วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ฮังการี-โปแลนด์จับมือพุทธไทยร่วม"IBSCมจร"วิจัยสันติศึกษา



วันที่ 9 มิ.ย.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า IBSC หรือวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ได้รับหนังสือเชิญจากคณะปรัชญา ศูนย์ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับอารยธรรม มหาวิทยาลัยจากิลโลเนียน เมืองคราคาว ประเทศโปแลนด์ เพื่อร่วมลงนามความร่วมมือทาง (MoU) ในการร่วมแลกเปลี่ยนการศึกษา และการวิจัยด้านพระพุทธศาสนา และด้านสันติศึกษา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นิสิต การเรียนการสอน การทำวิจัยร่วมกันรวมถึงการปฏิบัติกรรมฐานภายใต้โครงการสติกับสมาธิ ทั้งนี้ สภาวิชาการ มจร ได้พิจารณาอนุมัติให้วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเป็นผู้แทนลงนามความร่วมมือครั้งนี้ การลงนามจะมีขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ที่เมืองคราคาว ประเทศโปแลนด์





สถานทูตฮังการีเชิญร่วมพิธีลงนามความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ฮังการี


พร้อมกันนี้ภายหลังที่ทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลฮังการีกับรัฐบาลไทย นำโดยกระทรวงต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และมหาจุฬาฯ บัดนี้ สถานทูตฮังการี ได้กราบนิมนต์พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร.อธิการบดีมหาจุฬา และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นพยานในการลงนามในครั้งนี้ซึ่งประกอบด้วย พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และรศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป โดยฝ่ายไทย รัฐบาลไทยมอบหมายเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาลงนาม ในขณะที่รัฐบาลฮังการี มอบหมายท่านทูตฮังการีประจำประเทศไทยลงนาม โดยจะลงนามในวันที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 13:30 น. ณ สถานทูตฮังการี ประจำประเทศไทย

พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร เปิดเผยด้วยว่า การเดินทางสู่ทวิปยุโรปของผู้บริหารด้านวิชาการ วิทยาลัยพุทธพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ในครั้งนี้ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ " โปแลนด์   เยอรมัน  สวีเดน และ  ฟินแลนด์ " ภายใต้การนำโดย พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และพระมหาหรรษา รวมจำนวน 21  รูป/คน  ในโอกาสเข้าร่วมประชุมสันติภาพโลกที่ประเทศสวีเดน มีสาระสำคัญในการเดินทางสู่ยุโรปในจำนวน 9 วัน ประกอบด้วย 1)การลงนามmouการศึกษา  2)การสัมมนาวิชาการ  3)ศึกษาด้านสันติวิธี  4)ศึกษาด้านความขัดแย้ง 5)ศึกษาด้านความรุนแรง 6)ศึกษาด้านสงครามโลก   7)ศึกษาด้านศาสนา 8)ศึกษาด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  9)เข้าร่วมประชุมสันติภาพโลก 10)ถอดบทเรียนการศึกษาที่ดีสุดของโลก 11)ถอดบทเรียนประเทศที่มีความสุขที่สุดของโลก 12)KMการเผยแผ่ธรรมเพื่อสันติภาพของวัดไทยในยุโรป ถือว่าเป็นภารกิจอันสำคัญในการเดินทางสู่ยุโรปในครั้งนี้ ภายใต้แนวคิดท่านอธิการบดี ว่า "ตกปลานอกบ้าน ประสานสิบทิศ ผูกมิตรทั่วหล้า  บริหารปัญญา สาริกาป้อนเหยื่อ" นั่นเอง 


...........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...