วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
"โซเชียล มูฟเม้นท์"มหานอกวัดจี้ปฏิรูปเรียนบาลี
"โซเชียล มูฟเม้นท์"มหานอกวัดจี้ปฏิรูปเรียนบาลี : สำราญ สมพงษ์(ป.ธ.5) นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ขณะนี้ก็คงจะทราบกันหมดแล้ว ทั้งพระภิกษุสามเณรรวมถึงฆราวาสมีผู้ใดสอบได้หรือสอบตกการสอบภาษาบาลีประจำปีการศึกษา 2561 เนื่องจากเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2561 พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง ได้เป็นประธานการประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปีการศึกษา 2561 ประโยค 7-8-9 ที่ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกันได้ประกาศผลสอบบาลีศึกษา(บ.ศ.) สำหรับฆราวาส ประโยค บ.ศ.7-9 ด้วย และประกาศทุกประโยคในวันที่ 8 มี.ค.2561 เวลา 16.00 น.ที่วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
การประกาศผลสอบครั้งนี้ได้ถ่ายทอดสดผ่านทางทางเพจ เฟซบุ๊กไลฟ์ กลุ่มการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี และ TV/PC Web รวมถึงแอพพลิเคชั่น GBN TV ด้วย ส่งผลให้ผู้ที่เข้าสอบไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามากรุงเทพมหานครเหมือนแต่ก่อน เพราะปัจจุบันนี้ประเทศไทยเป็นยุคไทยแลนด์ 4.0 การสื่อสารรวดเร็ว บวกกับช่วงที่จะถึงเวลาประกาศผลสอบแม่กองบาลีสนามหลวงได้มีการประชาสัมพันธ์ทางเครือข่ายสื่อออนไลน์ต่างๆ ข้อมูลที่ออกมาเร็วที่สุดเห็นจะเป็นผ่านทางเพจวัดสามพระยา หลังจากนั้นกระจายไปทางเพจต่างๆ อย่างเช่น "สมาคมมหาเปรียญและคนเรียนบาลี บาลีศึกษา เพื่อรักษาพุทธพจน์"
บวกกับก่อนจะถึงวันประกาศผลสอบให้มีกระแสข่าวนิสิตหญิงสามารถประโยค บ.ศ. 9 ได้ สร้างความสนใจให้บุคคลทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาบาลีและบุคคลทั่ว ทำให้เธอต้องออกมาชี้แจ้งผ่างทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าไม่เป็นความจริง ด้วยกระแสข่าวดังกล่าวส่งผลให้บุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอดีตมหาเปรียญได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่่อออนไลน์พร้อมกับลุ้นผลการสอบของเธอ และขณะนี้ก็คงจะทราบแล้วว่าผลสอบเป็นอย่างไร
จากปรากฏการณ์ความสนใจทราบผลการสอบภาษาบาลีดังกล่าว จึงมีเสียงเรียกร้องจากมหานอกวัดต้่องการให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาบาลีใหม่ผ่านทางสื่อออนไลน์ เพราะปัจจุบันนี้แม่กองบาลีสนามหลวงมีหน้าที่เพียงจัดการสอบเท่านั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าสำนักเรียนจัดการเรียนการสอนตามยถากรรมอาศัยใบบุญจากศรัทธาญาติโยม ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับการศึกษานอกโรงเรียนหรือ กศน.
อีกประการหนึ่งนั้น การเรียนการสอนภาษาบาลีมุ่งท่องจำแปลได้ แทนที่จะมุ่งเสริมทักษะเหมือนกับการเรียนภาษาต่างประเทศ จึงทำให้ยากที่จะเกิดทักษะทางด้านภาษา ก็คงไม่ต่างอะไรกับการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทยที่ส่วนใหญ่เน้นเรียนไวยากรณ์
จึงได้แต่หวังว่าปรากฏการณ์ความสนใจในการติดตามผลสอบภาษาบาลีครั้งจะเป็นแรงผลักดันให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาบาลีใหม่เพราะมีฆราวาสที่เป็นอดีตมหาเปรียญและฆราวาสทั่วไปเป็นจำนวนมากต้องการที่จะเข้ามาศึกษาหากการจัดการเรียนการสอนอำนวยอย่างเช่นวัดโมลีกายาราม กรุงเทพมหานครดำเนินการอยู่ขณะนี้ โดยได้นำการสื่อออนไลน์เข้ามาช่วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"สำนักสงฆ์ป่าสิริจันทร์" ยังฝึกกรรมฐานศพ พบเป็นอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก
อารมณ์กรรมฐาน 40 ประการในพระไตรปิฎกมีคุณค่าในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมความสงบสุขในสังคม การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและรอบคอบจะช่วยให้สังคมไทยม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น