วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เทิด"5 กระบวนทัศน์ ร.10" สร้างหลักคิดไทย สร้าง "คนดี" นำ "คนเก่ง"
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ร่วมกับองค์กรเครือข่ายสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิดที่เหมาะสมสำหรับคนไทย สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน จัดงาน “การสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิดที่เหมาะสมสำหรับคนไทย” พร้อมประกาศเจตนารมณ์พันธะสัญญาร่วมกันขององค์กรภาคีเครือข่าย 275 เครือข่าย กว่า 500 คน เพื่อร่วมสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิดสำหรับคนไทย
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “หลักคิดที่เหมาะสมสำหรับคนไทย”
สังคมไทย ความอ่อนโยน มนุษยธรรม กตัญญู ที่อดีตได้รับการยกย่องจากต่างชาติปัจจุบันวิกฤติคุณธรรม
การปรับกระบวนทัศน์ทั้ง 5 ข้อ คือ 1 พอเพียง 2 วินัย 3 สุจริต 4 จิตสาธารณะ 5 รับผิดชอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงริเริ่ม ทรงตรัสว่า “การสร้างคนดี ให้แก่บ้านเมืองเป็นเรื่องที่ยากและยาวแต่ก็ต้องทำ” ดังนั้น การเรียนการสอนจะไม่ได้เน้นให้เด็กเก่ง แต่ทำให้เด็กมีน้ำใจ มีจิตอาสา สามัคคี หันมาช่วยเหลือกัน
พระราชทานราโชบายด้านการศึกษา คือ 1 ทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง เข้าใจในพื้นฐานของบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และเอื้ออาทรต่อครอบครัวชุมชน 2 พื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดี ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว ช่วยกันสร้างคนดีแก่บ้านเมือง 3 มีอาชีพ มีงานทำ ไม่ใช่เรียนอย่างเดียวแต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้ และ 4 เป็นพลเมืองดี ไ
ศ.กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ กรรมการขับเคลื่อนการปฎิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และประธานคณะอนุกรรมการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 กล่าวว่า เป้าหมายของการพัฒนาคนไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
สมรรถนะทางกาย มีจิตใจและจิตสำนึกที่ดีงาม
ด้านการเรียนรู้ การมีหลักคิด และมีค่านิยมที่ถูกต้อง
ด้าน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความตระหนักในหลักธรรมาภิบาล เสริมสร้างให้เกิดวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์อย่างทั่วถึง มีความคิดความอ่าน แบบมีเหตุผล เป็นพลเมืองดีที่ตื่นรู้ เชื่อมโยงกับความดีงามตามแนวทางไทยนิยมยั่งยืน มีจิตวิญญาณและสปิริตที่หวังประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ อันเป็นรากฐานสาคัญของระบอบประชาธิปไตย
มาฆบูชา!เปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ
มาฆบูชา!เปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ยึดหลักการอุดมการณ์วิธีการของพระพุทธเจ้าในการสร้างสันติภาพ สนับสนุนส่งเสริมการวิจัยเพื่อสันติภาพระดับโลก สร้างแรงบันดาลใจบุคคลผู้ทำงานด้านสันติภาพ
วันที่ 1 มี.ค.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬากล่าวว่า เป็นปณิธานอันแรงกล้าที่จะเปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ในวันเมตตาสากลโลกซึ่งมีความสำคัญมาก เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้สร้างสันติภาพ ถือว่าเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพ ด้วยหลักการ อุดมการณ์ วิธีการ จึงถือวันนี้เป็นวันเปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกพระพุทธเจ้าสนับสนุนคนทำงานด้านสันติภาพ บุคคลใดก็ตามที่มุ่งทำงานด้านสันติภาพและการวิจัยด้านสันติภาพเราจะสนับสนุนให้คนเหล่านี้ทำงานอย่างสะดวกสบาย เรามีเครือข่ายคือ สถาบันพระปกเกล้าและศาลยุติธรรม
พระมหาหรรษา กล่าวต่อว่า ได้เกิดแนวคิดการจัดตั้งมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพขึ้น และได้จดทะเบียนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1)สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การวิจัย เพื่อสันติภาพ 2)เผยแพร่แนวคิดและอุดมการณ์ด้านสันติภาพตามแนวพุทธสันติวิธี 3)สนับสนุนและส่งเสริมวิศวกรสันติภาพที่ทำงานเพื่อมนุษยชาติในระดับชาติและนานาชาติ 4)สร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างองค์กร หน่วยงานด้านสันติภาพระดับชาติและนานาชาติ 5)ดำเนินการและหรือร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายด้านสันติภาพ เพื่อสาธารณประโยชน์ 6)ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด โดยมีสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิ ตั้งอยู่เลขที่ 63 ซอยริมคลองบางกอกน้อย แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พระปราโมทย์ วาทโวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร กล่าวว่า การเปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพในครั้งนี้ถือว่าเป็นเจตนาอันเต็มเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระอาจารย์หรรษาในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ด้วยการสนับสนุนให้บุคคลที่ทำงานด้านสันติภาพ โดยยึดหลักการ อุดมการณ์ วิธีการของพระพุทธเจ้าในการสร้างสันติภาพในสังคมและมวลมนุษยชาติสืบไป
พระพรหมบัณฑิตแนะยุคสังคมออนไลน์ควรสื่อข่าวดีมากกว่าข่าวลบ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าคณะภาค 2 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เป็นองค์บรรยายพิเศษ ในพิธีประทานรางวัล "เสาอโศกผู้นำศีลธรรม" ประจำปีพุทธศักราช 2561 เรื่อง "สถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุค 4.0"
ที่หอประชุมใหญ่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ซึ่งสมาคมผู้ทำประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ พศ.และศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ คัดเลือกบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในการส่งเสริม เผยแผ่ อุปถัมภ์ คุ้มครอง พิทักษ์และปกป้องพระพุทธศาสนา รวมทั้งกิจการสาธารณะสงเคราะห์ตามแนวทางวิถีพุทธเป็นบุคคลต้นแบบทางพระพุทธศาสนาจากทุกสาขาอาชีพ เข้ารับประทานรางวัล เสาอโศกผู้นำศีลธรรม จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
การบรรยายพิเศษ เรื่อง สถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุค 4.0 มีประเด็นสำคัญความว่า การจัดงานในวันนี้เป็นการนำแนวทางของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาเป็นต้นแบบของพระมหากษัตริย์ชาวพุทธทั่วโลก และถือเป็นบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา ครั้นสมัยอดีตการออกป่าล่าสัตว์เป็นเกมส์กีฬาของผู้มีอำนาจ พระเจ้าอโศกเคยตรัสว่าไม่ให้ออกไปเข้าป่าล่าสัตว์ แต่ให้จาริกแสวงบุญปฏิบัติธรรมไปยังสถานที่ต่างๆ มีสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนให้ไปที่นั่น
พระเจ้าอโศกทรงให้ปักเสาไว้ในสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้า คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ผ่านมากว่า 2500 ปี หากไม่มีการปักเสาแสดงหลักฐานไว้ให้ จะไม่มีใครรู้ว่าสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใด พระเจ้าอโศกถือเป็นต้นแบบของธรรมราชา ในการทำนุบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง ยุคนี้ศาสตร์พระราชาในรัชกาลที่ 9 นำธรรมทางพุทธศาสนามาเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราชาวไทยต้องสานต่อ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามที่พระองค์ทรงวางไว้ และในรัชกาลปัจจุบัน ทรงส่งเสริมให้คนออกมาทำจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สู่คนอื่น ท้ายที่สุดในยุคสังคมออนไลน์ต้องออกมาร่วมกันเผยแผ่มากกว่ากระจายข่าวสารทางลบ
.................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อภาพ/ข้อมูล : ศูนย์ข่าวพระศาสนา / Mcu Tv-Channel คติธรรม วาทะธรรม พระพรหมบัณฑิตรายงาน)
"วุฒิสาร"แนะประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน
เทศกาลวันมาฆบูชา "มจร" จัดถก"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก" "วุฒิสาร"ชี้หลักพุทธไม่ขัดหลักปกครอบแนะผู้เผยแผ่ต้องวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ได้จริง แนะประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน ขณะที่โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรมยันคำพิพากษาที่ดีที่สุดจะเคารพกติกาเพื่อให้ประเทศไทยอยู่เย็นเป็นสุข
วันที่ 28 ก.พ.2561 ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันจัดการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิด ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยานั้น โดยมีการอภิปรายร่วมเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก"
มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านยุติธรรมทางสังคม" และศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านการเมืองการปกครอง" ดำเนินรายการโดย พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสันติศึกษา มจร
พระมหาหรรษา ได้เกริ่นนำว่า วันเมตตาสากลโลกมีความสำคัญมาก เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้สร้างสันติภาพ ถือว่าเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพ ด้วยหลักการ อุดมการณ์ วิธีการ จึงถือวันนี้เป็นวันเปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกพระพุทธเจ้าสนับสนุนคนทำงานด้านสันติภาพ บุคคลใดก็ตามที่มุ่งทำงานด้านสันติภาพและการวิจัยด้านสันติภาพเราจะสนับสนุนให้คนเหล่านี้ทำงานอย่างสะดวกสบาย เรามีเครือข่ายคือ สถาบันพระปกเกล้าและศาลยุติธรรม ซึ่งวันนี้เรามีเลขาธิการพระปกเกล้า และผู้แทนเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมถือว่ามีบทบาทด้านสันติภาพ จึงเริ่มประเด็นว่าศาสนาพุทธมีส่วนช่วยให้การเมืองการปกครองเกิดสันติสุขอย่างไร?
ศาสตราจารย์วุฒิสาร กล่าวว่า การมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืนมี 2 ประการ คือ 1)การทำให้สังคมมีสันติสุข เราจะหาสันติภาพเชิงบวกหรือสันติภาพเชิงลบ มีเค้ก ๑ ชิ้น จะต้องแบ่งด้วยความยุติธรรมคือได้เท่ากัน ส่วนเป็นธรรม คือ ใครมีปัญหามากกว่าจะได้มาก ประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน เราบอกว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่มีบางกลุ่มยังมาไม่ถึงสถานีเลย เราจะพัฒนา 4.0 ต้องมีการระเบิดมาจากภายใน
2)การพัฒนาคุณภาพสังคม อดีตเราพัฒนาเฉพาะชีวิต ปัจจุบันเรามาพัฒนาคุณภาพสังคม อดีตวัดเป็นสถานที่จัดการความขัดแย้งที่ดีที่สุดในสังคม คนที่เรียนจบจากสถาบันพระพุทธศาสนาเราจะได้คนดีของสังคม เพราะการหล่อหลอมของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีการกระจายอำนาจด้วยพระสงฆ์ออกไปทำงานเพื่อสังคม ในระบบการศึกษาใครคือกลุ่มเสี่ยง เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องเป็นสังคมมีความสามัคคีธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
"ปัจจุบันเราออกแบบ อำนาจในการบังคับขู่เข็ญ (Hard power) เป็นการออกแบบกติกามากมายแต่ความจริงเราต้องกลับมาใช้อำนาจในการโน้มน้าวจูงใจ. (soft power)เอาธรรมาธิปไตยเป็นตัวนำ หลักในพระพุทธศาสนาคือ"ขันติธรรม" ประชาธิไตยต้องอาศัยความอดทน ด้วยการฟังกันด้วยการสามารถ "ควบคุมตนเองให้อยู่ในธรรม"เรามักจะอ้างความชอบธรรมแบบส่วนตัวลืมนึกถึงส่วนรวม การควบคุมตนเองต้องอาศัยไตรสิกขา ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยการควบคุมตนเอง ด้วยการมีศีล 5 เป็นฐานของพื้นฐานชีวิตและสังคม ในสังคมเรามีคนประเภท "ปัญญาเกินสติ" การอยู่ร่วมกันเราต้องมีพรหมวิหาร จึงมีคำกล่าวว่า "ขี่ความตายข้ามความตาย"เหมือนในหลวงรัชกาลที่ 9 เรียกว่า "ขาดทุนคือกำไร" เราต้องทำความเข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนา ปฏิบัติกับปริยัติต้องไปด้วยกัน พระพุทธศาสนามิใช่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง แต่ผู้เผยแผ่ต้องประยุกต์หลักการคำสอน สามารถไปประยุกต์ใช้อย่างแท้จริง ผู้เผยแผ่ต้องมีการวิเคราะห์" ศาสตราจารย์วุฒิสาร กล่าว
นายสุริยัณห์ กล่าวว่า ประชาธิไตยจะเกิดขึ้นต้องมีศรัทธาและปัญญา เราเป็นเมืองพุทธที่เข้มแข็งแต่เรามีความอดทนน้อยที่สุดในการอยู่ร่วมกัน ในศาลยุติธรรมต้องการเห็นคนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข "คำพิพากษาที่ดีที่สุด คือ คู่กรณียอมกันเอง" เราจะเรียกร้องสันติเมื่อเรามีความขัดแย้ง เมื่อเราวุ่นวายเราจึงต้องเรียกร้องหาสันติภาพ มาถึงศาลยุติธรรมคือ บุคคลที่มีควาทุกข์ เราทำงานกับคนทุกข์ คนที่ทำงานในศาลเป็นเกิดมะเร็งมาก เพราะเราเจอปัญหาตลอดการทำงาน คนมีทุกข์ล้วนมาศาล ทำให้คนในศาลต้องหันมาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้ามากขึ้น เป็นธรรมมิใช่เท่ากัน เรามีกำแพงสูง 160 เมตร มี 3 คน คนที่ 1 สูง 180 คนที่สองสูง 150 คนที่สามสูง 140 ถามว่า 3 คนนี้ต้องการที่เหยียบต่างกันแน่นอน
"ศาลจึงใช้หลักฐานในการตัดสิน มีคนไปถามท่านพุทธทาสว่า การตัดสินประหารชีวิต จะบาปไหม? ท่านตอบว่า เราเป็นเพียงผู้ชี้กรรม ขณะที่ตัดสินจิตที่บริสุทธิ์ใจแล้วไม่ต้องกังวล แต่เพียงระวังการปราศจากอคติ เพราะชอบ กลัว รัก หลง ไม่มีทางเที่ยงธรรมใดๆ อคติมิใช่ทำลายเฉพาะเราแต่อคติทำลายคนอื่นอย่างมาก อคติเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ศาลยึดแนวปฏิบัติมาตลอด สังคมเราท้อแท้เพราะคนดีแท้ๆ มิใช่คนดีท้อแท้ เราทำงานเรามีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ" โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวและว่า
พระพุทธศาสนาจะมีบทบาทอย่างไรในการเข้ามามีบทบาทในศาลยุติธรรม ด้วยการตระหนักให้ปราศจากอคติในการตัดสินใจคดีและมีสติในการดำเนินชีวิต พระพุทธศาสนาจึงเป็นสายธารแห่งความร่มเย็นในชีวิต แม้แต่ประเด็นหวย 30 ล้านบาท สังคมไทยเราได้อะไร? เราดูจากสื่อจึงไม่ทราบเลย รู้สึกอย่างไรที่มีครูเข้ามาเกี่ยวข้อง ธรรมะไม่สามารถเข้าสู่จิตใจได้เลย ครูสอนพระพุทธศาสนาแต่อาจจะลืมสอนตนเอง ศาลคือดุจพินิจของการเป็นธรรม จึงต้องไม่มีอคติ เป็นทางที่ไม่ควรเดินเด็ดขาด ธรรมาธิปไตยจะคุ้มครองเราทุกคน
"สังคมสันติภาพ สังคมคุณภาพ ประชาชาธิปไตยเป็นอุดมคติ ต้องมีความพยายามมีความอดทน ต้องทำร่วมกัน เหมือนการเผยแผ่ศาสนามิใช่หน้าที่ของพระอย่างเดียว แต่ต้องเป็นหน้าที่ของทุกคน เราทำงานอย่างมีสติอย่างปล่อยวาง สุดท้ายทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด จากนั้นพระอาจารย์หรรษาย้ำว่า เราจัดงานครั้งนี้ เราต้องการสร้างแรงบันดาลใจ คนที่ทำงานด้านสันติภาพอย่างท้ออย่าเหนื่อย เพราะมีคนอีกมากมายรอเราอยู่ เราจึงพูดเรื่องสันติภาพเพราะสังคมเรายังขัดเเย้งกันอยู่" นายสุริยัณห์ กล่าว
............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
เล็งชงชื่อ5รูป/คนรับรางวัลสันติภาพโลกที่สวีเดน
เจ้าคุณสวีเดนร่วมงาน"มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก"ที่ "มจร" หวังเรียนรู้และประสานศึกษาจัดงานสันติภาพโลกที่สวีเดน เตรียมเสนอรายชื่อ 5 รูป/คนรับรางวัลสันติภาพโลก
วันที่ 28 ก.พ.2561 ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันจัดการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิด ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยานั้น พระวิเทศปุญญาภรณ์ หรือเจ้าคุณสวีเดน เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน เลขานุการสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปได้เข้าร่วมประชุมด้วย
ในการนี้มีพระวิเทศปุญญาภรณ์ได้เปิดโอกาสให้พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร พระสื่อข่าวสัมภาษณ์ทราบว่า เพื่อเรียนรู้และประสานงานการจัดงานสันติภาพโลก ณ ประเทศสวีเดนวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ซึ่งประเทศสวีเดนเป็นสถานที่มอบรางวัลโนเบล เนื่องจากได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ไทยให้ประสานจัดงานสันติภาพโลก พร้อมกันนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการประชุมพระธรรมทูตโลกหลังจากนั้นก็จะเดินทางไปร่วมงานดังกล่าว และจะมีคณะจากประเทศไทยเดินไปร่วมด้วย ซึ่งเจ้าคุณสวีเดนนั้นที่มีพาสปอตสีน้ำเงินสามารถเดินทางสะดวกสบาย เพราะไม่ต้องขอวีซ่า เนื่องในโอกาศวันมาฆบูชานี้จึงขอเชิญชวนทุกรูป/คนร่วมกันสร้างความดี ทำจิตใจให้สงบ ด้วยการสร้างจิตมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ จะได้สร้างสันติภาพโลกด้วยการเริ่มต้นจากตัวของเราก่อน
การประชุมสันติภาพโลกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำศาสนาทั่วโลกมาประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติความรุนแรงในโลกนี้ เพราะความเป็นจริงแล้วศาสนาต้องสร้างสันติภาพมิใช่ศาสนาสร้างความรุนแรงหรือสงคราม การประชุมครั้งนี้เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีของผู้นำระดับโลก เพื่อเป็นการชูวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เป็นสื่อแห่งสันติภาพ และเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานด้านสันติภาพได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ โดยประเทศไทยได้นำเสนอรายชื่อ 5 รูป/คน เพื่อเข้ารับรางวัลสันติภาพโลก
"ดังนั้น การรักผู้อื่น 3 พยางค์เท่านั้นนำไปสู่สันติสุขอย่างชัดเจน ด้วยการก้าวข้ามลัทธินิกายไปสู่เนื้อแท้แห่งศาสนา ทำไมศาสนาซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสันติสุขของมวลมนุษย์จึงกลายเป็นต้นเหตุแห่งสงครามที่ทำลายล้างสันติสุขของมวลมนุษย์เสียเองในบ้างครั้งคำตอบก็ คือ 1)เกิดการยึดติดถือมั่นว่า ศาสนาของตนเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นดีที่สุด 2)เกิดความพยายามยัดเยียดศาสนาของตนให้แก่คนอื่น 3)เกิดการตีความคำสอนของศาสนาผิดๆ 4)เกิดจากความพยายามจะปกป้องศาสนาของตนจากคนที่ถือศาสนาอื่น 5)เกิดจากการเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของศาสนาที่ตนนับถือ" พระปราโมทย์ กล่าวและว่า
6)เกิดจากความพยายามครอบครองผลประโยชน์ที่เกิดจากศาสนา 7)เกิดจากการนำเอาศาสนาไปรับใช้สถาบันทางการเมือง 8)เกิดจากการแตกนิกายย่อยๆ ระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกัน ศาสนิกของศาสนาจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อมองให้ทะลุสมมุติสัจจะว่าความเป็นศาสนิกชนของตนนั้นเป็นเพียง "เปลือกผิว" ของความเป็นมนุษย์เท่านั้น แก่แท้ของคนเราทุกคน คือ " เราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน อย่าให้ความเป็นเพียงสมมุติบัญญัติทางศาสนา มาแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ของเราออกจากกัน
ชวน"อปท.-คณะสงฆ์"ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์
สปสช.เขต 3 นครสวรรค์ นำร่องหนุน"ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์" ชวน อปท.และคณะสงฆ์ ใช้ "กองทุนสุขภาพท้องถิ่น" ขับเคลื่อนสุขภาวะ
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2561 พระครูวชิรปัญญากร เจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน เป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการเข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในกลุ่มพระสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดพิจิตร ที่ห้องประชุมหน่วยวิทยบริการ วัดบรมธาตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ วัดบรมธาตุ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ตามที่ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 3 นครสวรรค์ (สปสช.เขต 3 นครสวรรค์) ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร เพื่อขับเคลื่อน“ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์” สร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดีให้กับพระสงฆ์
พระครูวชิรปัญญากร กล่าวว่า ต้องอนุโมทนา สปสช. เขต 3 นครสวรรค์ ที่นำร่องหนุนขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ จัดประชุมหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในกลุ่มพระสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตรในวันนี้ นอกจากจะเป็นเวทีถวายความรู้ความเข้าใจให้กับพระสงฆ์ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้พระสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดพิจิตรสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
"และที่สำคัญการที่ สปสช. ได้สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ อีกทั้งธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ได้มีประกาศใช้เมื่อปี 2560 ภายหลังที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของพระสงฆ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแลประชาชนทั่วประเทศให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและสาธารณสุข จึงมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาตินี้ ในฐานะผู้แทนองค์กรสงฆ์จึงขออนุโมทนา และเห็นเป็นโอกาสดีที่ชุมชน สังคม และคณะสงฆ์จะได้เข้ามาช่วยดูแลสุขภาวะของพระสงฆ์" เจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร กล่าว
พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มจร คณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ กล่าวว่า ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติมีการดำเนินการภายใต้มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคือพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามมติและปี2559 มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติมีพระราชวรมุนี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร และรองเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานคณะทำงาน ได้มีการจัดเสทีรับฟังความเห็น ผ่านการเห็นชอบคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์โดยมีพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม(มจร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กทม. เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2561 และมหาเถรสมาคมมติเห็นชอบให้อยู่ในแผนงานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์และให้ประกาศใช้ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่10 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2559 ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ สสส. ได้สนับสนุนพื้นที่นำร่อง 20 พื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัดตามประเด็นหมวดในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เช่น พระคิลานุปัฏฐาก กุฏิสงฆ์อาพาธ วัดส่งเสริมสุขภาพ สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ เป็นต้น
นายพนมศักดิ์ เอมอยู่ ให้ข้อมูลเกี่ยว สปสช.ว่า วันนี้ สปสช. ได้สนับสนุนให้ อปท. เข้ามามีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรภาพทางการแพพทย์ ภายใต้สิทธิประโยขน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกลไก “กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” เพื่อร่วมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 ตามมาตรา 47 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มุ่งเน้นให้ อปท. มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรภาคีต่างๆ ในพื้นที่ ให้เข้ามาบริหารจัดการระบบสุขภาพร่วมกันอย่างแข็งขัน เกิดระบบสุขภาพชุมชน
นายวิสุทธิ์ บุญญะโสภิต รองผู้อำนวยการ สปสช. เขต 3 นครสวรรค์ กล่าวถึงสถานะสุขภาพของพระสงฆ์ 2559 เรียง 5 ลำดับแรกจากจำนวน 122,000 รูป พบว่า อันดับแรกโรคไขมันในเลือดสูง 9,609 ราย โรคความดันโลหิตสูง 8,520 ราย โรคเบาหวาน 6,320 ราย โรคไตวายเรื้อรัง 4,320 โรคข้อเข่าเสื่อม 2,600 ราย พระสงฆ์เจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs อ้วน & โรคเรื้อรัง ร้อยละ46 ทั้งหมดนี้ชวนฝ่ายกองทุนฯ พระสงฆ์ และองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพมาเจอกัน ชวนทุกท่านพิจารณาดูว่าสามารถทำโครงการอะไรได้บ้างเพื่อช่วยดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ และดูหลักเกณฑ์การจ่ายเงินกองทุนท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ (ข้อ7)
การเข้ามามีส่วนร่วมของ สปสช.ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในครั้งนี้นับเป็นการบูรณาการงานคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการที่เห็นเป็นรูปธรรม ระหว่างคณะสงฆ์และภาคีเครือข่าย โดยยึดหลัก "ทางธรรม นำทางโลก" เพื่อ "พระสงฆ์แข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข" สืบไป
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
‘พระพรหมบัณฑิต’ชี้วันมาฆบูชาวันประกาศหลักการสร้างสันติภาพโลกช่วยไทยรอด
"มจร"ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมและสถาบันพระปกเกล้าการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" หวังนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาสันติภาพโลก พร้อมเปิดตัวมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ พระพรหมบัณฑิตชี้วันมาฆบูชาวันประกาศหลักการสร้างสันติภาพโลกช่วยไทยรอด
เมื่อเวลา 08.30 น.ของวันที่ 28 ก.พ.2561 ที่ห้องประชุมโซน C อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า
หลังจากนั้นพระพรหมบัณฑิตได้ปาฐกถาพิเศษความตอนหนึ่งว่า วันมาฆบูชานับได้ว่ามีความสัมพันธ์กับสันติภาพเพราะว่าในวันดังกล่าวพระพุทธเจ้าประกาศโอวาปาฏิโมกข์ซึ่งเป็นหลักการ อุดมการ และวิธีการสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำจิตใจผ่องใสซึ่งจะทำให้คนมีมีจิตใจผ่องใสแล้วจะสะท้อนคุณธรรมคือ ขันติธรรม เมตตาธรรม และกรุณาธรรม ซึ่งเป็นหัวใจพระโพธิสัตว์ด้วย คุณธรรมเหล่านี้โดยเฉพาะขันติธรรมนั้นยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นหลัการสำคัญ ที่ระบุว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มที่ใจโดยมีขันติธรรมเป็นฐาน หากไม่มีขันติธรรมแล้วสันติภาพไม่เกิด
ความหมายของขันติธรรมในที่นี้คือความอดทนต่อความแตกต่างในภาวะสังคมแห่งพหุวัฒธรรมได้ แต่ปัญหาในปัจจุบันนี้คือสังคมโลกส่วนใหญ่ยอมรับความแตกต่างไม่ได้จึงทำให้เกิดความรุนแรง ดังนั้นการที่มหาจุฬาฯได้เปิดหลักสูตรสันติศึกษาจึงถือว่าเหมาะสมและมีความก้าวหน้าจนกระทั้งตั้งมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพเพื่อสนับสนุนในการสร้างสันติภาพ เพราะการศึกษาต้องมีส่วนในการสร้างสันติภาพไม่ใช่สร้างความขัดแย้ง ความรุนแรง ตามหลักการแห่งพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติธรรม
และหลักการแห่งพระพุทธศาสนานี้เป็นรากฐานของสังคมไทย 3 ประการคือ อิสรภาพ อวิหิงสาคือขันติธรรม และประสานผลประโยชน์ โดยเฉพาะขันติธรรมนี้ทำให้ประเทศไทยในอดีตเอาชนะเพื่อนบ้านแต่ไม่กดขี่แถมยังนำมาพัฒนาประเทศ เปิดรับต่างชาติต่างศาสนาทำให้สมัยอยุธยาเจริญรุ่งเรือด้วยการรู้จักเอาคนเก่งมาใช่งานทำให้ไทยมีคนเก่งมากในครั้งนั้น ถ้าประเทศไทยยังคงยึดหลักนี้ก็จะเจริญต่อไป
“มหาจุฬาฯได้ยึดหลัก 3 ประการนี้ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าคนไทยไม่เรียนก็มีชาวต่างชาติมาเรียน ทั้งนี้เพราะมหาจุฬาฯได้ยึดขันติธรรมและการมีส่วนร่วมทำให้มีการเปิดหลักสูตรสันติศึกษารองรับหลักการดังกล่าว” อธิการบดี มจร กล่าว
หลังจากนั้นนายวิรัช ชินวินิจกุล องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก" ตามด้วยการอภิปรายร่วมเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก" ซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านยุติธรรมทางสังคม" และ ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่จะนำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านการเมืองการปกครอง" ดำเนินรายการโดย พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสันติศึกษา มจร
เสร็จจากนั้นพระมหาหรรษาแถลงข่าวเปิดตัวมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ร่วมถึงการเผยแพร่งานด้านสันติภาพ ทั้งการให้รางวัลแก่นักสันติภาพทั่วโลก การสร้างเครือข่าย การสนับสนุนทุนการศึกษา การสนับสนุนการวิจัย และการพัฒนาหมู่บ้านสันติสุขในชุมชนทั้งในและต่างประเทศด้วย เพื่อให้สอดรับกับพุทธประสงค์ที่ได้ทรงวางรากฐานงานด้านสันติภาพเอาไว้ตราบจนมาถึงปัจจุบัน
การที่ มจร ร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้าจัดสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" ในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกาศคุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก นำเสนอหลักการ แนวทางปฏิบัติแห่งสันติภาพในทางพระพุทธศาสนา ยกย่องเชิดชูนักสันติภาพผู้ทำงานเสียสละเพื่อสังคม พร้อมทั้งเป็นวัดนัดพบปะประสานพูดคุยกันของบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ เพื่อร่วมกันทำงานเป็นเครือข่ายองค์กรที่มั่นคงและประสานความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สืบเนื่องจากขณะเดียวนี้หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร ได้เปิดสอนนิสิตระดับปริญญาโท จำนวน 5 รุ่น มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 และปริญญาเอก จำนวน 2 รุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมกันนี้วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ได้เปิดสอนหลักสูตรสันติศึกษา และหลักสูตรพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับปริญาโทและปริญญาเอก
การศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก มีความแตกต่างจากการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทั้งทางด้านระบบการศึกษา ระเบียบข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่างๆ การจัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยทำให้นิสิตเกิดความพร้อมในการศึกษาเกิดการพัฒนาทั้งในด้านกายและจิตใจมีความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การครองตน ครองชีวิต มีทัศนคติที่ดี เป็นการเรียนรู้จากภายในสู่ภายนอกทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างและเข้าถึงสันติภาพได้อย่างแท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าว หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ร่วมกับ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติหลักสูตร สาขาวิชาพระพุทธศาสนา(ภาคพิเศษ) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิปัสสนาธุระและส่วนธรรมนิเทศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมและงานสัมมนาวิชาการประจำเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้ 1. โครงการปฏิบัติธรรมในชื่อโครงการ "มาฆบูชา: วันภาวนาเพื่อสันติภาพโลก" ในวันที่ 26, 27, 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ อาคารวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) และโครงการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา: วันเมตตาสากลโลก" ในวันที่ 28 ก.พ.2561 ดังกล่าว
สำหรับโครงการ "มาฆบูชา: วันภาวนาเพื่อสันติภาพโลก"นั้น ได้มีมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมามีคุณหญิงสมปอง วรรณิสสร ในฐานะผู้มีแรงพลังอันเต็มเปี่ยมบริจาคที่ดิน 84 ไร่ เพื่อจัดสร้างมหาจุฬาฯ วังน้อย เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พัฒนาฝึกฝนอบรมในมิติของกระบวนการการสร้างสันติภาพจากภายในสู่ภายนอก พร้อมทั้งยังมีการแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิต การปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับคุณลักษณะของนักสันติภาพวิถีพุทธและสอดคล้องกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาโครงการปฏิบัติธรรมนี้มุ่งหวังให้นิสิตและบุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาหล่อหลอมทัศนคติเกี่ยวกับสันติภาพที่จะก่อให้เกิดทักษะการครองตนและนำพาไปสู่แนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมเด็จพระสังฆราชประทานพระคติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชา
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ให้พุทธศาสนิกชนยึดหลักขันติธรรม และทรงแนะมีความกตัญญูต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
วันที่ 27 ก.พ. 2561 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา 1 มีนาคม 2561 ใจความว่า มาฆบูชาเป็นโอกาสให้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต กล่าวคือ มีพระภิกษุ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ทรงส่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนากลับมาเฝ้าพระศาสดาพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ทุกรูปล้วนเป็นเอหิภิกขุ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอุปสมบทประทานให้ พระสงฆ์นั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ และการประชุมกันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ
ในโอกาสดังกล่าวพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานอุดมการณ์เผยแผ่พระพุทธศาสนา 4 ข้อ ได้แก่ ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น พระนิพพาน เป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช แสวงหาการหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ด้วยวิธีการตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบาก และเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทควรทบทวนถึงอุดมการณ์ดังกล่าวให้ถ่องแท้ ถ้าแต่ละคนตั้งตนไว้ด้วยขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้น มุ่งประพฤติสุจริตธรรมจรรยาเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ไม่เบียดเบียนกันและกัน
ในขณะเดียวกันก็พยายามลดละความชั่วทุกชนิด ความเจริญสุข ความเกษมปราศภัยในชีวิตของแต่ละคนย่อมบังเกิดขึ้นได้อย่างแน่แท้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริริเริ่มให้มีประเพณีมาฆบูชาบนแผ่นดินไทย สมควรที่ชาวไทยจะได้สืบสานพระราชศรัทธา น้อมนำคุณค่าของวันสำคัญนี้มาสู่ตน ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและโลก
และช่างบ่ายวันอังคาร ที่ 27 ก.พ.นี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปยังพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในการเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และทรงนำเจริญจิตภาวนา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา พุทธศักราช 2561
โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า “ท่านทั้งหลายมาพรั่งพร้อมกันในวันนี้ เพราะมีคุณธรรมสำคัญร่วมกันประการหนึ่ง คือความกตัญญูกตเวที กตัญญูกตเวทีเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีงาม หมายถึง การระลึกถึงคุณความดีที่บุคคลอื่นกับตน แล้วจึงตอบแทนคุณ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนไว้ว่า มีบุคคลสองจำพวกที่หาได้ยาก กล่าวคือ ‘บุพการี’ ผู้กระทำคุณให้แก่ผู้อื่นก่อน 1 และ ‘กตัญญูกตเวที’ ผู้รู้คุณและสนองคุณท่าน 1 ที่ว่าหาได้ยากเพราะเหตุใด?
ก็เพราะบุคคลย่อมถูกตัณหา ความติดข้องเข้าครอบงำ ส่วนใหญ่การที่สัตว์โลกช่วยเหลือใครต่อใครก่อน ก็เป็นไปเพื่อหวังผลประโยชน์ ต้องการได้รับสิ่งตอบแทนจึงทำ หรือต้องการเป็นที่รัก ต้องการคำสรรเสริญจึงทำ เช่นนี้ชื่อว่าถูกตัณหาครอบงำ การช่วยเหลือในลักษณะนั้น ไม่ชื่อว่าบุพการี ซ้ำร้ายบางคนก็ยังไม่คิดช่วยเหลือผู้อื่นเลย เพราะความรักตนเอง ไม่อยากให้ตนเองเหนื่อย ไม่อยากเดือดร้อน จึงไม่ช่วยอะไรใคร ดังนั้น การช่วยเหลือผู้อื่นก่อนด้วยกุศลจิตจึงหากได้ยาก บุพการีบุคคลจึงหาได้ยาก
ส่วนที่ว่ากตัญญูกตเวทีหาได้ยากนั้น เพราะเหตุใด?
ก็เพราะถูกอวิชชาความไม่รู้เข้าครอบงำ สัตว์โลกโดยมากเต็มไปด้วยความไม่รู้ ผู้ที่รู้คุณท่านและสนองคุณท่านย่อมที่จะคิดถูก เพราะมีปัญญาเข้าใจถูกว่าท่านเป็นผู้มีคุณ ควรสนองคุณ เพราะฉะนั้น สัตว์โลกที่รู้คุณและทำคุณตอบแทนผู้มีคุณย่อมมีน้อย เมื่อเทียบกับสัตว์โลกทั้งหมดที่มีความไม่รู้ครอบงำ กตัญญูกตเวทีบุคคลจึงหาได้ยาก
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบุพการีผู้ของสัตว์โลก ทรงเป็นบุพการีของเหล่าพุทธบริษัท ทรงชี้ทางแห่งความถูกต้องดีงามให้อย่างไม่เลือกหน้า โดยไม่ทรงปรารถนาสิ่งใดตอบแทน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ก็ทรงเป็นบุพการีของชาวไทย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขความเจริญของพสกนิกร โดยไม่ทรงปรารถนาสิ่งใดตอบแทน อาตมาจึงขอฝากข้อคิดเป็นคำถามไว้ว่า ชาวพุทธและชาวไทยในทุกวันนี้ เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีแล้วหรือยัง?
หากท่านทั้งหลายมีใจจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ขอจงประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในทำนองคลองธรรม ทำหน้าที่ของตนๆ อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน หากทำได้เช่นนั้น ท่านทั้งหลายย่อมได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวที เป็นบุคคลที่หาได้ยาก ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ”
สุดอลังการ!อัญเชิญพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่อินเดีย
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เฟซบุ๊ก ภูตะวัน น้องนะโม ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า "ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปปางปรินิพพาน เครื่องราชสักการะพระราชทานจากสาลวโนทยานสู่มกุฏพันธนเจดีย์"
ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ อันเป็นสังเวชนียสถานที่เสด็จปรินิพพาน สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธ และแบ่งแจกพระบรมสารีริกธาตุให้พระราชา 8 พระนคร นับเป็นมหามงคลที่พุทธบริษัทชาวไทยทั่วโลกได้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
เมื่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ พสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดี และชาวพุทธผู้ศรัทธาเลื่อมใสนั้นแล้ว ทรงพระมหากรุณาอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ กับเส้นพระเจ้า และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯแทนพระองค์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุกับเส้นพระเจ้าไว้ที่พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ให้เป็นที่สักการบูชาด้วยสัมมาปฏิบัติจากชาวพุทธทั่วโลกและผู้ศรัทธาเลื่อมใสจากนานาอริยะประเทศ
เพื่อให้เกิดประเพณีอันดีงาม และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้สถาพร จึงได้จัดงานสมโภชและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุขึ้น เป็นที่รวมศรัทธา ให้งดงามยิ่ง อันเป็นผลจากการเชิดชูสถาบัน ทั้ง 3 คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในแดนพุทธภูมิ ในวันปลงมายุสังขาร ระหว่าง วันที่ 18 - 24 กุมภาพันธ์ 2561 โดยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปปางปรินิพพาน เครื่องราชสักการะ น้ำสรง พระราชทานขบวนช้าง ขบวนม้า พลทหาร พระมหาเถระ พระสงฆ์นานาชาติ พุทธศาสนิกชน จำนวนมากจากสาลวโนทยานสู่มกุฏพันธนเจดีย์ ตามโบราณราชปรพเพณีเจ้ามัลละอัญเชิญพระบรมศพพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แห่พระธาตุแจกทานคนยากจน
หลังจากนั้นพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ นายไพศาล คุณผลิน และคณะพุทธศาสนิกชน ร่วมมอบเครื่องเล่นดนตรี ที่ชนะเลิศการแข่งขันการประกวดร้องเพลงสรรเสริญพระพุทธเจ้า และมอบอุปกรณ์การศึกษา ทุนการศึกษา แก่เด็กนักเรียน จำนวน 650 คน ในงานสมโภชและนมัสการพระบรมสารีริธาตุ ประจำปี 2561 สนับสนุนโดยนายไพศาล คุนผลิน พร้อมคณะ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด มหาชน นายประกาศิต นางประภาพร ลิขสิทธิ์ พร้อมกัลยาณมิตร คณะเอไอเอ ประเทศไทย จำกัด
กรมการศาสนาดึงคนใกล้ศาสนาจัดมาฆบูชาบนห้าง
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา มอบหมายให้นายเชาวลิต ศิริภิรมย์ ที่ปรึกษากรมการศาสนา เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเปิด "วันมาฆบูชา มหามงคล ประจำปี 2561" โดยมี พระพรหมเสนาบดี เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ดารา สื่อมวชน ประชาชน ผู้บริหาร เเละเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วมในพิธี ณ ลานกิจกรรมนิทรรศการมาฆบูชา มหามงคล ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าซีคอน บางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
PDJโชว์ศักยภาพยกทัพเครื่องประดับอัญมณี
วันที่ 27 ก.พ.2561 เฟซบุ๊ก Stock Focus Magazine ได้โพสต์ข้อความว่า PDJ โชว์ศักยภาพยกทัพเครื่องประดับอัญมณี ออกบูธงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair
นางประพีร์ สรไกรกิติกูล (ที่3จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริษัท และนางสาวพิทยา เตียสุวรรณ์ (ที่3จากขวา) กรรมการบริษัท บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) “PDJ” ร่วมออกบูธงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในงาน “Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 61” โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) นำเครื่องประดับแบรนด์ Prima Gold, Prima Art, Merii และ Caii โชว์ศักยภาพความสวยงามและความปราณีต พร้อมพบปะกับผู้ค้าอัญมณีจากทั่วโลก ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆนี้
"ณเดชน์-แม่แก้ว"แจกทุนการศึกษาเณรอินเดีย130 รูป
วันที่ 27 กพ.2561 ตามที่"ณเดชน์ คูกิมิยะ" พระเอกหนุ่ม ซุปตาร์สายบุญ พร้อมด้วยมารดา "แม่แก้ว สุดารัตน์" ได้เดินทางไปแสวงบุญสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ทั้งที่ประเทศอินเดียและเนปาล จุดแรกคือลุมพินีวันประเทศเนปาลสถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากนั้นคณะได้เดินทางไปที่เมืองกุสินาราซึ่งเป็นสถานที่ปรินิพพาน
ระหว่างนั้นเป็นช่วงที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย จัดพิธีบรรพชาสามเณรกุลบุตรชาวอินเดีย จำนวน 130 รูป เป็นครั้งประวัติศาสตร์ของเมืองกุสินารา ณ สถานที่ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ในเทศกาลวันมาฆบูชา และงานสมโภชและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ประจำปี 2561
ในโอกาสนี้ "ณเดชน์"และแม่แก้วได้ชวนคณะตั้งกองทุนรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลกุสินาราคลีนิก และแจกทุนการศึกษาสามเณรอินเดีย 130 รูปด้วย
วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ฮือฮา!เจ้าบ่าว70ปีแต่งเจ้าสาว20ปีสินสอดหลายล้าน
วันที่ 27 กพ.2561 เฟซบุ๊ก ຜ່ອນອາລົມ ຄາຍຄຽດ ได้โพสต์ภาพการแต่งงานที่ประเทศลาวโดยที่เจ้าบ่าวอายุ 70 ปี เจ้าสาว 20 ปี ด้วยสินสอด 99 ล้านกีบ ทองคำ เรือนหอ 1 หลัง แต่มีการจดบันทึกไว้ว่า ถ้าเมียไม่ดูแลให้ทรัพย์สินตกเป็นของสามี 80% ของ 20%
พุทธะอิสระเล่นไม่เลิก!โพสต์ภาพ"แม้ว-ปู-ธัมมชโย"
วันที่ 27 ก.พ.2561 เฟซบุ๊ก"หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)" ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ลองทำใจให้เป็นกลาง แล้วอ่านคอมเมนต์สาวกลัทธิดูดทรัพย์ดูว่า จิตใจเขาคิดอะไรอยู่
“Siltam Nantida Tamuang : นับถือขี้อิสระ ทำใมหนอถึงโง่ขนาดนี้ ในสมัยพุทธกาลพวกเอ็งคงเป็นศิษเทวทัต คอยทำร้ายพระพุทธเจ้า นี่ก็คงถูกนางสุวิทพาลงนรกตามเคย
Siltam Nantida Tamuang : ยังมีเหล่าสาวกโง่ๆๆ ตามตูดนางสุวิท มารอิสระอีกหรือ มาดูเดรัชฉานโง่ต้องมาส่องเผจนี้
Siltam Nantida Tamuang : หลอกสาวกโง่ๆสลิ่มชั่วเหอะ ทำดีได้ดีรักวัดพระธรรมกาย ของจริง มารชั่วร้ายเช่นเอ็งก็ได้เเต่เห่า
Siltam Nantida Tamuang : มารอิสระชั่ว ใส่ร้ายจาบจ้วงพระศาสนาอีกเเล้ว สึกเหอะอย่าหากินกับผ้าเหลือง ชั่วที่สุดคืออิสระมารร้าย”
อยากบอกสาวกดูดทรัพย์ว่า อย่าเอาแต่ด่าพุทธะอิสระเลย เอาเวลาไปตามตัวศาสดาขาเน่า มาขึ้นศาลพิสูจน์ความจริงดีกว่า 3 คนนี้ แม้จักแตกต่างกันโดยฐานะ แต่เป็นโรคเดียวกันคือ โรคกลัวความจริง จนมีวิบากกรรมเดียวกันคือ ไม่มีแผ่นดินอยู่
"ลูกสะกดมหาอุตม์"หลวงพ่อชุบ สมาคมบ้านเคหะนนทบุรีสร้างแจกทหาร 3 จว.ชายแดนใต้
ปัจจุบันมีหลายพระเกจิอาจารย์สร้าง "ลูกสะกด" แต่ที่โด่งดังสุดๆ คือ ลูกสะกดที่จัดสร้างโดยพระครูอดุลพิริยานุวัตร หรือหลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ เจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
เมื่อหลวงพ่อชุบสร้างวัตถุมงคลรวมทั้งเครื่องรางของขลังเพื่อหาปัจจัยพัฒนาศาสนาสถาน ศาสนวัตถุ และเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดวังกระแจะ อาทิ ล็อกเกต รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๔๙, เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ฉลองอายุครบ 83 ปี พ.ศ.2552 และตะกรุดเงินพอกผงพุทธคุณผสมผงแร่เหล็กน้ำพี้เป็นต้น ปรากฏว่าผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์และได้รับวัตถุมงคลไปต่างประจักษ์ในพุทธคุณ และ พลานุภาพ ทั้งด้านเมตตามหาอุด แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านเริ่มขจรไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมายจากทั่วประเทศ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกศิษย์เชื่อมั่นในพุทธคุณวัตถุมงคลหลวงชุบ คือ เมื่อสืบสาวราวเรื่องปรากฏว่าหลวงพ่อชุบท่านได้ร่ำเรียนวิทยาอาคมจนสำเร็จแตกฉาน ทั้งสายหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และสายหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อมสองพระเกจิชื่อดังของไทย
ด้วยพุทธคุณอันลือลั่นของลูกสะกด นายอนันต์ บริวารสมาคมบ้านเคหะนนทบุรี ได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชุบ ให้จัดสร้างลูกสะกด เพื่อมอบให้ทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้บริจาคเงินช่วยซื้อกางเกงใน และ ถุงเท้า อย่างไรก็ตามเพื่อให้ลูกสะกดมีพุทะคุณเข้มขลัง นอกจากให้หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ อธิฐานจิตปลุกเสกแล้ว ยังนำไปให้พระเกจิอีกหลายท่าน อธิฐานจิตปลุกเสก เช่น ท่านก๋งเตื่อง วัดคลองจาก จ.ตราด
หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อไฉน วัดป่าคุณากร จ. ขอนแก่น หลวงปู่อ่อง วัดเขาวงกต จ.จันทบุรี และ พ่อหนานรัส แห่งดอยสันติภาพ อ.เมือง จ.เชียงราย
ลูกสะกดที่มีชื่อเสียงเป็นที่โจษจันกันมากก็ คือ ลูกสะกดวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม.) ลูกสะกดที่ว่านี้ทำด้วยชินผสมตะกั่ว กล่อมเป็นรูปยาวรีเจาะรูผ่านตลอด ลูกสะกดพระอาจารย์ทับ แห่งวัดอนงคาราม ลักษณะกล่อมกลมหรือยาวรี หรืออาจมีสัณฐานต่างออกไปบ้างลูกสะกดของพระอาจารย์ทับมักไม่ค่อยจะเจาะรูตลอด เพราะท่านสร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์จึงยากต่อการเจาะ เพราะเนื้อชนิดนี้เปราะและแตกสลายง่าย ลูกสะกดของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาทก็มีอยู่เหมือนกันครับ แต่ของท่านมักจะสร้างด้วยไม้หัวรอด หัวกลอน ท่านอาจจะเอาเคล็ดของคำว่า "รอด" และหนักแน่นเหมือน "กลอน" (ที่ใช้ขัดประตู) แต่ทางจังหวัดชัยนาท มักนิยมเรียก "ลูกเครื่อง"
ลูกสะกด อีกชนิดหนึ่งของหลวงปู่จันทร์ วัดใหม่โมลีโลก จ.นนทบุรี ที่สร้างจากวัสดุอาถรรพณ์ คือ แร่บางไผ่ และ (เป็นผู้สร้างพระปิดตาแร่บางไผ่อันลือชื่อ) มีลักษณะกลมหรือ รี สามารถติดแม่เหล็กได้และจะพิจารณาดูง่าย ๆ คือ สนิมจะเปียกเหมือนยางหมากเป็นแผ่น นอกจากนี้ลูกสะกดที่ได้รับความนิยมเล่นหากันเป็นอย่างมากอีกอาจารย์ท่านหนึ่งก็คือ ลูกสะกดของหลวงปู่เนียมวัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ลูกสะกดของอาจารย์ท่านนี้กล่อมเป็นลูกกลม ๆ มีทั้งที่ทำด้วยเนื้อตะกั่วผสมชินและเนื้อเมฆพัด
ลูกสะกดมหาอุตม์หลวงพ่อชุบ ดำเนินการโดย สมาคมบ้านเคหะนนทบุรี นายอนันต์ บริวารพิทักษ์ นายกสมาคม สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0957982893
คุณหญิงสมปองมหาอุบาสิกาผู้หนุนวิปัสสนาไทย
คุณหญิงสมปองมหาอุบาสิกาผู้หนุนวิปัสสนาไทย จากปณิธานการสร้างมหาจุฬาฯเพื่อธุระพระพุทธศาสนาสร้างสันติภาพโลก
เนื่องจากวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2561 เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาท เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์)
ขณะเดียวกันหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดสอนนิสิตระดับปริญญาโท จำนวน 5 รุ่น มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 และปริญญาเอก จำนวน 2 รุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมกันนี้วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ได้เปิดสอนหลักสูตรสันติศึกษา และหลักสูตรพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับปริญาโทและปริญญาเอก
การศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก มีความแตกต่างจากการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทั้งทางด้านระบบการศึกษา ระเบียบข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่างๆ การจัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยทำให้นิสิตเกิดความพร้อมในการศึกษาเกิดการพัฒนาทั้งในด้านกายและจิตใจมีความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การครองตน ครองชีวิต มีทัศนคติที่ดี เป็นการเรียนรู้จากภายในสู่ภายนอกทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างและเข้าถึงสันติภาพได้อย่างแท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าว หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ร่วมกับ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติหลักสูตร สาขาวิชาพระพุทธศาสนา(ภาคพิเศษ) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิปัสสนาธุระและส่วนธรรมนิเทศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมและงานสัมมนาวิชาการประจำเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้ 1. โครงการปฏิบัติธรรมในชื่อโครงการ "มาฆบูชา: วันภาวนาเพื่อสันติภาพโลก" ในวันที่ 26, 27, 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ อาคารวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)
จัดโดย หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ร่วมกับ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติหลักสูตรสาขาวิชาพระพุทธศาสนา(ภาคพิเศษ)บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิปัสสนาธุระและส่วนธรรมนิเทศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงคหลักเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พัฒนาฝึกฝนอบรมในมิติของกระบวนการการสร้างสันติภาพจากภายในสู่ภายนอก พร้อมทั้งยังมีการแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิต การปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับคุณลักษณะของนักสันติภาพวิถีพุทธและสอดคล้องกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาโครงการปฏิบัติธรรมนี้มุ่งหวังให้นิสิตและบุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาหล่อหลอมทัศนคติเกี่ยวกับสันติภาพที่จะก่อให้เกิดทักษะการครองตนและนำพาไปสู่แนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
2. โครงการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา: วันเมตตาสากลโลก" ในวันที่ 28เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 08.00 –12.00 น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ โซน C อาคารเรียนรวม ชั้น 1 จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงคหลักเพื่อประกาศคุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก นำเสนอหลักการ แนวทางปฏิบัติแห่งสันติภาพในทางพระพุทธศาสนา ยกย่องเชิดชูนักสันติภาพผู้ทำงานเสียสละเพื่อสังคม พร้อมทั้งเป็นวัดนัดพบปะประสานพูดคุยกันของบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ เพื่อร่วมกันทำงานเป็นเครือข่ายองค์กรที่มั่นคงและประสานความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มจร นายวิรัช ชินวินิจกุล องคมนตรี นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
สำหรับโครงการ"มาฆบูชา: วันภาวนาเพื่อสันติภาพโลก" ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมามีคุณหญิงสมปอง วรรณิสสร ในฐานะผู้มีแรงพลังอันเต็มเปี่ยมบริจาคที่ดิน 84 ไร่ เพื่อจัดสร้างมหาจุฬาฯ วังน้อย เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และได้กล่าวถึงการบริจาคที่ดินในการสร้างมหาจุฬาฯเพื่อให้เป็นที่ศึกษาด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ สิ่งที่กล่าวย้ำมากคือเพื่อเป็นสถานที่สนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางที่สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมมหาเถระ) ตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 จึงทำให้คุณหญิงสมปองมีความสุขมากที่มีโอกาสได้ทำหน้าที่ชาวพุทธและสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เหตุเพราะคุณหญิงสมปองได้เคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงอยากให้ทุกคนได้สัมผัสวิปัสสนากรรมฐานด้วยตนเอง
เพราะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการสร้างสันติภายในตนด้วยความรักตนเองแล้วรักผู้อื่น ซึ่งความเกลียดชังระหว่างผู้คนแท้จริงแล้วไม่ได้เกิดจากความคิดในสมอง ที่แตกต่างกันมากไป แต่เกิดจากความรักใน"หัวใจ "ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่างหาก จึงต้องเติมความรักให้ชีวิตด้วยเครื่องสังเคราะห์ความสุข (The Joymaker)ทางวิทยาศาสตร์เรามีสารสงบ คือ เซโรโทนิน จะพรั่งพรูออกมาเมื่อเรากำลังรู้สึกสงบ สบายและผ่อนคลาย เช่น เมื่อเรานั่งสมาธิ เจริญกรรมฐานหรือ เรากำลังนอนฟังเพลงที่ชอบผ่อนคลาน การเจริญสติจะทำให้เรารู้ทันต่อสิ่งที่มากระทบใจเรา เพราะรู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข
ดังนั้น วิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นคำตอบของทุกชีวิต ด้วยการกลับมาทบทวนชีวิตตนเอง หาความสุขที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพราะ" ถ้าความดังให้ความสุข คงไม่มีดาราหน้าบึ้ง ถ้าความรวยให้ความสุข คงไม่มีเศรษฐีร้องไห้ ถ้าความสวยให้ความสุข คงไม่มีคนหน้าตาดีฆ่าตัวตาย ถ้าเนื้อคู่ให้ความสุข คงไม่มีคนทุกข์หลังแต่งงาน " แสดงให้เห็นความสุขภายนอกสุขแบบมีเงื่อนไข จะนำมาซึ่งความทุกข์ในปลายทาง วิปัสสนากรรมฐานจะเป็นเครื่องมือให้เรารู้เท่าทันสิ่งมากระทบเพื่อเห็นความสุขที่แท้จริงภายในตน จึงขออนุโมทนาบุญกับคุณหญิงสมปอง วรรณิสสร ในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระพุทธศาสนาในมิติคันถะธุระและวิปัสสนาธุระให้มั่นคงสืบไป
...........
(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...