาม (เว้-ดานัง) เส้นทางที่ 2: ไทย (ตราด) – กัมพูชา (สีหนุห์วีล) – เวียดนาม (ฟูก๊วก) ที่จะต้องนำไปหารือในรายละเอียดต่อไป



อปท.ปทุมฯ ร่วมคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน คณะศิษย์วัดพระธรรมกาย บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พร้อมด้วยบูรพาจารย์



“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปทุมฯ ร่วมคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน คณะศิษย์วัดพระธรรมกาย รวมใจพสกนิกรบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พร้อมด้วยบูรพาจารย์ ผู้มีอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา และแผ่นดิน”

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567   เวลา 13.30 น. ณ ห้องแก้วสารพัดนึก 1 สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จัดให้มีพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พร้อมด้วยบูรพาจารย์ ผู้มีอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา และแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2567 ขึ้น ด้วยความความรู้รักสามัคคีของปวงพสกนิกร โดยการประสานความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี, องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, เครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ร่วมด้วยคณะสงฆ์ ข้าราชการ องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานบุญพิธีฯ ในครั้งนี้ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เทิดพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และบ้านเมืองให้มีความผาสุก มีความเจริญในทุกๆ ด้าน นอกจากนี้ยังเป็นกตัญญูบูชาแด่บูรพาจารย์ พระมหาเถระผู้มีอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา สืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่งต่อมาเป็นที่พึ่งถึงอนุชนรุ่นปัจจุบัน

ภายในงานบุญพิธีฯ ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระราชสุทธิธรรมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดประยูรธรรมาราม จ.ปทุมธานี เป็นประธานสงฆ์ และมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป สวดพระพุทธมนต์ ในส่วนของวัดพระธรรมกายมีพระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก เจ้าอาวาส พร้อมด้วยผู้ช่วยเจ้าอาวาส และคณะพระธรรมยาตรา จำนวน 1,140 รูป ในโครงการธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺสโร) พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 12 ร่วมประกอบพิธีฯ โดยพร้อมเพรียงกัน ทางฝ่ายบ้านเมืองรับเป็นการรวมใจของเหล่าพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทั้งหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน อาทิ พล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี, นายมนัส สุวรรณรินทร์ ท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี, ว่าที่ ร.อ.สาคร กิ่งจันทร์ ศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี, นายเดชา ละลีย์ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี, นายมงคล ธิดาธัญลักษณ์ ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี, นางสาวอภิสรา เกษอินทร์ นายอำเภอคลองหลวง, รศ.(พิเศษ) ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เป็นต้น ร่วมด้วยเครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก และมูลนิธิธรรมกาย เข้าร่วมพิธีฯ เป็นสมานฉันท์ 

นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ผู้ประสานงานองค์กรภาคีความร่วมมือดำเนินงานฯ กล่าวว่า  ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวหลอมรวมจิตใจของชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน สถาบันทั้ง 3 ต่างเกื้อหนุนค้ำจุนซึ่งกันและกัน จนทำให้ประเทศชาติอยู่รอดเป็นเอกราชมาได้จนปัจจุบัน สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทรงนับถือ และมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกเสมอมา นอกจากนี้ บูรพาจารย์ พระมหาเถระต้นบุญต้นแบบผู้มีอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา ผู้สืบสานพุทธธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้มวลมนุษยชาติได้เข้าถึงหนทางแห่งความสุขด้วยพุทธธรรมอันประเสริฐ ในวันนี้ทุกภาคส่วนต่างพร้อมใจกันมาร่วมกันบำเพ็ญกุศลสร้างคุณงามความดีตามวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธ ด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งในเรื่องของความกตัญญูกตเวทีนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า คนดี จะต้องมีเครื่องหมาย 2 ประการ คือ กตัญญู แปลว่า รู้คุณ และกตเวที แปลว่า ตอบแทนคุณ ดังพุทธภาษิตที่ว่าความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี จึงขอกราบอนุโมทนาบุญ และขอบพระคุณองค์กรภาคีความร่วมมือทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันประสานความร่วมมือดำเนินงานฯ ในครั้งนี้ด้วยความเรียบร้อยดีงาม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อขยายสังคมแห่งคนดีที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในโอกาสหน้า ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป 


วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567

"เจ้าคุณประสาร" ตอบ"ม.สงฆ์มีไว้ทำไม" แก้เหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยและโลก



เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567   เฟซบุ๊ก พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ "เจ้าคุณประสาร" รองอธิการบดีบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้โพสต์ตอบคำถามกรณีมีคลิปเผยแพร่บทสนทนาประเด็น มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม" ระหว่าง อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย ถาม อาจารย์ ส.ศิวรักษ์ มีความระเอียดดังนี้

อันเนื่องมาจากบทสนทนา “มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม” สมฤทธิ์ ลือชัย ถาม ส.ศิวรักษ์ และบทความ“ปัญหาของเหตุผลทางศีลธรรมเถรวาทไทยเทียบกับมหายาน”โดย สุรพศ ทวีศักดิ์

ในช่วงเดือนที่ผ่านมาอาตมาไม่ค่อยจะได้ดูสื่อ ดูโซเซียลอะไรมากนัก เพราะมัวแต่เดินทางไปโน้นมานี่ จึงมีเวลาให้กับบางเรื่อง บางอย่างเช่น ดูข่าว อ่านข่าวน้อยลงไป แต่ก็ยังมีสหธรรมิกที่หวังดี ปรารถนาดีส่งเรื่องราวข่าวสารต่างๆมาให้ดูมาให้อ่านอยู่เนืองๆ นัยว่าจะได้ไม่เป็นคนตกข่าว

และในความเป็นจริงนั้น ในหลายปีมานี้อาตมาค่อนข้างจะมีขาประจำที่คอยแวะเวียนมาพูด มากล่าวถึงอยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่เป็นไร ท่านก็ว่าของท่านไป เป็นสิทธิของท่าน แต่ในห้วงเวลานี้กลับมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งดูเหมือนว่าจะถี่ขึ้นๆก็คือ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย และอ.สุรพศ ทวีศักดิ์

แต่เดิมนั้นท่านทั้งสองก็จะมีมาบ้างประปราย แต่ช่วงนี้ต้องขอบคุณอาจารย์ทั้งสองที่ดูจะขยันในการพูด ในการเขียนถึงอาตมาเป็นพิเศษ รวมทั้งได้นำรูปภาพไปลงประกอบในบทความ ข้อเขียน บทสนทนาของท่านด้วย

วันนี้อาตมาขอยืนยันว่า อาตมายังคงมีจุดยืนเดิมคือ พยายามจะตอบโต้หรือพูดถึงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยอาศัยกำลังแห่งขันติเท่าที่มีอยู่ เพราะได้รำลึกอยู่เสมอว่าเราเป็นพระสงฆ์ การที่จะวิวาทกับชาวบ้านนั้นดูจะไม่งาม ไม่เหมาะนัก โดยเฉพาะในบางเรื่อง บางกรณี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฆราวาสบางท่าน บางคนแล้ว พระท่านจะพยายามหลีกห่างออกไปให้ไกล ไม่ใช่เพราะท่านกลัว ไม่ใช่เพราะท่านไม่มีภูมิปัญญาจะตอบโต้แต่ท่านไม่ต้องการที่จะมาต่อความยาวสาวความยืด ท่านไม่ต้องการที่จะตกเป็นเหยื่อหรือตกหลุมพรางของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งอาตมาเองก็ได้ยึดถือหลักการนี้มาโดยตลอด เว้นเสียแต่ว่าท่านจะได้พูดได้กล่าวพาดพิงถึงสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่อาตมาก็เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่นั่น และถ้าจะไม่พูด ไม่ชี้แจงบ้าง ก็ดูเหมือนว่าเราจะอับจนปัญญา หมดทางสู้ ปล่อยให้เขาว่า ปล่อยให้เขาพูดอยู่ฝ่ายเดียวในที่สุดแล้วก็ดูเหมือนจะเป็นการยอมรับด้วยซ้ำไป แม้ในบางสิ่งบางอย่างที่พูดนั้นอาจจะเข้าใจผิด ไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรืออาจจะมีเจตนาอื่นใดแอบแฝงไว้ก็ตาม

เบื้องต้นขออนุญาตพูดถึงเรื่องแรกก่อน คือ บทสนทนาผ่านสื่อในเรื่อง “มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม“ สมฤทธิ์ ลือชัย ถาม ส.ศิวรักษ์

ในเรื่องนี้นั้น ในเนื้อหาสาระอาตมาจะยังไม่ลงในรายละเอียดมากนัก เพียงแค่จะตั้งคำถามในเชิงศีลธรรมหรือความชอบธรรมของสื่อมวลชนเสียก่อน อุปมาอุปไมยเหมือนระบบศาลยุติธรรม เมื่อมีการฟ้องร้องกัน ทนายฝ่ายจำเลยจะสู้ในแง่มุมที่ว่าผู้ฟ้องมีสิทธิ์ฟ้องหรือไม่ ถ้าไม่มีสิทธิก็เป็นอันพับไป ถ้ามีค่อยไปลงในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังนั้น จากการที่ได้ดู ได้ฟังหลายรอบ อาตมาจึงมีคำถามถึงอ.สมฤทธิ์ ลือชัย ดังนี้

1.หัวข้อสนทนา “มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม” นั้น เป็นหัวข้อชวนสนทนากับปัญญาชนสยามที่ท่านได้คิด ได้ไตร่ตรองมาดีแล้วใช่หรือไม่ ผู้ดำเนินการสนทนามีความมั่นใจไหม ว่าการตั้งชื่อเรื่องสนทนานั้น ท่านต้องการแสวงหาข้อเท็จจริง มุ่งหาเหตุและผล เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง ได้ทำด้วยใจบริสุทธิ์ ทำโดยปราศจากกำลังแห่งอคติเข้าครอบงำหรือไม่ ถามใจท่านดู

2.คำถามในแต่ละคำถามที่เตรียมมานั้น ท่านสามารถตอบด้วยความแกล้วกล้า กล้าหาญต่อจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนที่ดีได้หรือไม่

เพราะดูเหมือนว่าคำถามส่วนใหญ่นั้นล้วนเป็นคำถามที่เข้าทำนองชี้นำ มุ่งนำร่อง โดยมีประเด็นและจุดมุ่งหมายเฉพาะ บนกรอบที่ตนเองได้วางไว้ ใช่หรือไม่

3.บทสรุปในแต่ละคำถามของผู้ชวนสนทนานั้น ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบโดยหลักการแบบไหน อย่างไร สุดท้ายแล้วผู้ชวนสนทนาล้วนดึงให้เข้ามาในบทสรุปเฉพาะของตนเอง เข้าทำนอง ว่าเอง เออเอง ชงเองกินเอง ใช่ไหม

ในนามมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นตัองขออนุโมทนาขอบคุณอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่มีความเป็นปราชญ์ เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เอนเอียง ยึดมั่นในหลักการแม้จะถูกชักนำตั้งแต่การตั้งคำถามและระหว่างบทสนทนาก็ตาม

อ.สมฤทธิ์ ลือชัย เชิญชวนบอกให้อาตมาเข้ามาฟัง เจริญพร อาตมาเข้ามาแล้ว

ประเด็นถัดมาเป็นของ อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ ตั้งแต่อาตมากับอาจารย์มีปุจฉา วิสัชนาที่อาจารย์วิพากษ์มหาวิทยาลัยสงฆ์ในปัจจุบันว่า ไม่มีผลงานทางภูมิปัญญาพุทธที่สังคมรู้จัก ไม่มีนักวิชาการพุทธที่โดดเด่นที่มีบทบาทปัญญาชนสาธารณะนำเสนอพุทธธรรมเชิงก้าวหน้า เป็นต้น และยังมีคำว่า “เสียดายภาษี”ตามมาอีกนั้นอาตมาได้เขียนคำชี้แจงผ่านเพจส่วนตัวไว้เพื่อแสดงเหตุและผลที่แตกต่างและสื่อมวลชนก็ได้นำไปลงเป็นข่าวอยู่ระยะหนึ่ง

หลังจากนั้นมา อาจารย์ก็พูดถึงอาตมาถี่ขึ้น ตั้งแต่เรื่องเรียกชื่อ เรื่องโน้น เรื่องนี้ อะไรต่อมิอะไรอีกจิปาถะ ต้องขออภัยที่จะต้องพูดว่า หลายเรื่องที่อาจารย์สุรพศ กล่าวมานั้นมีทั้งที่เป็นสาระและหลายเรื่องที่พยายามจะค้นหาสาระให้พบให้เจอ บัดนี้อาจารย์ได้เขียนบทความลงในประชาไท เรื่อง “ปัญหาของเหตุผลทางศีลธรรมเถรวาทไทยเทียบกับมหายาน”

ซึ่งในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดิมๆที่อาจารย์ได้พูดได้แสดงมาแล้วในหลายที่ หลายแห่ง ในเรื่องนี้นั้น อาตมาขอบอกว่าเราเห็นต่างกันโดยสิ้นเชิง เห็นต่างกันจริงๆ และอาตมาก็ได้ผลักดันเรื่องนี้ร่วมกับชาวพุทธกลุ่มหนึ่งในนาม “ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย” ผ่านรัฐบาลมาแล้วหลายยุค หลายสมัย

ยอมรับว่ายังไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็ไม่เคยท้อ พร้อมเดินหน้าต่อไป

ในวัน เวลานี้ อาตมาขอยืนยันว่า

1.ผลักดันให้บัญญัติคำว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐบาลนี้ที่มีนโยบายที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีองค์คณะคล้ายๆ สสร.ในอดีต พวกเราจะไม่ยอมตกขบวนรถไฟสายประชาธิปไตยนี้แน่นอน

2.ผลักดันให้มี “ธนาคารพุทธศาสนา ”อาจารย์สุรพศ พอทราบข่าวที่น่ายินดีไหมว่าพี่น้องชาวมุสลิมนั้น มีธนาคารมุสลิมในประเทศไทยของเรามานานแล้ว อยากฟังทัศนะคนเก่ง คนกล้าจังเลย

3.ผลักดันให้รัฐออก พรบ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ที่อาจารย์สุรพศ บอกว่าเป็นปัญหาของเหตุผลทางศีลธรรมเถรวาทไทย นั่นแหละ

อ.สมฤทธิ์ ลือชัย อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ อาตมายืนยันว่า อาตมาในฐานะพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้น ท่านและทุกคน สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ พูดถึงได้ ไม่มีปัญหา แต่ในทางสติปัญญานั้นเราควรจะพูดด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสัมมาทิฐิ เพื่อเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติทั้งปวงร่วมกันไหม

ถ้าใจท่านกอรปด้วยศีลธรรมอันดีงามบนฐานแห่งการอยากเห็นมหาวิทยาลัยสงฆ์เจริญก้าวหน้าในทิศทางที่ควรจะเป็น ลองถามใจตัวเองดู

ตัวอย่างในสามก๊ก ตันก๋ง เจรจาตอบโต้กับโจโฉ ในช่วงเวลาที่รบแพ้และถูกจับเป็นเชลย ตันก๋งยอมตาย โจโฉเสียดายอยากเอาตัวไว้ใช้งาน บทสนทนาช่วงท้ายก่อนตันก๋ง จะเดินเข้าสู่ลานประหารและพูดด้วยความเด็ดเดี่ยวว่า ข้ายอมตาย โจโฉ พูดตอบว่า ท่านจะเลือกตายก็เป็นสิทธิของท่าน แต่พ่อ แม่ ลูกเมียท่านละจะอยู่อย่างไร ตันก๋งกล่าวตอบว่า “ผู้ปกครองที่มีความกตัญญูย่อมไม่พาลถึงญาติ ผู้ปกครองที่มีคุณธรรมย่อมไม่ฆ่าล้างโคตรใคร ชีวิตพ่อ แม่ ลูกเมียข้าขึ้นอยู่กับใจของท่าน”

ในทางพระพุทธศาสนานั้น ก็บอกว่าใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า วันนี้ถ้าใจของท่านทั้งสอง กอรปด้วยคุณธรรม ขออภัยถ้าจะพูดอีกว่า ถ้าจะไม่พาลหรือจะเรียกว่า “แวะ” “เลาะ” ไปในทุกเรื่อง การพระศาสนา จะได้ประโยชน์จากคนเก่ง คนมีสติปัญญาของท่านทั้งสองมากทีเดียว ทั้งหมดนี้จึงขึ้นอยู่กับใจของท่าน ลองถามใจตัวเองดู

อีกประการหนึ่งอันนี้เฉพาะอาตมา (จริงๆ) ไม่มีเจตนาเป็นอื่นได ไม่เกี่ยวกับท่านทั้งสอง แต่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า อาตมาเองได้ยึดถือรื่องนี้มาโดยตลอด แม้ว่าตัวเรากับคนอื่นจะมีวิวาทต่อกัน คิดต่างกัน หรือต่อว่าต่อขานกันบ้าง หนักนิด เบาหน่อย แต่อุปัชฌาย์ อาจารย์ของอาตมาท่านสอนให้รู้จักการให้เกียรติคนอื่น เคารพและรับฟังความคิดเห็นของเขา ถ้าไม่เห็นด้วยก็แสดงเหตุและผลของเราให้เขาฟัง อย่าก้าวร้าว อย่าตีรวน

ท่านบอกอาตมาให้ท่องบทโคลงโลกนิติบทนี้ให้ขึ้นใจ เพราะสื่อถึงความหมายและบ่งบอกอะไรบางอย่างได้ชัดเจน

ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร

มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ

โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ

หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน

ขณะที่ดร.สำราญ สมพงษ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์ กล่าวว่า ตนเป็นบุคคลหนึ่งที่เป็นผลผลิตทางการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้  เป็นเด็กกำพร้าครอบครัวแตกแยก ที่หลวงปู่เก็บมาเลี้ยงให้ได้เรียนหนังสือตั้งแต่ป. 1 และได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงฆ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) จบรุ่นเดียวกับเจ้าคุณประสาร และได้สึกออกมาประกอบอาชีพเป็นนักข่าวตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน และได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ที่สถานบันการศึกษาแห่งนี้อีกครั้งในหลักสูตรสันติศึกษา ถ้าไม่มีสถานบันการศึกษาแห่งนี้มีหรือที่เด็กกำพร้าคนหนึ่งจะมีโอกาสใช้คำว่า " ดร." นำหน้า และได้นำหลักวาจาสุภาษิต ทฤษฎีการสื่อสารทั่วไป ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติและทฤษฎีการเสื่อสารเพื่อสันติภาพ พอจะเป็นนักข่าวมืออาชีพได้คนหนึ่ง

 และปัจจุบันนี้มีนิสิตที่เป็นชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากเข้ามาศึกษา ดังนั้นคำตอบที่ถามว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม ก็คือมีไว้เพื่อแก้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยและโลกได้ระดับหนึ่ง


 


วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...