วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

แสดงพระคัมภีร์โบราณที่นอร์เวย์ถวาย"ในหลวงร.9"



พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม  เปิดงานนิทรรศการ "พระบรมธรรมมิกราชแห่งแผ่นดินไทย กับมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ" สืบสานพระราชปณิธาน น้อมถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่  9  สร้างความร่วมมือเชิงวิชาการจากคัมภีร์ใบลานโบราณ โดยมูลนิธิ "ภูมิพโลภิกขุ" สู่วัดไทยในแถบประเทศสแกนดิเนเวียร์

เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2560 พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เดินทางปฏิบัติศาสนกิจ  ณ มหาวิทยาลัยออสโล กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เพื่อเป็นประธานฝ่ายสงฆ์เปิดงานนิทรรศการ "พระบรมธรรมมิกราช แห่งแผ่นดินไทย กับมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ" ซึ่งเป็นนิทรรศการเพื่อสำนึกในพระมหากราณาธิคุณ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
  

ในการนี้ นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล พร้อมด้วย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายอีกิล โล ( Mr. Egil Lothe) ประธานสหภาพชาวพุทธนอร์เวย์ และดร. เจนบราวิกค์ นักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์  ร่วมพิธีในการเปิดนิทรรศการครั้งนี้


การจัดนิทรรศการแสดงคัมภีร์โบราณ คัมภีร์ใบลาน ของมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ได้ไปจัดแสดงคัมภีร์ที่ใช้ในการปริวัติภาษา ผลงานคัมภีร์ของมูลนิธิฯ ประกอบด้วยพระคัมภีร์ใบลานพร้อมไม้ประกับบรรจุในหอผ้า พระคัมภีร์ใบลานบาลีอักษรขอม เพื่อแสดงตัวอักษรขอม บนใบลานและลวดลายไม้ประกับชุดพระคัมภีร์ สมุดทำงานขั้นตอนปริวัตร อักษรขอมเป็นไทย สมุดขั้นตอนการแบ่งวรรคตอนและตรวจชำระ สมุดขั้นตอนการยกร่างแปลภาษาบาลีเป็นไทยเป็นต้น


และที่สำคัญคือ "พระไตรปิฎก ฉบับในมงคลสมัยแห่งสิริราชสมบัติได้ 25 ปี ในรัชกาลที่ 5" ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้ แด่มหาวิทยาลัยออสโล ณ เมืองแห่งนี้  เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2450  (ค.ศ. 1907 ) นิทรรศการครั้งนี้จึงเป็นการประกาศถึงความสำคัญและพระราชปณิธาน พระราชวิสัยทัศน์แห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ ทรงอุปถัมภ์ คุ้มครองพระพุทธศาสนาให้ดีงาม มาอย่างยาวนาน และเพื่อสำนึกในพระมหากราณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
      

นิทรรศการนี้จะได้สัญจรเผยแผ่พระธรรมคำสอน พระคัมภีร์โบราณและประวัติของมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ ด้วยพระราชปณิธานที่ทรงพระราชทานแด่มูลนิธิฯ ไว้เพื่อทำการรักษาพระสัทธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้นำไปเผยแพร่ในวัดไทย ทั่วทวีปสแกนดิเนเวียร์ จัดแสดง ณ วัดไทยนอร์เวย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ วัดพุทธารามกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ และวัดพุทธาราม กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ต่อไป


(Cr. พระวิสุทธิศาสนาวิเทศ วัดสระเกศ รายงานและภาพ จากเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์)


พระสงฆ์ไทยยุค4.0แบกหามก่อสร้าง? ที่โยมต้องการ



 โครงสร้างพื้นฐานตามปัจจัย 4 มนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่เมื่อมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่คุ้มกำเนิด ทำให้รัฐไม่สามารถที่จะอำนวยความสำดวกได้อย่างทั่วถึง ทำให้บางคน บางครอบครัว เป็นอยู่ตามยถากรรม และมีการแจ้งขอความช่วยเหลือจากสังคมก็บ่อยครั้ง


ขณะที่พระสงฆ์ไทย นอกจากจะมีหน้าที่ปริยัติ ปฏิบัติ เพื่อถึงปฏิเวธแล้ว หน้าที่อีกประการหนึ่งคือการบริการสังคม ทำให้เห็นภาพของพระสงฆ์ไทยออกมาช่วยเหลือสังคมมากขึ้น อย่างเช่นคราวน้ำท่วมทางภาคอีสานที่ผ่านมาหรือน้ำท่วมที่ภาคใต้หนักสุดที่จังหวัดสตูลอยู่ขณะนี้ หรือการให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงเช่นชาวเขา ดังนั้นทำให้เห็นภาพพระสงฆ์ไทยรวมถึงพระธรรมทูตไทยในต่างแดนแบก หาม ก่อสร้างทางสื่อออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง


และพระสงฆ์ไทยนั้นก็เลือกชั้นสมณศักดิ์หรือวุฒิการศึกษาอย่างเช่นภาพบนซ้ายมือนั้นยังเป็นพระหนุ่มเปรียญธรรม 9 ประโยคหรือประโยค 9 ขณะเป็นสามเณรและมีตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดประสานศรัทธา (วัดพัฒนาตัวอย่าง) อ.นากลาง จ.หนองบัวลำพู เมื่อจบการศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อถึงปฏิเวธ นอกจากนี้ก็ให้การบริการสังคม เพราะการทำหน้าที่ก็คือการปฏิบัติธรรมตามที่หลวงพ่อพุทธทาสระบุ


ภาพซ้ายมือบนคือพระครูมงคลธรรมธีรคุณ (หลวงปู่บุญ ธัมมธีโร) วัดบ้านหมากมี จ.อุบลราชธานี อายุ 98 ปี นับได้ว่าเป็นเกจิดังทางภาคอีสาน มีวัตถุมงคลที่สร้างเช่นเหรียญมหาปราบปี 2559 เหรียญรุ่นมหาปราบ 2 เหนือดวงหนุนดวง ปี 2559 เหรียญเสมาสร้างบารมี ปี 2560 เหรียญนาคปรก "พุทธบุญบารมี" ปี2560  แม้ว่าหลวงปู่จะอายุมากแล้วแต่ร่างกายยังแข็งแรงแบกไม้ได้ เมื่อศึกษาจากคลิปในเฟซบุ๊กแล้วทราบว่าหลวงปู่เป็นนักอนุรักษ์ชอบจักสานของใช้อย่างเช่นกระบุง


ต่อมาคือภาพด้านล่างทั้งสองภาพจากเฟซบุ๊กพระโต้ง กตปุญโญ เป็นพระธรรมจาริกบนพื้นที่สูงจากศูนย์อบรมศีลธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงบ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ที่กำลังสร้างศูนย์อบรมศีลธรรมฯบ้านเข็กน้อย หากติดตามเฟซบุ๊กจะได้เห็นกิจกรรมของพระท่านอีกมากมาย


นอกจากพระสงฆ์ไทยจากแบกหามดังกล่าวแล้ว ยังมีหน้าที่ในการแบกหามพระพุทธศาสนาในภาวกาลปัจจุบัน










วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

พระบารมี"ในหลวงร.9"แผ่ถึงพระแผ่ธรรม


สมเด็จพระพุฒาจารย์ปิดโครงการพัฒนาสมรรถนะพระธรรมวิทยากรเผยแพร่พระพุทธศาสนาภายใต้กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มอบเกียรติบัตรแก่พระธรรมวิทยากรจำนวน 200 รูป



วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2560 สมเด็จพระพุฒาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ปิดโครงการพัฒนาสมรรถนะพระธรรมวิทยากรเผยแพร่พระพุทธศาสนา ภายใต้กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่ดำเนินการโดยกรมการศาสนาและ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร  พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่พระธรรมวิทยากรจำนวน 200 รูป โดยมีนายสุธน บัววัฒน์ รองอธิบดีกรมการศาสนา ร่วมงานที่อาคารมหาเจษฏาบดินทร์ วัดยานนาวา


โครงการอบรมดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่ีวันที่ 25 กันยายน  ซึ่งนายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ในฐานะกรรมการสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมให้โอวาทว่า


"อยากให้โครงการนี้เป็นที่รับรู้อย่างแพร่หลาย มีผลงานเป็นที่ปรากฏ เพราะเป็นประโยชน์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งงานครูสอนศีลธรรมในวัด ในโรงเรียน พระธรรมทูต พระธรรมจาริก พระนักเผยแผ่ และพระธรรมวิทยากร ซึ่งทั้งหมดก็คือพระทำงาน พระนักเสียสละ จำเป็นต้องมีศิลปะในการถ่ายทอด"


นายมานัส กล่าวว่า สังคมไทยในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เผยแพร่กันอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง แต่ขาดการกลั่นกรอง ทำให้เยาวชนของชาติหมกมุ่นหลงใหลไปในทางเสื่อม จำเป็นต้องนำหลักธรรมทางศาสนามาสร้างภูมิคุ้นกันทางจิตใจให้เข้มแข็ง โครงการนี้เป็นการถวายความรู้ด้านการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา รวมถึงการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้เทคนิคสมัยใหม่โดยสื่อสร้างสรรค์


ขณะเดียวกันภายใต้กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาดังกล่าว กรมการศาสนาร่วมกับแม่กองบาลีสนามหลวง จัดพิธีมอบทุนการศึกษาโครงการสนับสนุนศาสนทายาท สืบสานและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประจำปีงบประมาณ 2560  โดนพิจารณาคัดเลือกพระภิกษุสามเณรที่สอบได้คะแนนสูงที่สุดตั้งแต่ระดับประโยคเปรียญธรรม 3 ประโยค จนถึงเปรียญธรรม 8 ประโยคจากสำนักเรียนทั่วประเทศ จำนวน 200 รูป เข้ารับมอบทุนฯ โดยสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ มีบัญชาให้พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ในฐานะที่ปรึกษาแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นประธานแทนฝ่ายสงฆ์ ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่   27 กันยายน ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร



ทั้งนี้พระวิสุทธิวงศาจารย์ กล่าวว่า การมอบทุนในครั้งนี้  ศน.ได้สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร  รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงรำลึกถึงพระศาสนธรรม จึงได้สละพระราชทรัพย์ของพระองค์ให้แก่ทางราชการเพื่อมาดำเนินการสนับสนุนการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรสืบทอดมาถึงวันนี้ แม้พระองค์เสด็จสวรรคตแล้วก็ตาม แต่ปณิธานของพระองค์ก็ยังมีเหล่าข้าราชการน้อมสนองพระราชประสงค์ตลอดมา ดังนั้น พระหนุ่มสามเณรน้อยมหาเปรียญในที่นี้ ที่มีความพากเพียรเรียนบาลี จึงเป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดศาสนธรรมให้ยั่งยืนสถาพรสืบไป


...................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กกรมการศาศนาและhttps://www.thairnews.com)







ทูตไทยสหรัฐฯพาคณะเข้าวัดเจริญวิปัสสนา



ทูตไทยประจำสหรัฐฯจัดโครงการทูตสัญจรสร้างชุมชนไทยเข้มแข็งร่วมคิดร่วมทำเชิญคนไทยตามเมืองต่างๆ รับประทานอาหารแบบไทยๆ เข้าวัดฟังธรรมฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก่อน"บิ๊กตู่"เยือน



วันที่ 28 ก.ย.2560 เฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, Washington D.C. รายงานว่า ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2560  นายพิศาล มาณวพัฒน์  เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา  พร้อมคณะได้เดินทางไปเยือนเมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี โดยเย็นวันที่ 23 กันยายน นายพิศาลได้ขอให้กงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโกเชิญคนไทยกว่า 40 คนมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกันที่ร้าน Thai Country Cafe ร้านอาหารไทยแท้ซึ่งมีนายสุพัฒน์ ประไพศิลป์ เป็นเจ้าของ โดยได้ความช่วยเหลือจากนายธัญธร หอวัฒนสุข เป็นแม่งานเชิญชวนคนไทยทั้งจากมิสซูรีและอิลลินอยส์มาร่วม มีทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ แม่บ้าน นักศึกษา มาร่วมรับประทานอาหารไทยรสแซ่บหลากหลายมีทั้ง ผัดซีอิ้ว ผัดฉ่า และขาดไม่ได้คือ ไก่ทอด ข้าวเหนียวส้มตำปู ซึ่งหลังจากกินกันอิ่มอร่อยสำราญ


พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นายพิศาลได้เล่าถึงงานด้านต่าง ๆ ของสถานทูต ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาที่กระชับแน่นแฟ้น โดยมีการเยือนระดับนายกรัฐมนตรี ถึง 4 ครั้งในรอบสองปีที่ผ่านมาและที่ประธานาธิบดีทรัมป์กำลังเชิญนายกรัฐมนตรีมาเยือนในช่วงต้นเดือนตุลาคม และแบ่งปันแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นไปในช่วงเปลี่ยนผ่านจากคนรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ไม่เพียงเข้าใจความเป็นไทย แต่ต้องมีบทบาทพลังเสียงในสังคมและระบบอเมริกัน ซึ่งจะช่วยสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนไทยเป็นส่วนหนึ่ง มีส่วนร่วมและสามารถใช้ประโยชน์จากระบบของสหรัฐฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งที่ยั่งยืน เช่น สนับสนุนการประชุมสามัคคีซัมมิต ซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มชาวอเมริกันเชื้อสายไทยรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและธุรกิจระหว่างกัน นอกจากนี้ สถานทูตมีโครงการ เช่น จัดให้นักศึกษาอเมริกันเชื้อสายไทยเข้าฝึกงานกับผู้แทนในคองเกรสเพื่อสร้างเครือข่ายและเข้าใจเส้นทางการเมือง


เช้าวันที่ 24 กันยายน คณะสถานทูตได้ร่วมกับชุมชนไทยอีกกว่า 60 คนทำบุญถวายเพลแด่พระมหานิคมฯ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนาราม พร้อมรับฟังกิจกรรมสำคัญของวัดและชุมชนร่วมกับเมือง เช่น การสอนพระธรรมและวิปัสสนาสมาธิเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้น นพ. คงศักดิ์ ตันไพจิตร ได้กล่าวต้อนรับ เชิญนายพิศาลพูดคุยกับชุมชนชาวไทย จบแล้วร่วมกันรับประทานอาหารที่ต่างคนต่างนำมาอย่างมากมายและเป็นความอบอุ่นยิ่ง เสมือนยกเมืองไทยมาอยู่ในเมืองเซนต์หลุยส์กลางประเทศสหรัฐ


หลังจากนั้น นายพิศาลได้เยี่ยมชมกิจการบริษัทโกลบอลฟูดมาร์เก็ตและยูไนเตดโปรวิชั่น และพบปะกับนายสุชิน ประไพศิลป์ผู้ก่อตั้งกิจการ ซึ่งซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ทั้ง 2 ร้านมีความทันสมัยสวยงาม ระบบมาตรฐาน โดยได้นำเข้าและขายผลิตภัณฑ์อาหารนานาชาติกว่า 45,000 รายการกว่าทั่วโลกและเป็นที่นิยมกับลูกค้าทั้งชาวอเมริกันในเมืองเซ็นหลุยส์และตลาดชาวต่างชาติ เช่น ชาวอังกฤษ อินเดียและตะวันออกกลาง


นอกจากนี้ ยังมีอาหารญี่ปุ่นรสชาติดั้งเดิมราคากันเองดูแลโดยฮามามูระซัง เชฟญี่ปุ่นชื่อดังแห่งเมืองเซนต์หลุยส์อีกด้วย นับว่าคุณสุชินเป็นนักธุรกิจไทยตัวอย่าง ที่นอกจากจะประสบความสำเร็จแล้ว ยังพร้อมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้นักธุรกิจ ผู้ประกอบการที่ประเทศไทยอีกด้วย




วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

พุทธเบ่งบานที่แคนาดาทหารฝึกนั่งสมาธิ กับพระสายมหายาน


 วันที่ 27 ก.ย.2560 จากการติดตามเฟซบุ๊ก Bhante Saranapala ของพระสายมหายานที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองออนแทรีโอ ตอนกลางของประเทศแคนาดา มีโดยมีกิจกรรมในบริบทต่างๆ  รวมถึงการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ยูเนสโกเทิด"ในหลวงร.9"กษัตริย์นักสันติภาพ


ยูเนสโกจัดพิธีถวายราชสสุดี "ในหลวง ร.9 ศาสตร์พระราชา สันติภาพที่ยั่งยืน" ยกย่องพระองค์เป็นกษัตริย์นักพัฒนา ในการประชุมสันติภาพนานาชาติ 2517


วันที่ 26 ก.ย.2560  สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้จัดพิธีถวายสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ยกย่องพระองค์เป็นกษัตริย์นักพัฒนา ในการประชุมสันติภาพนานาชาติ 2517 (International World Peace) ในหัวข้อ “การสร้างสันติภาพในสังคมอย่างยั่งยืน: มรดกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”


ในการนี้ประธานกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก ประจำองค์การยูเนสโก กล่าวยกย่องว่าตลอดเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนสันติภาพ  ทรงใช้หลักนิติธรรม ในการปกครองดูแลประชาชน ควบคู่กับการหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความเจริญรุ่งเรือง



ขณะที่ผู้แทนของประเทศเอลซัลวาดอร์ กล่าวถึงพระราชดำริโครงการต่าง ๆ ของพระองค์ที่ทรงมุ่งมั่นพัฒนาประเทศ พร้อมกล่าวสดุดีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะเป็นแนวคิดที่ยูเนสโก ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


ด้านนางอิรินา โบโควา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก  ได้กล่าวยกย่องพระองค์ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เศรษฐกิจพอเพียง  และการศึกษาของประชาชนในประเทศ

.........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.news1005.fm/view/59ca107de3f8e48a7740456f)

เมียนมา-มจรร่วมมือพัฒนาวิปัสสนากรรมฐานไทย




เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560  พระสะยาดอ ภัททันตะวิโรจนะมหาเถระ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานงุยเตาอู อ.ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมา  และพระราชสิทธิมุนี วิ. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสำนักวิปัสสนากรรมฐานงุยเตาอูกับสถาบันวิปัสสนาธุระ ในการพัฒนาวิปัสสนากรรมฐานไทย

พร้อมกันนี้พระราชสิทธิมุนี ยังได้ตรวจเยี่ยมพระนิสิตในหลักสูตรวิปัสสนาภาวนา มจร ที่ปฎิบัติกรรมฐาน 3 เดือนและพระสังฆาธิการ พระภิกษุที่สมัครเข้าโครงการปฎิบัติกรรมฐาน 7 เดือน ของสถาบันวิปัสสนาธุระด้วย

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

"พระธรรมทูตไทยในสหรัฐฯร่อนสารวอนหัวหน้าโจรใต้หยุดฆ่าหลัง"มหาอภิชาติ"สึก



เรื่อง ขอความกรุณาหยุดฆ่าและหยุดทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักฐานการฆ่าเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
เจริญพร ท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้าย ผู้ปฏิบัติการก่อการร้ายทุกระดับในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

อาตมาตระหนักดีตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งบุคคลอื่นๆก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น อาตมาคาดคะเนว่า ท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้าย และผู้ก่อการร้ายระดับปฏิบัติการทุกท่าน คงจะรักชีวิต รักตัวกลัวความตาย กลัวการฆ่า กลัวการทำร้าย ทั้งร่างกายและจิตใจ กลัวการถูกจองจำ กลัวความอดอยาก กลัวความพลัดพราก มีความรู้สึกรักลูกรักคู่ครองและรักครอบครัวเช่นกันกับมนุษย์อื่นๆถ้าอาตมา คิดผิดและพูดพูดผิดต้องขออภัยต่อท่านผู้ก่อการร้ายด้วย อาตมามองจากมุมพระสงฆ์ที่เห็นว่าบนโลกนี้มนุษย์ควรอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ไม่ควรมีใครมีสิทธิ์ในการทำร้ายใคร

อาตมาเขียนจดหมายเปิดผนึกมาหาท่านหัวหน้าผู้ก่อกการร้ายและ ผู้ก่อการร้ายระดับปฏิบัติการเพื่อเจริญพรว่า เพียงเดือนกันยายนเดือนเดียว ท่านผู้ก่อการร้ายได้ฆ่าเพื่อนร่วมจังหวัดร่วมชาติร่วมแผ่นดินเดียวกันไปหลายศพแล้ว สดๆร้อนๆอาทิตย์เดียวเกิน 7 ศพ บาดเจ็บเกิน 10 แล้ว ท่านรู้สึกอย่างไรบ้างที่ท่านฆ่าเพื่อนร่วมภาค เพื่อนร่วมชาติ เพื่อนร่วมจังหวัด ของท่านมากมายถึงเพียงนี้ ท่านไม่รู้สึกสงสารบ้างหรือ ท่านทราบไหมว่า คนไทยและข้าราชการระดับสูงของไทยรักท่านเพียงใด แม้ท่านจะฆ่าคนตายมากมายถึงเพียงนี้ แต่ข้าราชการตำรวจทหารระดับเก่งหัวกะทิ ก็ไม่เคยทำอะไรท่าน ไม่เคยจับท่านหรือนำพวกท่านมาลงโทษ เมื่อสามวันที่ผ่านมา คือ วันที่ 20 กันยายน 2560 มีพระรูปหนึ่งท่านแค้นที่เพื่อนพระของท่านและญาติโยมของท่านถูกฆ่าตาย ได้กล่าวคำรุนแรงต่อท่านผู้ก่อกการร้ายที่ไปคร่าชีวิตเพื่อนรักของท่าน ทางราชการไทยระดับสูง ตระหนักว่า พระสงฆ์ไม่ควรกล่าววาจารุนแรงต่อผู้ก่อการร้าย ทางตำรวจไทยได้กดดันให้พระมหาอภิชาติ ที่กล่าวคำหยาบคายต่อท่านผู้ก่อการร้าย ลาสิกขาไปแล้ว โดยอ้างความผิดอะไร อาตมาไม่ทราบแน่แต่อยากจะบอกว่า ตำรวจไทยรักและให้ความคุ้มครองปกป้องศักดิ์ศรีของผู้ก่อการร้ายเพียงใด

มาถึงวันนี้อาตมายืนดูเพื่อนร่วมชาติล้มตายเป็นใบไม้ร่วง โดยไม่เห็นแสงสว่างแห่งความหวังว่าตำรวจทหารและเจ้าหน้าที่จะปกป้องพี่น้องและเจ้าหน้าที่ให้ปลอดภัยได้ เพราะแต่ละวันทหารผู้น้อยและอาสาสมัคร บาดเจ็บล้มตายลงทุกวัน น้ำตาของผู้สูญเสียมากมายเพียงใด ทุกฝ่ายคงทราบกันดี แต่ไม่มีใครจะยับยั้งความตายอันโหดเหี้ยมนี้ได้

อาตมาจึงเห็นว่า ควรเจริญพรมายังท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้าย ผู้ก่อการร้ายทุกระดับ ที่ปฏิบัติงานอยู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอความกรุณายุติการฆ่าเสียเถิด ถึงฆ่าไปก็ตายเปล่าแม้ศพจะท่วมทับเป็นภูเขา เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและผู้บริสุทธิ์ก็ป้องกันตัวเองและประชาชนไม่ได้ 10 ปีมานี้ ได้สังเวยความโหดร้ายของท่านผู้ก่อการร้าย หลายพันศพแล้ว หมอ ครู พระ ผ่านการตายมาหมด ตำรวจทหารชั้นผู้น้อย ตายนับไม่ถ้วน ขอให้ท่านผู้ก่อการร้ายพอเถอะ ยุติการฆ่าแล้วร่วมกันพัฒนาดีกว่านะ

ภาคใต้ดินดำน้ำชุ่ม ถ้าท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้าย ประสานงานเครือข่ายการฆ่าแล้วยุติพร้อมกัน ประชาชนได้ทำไร่ไถนาตามปกติ กรีดยางเก็บปาล์มเก็บลองกง ปักษ์ใต้จะน่าอยู่และน่าเที่ยวอันดับโลกในพริบตา

ท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้ายอาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่บอกนายก หรือ รัฐมนตรีกลาโหม มาบอกหัวหน้าผู้ก่อกการร้ายทำไม

อยากตอบท่านหัวหน้าผู้ก่อกการร้ายว่า อาตมายังไม่อยากสึกกลางพรรษา เหมือนท่านมหาอภิชาติ ท่านหัวหน้าผู้ก่อกการร้ายน่าจะทราบดีว่า หมายถึงอะไร

อาตมาเป็นพระเชื่อพระพุทธเจ้า เหตุเกิดที่ใดก็ดับที่เหตุ เมื่อมีการก่อการร้าย ไปแจ้งตำรวจหรือทหารก็ไม่ถูก เพราะตำรวจทหารเขาไม่ได้ก่อกการร้าย ก็ต้องมาบอกผู้ก่อการร้ายกันตรงๆนี่แหละ จึงจะตรงประเด็น ตรงที่ตรงคน

หากข้อความใด กระทบความรู้สึก ท่านหัวหน้าผู้ก่อการร้ายหรือผู้ก่อการร้ายขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย ขอให้เห็นใจกรุณาแก่พระรูปหนึ่งที่ไม่อยากเห็นการรบราฆ่าฟันบนผืนแผ่นดินอันสวยงามสมบูรณ์นี้อีกต่อไป

จึงเจริญพรมาเพื่อทราบและให้ความอนุเคราะห์ยุติการฆ่าและทำร้ายทุกชนิดต่อไป

ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ

ปล.ใครรู้จักหัวหน้าผู้ก่อการร้าย กรุณาส่งต่อให้ด้วย ขอบคุณล่วงหน้า

ประวัติ "ดร.พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ"

เกิด วันที่ 2 มกราคม 2502 ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ปี วัน ที่ 22 เมษายน พ ศ 2515อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 21 ปี วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2523สถาน ที่บรรพชาและอุปสมบท วัดขันเงิน ต วังตะกอ อ หลังสวน. จ ชุมพร โดยมี พระราชญาณกวี หรือ หลวงพ่อบุญชวน เขมาภิรัต เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษา

การศึกษาปริยัติธรรม
- นักธรรมชั้นเอก
- เปรียญธรรม 7 ประโยค
- ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาครุศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- ปริญญาโท รัฐศาลตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปูนา ประเทศอินเดีย
- ปริญญา เอก รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย โดยมีวิทยานิพนธ์ เรื่อง "การศึกษาแนวคิดทางการเมืองและสังคมของพระพุทธเจ้า” (A Study of The Buddha’s Socio-Political Ideas)

หน้าที่การงานปัจจุบัน
- เป็นเจ้าอาวาสวัดลอยฟ้า Facebook : Skytemple และ เวปไซต์ www.skytemple.org
- อดีตเจ้าอาวาสและประธานคณะกรรมการอำนวยการวัดพุทธปัญญา เมืองโพโมน่ารัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Wat Buddhapanya : 1157 INDIAN HILL BLVD., POMONA, CA 91767 (USA)
- ได้รับการแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคมให้เป็น พระธรรมทูตพิเศษ สายประเทศสหรัฐอเมริกา
- ผู้อำนวยการสถาบันปัญญานันทะ ค่ายคุณธรรม วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้การศึกษาพระพุทธศาสนาในแนวลึกและประยุกต์แก่ประชาชนทั่วไปและ เยาวชนมามากกว่า 500 รุ่น รุ่นละ 80 - 100 คน ระหว่างปี พ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2544
- อดีตรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- อดีตรองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

............................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก มั่นใจว่าประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติตลอดไป)

รัฐบาลจีนหนุนสร้าง"พุทธวิทยาลัย"แผ่ธรรมทั่วโลก



รัฐบาลจีนส่งเสริมการศึกษาสงฆ์สร้าง "พุทธวิทยาลัย" เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมไปทั่วโลก

วันนี้ (๒๓ กันยายน ๒๕๖๐) เวลา ๙.๐๐ น. พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ มีพระธรรมโพธิวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล พระวิสุทธิศาสนวิเทศ ผู้ช่วยเลขานุการประธาน สนง.กำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ เป็นต้น ปฏิบัติศาสนกิจ เป็นประธานสงฆ์ฝ่ายเถรวาท เปิดพุทธวิทยาลัย เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมไปทั่วโลก เจริญศาสนสัมพันธ์ เถรวาท - มหายาน ณ พุทธวิทยาลัยหนานไห่ วัดหนานซัน เมืองซันย่า เกาะไหหลำ (ไห่หนาน) สาธารณรัฐประชาชนจีน


ในโอกาสนี้พระอาจารย์จีนวิเทศศาสนานุสิฐ (ท่านเจ้าคุณพระยิ่งซุ่น) เจ้าอาวาสวัดหนานซัน พร้อมด้วยผู้แทนคณะรัฐบาลกลางจีน คือนายจางเจี้ยหยง รองรัฐมนตรีกระทรวงการศาสนา ประเทศจีน ผู้ว่าการเมืองไหหลำ ผู้อำนวยการสำนักพุทธประจำเมืองไหหลำ ถวายการต้อนรับอย่างอบอุ่น


"การดำเนินการประสบความสำเร็จของพุทธวิทยาลัยทะเลจีนใต้ ไม่เพียงแต่ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และสถานที่เท่านั้น ยังเป็นการแข่งขันของการศึกษาสงฆ์จีน และเพิ่มความน่าสนใจของประเทศจีนไปทั่วโลก" รองรัฐมนตรีกระทรวงการศาสนา กล่าว


"อาคารพุทธวิทยาลัยของทะเลจีนใต้ ได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมชาวพุทธในพื้นที่ทะเลจีนใต้ และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแผ่วัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม ส่งเสริม ความสัมพันธ์ 'ระหว่าง' ประเทศทำให้เกิดมิตรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี" ผู้ว่าการเมืองไหหลำกล่าวในพีธีโดยลำดับ


วิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหนานซัน เมืองซันย่า ถือเป็นสถานที่สำคัญของเกาะเพราะอยู่บริเวณทางใต้ของเกาะไหหลำ วัดดังกล่าวมี รูปพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (เจ้าแม่กวนอิม สูงใหญ่ขนาดสูง ๑๐๘ เมตรอยู่ติดริมทะเล )โดยทางรัฐบาลและสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติจีน เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของคณะสงฆ์ ไม่เพียงเท่านั้น วิทยาลัยดังกล่าว ได้เปิดขึ้นเพื่อรับรองบรรดาคฤหัสถ์ ผู้มีความสนใจในพระสัทธรรม เพื่อจะพัฒนาคน ให้เป็นบุคลากรที่ต้องการของสังคม ถือได้ว่าเป็นวิทยาลัยพุทธศาสนาที่มีความพร้อม และทันสมัย เป็นวิทยาลัยสงฆ์ ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เพื่อพันธกิจของสถาบัน ส่งเสริมพระพุทธศาสนา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความเชื่อของชาวพุทธทั้งใน และประเทศใกล้เคียง แถบทะเลจีนใต้ เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมไปทั่วโลก


ข้อมูลจาก http://dw.chinanews.com/chinanews/content.jsp…

http://mp.weixin.qq.com/s/iuH620CDZLkQ6JOTfQbg7Q

http://mp.weixin.qq.com/s/q0e_veWNGfH87O_UVjhehg

http://hain.chinadaily.com.cn/2017-…/…/content_32379770.htm…

(Cr. พระวิสุทธิศาสนาวิเทศ วัดสระเกศ รายงานและภาพ จากเกาะไหหลำ สาธารณรัฐประชาชนจีน)

https://timeline.line.me/…/_daxOkg-hapL…/1150617851010062681

แนะสันติศึกษา"มจร"สางขัดแย้งปม"มหาอภิชาติ"


ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ "มจร" แนะสันติศึกษาสางขัดแย้งทางสื่อออนไลน์ปม "มหาอภิชาติ" เพื่อให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  เสนอนำเด็กต่างศาสนามาเรียนรู้ร่วมกันดูต้นแบบที่กุฎีจีน


วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวบรรยายเรื่อง "การวิจัยเชิงพื้นที่ การประยุกต์พระพุทธศาสนา หลักการและวิธีการ" แก่ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยความว่า ปัจจุบันรูปแบบในการวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคไทยแลนด์ 4.0 มียุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 4 ยุทธศาสตร์ จากเราวิจัยเดิมๆ พัฒนามาเป็นนวัตกรรม เช่น ปัจจุบันเรามีความขัดแย้งในเฟชบุ๊กจำนวนมาก


"ในกรณีอดีตพระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท ที่ถูกนิมนต์ให้ลาสิกขาหรือสิกขาเองก็ตามนั้น สังคมมีความขัดแย้งกันมาก ในฐานะที่เรามีหลักสูตรสันติศึกษาของมหาจุฬาฯ เราจะทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าศาสนาใดดีกว่ากัน สันติศึกษาจะเสนอมุมมองอย่างไร ? ให้คนมีความเคารพกันในความแตกต่าง ด้วยการแปลงมาเป็นนวัตกรรม เช่น การพูดคุยกัน การเสวนาทำความเข้าใจกัน ฝากหลักสูตรสันติศึกษาทำวิจัยลักษณะตอบโจทย์สังคมที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน


เพราะปัจจุบัน "ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ" มีจำนวน 4 ยุทธศาสตร์ คือ
1)การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่งคงทางเศรษฐกิจ
2) การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
3) การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานประเทศ
4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบุคลากรและระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ


มหาจุฬาฯ ต้องปรับตัวในการทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์สังคมปัจจุบัน ทำอย่างไรมหาจุฬาฯจะสร้างนวัตกรรม เวลาทำวิจัยเรามักไม่สร้างนวัตกรรม เราทำพอผ่านหรือจบๆ เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังสร้างเตาเผาไร้ควันเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ในวัดต่างๆ ในการเผาศพโดยไม่มีควันเพราะจะนำไปสู่มลพิษหรือสารมะเร็ง รวมถึง เครื่องวัดคลื่นสมองเวลานั่งสมาธิในการดูคลื่นสมอง
นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการวิจัยปี 60-64 โดยมีแนวคิดในการวิจัยเพื่อการปฏิรูปประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้น "การพัฒนาคนทางกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา "งานวิจัยของเราจะไปอย่างไรในยุทธศาสตร์ชาติและกระบวนการของพระพุทธศาสนา สอดรับกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ 17 ประการ โดยยึดคุณภาพสังคม ความสุข ความยั่งยืน แล้วกระบวนการวิจัยของเราจะไปอย่างไร " เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพื่อตอบโจทย์องค์การสหประชาชาติ และตอบโจทย์แนวพุทธ " สิ่งสำคัญคือ การพัฒนาคน มหาจุฬาฯ

เราถนัดงานวิจัยเอกสารถือว่าเชี่ยวชาญมาก ซึ่งการวิจัยระดับยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ
1) " ศึกษาวิจัยจากเอกสาร ศึกษาวิจัยโดยการสอบถามความคิดเห็นเชิงสำรวจ สามารถตอบ What R from Data "
2) " ศึกษาวิจัยโดยการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สนทนากลุ่มวิพากษ์เชิงลึก วิจัยโดยการลงมือทดลองกับกลุ่ม ตัวอย่าง บางกลุ่มโดยใช้ความรู้และเทคนิคบางอย่าง กึ่งทดลอง ตอบ What Why R with Demo "
3) "ศึกษาด้วยการลงมือปฏิบัติร่วมกับผู้เกี่ยวข้องโดยการใช้ความรู้และเทคนิคบางอย่าง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง และการลงมือการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเชิงปฏิบัติการ ตอบ R and Development "


การวิจัยของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาฯ มี 11  รูปแบบ ผู้อำนวยการวิจัยพุทธศาสตร์เสนอว่าควร "ใช้การวิจัยแบบทดลองและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ " ในฐานะพระปราโมทย์ วาทโกวิโท เป็นนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา เป็นความหวังของสังคมเมื่อเกิดความขัดแย้ง โดยสร้างการวิจัยเชิงทดลองและปฏิบัติการคือการนำสามเณร 4 รูป เด็กปอเนาะ 5 คน เด็กคริสต์ 5 คน มาเรียนรู้ร่วมกันในท่ามกลางความแตกต่าง วันแรกให้เด็กพูดหรือเขียนว่า อยากเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในสังคมอย่างไร ? ฟังนักสันติภาพแนวกลาง เช่น พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร  พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา  นายย์โคทม อารียา  ดร.สุรินทร์  พิษสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน พาไปดูงานกุฏีจีน การอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธ คริสต์ อิสลาม แล้วนำมาสรุปร่วมกัน ว่าอยากเห็นความสงบเกิดขึ้นอย่างไร ? ให้เด็กเขียนโครงการที่อยากจะทำ แล้วมีการติดตามนี่คือ "นวัตกรรมของสันติศึกษา " จะเกิดความยั่งยืนเพราะเห็นมุมมองของกันและกัน เพราะเรียนรู้กันและกัน สร้างความเข้าใจกัน


เราจะต้องไปเรียนรู้จากภายนอกคือ ศาสตร์สมัยใหม่ จะเห็นมิติความแตกต่าง เช่น ครูอาจารย์มหาจุฬาฯจบจากภายนอกแล้วมาพัฒนามหาจุฬาเช่น หลายรูปจบปริญญาโทจากมหาวิทยาธรรมศาสตร์ อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐก็จบมาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การวิจัยหมายถึงกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อความรู้และนวัตกรรม มี 5  ขั้นตอน เช่น ศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารแล้วสรุปองค์ความรู้เท่านั้น   การวิเคราะห์จากเอกสาร ค้นหาข้อเท็จจริง ข้อมูลความคิดเห็น ปริมาณหรือคุณภาพ สร้างความรู้+กระบวนการ ทดลองทดสอบ สรุปเป็นองค์ความรู้แนวปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งอยากจะให้มหาจุฬาพัฒนามาถึงขั้นที่ ๕ การวิจัยกระบวนการ คือ " คุณธรรม ความสุข ความรู้ การเรียนรู้ ทักษะ ความเสมอภาค "สู่การพัฒนาแบบยั่งยืน กระบวนการ LIST MODEL มี 3 ประการ


1) "Learning การเรียนรู้" เราจะเรียนอะไร? เรียนรู้กับใคร ? เรียนรู้อย่างไร ? ผลของการเรียนคืออะไร ? เพราะปัจจุบันสังคมไทยเราเรียนรู้แล้วจบ แล้วจะทำอย่างไร ? เช่น งานวิสาขบูชาจัดมา 14 ครั้ง เกิดการเรียนรู้มิติร่วมกันกันนานาชาติสร้างเครือข่าย  2) "Innovation นวัตกรรมและการสร้างสรรค์" จึงมีการผลิตพระไตรปิฏกฉบับสากลมหายาน วัชรยาน เถรวาท ทำพระไตรปิฏกร่วมกัน เกิดนวัตกรรม ร่วมถึงการสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ Ibsc ก็เกิดมาจากวิสาขบูชาโลก 3) "Sustainable action ความยั่งยืน" ด้วยการเกิดความยั่งยืนในสิ่งที่ทำร่วมกัน 4) "Transformation การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการอยู่ร่วมกัน


ฉะนั้น ในการวิจัยเราต้องสามารถตอบโจทย์ 4 ประการ คือ 1) เรียนรู้เรื่องอะไร  2) เรียนรู้กับใคร 3) กระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างไร 4) ผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร


ฉะนั้น ถ้าเราจะพัฒนาวิทยากรต้นแบบถือว่าเป็นนวัตกรรมบริการ สร้างความยั่งยืนด้วยศาสตร์สมัยใหม่ จึงมีการเปลี่ยนแปลงสู่การบูรณาการ สรุป คือ การพัฒนาคน ปัจจุบันเราแค่เรียนรู้จำนวนมากงานวิจัยแบบนี้ แต่เราไม่สร้างความยั่งยืนจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันสังคมเรามีการเปลี่ยนแปลงเราต้องตามให้ทัน แต่ต้องมีฐานพุทธ ท่านอธิการบดีมหาจุฬา กล่าวว่า สร้างมหาจุฬาวังน้อย คือ "  10 ปีแรก สร้าง ฮาดแวร์ เป็นอาคารสถานที่ ส่วน 10  ปีหลัง จากพ.ศ.2560  ต่อจากนี้ไปเราจะสร้างซอฟแวร์ คือ สร้างองค์ความรู้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์สังคม "

...................................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

เป็นบุญตายิ่งนัก!เถ้าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า



“รัฐคุชราต” ที่พุทธศาสนาได้วางรากฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หรือ เมื่อประมาณ ๒,๓๐๐ กว่ามาแล้ว ปัจจุบันฝ่ายโบราณคดีของชาวภารตะได้ขุดพบซากโบราณสถานและวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยพุทธอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองในรัฐคุชราตแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อปี ค.ศ. 1957 ศาตราจารย์ B. Subbrao และทีมนักโบราณคดี จากภาควิชาโบราณคดี และประวัติศาสตร์โบราณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาราชาสยาจิเราแห่งบาโรดา (Maharaja Sayajirao University of Baroda) เมืองวาโรดารา ได้ไปทำการขุดเจาะซากสถูปใหญ่ที่เมืองเทวนิโมรี ทางตอนเหนือของรัฐคุชราต ซึ่งการขุดเจาะสถูปนี้ พวกเขาได้พบผอบ ๒ ใบ


ใบแรก ฝังอยู่ใต้ดินชั้นล่างของสถูป ลักษณะเป็นหินเจาะตรงกลางและมีฝาปิด แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่บรรจุสิ่งใด



ใบที่สอง อยู่ช่วงกลางของสถูป มีการก่อหินล้อมไว้อย่างดี ผอบมีลักษณะทรงกลมมีฝาปิด ทำจากหินแปรสีเขียว (chlorite schist) มีอักษรพราหมีจารึกไว้ทุกรอบด้าน นักวิชาการโบราณคดีทีมของศาตราจารย์ V. H. Sonawane จึงได้ช่วยกันแกะ และแปลอักษรพราหมีในจารึก พวกเขาจึงได้รู้ว่า จารึกนี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน อีกทั้งยังได้ทราบว่า เป็นเถ้าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า


จารึกส่วนแรกนั้น กล่าวถึง "ปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งเป็นหลักธรรมที่อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย ๑๒ ประการเกิดขึ้นสืบๆเนื่องกันมาตามลำดับ


จารึกส่วนที่สอง กล่าวถึงความเป็นมาของสถูป ความดังนี้  "...สถูปนี้สร้างในสมัยของพระเจ้ารุทราเสน (Rudrasena) แห่งราชวงศ์กธิกะ (Kathika) โดยการกำกับดูแลของพระสงฆ์ ๒ รูปได้แก่ พระอัคนีพรหม (Agnivarmma) และพระสุทรสนะ (Sudarsana) ที่ใกล้ๆ กับเมืองกรมันฏิกะ (Karmantika) และปสันฏิกะ (Pasantika) สำหรับผอบนั้นสร้างถวายเป็นที่ประดิษฐานของ ทศพลสรีระ (Dashabalasharira) โดยพระเจ้าวรหะ โอรสของพระเจ้าเสนะ มีพระภิกษุมหาเสนะเป็นผู้จัดเตรียมผอบเพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุ..."


นอกจากคำว่า ทศพลสรีระแล้ว ก็ยังมีคำจารึกพระนามอื่นของพระพุทธเจ้าอีก คือ ศากยภิกษุอวตาร (Sakyabhikshukavatr) ส่วนสาเหตุที่เถ้าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไปอยู่ไกลถึงตอนเหนือ ของรัฐคุชราตนั้น เกิดจากพระเจ้าอโศกได้แบ่งพระบรมสาริกธาตุและเถ้าพระบรมสารีริกธาตุใหม่ แล้วนำไปประดิษฐานตามวัดพุทธวิหารต่างๆ ถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีป ในเวลาต่อมากษัตริย์เมืองเทวนิโมรีก็ได้รับมาด้วยเช่นกัน จึงได้สร้างสถูปเจดีย์ครอบไว้ เมื่อราว พุทธศักราช ๗๐๐-๘๐๐


ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุ ที่ทางคณะฯ ได้ขุดค้นพบและเก็บรักษาไว้ในตู้เซฟอย่างดีในห้องทำงานของหัวหน้าภาควิชา และชั้นล่างมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงแสดงพุทธอารยธรรมในรัฐคุชราตที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง...


เรียบเรียงโดย: สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ  ขอบคุณ ภาพ/ข้อมูล: Phramaha Anuchon Khammee

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

พระแนะพัฒนากายสมาร์ทให้ควบคู่จิตปัญญาสมาร์ท


พระผอ.หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" แนะพัฒนากายสมาร์ทควบคู่จิตปัญญาสมาร์ท เป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐแน่  พร้อมตั้งคำถามรัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างไร

เมื่อเวลา 09 :00น.  ที่อาคารรัฐสภา 2 คณะอนุกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จัดการอภิปราย เรื่อง "การพัฒนาจิตใจและพัฒนาปัญญา"  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำทางศาสนา นักวิชาการ และนักปฏิบัติได้ร่วมกันหาแนวทางและเครื่องมือในการดำเนินตามแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมด้วย


พระมหาหรรษา กล่าวว่า ตามที่กฏหมายรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 ได้บัญญัติว่า "รัฐพึงอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น.... รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา..." นั้น คำถามที่สำคัญคือ รัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างไร จึงจะทำให้การพัฒนาจิตใจและปัญญาอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ และนี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้คณะอนุกรรมการด้านศาสนาฯ  ซึ่งมีอาจารย์สมพร เทพสิทธา  ประธานคณะอนุกรรมาธิการศาสนาฯ จัดสัมมนา เรื่อง "การพัฒนาจิตใจ และการพัฒนาปัญญา" เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว


จิตใจและปัญญาของคนไทยมีปัญหาอะไร?!? จึงต้องใช้หลักธรรมพระพุทธศาสนาเถรวาทมาช่วยเติมเต็ม เมื่อมองมิติด้านจิตใจ คนไทย (บางคน) ใจแคบ ใจทุกข์ และใจแล้งพรหมวิหาร ในขณะที่มิติทางปัญญา คนไทย (บางคน) ปัญญาอ่อน ปัญญามือบอด ปัญญาเสพมากกว่าปัญญาสร้าง ปัญญาที่มุ่งแสวงหาช่องมุจริตคิดคด เพื่อประโยชน์ส่วนตนไม่สนใจความอยู่รอดของคนอื่นๆ ในสังคมและชุมชน จิตใจและปัญญาฉาบทาด้วยลักษณะบางอย่างดังกล่าวแล้ว จึงทำให้รัฐ จึงทำให้รัฐจึงมุ่งออกแบบรัฐธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง" โดยมุ่งหวังให้นำกลักธรรมมาปลูก ปลุก ปรับ และเปลี่ยน


หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่จะนำมาเสริมปัญญาและพัฒนาจิตนั้น ชัดในตัวเองอยู่แล้ว การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา จึงหมายถึงการนำไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สาธิ และปัญญาเข้ามาช่วยส่งเสริมแล้วพัฒนา ซึ่งเป็นการสรุปรวบรอดจากมรรค 8 ตามแนวทางทาง "ปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม และปล่อยวางจิตใจ" อันเป็นการใช้สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ มาปรับความคิด การนำสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะมาเปลี่ยนพฤติกรรม และการนำสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิมาปล่องวางจิตใจ


ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการเชิงนโยบายที่รัฐน่าจะต้องนำมาช่วยพัฒนาจิตใจและปัญญานั้น คือ การเน้นพัฒนาโรงเรียนสติ และสมาธิ (Mindful School) โรงเรียนสันติสุข (Peaceful School) หลักสูตรสติ และวิชาสมาธิในสถานศึกษา และที่ทำงาน (Peaceful Subject&Curriculum) การพัฒนาวันสติ หรือชั่วโมงสติในที่ทำงาน รวมไปถึงการพัฒนาจิตดิจิทัลควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและการสื่อสารทางดิจิตัล พร้อมๆ กับการพัฒนานวัตกรรมทางสติเพื่อให้เกิดการใช้ปัญญาแบบนวัตกรรมประดิษฐ์คิดค้นความสุขควบคู่ไปกับสร้างความสะดวกสบายทางกายตามแนวทางของ Smart City ดังนั้น Smart City จึงไม่ได้เน้นเฉพาะความสะดวกสบายทางกายเท่านั้น แต่สร้างสร้างพื้นที่ให้คนสามารถมี Smart Mind คือมีจิตใจที่มีความสุข มีปัญญาในการที่คิดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และสร้างโลกใบนี้ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วย


...............................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)


สุดทึ่ง!ทุกตารางนิ้วของร.ร.คือสื่อการเรียนการสอน



วันที่ 23 ก.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Mommy & kid ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า "Idea for school ไอเดียร์สำหรับโรงเรียน แทรกสื่อการสอนได้ทุกที่" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด



ปธน.อินเดียสักการะพระพุทธรูปและดร.อัมเบดการ์ โอกาสเยือนรัฐมหาราษฏร




วันที่ 22 ก.ย.2560 นายราม นาถ โควินธ์ ประธานาธิบดีประเทศอินเดีย ได้เดินทางไปรัฐมหาราษฏร ประเทศอินเดีย โดยเข้าสักการะพระพุทธรูปและรูปปั้นดร.อัมเบดการ์ หรือ ดร.บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ซึ่งเป็นบุคคลที่เกิดในวรรณะศูทร ที่พัฒนาตัวเองจนได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม และเมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราช ได้เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดียประกาศใช้จนถึงทุกวันนี้ และต่อมาได้นำพาคนอินเดียวรรณะต่ำหันมานับถือพระพุทธศาสนา ที่ Deeksha Bhoomi Nagpur พร้อมกับเปิดศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน





...............

(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก President of India)

สื่อผู้ดีทำข่าว!พระธรรมฑูตไทยเยี่ยมรัฐสภาอังกฤษ



 เมื่อเร็วๆนี้ พระราชวิเทศปัญญาคุณ (ดร. พระมหาเหลา ปญฺญาสิริ) รองประธานพระธรรมฑูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ นำคณะพระธรรมฑูตปฏิบัติศาสนกิจวัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร ประจำพรรษากาล 2560 เข้าเยี่ยมชมอาคารรัฐสภาอังกฤษ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament) เพื่อศึกษาเรียนรู้ระบบนิติบัญญัติและการบริหารราชการของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการศูนย์พัฒนาศักยภาพพระธรรมฑูตสายต่างประเทศในสหราชอาณาจักร ณ วัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร


ทั้งนี้ วันนี้พระราชวิเทศปัญญาคุณ,ดร. ได้นำคณะสงฆ์เข้าเยี่ยมชมภายในอาคารรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (ภายในหอนาฬิกาบิ๊กเบน ริมแม่น้ำเทมส์ กรุงลอนดอน) โดยคณะพระธรรมทูตไทยได้รับโอกาสให้เข้าไปเยี่ยมชมภายในห้องประชุมสภาขุนนาง (House of Lords) และสภาสามัญชน (House of Commons)รวมถึงภายในห้องที่ประดิษฐานพระแท่นราชบัลลังก์ที่ประทับแห่งพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สถานที่ประชุมสภาและจุดเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อหน้าประวัติศาสตร์โลกมากมาย โดยระบบรัฐสภาของอังกฤษนั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น “แม่แบบแห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยอีกด้ว


พร้อมกันนี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภาอังกฤษได้สนใจทำข่าวด้วย

............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร)

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

"ออมสิน"เปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการพีอาร์พ.ศ.4.0



วันที่ 21 ก.ย.2560 นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการภายใต้แนวนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และบรรยายพิเศษ“นโยบายรัฐบาลกับการสื่อสารกับสื่อมวลชน ในยุคไทยแลนด์ 4.0” จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยกลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่  ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ (สะพานซังฮี้) เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร


นายกนก แสนประเสริฐ รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐนำเสนอและประชาสัมพันธ์ผลงานของหน่วยงานให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ในรูปแบบต่างๆ ที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวนโยบายประเทศไทย 4.0 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการ  
................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติhttp://www.banmuang.co.th/news/education/91441)

"ประวิตร"ยันอดีตพระมหาอภิชาติขอสึกเอง

อดีตพระมหาอภิชาติ ถูกตำรวจกองปราบปรามควบคุมตัวเมื่อวันที่ 19 ก.ย.และนำตัวเข้ากรุงเทพฯและมีการลาสิกขาบทวันที่ 20 ก.ย.ถูกดำเนินคดีข้อหาโพสต์ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กและอัพคลิปขึ้นเว็บไซต์ยูทูป โจมตีศาสนาหนึ่งเข้าข่ายสร้างความเกลียดชัง อันเป็นผลกระทบจากการสื่อสารทางสื่อออนไลน์ในยุคดิจิตอล ควรที่คณะสงฆ์ไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดฝึกอบรมพระภิกษุและสามเณรให้เข้าใจพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.คณะสงฆ์ รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง รู้ไกล และควรจะมีการสร้าง "สายข่าว" และมีผู้รู้กฎหมายชี้แนะ - สะพัด ! กองปราบบุกรวบพระมหาอภิชาติ http://www.banmuang.co.th/news/crime/91241-"ประวิตร"ยันอดีตพระมหาอภิชาติขอสึกเอง http://www.banmuang.co.th/news/politic/91390

รัฐบาลสร้างนักรบไซเบอร์พันคนปี61




เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 21 ก.ย.ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เปิดงานและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"ดิจิทัลกับการขับเคลื่อนเศรฐกิจและสังคมในประเทศไทย 4.0" ในงาน  “Digital Thailand  Big Bang 2017” ซึ่งจัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


"รัฐบาลพยายามผลักดันประเทศให้เดินหน้าโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพให้ทุกคนเข้าถึงอย่างทั่วถึงวันนี้เรากำลังเดินหน้าประเทศด้วยการปฏิรูปเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศของเรา จึงต้องใช้ระบบดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำสร้างโอกาสของประชาชนในการกระจายรายได้ โครงการเน็ตประชารัฐจะสามารถขจัดความยากจนจากประเทศไทยได้เหมือนกับการให้อินเตอร์เน็ตแก่ชาวนา" พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวและว่า


ส่วนการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์  รัฐบาลกำลังสร้างนักรบไซเบอร์ 1,000 คนในปี2561 เพื่อเฝ้าระวัง รักษาความปลอดภัยแก้ปัญหาหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ทั้งหมดเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยให้ดีขึ้นในทุกมิติ

ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/politic/91393

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

ข้อมูล

พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา กล่าวส้่ พระพรหมบัณฑิต ศ

.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต)  กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ในวันที่  17 ก

.ย.  ได้เป็นประธานเปิดนิทรรศการ "กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต" ที่หอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร  (1) การจัดทำเป็นดิจิทัล ที่จัดเก็บข้อมูลและการนำเส

นอแบบดิจิทัล ทั้งไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง ของกิจกรรม และหนังสือจำนวนมาก และวางแนวทางการบริหารให้สอดรับ และอยู่รอดกับโลกในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิผลต่อ

ไป"  -เปิด"กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต"ถามหาคำพูดที่ยูเอ็น http://www.banmuang.co.th/news/education/91049

พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า  ในยุคดิจิตอลเทคโนโลยีมีความเจริญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลที่เผยแพร่ทางโลกดิจิตอลนั้นมีลักษณะเป็นมารคือมีทั้งจริงและไม่จริงเป็นภัยก็

มาก  ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นข้อมูลเชิงบวกที่เป็นประโยชน์ขึ้นไปในกระแสโลกดิจิตอลบ้าง แนวทางก็คือจะ

ต้องมีการร่วมมือของชาวพุทธเป็นลักษณะเครือข่าย

ด้วยเหตุนี้มหาจุฬาฯจึงได้ลงทุนงบประมาณเป็นจำนวนมากด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการจัดการศึกษา กิจกรรมการเรียนสอน ทั้งสื่อการสอน การสอนและประชุมทาง

ไกล ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีถูกลงมาก


"อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญอยู่ที่เนื้อหา (Content) ซึ่งอาจารย์และนิสิตควรร่วมมือกันออกแบบเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจ เพื่อพานิสิตเข้าถึงองค์

ความรู้ที่กว้างขวางและมีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้ มหาจุฬาฯ จึงมุ่งที่จะนำพระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text:

CBT) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog of Buddhist Text:UCBT) โดยการสร้างโปรแกรมดิจิตอล เพื่อแปร

ข้อมูลพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน เป็นระบบดิจิตอล  ซึ่งจะทำให้ชาวโลกสามารถ Search Engine เข้าถึงเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึง

กันเหมือนกัน Google" พระพรหมบัณฑิตระบุ

พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้กล่าวว่า  หลังจากนั้นได้มี

การอภิปรายโต๊ะกลมโดยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักวิชาการจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอปัญหา และโอกาสของยุคดิจิตอล โอกาสของยุคดิจิตอลนั้น ได้เปิดช่องทางให้ชาว

โลกได้เชื่อมถึงกันอย่างรวดเร็ว ทั้งการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี สำหรับการไปมาหาสู่ทั้งทางบก และทางอากาศ การมีศักยภาพที่จะเข้าถึงและใช้สอยข้อมูลที่หลาก

หลายสำหรับการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ต่างๆ ในการสร้างความร่วมและแสวงหาประโยชน์ร่วมกันของมนุษยชาติ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาในยุคดิจิทัลก็มีมากมายเช่นกัน เราใช้การสื่อสารเพื่อเชื่อมกัน แต่นับวันความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และสังคมเริ่มเหินห่างกันมากยิ่ง

คนสนใจดิจิทัลแต่ไม่สนใจชีวิตของกันและกัน คนชอบที่จะเสพมากกว่าที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ข้อมูลที่ท่วมทันแต่อยากที่จะแยกแยะอันไหนจริงและปลอม คนใน

สังคมจึงขัดแย้งเพราะข้อมูล และใช้ข้อมูล หรือบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน ทางออกที่สำคัญคือ คือ การนำ

ข้อมูลที่มากหมายและหลากหลายมาสร้างมูลข้อเพิ่ม Big Data จะไม่มีประโยชน์อันใด หากมนุษย์ไม่สามารถนำมาสร้างมูลค่า

"เพิ่มและต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในเชิงบวก ในยุคดิจิตอลที่หมู่คนเห็นแก่ตัว ว้าเหว่ และเปลี่ยวเหงา และแปลกแยกกันในสังคม เราจึงควรใช้จุดเด่นเรื่องจิตใจของ

พระพุทธศาสนาไปพัฒนา และดูแลจิตใจ โดยการพัฒนาจิตใจให้ทัน และมองดิจิตอลแบบเสริมมูลค่ามนุษย์ แทนที่จะลดทอนคุณค่าของมนุษย์ โดยพัฒนาจาก

Digital Mind ไปบูรณาการเชื่อมสมานโลกในยุคดิจิตอล (Digital World) โดยใช้ทั้งสติกับสมาธิเข้ามาช่วยเติมจิตใจที่แปลกแยก ขาดชีวิตชีวา

เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน (Caring&Sharing) ความสุขและความทุกข์ของกันและกันตลอดไป" พระมหาหรรษา กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการอภิปรายโต๊ะกลมนั้นได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาโรงฮิงญาที่ประเทศเมียนมาโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในโลกดิจิดอลที่เป็นเท็จเสีย

เป็นส่วนมาก ซึ่งพระมหาหรรษา กล่าาวว่า  ในภาวการณ์ปัจจุบันนี้ประเทศเมียนมามีปัญหาหลายประการ ยากที่นางออง ซาน ซูจี ผู้นำประเทศเมียนมาจะแก้ปัญหาโดย

เบล็ดเสร็จและมีลักษณะเหมือนหนังหน้าไฟ ดังนั้น เธอจึงเลือกที่จะนิ่ง - มส.หวั่นโพสต์มารว่อนสร้างเครือข่ายพุทธต้าน

http://www.banmuang.co.th/news/politic/90892

วันที่ 18 กันยายน 2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต)  กรรมการเถรสมาคม อธิการบดี มจร  เจ้า

คณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2561 ซึ่ง

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศศรีลังกา และได้รับมอบธงคืนสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก จาก Mr. Chandrapema Gamage เลขานุการ

รัฐมนตรีกระทรวงพุทธศาสนา ในนามรัฐบาลประเทศศรีลังกา

อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธีม (Theme) ของงานวิสาขบูชาโลก และบุคคลผู้จะมาเป็น Keynote Speaker โดยเลือกหัวข้อจะ

ยึดกรอบแนวคิดจากองค์การสหประชาชาติ 3 ประการ คือ "คน สันติภาพ และความยั่งยืน"  โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือเรื่อง "สันติภาพ" ระดับในโลกเพื่อการอยู่ร่วม

กันอย่างสงบสุข แต่ที่ประชุมยังไม่ตกผลึก

ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิต ได้กล่าวในทีประชุมว่า  ในโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร ? จากเทคโนโลยี  จะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการ

เผยแผ่ธรรมะอย่างไร? ให้เกิดสติและปัญญา  - มส.แนะชาวพุทธใช้ไอทีช่วยแผ่ธรรมะให้เกิดปัญญา

http://www.banmuang.co.th/news/education/91126

ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมคณะกรรมการสภาสากลวัน

วิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติจาก 18 ชาติ  โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ประธาน

กรรมการสมาคมฯ และประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานเพื่อเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศ

ไทยเป็นเจ้าภาพ  ทั้งนี้ที่ประชุมได้ได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานโดยเน้นพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to

Human Development)

พระพรหมบัณฑิต กล่าวในที่ประชุมว่า  องค์การสหประชาชาติได้เคยถวายรางวัลสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะ "พระมหา

กษัตริย์นักพัฒนา” ในปี 2549 นับเป็นครั้งแรกที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำรางวัลเกียรติยศนี้ขึ้น เพื่อมอบให้กับบุคคลดีเด่นที่อุทิศตนตลอดช่วงชีวิต และสร้าง

คุณค่าของผลงานเป็นที่น่าประจักษ์และคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์

"ถือว่าเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถแก่ปัจเจกชนที่จะเลือก

ให้มีชีวิตยืนยาวด้วยการมีสุขพลานามัยที่แข็งแรง มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจและ

อย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในชีวิต และความเท่าเทียม" ประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก กล่าวและว่า

ด้วยเหตุผลสำคัญดังกล่าว่า ทำให้คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักในการจัดพิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก

ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ และมีองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน โดยที่ประชุมได้มีมติจัด

งานตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561 ในการจัดงาน ทั้งนี้จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงมหานครในวันที่

27 พฤษภาคม 2561

สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม (Buddhist

Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth

through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural

Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนากับการสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for

Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิม

ฉลองครั้งนี้ด้วย - เชิดชู"กษัตริย์นักพัฒนา"ไทยเจ้าภาพจัดวิสาขะโลก61 http://www.banmuang.co.th/news/education/91236

วันที่ 4 ก.ย.2560 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร บรรยายเรื่อง"บัณฑิตศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 "



ไทยแลนด์ 4.0  เกิดมาจาก World Bank  ในพ.ศ.2554 ธนาคารโลก กลุ่มเศรษฐกิจโลกได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศมีรายได้ปานกลางระดับสูง

( Upper - middle - income group ) ไทยมีแผนพัฒนาประเทศ 20  ปี จะพัฒนาประเทศมีรายได้สูง ไปถึงแน่ถ้าคนไทยไม่ทะเลาะกัน

ไม่ขัดแย้งกันเหมือนในปัจจุบัน  โมเดลไทยแลนด์ 4.0 คือ เกษตรกรรม  อุตสาหกรรมเบา  อุตสาหกรรมหนัก  และนวัตกรรม เราจะทำอย่างไร ? ถึงจะไม่ติดในกับดัก

ในการพัฒนา และสามารถเป็นไทยแลนด์ 4.0 ทุกอย่างย่อมมีกับดักของชีวิต กำลังทำงานสื่ออย่างดี อนาคตกำลังรุ่ง แต่ตอนนี้อยู่ในคุก เรียนบัณฑิตต้องทราบบริบท

สังคม  คำถามบัณฑิตวิทยาลัยจะไปสู่ไทยแลนด์ 4.0อย่างไร อะไรคือกับดักในทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยของเราต้องช่วยคนในมิติใดมิติหนึ่ง งานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย

ต้องสามารถจัดการกับกำดักของสังคม  เราในฐานะบัณฑิตศึกษาจะเอาธรรมะหรืองานวิจัยอะไรไปช่วยสังคม  ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทราบว่าคนไทยมีกับดักชีวิต จึงมี

แนวคิดด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยปฏิบัติเพื่อความสุขของชีวิต

ในเรื่องของThai Economy 4.0  เราจะ "ทำมากแต่ได้น้อย ทำน้อยแต่ได้มาก "  เรียกว่า more for loss  หรือ  less for  more

 ภูฏานทำงานได้เงินน้อยแต่มีความสุข ส่วนไทยทำงานหนักแต่ได้เงินน้อยเพราะคนไทยเป็นลูกน้อง ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นผู้จัดการ ด้วยการใช้สมองและเป็นเจ้า

ของกิจการ ทำงานเบาแต่ได้เงินมาก คนที่รวยที่สุดในโลกอยู่ที่สหรัฐอเมริกา คือ บิลเกต ถามว่าบิลเกตทำงานอะไร เพราะใช้สมอง ? รวมถึงสติปจ๊อปได้เงินมหาศาล

รวมถึงซัมซุงของเกาหลีตอนนี้โน้ต 8  เตรียมออกแล้ว เตรียมกอบโกยเงินมหาศาล  แล้วงานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัยเราจะทำอย่างไร?เรียนจบมหาจุฬาต้องเป็นเจ้าอาวาส

อย่าไปเป็นแค่ลูกวัดเท่านั้น เจ้าอาวาสใช้สมองในการบริหาร ถ้าพระลูกต้องใช้แรงงาน

เครื่องมือสำคัญจะไปสู่ 4.0 คือ นวัตกรรม  งานวิจัยของบัณฑิตวิทยาลัยมีนวัตกรรมอะไรบ้าง ? ให้สอดรับกับยุคไทยเเลนด์ 4.0  สมัยอธิการเรียนปริญญาเอก มีความ

ลำบากมาก เพราะมีเงื่อนไขมาก เช่น จะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จะต้องมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับว่าต้องมีหนังสือเล่มนี้ ถึงจะสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ ใน

สมัยอดีตเทคโนโลยีไม่ทันสมัยค้นคว้าลำบากมาก แต่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีช่วยแต่นิสิตก็ยังเรียนไม่จบ บัณฑิตวิทยาลัยต้องไปหาคำตอบ เพราะอะไร ?  ทำไมต้องทำ

วิจัยเรื่องยากๆ เพราะเป็นการวางแผนระยะยาวเพื่อนำมาใช้ในปัจจุบัน ยิ่งเรียนยิ่งสนุก โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศล มีการเชื่อมภาษาบาลี  เหมือนเวลาทำงานต้องเชื่อม

ระหว่างวิชาการกับปฏิบัติ เช่น เมื่อเป็นเจ้าอาวาสบริหารแล้ว มักจะไม่เทศน์ ไม่เขียน ถ้ามาเรียนมหาจุฬาถ้าบริหารวัดยังแย่อยู่ ไม่ต้องมาเรียน  มาเรียนมหาจุฬา

ต้องบริหารวัดตนเองให้ดี  อย่าแยกการบริหารและงานวิชาการออกจากกัน  เราต้องบริหารด้วยสมองจึงจะพัฒนา อย่าแยกออกจากกัน จะทำได้ต้องมี " นวัตกรรม

เทคโนโลยี  และการบริการ " งานวิจัยต้องมีนวัตกรรม เทคโนโลยี  การบริการ

พระพระพุทธเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งถือว่าเป็นการประดิษฐกรรม Invention เราอย่าคิดคำสอนใหม่ที่ไม่พื้นฐาน มีการตีความผิด ๆ เราไม่ต้องประดิษญ์คำสอนใหม่ แต่

เราสามารถเป็นนวัตกรรม ใครก็ตามที่นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมด้วยการประยุกต์บูรณาการ  ทำให้น่าสนใจมากขึ้น เรียกว่า นวัตกรรม วิปัสสนา

กรรมฐานเป็นนวัตกรรม  ท่านติช นัท ฮันห์ นำเสนอการภาวนาให้เหมาะกับคนในสังคมปัจจุบัน ถือว่าเป็นนวัตกรรม  นิสิตบัณฑิตทุกสาขามกาจุฬาจะทำวิจัยเรื่องใดก็

ตามจะต้องเป็นมีนวัตกรรม ถือว่าเป็นบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่  เราต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ

สาขาธรรมนิเทศมีคนเรียนน้อยเพราะขาดนวัตกรรม ต้องเป็นไปเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ จะต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่ นำศาสตร์นิเทศ  เป็นนิเทศศาสตร์เพื่อ

การเผยแผ่  สงฆ์เราอ่อนแอ่เพราะเราขาดนิเทศศาสตร์ ต้องมีการเชื่อมธรรมะกับนิเทศศาสตร์เป็นการบูรณาการ เรียนจบต้องสามารถเป็น  สื่อมวลชนของสงฆ์ มิใช่มา

เรียนเรื่องเทศน์เท่านั้น   ส่วนสันติศึกษาเรียนแล้วต้องใจกว้าง ทุกมิติทางศาสนา พูดคุยกับบุคคลที่มีความต่าง รับฟังกันและกัน ไม่คลั่งศาสนาของตน สันติศึกษากับ

ปรัชญาจึงไปด้วยกัน  สิ่งสำคัญทุกหลักสูตรต้องมีนวัตกรรม

งานวิจัยต้องมี 4  นวัตกรรม คือ " ด้านผลผลิต  ด้านการบริการ   ด้านกระบวนการ ด้านการจัดการ "  งานวิจัยต้องสอดคล้องกับด้านใดด้านหนึ่งให้ได้  1)นวัตกรรม

ด้านการผลผลิต คือ การนำเอาองค์ความรู้ในอภิธรรมปิฏกและวิธีปฏิบัติกรรมฐานมาบูรณาการเข้ากับจิตวิทยาตะวันตกจนเกิดสาขาพุทธจิตวิทยาและชีวิตและความตาย

รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของโลกที่ผลิตนวัตกรรม ทำหนังสือพระไตรปิฏกเล่มแรกของโลกด้วนการใช้เทคโนโลยี  ในพ.ศ. 2436 ถือว่าเป็นการน

วัตกรรมด้านผลผลิต  รัชกาลที่ 5 จึงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและมหาจุฬาเป็นอย่างยิ่ง   บัณฑิตวิทยาลัยต้องสร้างนิเทศศาสตร์ทางธรรมะให้ได้ ด้วยการนำ

เทคโนโลยีมาช่วย ต้องพัฒนาไปสู่อนุสาสนียปาฎิหาริย์

2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือ การแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดขั้นตอนในการผลิต เช่น วิธีการสอนภาษาอังกฤษแก่มหาเปรียญโดยเทียบเคียงกับภาษาบาลี  วิธี

การสอนเชิงพุทธบูรณาการ

3) นวัตกรรมด้านการบริการ คือ  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์มาใช้ในการเรียนการสอนและเผยแผ่ธรรม บริการด้านวิชาการเพื่อให้

เข้าถึงคนในยุคสมัยใหม่

4) นวัตกรรมด้านการบริหาร คือ  การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการจนได้ผลจริง (Paperless  Office) บัณฑิตวิทยาลัยจึงต้องคุมคุณภาพ

การศึกษา
 
 -มส.แนะธรรมนิเทศต้องผลิตสื่อมวลชนของสงฆ์ http://www.banmuang.co.th/news/education/89815

เรามีหลักสูตรสันติศึกษา ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อิสลามในอินโดนีเชีย มาเลเชีย บรูไน มี ๓ ประเภท แต่ละประเทศอยู่ในกลุ่มใด เราโชคดีที่อยู่ในกลุ่ม เราเป็น

ศูนย์อาเซียนเราจะทำอย่างไร ? เพื่อการอยู่ร่วมกัน เราต้องจัดประชุมสันติสนทนาระหว่างศาสนา อย่าคิดว่าแค่บริการวิชาการเท่านั้น อย่าคิดแค่บริการวิชาการเท่านั้น

แต่ต้องจัดการศึกษา ส่งเสริม แลกเปลี่ยน เชื่อมโยง ทำเองไม่ได้เราจะร่วมมือกับใคร  - มส.ชี้สังคมพหุวัฒนธรรมแท้จริงคือหัวใจอา

เซียนhttp://www.banmuang.co.th/news/education/89545

"บ้านเมืองของเราขัดแย้งกันมาก เกิดเพราะอะไร ทำไมบางประเทศใหญ่กว่าทำไมถึงมีความสามัคคีกัน โดยไม่ต้องใช้อำนาจบังคับ เราต้องเรียนรู้จากประเทศนั้นๆ จึงมี

ระบอบไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 2 ระบอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สามารถคุมอยู่ คือ 1) การใช้อำนาจแบบเผด็จการ คุมอยู่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัด

แย้ง 2) การใช้ประชาธิปไตย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบหลอมๆ ไม่เกิดความขัดแย้ง" อธิการบดีมหาจุฬา กล่าวและว่า - มส.แนะให้คิด!เหตุใดปท.ใหญ่สามัคคีไม่ใช้อำนาจ

http://www.banmuang.co.th/news/education/89087

พระราชวรเมธี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร )  ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการ

ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.) เป็นประธานปิดการฝึกอบรม "ค่ายเพชรวัยใส ใส่ใจคุณธรรม" ของนักศึกษาอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม

จำนวน 300 คน  ที่ห้องประชุมใหญ่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การดำเนินการของซึ่งมหาจุฬาฯร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)

 - ศีลข้อที่ 4 "เป็นหลักประกันสังคม" การพูดการสื่อสารที่สร้างความสามัคคี อาวุธที่ร้ายแรงที่สุด คือ วาจา พูดที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกัน ต่างคนต่างพูดในสิ่งที่ไม่มี

ของคนอื่น ก็เกลียดชังกัน แม้แต่ระดับบ้านเมือง ก็มีการทำร้ายกันด้วยคำพูด วาจาสร้างความเกลียดกัน พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องการสื่อสารเพื่อสันติ คือ " จริง ไพเราะ

เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา" ศีลข้อที่ 5 "หลักประกันสุขภาพ" ยาเสพติดทำลายสุขภาพ ชีวิตอย่าได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทั้งปวง

สอดคล้องกับเบญจธรรม เพราะ ถ้าเรามีเมตตาเราสามารถรักคนทั้งโลกได้ คุณธรรมจะทำให้เราไม่สามารถไปทำร้ายคนอื่นได้ เพราะ " เมตตาธรรมค้ำจุนโลก " -

"มจร-สอศ."ใส่ใจวัยใส ชูศีล 5 สร้างภูมิป้องเฮดสปีด http://www.banmuang.co.th/news/education/89082

วันที่ 18 สิงหาคม 2560 วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ได้จัดพิธีปฐมนิเทศรับนิสิตใหม่ทั้ง 3 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอก สาขา

พระพุทธศาสนา และหลักสูตรปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ภาษาอังกฤษ โดยกิจกรรมช่วงเช้าเริ่มจากการสวดมนต์ และปฏิบัติสมาธิร่วมกัน หลังจากนั้น จึงเป็นการ

อธิบายเส้นทางการศึกษาทั้งภาคปริยัติ และภาคปฏิบัติ ภาคปริยัติเน้นพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่เป็นแก่นพระพุทธศาสนา ส่วนภาคปฏิบัติเน้นการเรียนรู้

รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญานอกและปัญญาในตามม็อตโตของวิทยาลัยที่ว่า "ปัญญาเพื่อชาวโลก" หรือ "Wisdom for the World"

พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรปริญญาโท

และเอก สาขาสันติศึกษา เปิดเผยว่า มุ่งหวังมาเนิ่นนานว่า เมื่อพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาภาษาไทย จนพออยู่ตัวแล้ว จะเดินหน้าพาสันติศึกษาสู่ระดับอินเตอร์ เพื่อเปิด

พื้นที่ให้นิสิตทั้งไทยและต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ บัดนี้ สันติศึกษาเดินหน้าจากไทยสู่ภาคอินเตอร์เรียบร้อยแล้ว โดยมีนิสิตทั้งไทยและต่างประเทศ รุ่น

แรกจำนวน 10 รูป/คน

"สิ่งที่นำความปลาบปลื้มใจแก่ลูกศิษย์ยิ่งไปกว่านั้น คือ การที่ ศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ซึ่งเคยสอนตัวเองในขณะเรียนปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ ได้ปล่อยวางงานที่

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วมาเป็นทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ประทับใจท่านอาจารย์ที่เรียกตัวเองทุกครั้งว่า "ครู" ตั้งแต่วินาทีแรกที่

พบกัน และวันนี้ มีครูมีอยู่ใกล้ ได้ทำงานร่วมกับครู เชื่อว่าประสบการณ์ของครูจะช่วยเติมเต็มให้วิทยาลัยพุทธนานาชาติได้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์กลางพรัพุทธศาสนา

นานาชาติตามที่มหาวิทยาลัยมุ่งหวังต่อไป" พระมหาหรรษา ระบุ - "มจร"เปิดแล้ว!สันติศึกษาภาคภาษาอังกฤษรุ่นแรก
มุ่งหวังพัฒนาจากไทยสู่อินเตอร์ http://www.banmuang.co.th/news/education/88492

พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร .อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดงาน "56 ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก"

และบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาคณะครุศาสตร์ยุค มจร 4.0  การเป็นคนดีและคนเก่งไม่ได้แยกจากกัน จะต้องไปด้วยกัน อุดมคติของครูจะต้อง เก่ง ดี

มีสุข เป็นจตุสดมภ์ของการศึกษา คือ " การศึกษาเพื่อพัฒนา เพื่อศักยภาพ เพื่อสมรรถภาพ เพื่อคุณภาพ และเพื่อสุขภาพ " ครูจะต้องมีความสุขในการสอน ฝึกปฏิบัติ

เมตตากรุณา ประสิทธิภาพในการสอนจึงมีความสำคัญ " ประโยชน์สูงประหยัดสุด " เป็นครูมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยที่เจริญแล้วอยู่ที่ครูเก่งและดี มิใช่อยู่ที่สถาบัน เรา

ต้องมีตัวตายตัวแทน เราจากพุทธคุณ 3 ประการ คือ มีปัญญาคุณ คือ สอนให้เก่ง มีกรุณาคุณ คือ สอนให้ดี มีวิสุทธิคุณ คือ สอนด้วยความบริสุทธิ์ อย่าเอาเครื่องตอบ

แทนเป็นตัวตั้ง เราจะมีความสุข ฐานสำคัญคือ เก่ง ดี มีสุข

ในมุมของเถรวาทเมื่อเกิดปัญญาแล้วมีความกรุณาสงสารบุคคลจึงออกไปเผยแผ่ช่วยเหลือชี้ทางที่ถูกต้อง ทำด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนมหายานมีความกรุณาคุณเป็นฐาน

ช่วยเหลือคนอื่นก่อน ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เรามาเรียนครูเพราะเรามีความรู้เพื่อจะถ่ายทอดช่วยเหลือคนอื่นทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ สรุปว่าครูจะต้องมีปัญญา กรุณา

วิสุทธิ ครูในมหาจุฬาฯต้องสอนเก่งกว่าครูที่อื่น ครูภายนอกสอนให้เก่งอย่างเดียว สอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้เพียงแจ่มแจ้ง แต่ครูมหาจุฬาฯต้องสอนให้เกิดการจูงใจ เกิด

ศรัทธาอยากจะมาเรียนครู เป็นต้นแบบ เด็กเล็กมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นครู สอนให้เกิดความแกล้วกล้า และมีความร่าเริงในการเรียนรู้ มีอารมณ์ขัน แต่มิใช่ตลกคาเฟ่

สรุปคือจะจบครุศาสตร์ครูต้องพัฒนาและประเมิน ๔ ส คือ "แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง " การไปฝึกสอนให้ดู 4 ส. เป็นเกณฑ์การประเมินครู ยูเนสโกบอกว่า การ

ศึกษา ต้องสอนให้ " รู้ ทำ อยู่ร่วมกัน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ "

ตามแผนแม่บทใหม่ของครูดีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มี 4 ประการ คือ "พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา" มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ ยืนยันมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำ

วิจัยว่า เมื่อนิสิตเรียนจบไปแล้วชีวิตต้องการอะไร ? ชีวิตต้องการเป็นอะไร ศึกษาสองกลุ่ม กลุ่มที่เรียนกับกลุ่มที่ไม่ได้เรียน ตามดูชีวิตของนิสิตที่เรียนจบไป เป็นการ

ทำวิจัย บทสรุป คือ ผู้มีเงินผู้มีอำนาจตายไปแล้ว และใครเป็นผู้ที่มีอายุยืนสุขภาพจิตดีที่สุด คำตอบคือ ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะมีความสุข มีกัลยาณมิตรที่ดี มาจาก

ความสัมพันธ์ที่ดี มีความสุขร่วมกับคนอื่น เพราะความเหงามีอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า

แม้แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า " อานนท์ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว " กัลยาณมิตรกัลยาณสหายกัลยาณธรรม ถือว่าเป็นสุดยอดใน

การอยู่ร่วมกัน ในธรรมบทกล่าวว่า วิสฺสาสปรมา ญาติ แปลว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ครูต้องไม่เหินห่างต้องมีความสัมพันธ์กับศิษย์ ปัจจุบันมีการเรียนผ่าน

คอมพิวเตอร์ จุดด้อยทำให้เกิดความเหินห่าง วิชาเดียวที่เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ได้ คือ วิชาคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้นแบบ พันธกิจของครู คือ สอนให้รู้ (ปริยัติ) ทำ

ให้ดู (ปฏิบัติ) อยู่ให้เห็น ( ปฏิเวธ) การล้มเหลวของการศึกษา คือ ครูมัวแต่ทำวิจัยเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ไม่มีเวลาให้กับลูกศิษย์ ไม่มีเวลาสอน เด็กขาดความอบอุ่น เด็กขาด

ความรัก ครูจะต้องสอนให้คิดวิเคราะห์ เด็กจึงจะคิดเป็น ฉะนั้น ครูกับศิษย์ต้องไม่มีช่องว่างในการอยู่ร่วมกัน ครูเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับศิษย์ ให้ความรักก่อนให้ความรู้

- มส.ปลื้ม!ผลผลิตครู"มจร"ครบ"เก่ง ดี มีสุข" http://www.banmuang.co.th/news/education/86471


พระโสภณธรรมวาที  ต้นแบบพระธรรมกถึก  กล่าวว่า  พระผู้เป็นทรัพยากรของพระพุทธศาสนา เราจะเป็นนักเทศน์ เสือยังรู้จักเก็บซ้อนเล็บ เราพระนักเทศน์ต้องเก็บ

ความรู้ไปเทศนา ถ้าไม่เคยข้ามคลองอย่าริไปข้ามทะเล  เป็นนักธรรมต้องนำนักเทศน์ ต้องรู้หลักธรรม ต้องจำหลักสูตร  พระนักเทศน์ต้อง " ฝืน  ฝึก  ฝน " เราต้องค้น

ต้องคิด  ต้องเขียน  ต้องพากพียร  และต้องปฏิบัติ  เรามาครั้งนี้ถือว่ามา "  เก็บความรู้ มาดูสังคม "  สิ่งสำคัญต้องมี 5 บ. คือ  " บริเวณ  บริวาร  บริขาร  บริกรรม

บริการ " เราต้องปฏิรูปตัวเราเอง ยึดแม่แบบ ทำตามแม่บท  พระนักเทศน์อย่าลืมต้น อย่าได้ตัด   7   ต้น คือ " ต้นแบบ     ต้นบุญ     ต้นทุน    ต้นคิด    ต้นน้ำ  ต้นไม้  

ต้นตระกูล  " -  มส.ยันหน้าที่ชาวพุทธชี้แจงคนโจมตีว่าร้าย http://www.banmuang.co.th/news/education/85751


แนะสร้างบทบาท"วัด-พระ"ใหม่สอดรับสังคมยุคดิจิทัล ลดบทบาท "เสก เป่า เงินทอน โพนทนา"

http://www.banmuang.co.th/news/education/83371

สมเด็จฯประยุทธ์แนะเร่งทำพระไตรปิฏกดิจิทัลช่วยโลก http://www.banmuang.co.th/news/education/82802

วิจัย'มจร'ปลื้มเณร!ใช้มือถือถูกที่ถูกเวลา http://www.banmuang.co.th/news/education/82768

ประเทศไทย 4.0 ต้องสร้างนวัตกรรม เรามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศนวัตกรรม 2) การให้บริการ คือ ด้วยการมีวิธีการใหม่ ๆ เช่น วัดนี้มีตลาดนัด เรามีอะไรที่

เป็นนวัตกรรม เป็นการตกปลานอกบ้าน นำธรรมะออกนอกวัด เราต้องมีการบริการทางสื่อออนไลน์  ท่านองค์ดาไล ลามะ ใช้เทคโนโลยีกับกรรมฐาน มีการวัดคลื่น

สมอง ถือว่าเป็นนวัตกรรม 4.0 ทำให้คนในสหรัฐอเมริกาสนใจพระพุทธศาสนาแบบทิเบต  ามว่าเราพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกายุคไหน ? เรามาอยู่ดินแดนตะวันตก

เราต้องสร้างนวัตกรรม - มส.แนะพระธรรมทูตอเมริกาเผยแผ่ธรรมแบบ4.0

http://www.banmuang.co.th/news/education/82320

พระมหาหรรษา ธัมมหาโส (นิธิบุณยากร)  ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา,วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) ,สำนักงาน

เลขานุการ(IABU) บรรยายถวายความรู้เรื่อง "ประสบการณ์ในการอยู่ต่างประเทศ"   วิกฤตของโลก คือโอกาสของเรา

(1) โลกดิจิทัล มนุษย์สมัยใหม่ โลกแห่งการแชร์ ไม่ต้องการครอบครองหรือเป็นเจ้าของ แต่ต้องการใช้ของที่ดีที่สุด พระพุทธศาสนาคือของที่ดีที่สุด สอนให้ไม่ต้องการ

ให้ครอบครองหรือไม่ต้องการให้เป็นเจ้าของ

(2) โลกสมัยใหม่ โลกของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุล้นโลก เกิดน้อยกว่าตาย ผู้สูงอายุโดดเดี๋ยว ต้องการที่พึ่งพิง ต้องการโลกหน้า สนใจการความสงบ ความการเรื่องของภาพกาย

ใจ

(3) โลกกำลังเข้าสู่สงครามและความรุนแรง เป็นยุคมิคสัญญี ใช้ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง ขาดความอดทน ไม่สนใจเพื่อนรอบข้าง

(4) โลกพึ่งพาเทคโนโลยี สนใจโทรศัพท์มากกว่าคนใกล้ตัว และพึ่งพาปัจจัยภายนอก เปลี่ยวเหงา เข้าไม่ถึงความสุขภายใน

(5) โลกวัตถุนิยม เสพจนเซ เสพจนสำลัก เสพจนหัวปักหัวปำ กามสุขัลลิกานุโยค จนหนีไปปีนเขา ปฏิเสธวัตถุ ปล่อยวางวัตถุ หันไปหาความหมายของชีวิต

(6) ผู้นับถือศาสนาเทวนิยมในโลก กำลังเผชิญหน้ากัน กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปรับใช้วัตถุนิยม กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปสนองตอบต่อสงครามและความรุนแรง

ศาสนาพุทธคือทางสายกลาง

โอกาสของเราคืออะไร??

โลกต้องการสติ โลกต้องการสมาธิ โลกต้องการสันติ เรียนรู้กรรมฐาน ฝึกสมาธิ พัฒนาสติ ให้พอเพียง แล้วหยิบยื่นสิ่งที่เขาต้องการ สิ่งที่เขาโหยหา สิ่งที่เสริมสร้างคุณค่า

ภายใน เราจึงพัฒนาหลักสูตรพวกนี้ จับมือกับยุโรปอเมริกา ทำเรื่องพวกนี้ ฮังการี อังกฤษ นาโรปะ

หัวใจสำคัญในการทำงานพระธรรมทูตคือ "ปริยัติยอด ปฏิบัติเยี่ยม เปี่ยมกรุณา หยิบยื่นพุทธปัญญาแก่ชาวโลก" โดยการส่งสารแห่งสันติสุขแก่ชาวโลก ตามพุทธ

ปณิธานที่ว่า "เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อความเกื้อกูน เพื่อความสุข เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก" - แนะพระธรรมทูตยุคดิจิทัลร่วมสร้างโลกสันติ

http://www.banmuang.co.th/news/education/81688

3กุรูเผยโลกยุคดิจิทัล!เหมือนร้านกาแฟต้องไม่มีฝ่ายแพ้ http://www.banmuang.co.th/news/education/81146

เผยแบบหอสมุดวิทยาลัยพุทธนานาชาติ'มจร4.0' http://www.banmuang.co.th/news/education/81124

อัพพระไตรปิฎกสากลขึ้นเว็บเล็งพัฒนาเป็นอีบุ๊ก-แอพ http://www.banmuang.co.th/news/education/80165
'คณิต'ย้ำ!สื่อต้องปฏิรูป! ปล่อยไว้กระทบมั่นคง http://www.banmuang.co.th/news/politic/79845

มส.เตือน!หลุมพรางไทยแลนด์4.0แนะต้องคู่วิถีพุทธ http://www.banmuang.co.th/news/education/77877

อาจารย์นานาชาติIBSC"มจร"ร่วมนั่งสมาธิ ก่อนเข้าสู่บทเรียน




อาจารย์นานาชาติIBSC"มจร"ร่วมนั่งสมาธิ ก่อนเข้าสู่บทเรียน  กระตุ้นให้คณาจารย์และนิสิตให้เรียนรู้ข้างใน




วันที่ 20 ก.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเรียนการสอนของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วันนี้ได้รับเกียรติ จากกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ เป็นอาจารย์สอนนิสิตนานาชาติ ซึ่งก่อนจะเริ่มการเรียนการสอนให้มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามปกติ



กรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติดังกล่าว ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมการสัมมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตัล" (Buddhism in Digital Era) โดยมีศาสตราจารย์ อาจารย์ นิสิต และผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนากว่า 20 ชาติ ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 130 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา



พร้อมกับร่วมเปิดนิทรรศการกงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต)  กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ที่หอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร  และประชุมเตรียมการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2561 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศศรีลังกา



พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา เปิดเผยว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามปกติ กระตุ้นให้คณาจารย์และนิสิตให้เรียนข้างใน (วิปัสสนาธุระ) โดยใช้รูปนามเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา และเรียนรู้ หลังจากนั้น จึงเปิดพื้นที่ให้มีการศึกษาแลกเปลี่ยนบทเรียนระหว่างกันและกันในห้องเรียน (คันถธุระ) ซึ่งเพียบพร้อมและครบครันด้วยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งทุกห้องเรียนของวิทยาลัยจะใช้ Interactive Board เพื่อให้สอดรับกับทิศการเรียนการสอบแบบ Smart Teacher&Smart Room for Smart Teaching

.........
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)

ครู-นักเรียนชาวสวีเดนเข้าวัดปฏิบัติธรรม



นักเรียนชาวสวีเดนมาศึกษาพระพุทธศาสนา ที่วัดพุทธารามสวีเดน ปีละประมาณ 500 คน

     


พระวิเทศปุญญาภรณ์ หรือเจ้าคุณสวีเดน เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน ได้นำคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสักกัดภาครัฐเดินจงกรมและนำฝึกสมาธิในแต่ละปี จะมีครูนำนักเรียนมาที่วัดเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาประมาณ 500 คน และพระธรรมทูตในวัดได้ลงมือทำอาหารเพื่อให้เด็กนักเรียนทานด้วยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

เชิดชู"กษัตริย์นักพัฒนา"ไทยเจ้าภาพจัดวิสาขะโลก61



คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ในปี 2561 ระหว่างวันที่  25-27 พฤษภาคม เชิดชู "ในหลวงร.9 กษัตริย์นักพัฒนา" เป็นหัวข้อหลักในการจัดงาน



ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมคณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติจาก 18 ชาติ  โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ประธานกรรมการสมาคมฯ และประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานเพื่อเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  ทั้งนี้ที่ประชุมได้ได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานโดยเน้นพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development)


พระพรหมบัณฑิต กล่าวในที่ประชุมว่า  องค์การสหประชาชาติได้เคยถวายรางวัลสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ในปี 2549 นับเป็นครั้งแรกที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำรางวัลเกียรติยศนี้ขึ้น เพื่อมอบให้กับบุคคลดีเด่นที่อุทิศตนตลอดช่วงชีวิต และสร้างคุณค่าของผลงานเป็นที่น่าประจักษ์และคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์


"ถือว่าเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถแก่ปัจเจกชนที่จะเลือกให้มีชีวิตยืนยาวด้วยการมีสุขพลานามัยที่แข็งแรง มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจและอย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในชีวิต และความเท่าเทียม" ประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก กล่าวและว่า



ด้วยเหตุผลสำคัญดังกล่าว่า ทำให้คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักในการจัดพิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ และมีองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน โดยที่ประชุมได้มีมติจัดงานตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561 ในการจัดงาน ทั้งนี้จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงมหานครในวันที่ 27 พฤษภาคม 2561



สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนากับการสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย

..............

(หมายเหตุ : ที่มาวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC)

วิกฤติ"โรฮิงญา"!กับภูมิปัญญานักวิชาการไทย


 วิกฤติ"โรฮิงญา"!กับภูมิปัญญานักวิชาการไทย 

 : พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท และสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน



ความขัดแย้งระหว่างโรฮิงญาที่กับประชาชนและรัฐ ที่รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา เกิดขึ้นเป็นระยะๆ จนกระทั้งมาถึงจุดเดือดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2560 กลุ่มมุสลิมโรฮิงญาติดอาวุูธโจมตีด่านตำรวจหลายแห่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 71 ราย รวมถึงตำรวจและทหาร 12 ราย หลังจากนั้นสถานการณ์ลุกลามรัฐบาลเมียนมาใช้ทหารคุมเหตุชาวโรฮิงญาอพยพออกจากประเทศเมียนมาหลายแสนคน โลกมุสลิมออกมาประณามการกระทำของรัฐบาลเมียนมาพร้อมกับกล่าวหาเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ยูเอ็นประชุมมองเป็นการกระทำที่รุนแรง ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2560 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์กรผู้นำศาสนาสากล ณ NEW YORK HILTON HOTEL MIDTOWN,New york city โดยมีพระวิเทศรัตนาภรณ์ (ถนัด อตฺถจารี อินธิแสน ป.ธ. 5, Ph.D.) เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ประธานคณะกรรมการอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ในฐานะผู้ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)ได้เข้าร่วมด้วย




ตั้งแต่เหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นสงครามสื่อออนไลน์ได้ถูกนำมาใช้ทั้งข้อเท็จจริงและลวงโดยมุ่งหวังจะได้เปรียบ ขณะที่วงนักวิชาการทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอ.ปัตตานี ได้มีการระดมสมองหาทางออก รวมถึงมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการสัมมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตัล" (Buddhism in Digital Era) โดยมีศาสตราจารย์ อาจารย์ นิสิต และผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนากว่า 20 ชาติเข้าร่วมเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2560  ประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นมาคือประเด็นข้อมูลข่าวสารทางสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โรงฮิงญา




และวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560 ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มจร ได้จัดการสัมมนาวิชาการเรื่อง "ศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน" ที่ห้องสันติศึกษา มจร ที่มีพระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน,ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธาน โดยมีดร.แสวง นิลนามะ หัวหน้าภาควิชาศาสนาและปรัชญา กล่าวรายงานพร้อมตั้งประเด็นให้ทรงคุณวุฒิได้แสดงความคิดเห็นซึ่งประกอบด้วยศ.ดร.สมภาร พรมทา ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา มจร  รศ.พิเชฏร์ กาลามเกษตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนศาสนาอิสลาม  ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้แทนศาสนาพุทธ รวมถึงพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ร่วมแสดงความเห็นด้วย


นอกจากประเด็นปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรฮิงญาแล้ว ประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็นกันมากคือนิยามความหมายและบทบาทหน้่าที่ของ "นักวิชาการศาสนา" ควรเป็นอย่างไรเมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงทางด้านศาสนาเกิดขึ้น


ศ.ดร.สมภาร มองว่า นักวิชาการศาสนาจะต้องมีการพัฒนาเหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามศึกษาความจริงด้วยการผ่านการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาที่ปราศจากอคติ นักวิทยาศาสตร์ "ต้องศึกษาธรรมชาติโลกอย่างเป็นกลาง" ดังนั้น นักการศาสนาต้องศึกษาอย่างเป็นกลางเหมือนกัน โดยต้องตัดความชอบความชังออกไป ขณะที่มหาจุฬาฯจะมีนักวิชาการทางด้านศาสนาทุกศาสนา ด้วยการไม่สร้างความขัดแย้งในศาสนา แต่มุ่งให้ศาสนาอยู่ร่วมกันได้



พระอาจารย์ปราโมทย์  เห็นว่า ต้องชี้ให้เป็นกลางที่สุดด้วยการปราศจากอคติ ต้องไม่ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือศาสนา หาวิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากกว่า และต้องไม่ไปรบกับใคร



ขณะที่รศ.พิเชฏร์ กาลามเกษตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนศาสนาอิสลาม ระบุว่า นักวิชาการศาสนาต่อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา ทั้ง " ความรู้สึก ความเข้าใจ การกระทำ " ด้วยจุดยืน " ความจริง ความดี ความงาม ความเป็นกลาง และความศรัทธา"  ต้องถือว่าทุกทุกทางไม่ใช่ทางเดียว อาศัยเครื่องมือสานเสวนาหาทางออกร่วมกัน "สานศาสนสัมพันธ์" หรือ สานเสวนาจะต้องมีกติกา 10  ประการ  1) ไม่มีสาระซ่อนเร้น 2) ปฏิสัมพันธ์กันอย่างมนุษย์  3) เท่าเทียม 4) จุดยืนชัดเจน
5) ไม่ด่วนสรุปตัดสิน  6) ใจกว้าง  7) ซื่อสัตย์จริงใจ  8) ไว้วางใจผู้อื่น  9) ไม่ปะปนหลักการกับการปฏิบัติ  10 ) สานเสวนามิใช่ทางออกของปัญหา


ทางด้าน ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้แทนศาสนาพุทธ ได้ยกปณิธานพุทธทาสภิกขุ คือ "การทำความเข้าใจแก่นแท้ในศาสนาของตน การทำความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างศาสนา และการถอนตนออกจากวัตถุนิยม" ให้นักวิชาการศาสนาและศาสนิกทั้งหลายได้ปฏิบัติ พร้อมเสนอว่า บทบาทของนักวิชาการศาสนาต้องแสวงหาความรู้แล้วนำมาตกผลึกแล้วนำเสนอให้ผู้คนได้รับทราบ นักวิชาการต้องมี 2 ส่วน คือ "วิชาและจรณะ"


"นักวิชาการจึงต้องแสวงหาความรู้ หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า "เราจึงควรถือหลักว่า พระศาสดาทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นมาเพื่อร่วมมือกัน ทำให้โลกสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่มนุษย์ควรจะได้รับ" เราสามารถศึกษาไปถึงแก่นของศาสนาของตนให้ได้ อย่าศึกษาแค่เปลือกเท่านั้น เพราะบางครั้งการตีความในศาสนาเดียวกันยังมีความแตกต่างกัน" ผศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า


และให้ถือว่ามุมมองนักวิชาการความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติแต่ต้องใช้ฐานศาสนา ทุกวันนี้ความจริงไม่สำคัญเท่ากับความรู้สึกอารมณ์ เช่น กรณีข่าวสารในสื่อออนไลน์ เข้าลักษณะว่า " ความรู้สึกอารมณ์จะอยู่เหนือความจริง "  ต้องก้าวข้ามอัตลักษณ์ของเราและของคนอื่น เหลือไว้เพียงเพื่อมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้น นักวิชาการจะต้องกล้าแสดงออกจากจริยธรรม ในโลกนี้มี 2 ประเภท คือ "คนเก่งที่ชั่วๆ และดีที่โง่ๆ" เป้าหมายหลักของศาสนาต้องส่งเสริมศีลธรรม จึงเปรียบเทียบเหมือนลาที่แบกคัมภีร์แต่ไม่ได้ประโยชน์จากคัมภีร์ เลยเราต้องนำศาสนามาทำให้สังคมดีขึ้น ความกล้าหาญทางวิชาการมิใช่ขวานฝ่าซาก แต่นักวิชาการต้องเทคนิคกระบวนการที่นุ่มนวล ความดีกับความเก่งต้องเป็นหนึ่งเดียว การศึกษาศาสนาต้องไม่หัวขาด ต้องเก่งและต้องดี นักวิชาการศาสนาจึงโยงกับสถาบันที่ตนเองอยู่ มองว่ามหาจุฬามีนักวิชาการเยอะเราต้องกล้าเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์


ขณะที่ ศ.ดร.สมภาร ได้เสริมว่า "เราไม่ต้องสนใจว่าใครกล้าไม่กล้าทางวิชาการ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ ความสำนึกรับผิดชอบว่าจะช่วยเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นอย่างไร ? เราควรจะช่วยอย่างไร? สิ่งสำคัญเราต้องใช้ปัญญาในการขับเคลื่อน"


ประเด็นจึงมีอยู่จะทำอย่างไรเมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรง เกิดขึ้น จะมีสะพานให้นักวิชาการศาสนาได้เสนอมุมมองแทนที่จะอยู่แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย

"ซูจี"ลั่น!ไม่กลัวถูกตรวจสอบปม"โรฮิงญา"



"ซูจี"แถลงปม"โรฮิงญา"ไม่กลัวถูกตรวจสอบ พร้อมเดินหน้าสร้างเสถียรภาพในรัฐยะไข่ ยันยังมีมุสลิมโรฮิงญาอีกจำนวนมากที่อยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้อย่างสันติ


วันที่ 19 ก.ย.2560 นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลเมียนมา ได้แถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับประเด็นชาวโรฮิงญาว่า เมียนมาไม่กลัวการตรวจสอบจากนานาประเทศ และเดินหน้าจะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ให้ได้ และขอประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ พร้อมต้องการสืบหาสาเหตุว่า เพราะเหตุใดชาวโรฮิงญาจึงอพยพออกจากเมียนมา เพราะที่ผ่านมาเมียนมาไม่เคยเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา และปัจจุบันชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมียนมา สามารถเข้าถึงโครงการต่างๆของรัฐบาลทุกโครงการ รวมทั้ง โครงการด้านการศึกษาได้อยู่แล้ว


นางซูจี กล่าวต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.เป็นต้นมา ไม่ได้มีเหตุปะทะเพิ่มเติมระหว่างกองทัพกับกองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐยะไข่อีกเลย และถึงแม้จะมีชาวโรฮิงญาจำนวนมากอพยพเข้าไปยังบังกลาเทศ แต่ก็มีชาวมุสลิมโรฮิงญาอีกจำนวนมากที่อยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้อย่างสันติ


"เมียนมากำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการปกครองรูปแบบประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของเมียนมาอาจจะยังไม่สมบูรณ์ จึงอยากให้ประชาคมโลกมีความเชื่อมั่นและศรัทธาเมียนมาในเรื่องนี้  เมียนมา เป็นประเทศที่มีความสลับซับซ้อน และประชาคมโลกคาดหวังว่าเราจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ขณะที่รัฐบาลของเราบริหารประเทศมาได้ 18 เดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากสำหรับการแก้ปัญหาต่างให้ได้ตามที่ประชาคมโลกคาดหวัง แต่ไม่ได้หมายความว่าเรา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้" นางซูจี กล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการแถลงของนางซูจีในครั้งนี้ได้มีประชาชนชาวเมียนมาและชนเผ่าร่วมให้กำลังในเป็นจำนวนมากพร้อมถือป้ายให้กำลังใจ อย่างก็ตามก่อนหน้านี้นางซูจีได้ประกาศจะไม่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่นครนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 18-25 ก.ย. โดยมีการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญของโลกเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเกาหลีเหนือความรุนแรงตะวันออกกลาง ร่วมถึงปัญหาโรฮิงญา


ทั้งนี้เว็บไซต์ http://www.mtoday.co.th ได้รายงานการกล่าวของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ  โดยระบุว่า ปัญหาโรฮิงญาเป็นปัญหาร้ายแรงระดับสองรองจากปัญหาเกาหลีเหนือ ได้รายงานคำกล่าวของทนายความของชาวโรฮิงญา ที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาของอินดีย คัดค้านคำสั่งของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ที่เนรเทศชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียประมาณ 40,000 คน ออกนอกประเทศ อ้างหวั่นภัยก่อการร้ายจะเกิดขึ้นกับอินเดีย


เว็บไซต์ http://www.mtoday.co.th ได้ระบุว่า ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีอินเดีย จากพรรคฮินดูชาตินิยมขวาจัด ได้เดินทางไปเยือนเมียนมา และได้แสดงความเห็นใจออง ซาน ซูจี ที่ต้องเผชิยกับภัยก่อการร้าย และระบุว่า จะร่วมมือกับเมียนมาในการแก้ปัญหา และได้รายงานการที่ "แองเจลีน่า โจลี" ดาราฮอลลีวู๊ดคนดัง ได้ออกมาประณามความรุนแรงที่กระทำต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมียนมา โดยอ้างอิงแหล่งที่มาจาก "Welt Am Sonntag" ที่ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ โจลี่ กรณีความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาว่า การกระทำรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ทหารต้องยุติลงและทางการต้องอนุญาตให้ชาวโรฮิงญากลับมายังบ้านเรือนในรัฐยะไข่ รวมทั้งจะต้องให้สิทธิด้านพลเมืองแก่พวกเขาด้วย


“ทุกคนตั้งความหวังถึงสิ่งที่นางอองซานจะกระทำในสถานการณ์เช่นนี้คือการให้สิทธิมนุษยชนแก่คนเหล่านี้ที่ผ่านมานางซูจี ถูกประณามอย่างรุนแรงเนื่องจากนางมิได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยและปกป้องความรุนแรงที่เกิดขึ้นชาวโรฮิงญาต้องเผชิญกับการประหัตประหารจากประชาชนชาวเมียนมาส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธมานานหลายสิบปี” เธอกล่าว และว่า ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธการให้สัญชาติแม้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษวิกฤติ ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ชาวโรงฮิงญากว่า400,000คนต้องละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าไปในบังคลาเทศ

...........

(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจาก Peacelocalprang Srisaketprang)



"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...