เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เฟซบุ๊ก Amonrat Techanok ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า วันจันทร์ที่ 13 พย 66 ผู้บริหาร บุคลากร นิสิต เครือข่ายชุมชน พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี โรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีลงเเขกเกี่ยวข้าว..ปลูกวันเเม่ เกี่ยววันพ่อ ณ ศูนน์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง พุทธอารยเกษตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
เลือกไทยนำร่องรูปแบบพัฒนาที่ยั่งยืน มอบ มข.ศึกษาวิจัยปลูกข้าว พบดีกว่าเดิมทุกมิติ
รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และหัวหน้าคณะศึกษาโครงการประเมินค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาระบบผลิตข้าวในประเทศไทย กล่าวในการเสวนาพร้อมเผยผลการศึกษาเรื่อง "ข้าวยั่งยืน เพื่อชีวิตและธรรมชาติ" ภายใต้โครงการ The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มข.ร่วมกับ United Nations Environment Programme และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการ สผ.เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ว่า งานวิจัยดังกล่าว อยู่ภายใต้การขับคลื่อนโครงการ TEEB ประเทศไทย ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ EU Partnership Instrument (EUPI) โดยพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของข้าวไทย โดยอาศัยกรอบการประเมินตามแนวทางของ TEEBAgriFood ซึ่งมีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับแนวคิดเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
"ผลการศึกษายังช่วยเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายในการส่งเสริมรูปแบบเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นกรอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารด้านการเกษตรของโลก จึงได้รับเลือกเป็นประเทศนำร่อง โดยเป็นตัวแทนของทวีปเอเชียในการศึกษาเรื่องดังกล่าว คณะผู้จัดทำคาดหวังผลการศึกษา จะนำไปสู่การผลักดันนโยบายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะเปลี่ยนจากการผลิตข้าวแบบทั่วไปสู่การผลิตข้าวแบบยั่งยืน" รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ กล่าว
รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์กล่าวอีกว่า แนวทางการผลิตข้าวแบบยั่งยืนนั้น ข้าวต้องมีคุณภาพมีความปลอดภัยในอาหาร ปกป้องสุขภาพ และคุ้มครองความปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ปฏิบัติรวมถึงชุมชน และต้องเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ จากการใช้เทคโนโลยีการผลิต และการจัดการที่เพิ่มประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งนี้ ในการศึกษาวิจัย ใช้การสร้างฉากทัศน์จำลองการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวแบบทั่วไป และการปลูกข้าวแบบยั่งยืน ระยะเวลา 28 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2565-2593 โดยจะเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวแบบยั่งยืนใน 4 กรณี คือ 1.ปกติ 2.ปานกลาง 3.ค่อนข้างสูง และ 4.อัตราสูง จากการศึกษาทั้ง 4 กรณี สันนิษฐานได้ว่าในปี 2593 พื้นที่ผลิตข้าวทั้งหมดของประเทศ จะมีพื้นที่ปลูกข้าวแบบยั่งยืนเพิ่มสูงถึง 4 ล้านไร่ 9,600,000 ไร่ 29,200,000 ไร่ และ 43,700,000 ไร่ ตามลำดับ
"คณะผู้วิจัยได้เลือกสุ่มสำรวจครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวรวมมากกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ และมีผลผลิตรวมกันมากกว่า 80% โดยเป็นพื้นที่รับน้ำฝน และพื้นที่ในเขตชลประทาน ผลการศึกษา พบว่า การปลูกข้าวแบบยั่งยืน ให้ผลที่ดีกว่าในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อทุนมนุษย์ละทุนทางสังคม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของข้าวไทย ผลที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุนมนุษย์ ได้แก่ การมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ทำให้ต้นทุนลดลงไปด้วย ขณะเดียวกันผลผลิตกลับเพิ่มขึ้น จึงสร้างผลกำไรต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ การไม่เผาหลังการเก็บเกี่ยวช่วยลด PM2.5 ทำให้ความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไทยลดลงด้วย ส่วนการเปลี่ยนแปลงในทุนธรรมชาติ อาทิ การส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากการเผาหลังการเก็บเกี่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และส่งเสริมคุณภาพน้ำ เป็นต้น" รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ กล่าว
รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์กล่าวต่อว่า การปลูกข้าวยั่งยืนไม่เพียงสร้างประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก แต่ยังมีส่วนช่วยกระจายผลประโยชน์ในระดับสูงให้กับเกษตรกร โดยหลักๆ ผ่านการปรับปรุงผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการเพาะปลูกส่งผลให้มีกำไรมากขึ้น ซึ่งกำไรจากการปลูกข้าวจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจจูงใจให้เกษตรหันมาใช้วิธีการปลูกข้าวยั่งยืนได้
"การปลูกข้าวแบบยั่งยืน ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย หลังจากนี้ ผลที่ได้จากการวิจัยจะนำไปสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวแบบยั่งยืนมากขึ้น โดยแนวทางจากการรับประกันความเสี่ยงเรื่องรายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น รวมถึง การส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปแนะนำเกษตรกร เราต้องสร้าง ecosystem ให้ดี โดยหน่วยงานรัฐเข้ามาร่วมกันบูรณาการ เช่น กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน ธกส.และอื่นๆ มาร่วมสร้างเป็น prototype เบื้องต้นในฤดูกาลเพาะปลูกปีหน้า มีแผนจะให้ปลูกข้าวแบบยั่งยืนใน 2 จังหวัด คือ ขอนแก่น และร้อยเอ็ด จังหวัดละ 20 หมู่บ้าน และจะขยายให้ถึง 50 หมู่บ้าน ภายใน 1 ปี พร้อมเพิ่มจำนวนเกษตรกรปลูกข้าวยั่งยืนในแต่ละหมู่บ้านด้วย โดยให้หน่วยงานรัฐสามารถมา Plug-in ได้ เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว จะขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวยั่งยืนให้ได้ทั้งจังหวัดภายใน 5 ปี จากนั้น โมเดลนี้จะนำไปใช้ได้กับทุกจังหวัดในไทย โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ถ้าสร้างตรงนี้ให้เห็นได้ชัด มันจะเกิดโมเมนตัมได้เร็วขึ้น" รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น