วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไอเดียเจ๋ง!พระญี่ปุ่นนำบทสวดทำดนตรีออกอัลบั้ม






ไอเดียเจ๋ง!พระญี่ปุ่นนำบทสวดทำดนตรีออกอัลบั้ม จำหน่ายราคาประมาณ 900 บาท แถมมีการแสดงคอนเสิร์ต ยันไม่ผิดวินัยเพราะดนตรีมีต้นกำเนิดจากศาสนา




วันที่ 23 ก.พ.2561 เฟซบุ๊ก Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies-ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร ได้โพสต์ข้อความที่แปลและสรุปจากเว็บไซต์ https://www.lionsroar.com/watch-this-viral-video-of-a-zen-priest-reciting-the-heart-sutra-to-an-acoustic-backing ความว่า



"นักบวชในพระพุทธศาสนานิกายเซ็นเล่นกีต้าร์พร้อมรองเพลงปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรซึ่งเป็นพระสูตรที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในนิกายมหายาน ในทางมหายาน ผู้นับถือไม่ว่าพระหรือฆราวาสจะเน้นอุบายโกศลคือความฉลาดในการหาวิธีการต่างๆ มาอธิบายคำสอนให้ผู้คนรู้จักแพร่หลายได้ นักบวชจึงสามารถจะร้องเพลงหรือเล่นกีต้าร์ได้ถ้าหากสามารถทำให้คนหันมาสนใจศึกษาพระธรรมได้ แม้เป็นพระก็ไม่ถือว่าผิดศีล เพราะพระมหายานจะเน้นศีลพระโพธิสัตว์มากกว่าศีลของพระดังที่มีในนิกายเถรวาท คลิปวีดิโอพระร้องเพลงเล่นกีตาร์ได้นี้แพร่หลายอย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต"



นักบวชดังกล่าวคือ พระสงฆ์นิกายนิชิเรน แห่งวัดโจไซจิ ที่จังหวัดนะงะซะกิ ของประเทศญี่ปุ่น   โดยได้ดัดแปลงบทสวดมนต์ให้มีดนตรีบรรเลงตามไปด้วย  อีกทั้งยังออกบทสวดประกอบดนตรีนี้เป็นอัลบั้ม จำหน่ายแก่พุทธศาสนิกชนที่สนใจในราคา 3,000 เยน หรือราวๆ 900 บาทไทย นอกจากนี้ ยังเปิดคอนเสิร์ตแสดงผลงานบทสวดพร้อมดนตรีบรรเลงขึ้นภายในวัดอีกด้วย



อัลบั้มบทสวดนี้มีชื่อ "เซทัน" ที่แปลว่า "กำเนิดอันศักดิ์สิทธิ์"  รองเจ้าอาวาสวัดโจไซจิบอกว่า ฟังบทสวดมนต์แล้ว คล้ายๆทำนองดนตรี จึงลองนำมาบรรเลงร่วมกับดนตรี นอกจากไพเราะขึ้นแล้ว ยังทำให้ศาสนาใกล้ชิดพุทธศาสนิกชนมากขึ้นอีกด้วย



อัลบั้มบทสวด "เซทัน" สร้างสรรค์ขึ้นเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 800 ปีที่พระนิชิเรน โชนิน ให้กำเนิดพุทธศาสนานิกายนิชิเรน ในญี่ปุ่น ส่วนทำนองดนตรีนั้น โมโตคะ โองุนิ นักเปียโนวัย 54 ปีเป็นผู้ประพันธ์ เพื่อให้ทำนองดนตรีเข้ากันได้ดีกับบทสวดมนต์ | ไปฟังบทสวดประกอบดนตรีเพราะๆกันครับ



สำหรับการสวดมนต์ท่ามกลางเสียงดนตรีนั้น บรรดาพระสงฆ์จะสวดบทสวดมนต์ตามบทต้นฉบับ โดยมีทำนองดนตรีบรรเลงคลอตามไป มีทั้งเปียโน แซ็กโซโฟน กลอง และดับเบิ้ลเบส ส่วนพุทธศาสนิกชนที่เข้าฟังก็จะพนมมือตั้งจิตตั้งใจฟัง



เจ้าอาวาสวัดโจไซจิบอกว่า ไม่ถือเป็นการผิดแผกแตกต่าง หรือผิดวินัย เพราะดนตรีมีต้นกำเนิดจากศาสนา ในสมัยโบราณนั้นดนตรีถูกบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้าและพระเจ้าในศาสนาต่างๆ และเครื่องดนตรีหลายอย่างก็มีต้นกำเนิดมาจากในวัด อีกทั้งก่อนหน้านี้ วัดโจไซจิเคยจัดคอนเสิร์ตแสดงบทสวดมนต์ประกอบดนตรี เพื่อการกุศล นำรายได้ไปช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อปี 2012 |


..............

(หมายเหตุ : ที่มาของคลิป https://www.youtube.com/watch?v=958qchBNs60 และข้อมูลจากhttp://www.banmuang.co.th/news/education/103858)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...