วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"ศิษย์ธรรมกาย"แถลงโต้"พุทธะอิสระ"แจงข้อดี๑๐ธรรมยาตรา"



“องอาจ” แถลง ๑๐ ข้อมูลสำคัญ “ธรรมยาตราฯ ปีที่ ๖” เพื่อความเข้าใจที่ตรงไปตามข้อแท้จริง - เน้นย้ำ! เป็นกิจกรรมบุญกุศลในบวรพระพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง


วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย และผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายดำเนินงานโครงการธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ ๖ “รักษ์บวร รักษ์ศีล ๕” แถลงชี้แจงโครงการต่อกรณีที่เฟซบุ๊ก"พุทธะอิสระ"โพสต์พาดพิง ความว่า

๑. ชื่อโครงการ : โครงการธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ ๖ “รักษ์บวร รักษ์ศีล ๕” ถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๖๑ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒ - ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑

๒. เพื่อรณรงค์ในทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเทศกาลมาฆบูชา ถวายเป็นพุทธบูชา และกตัญญูบูชาต่อพระมหาเถระในอดีตที่รักษาพระพุทธศาสนาไว้

๓. ทำกิจกรรมภายในพื้นที่อนุสรณ์สถานพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่ตั้งอยู่ในเส้นทางที่เนื่องด้วยประวัติศาสต์ชีวิตและการสร้างบารมีของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ๖ แห่งเป็นหลัก

๔. ทำกิจกรรม “รักษ์บวร รักษ์ศีล ๕” ในพื้นที่ ๔๘ วัด ๖ จังหวัด ระหว่างเส้นทางอนุสรณ์สถานพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญทั้ง ๖ แห่ง ได้แก่ สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

๕. เน้นกิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น, สวดธรรมจักร, นั่งสมาธิ, ถวายมหาสังฆทานคณะสงฆ์ในพื้นที่, ทอดผ้าป่าบำรุงวัดในท้องถิ่น, มอบทุนการศึกษาเยาวชนในท้องถิ่น, ร่วมกับชุมชนดูแลทำความสะอาดวัดและเสนาสนะในท้องถิ่น, ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ตามหลัก “บวร – บ้าน วัด โรงเรียน” และการรณรงค์รักษาศีล ๕ ของประชาชน สอดคล้องตามแนวทางโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ที่ทางคณะสงฆ์และเหล่าพุทธบริษัทได้ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้

๖. คณะพระธรรมยาตรา จำนวน ๑,๑๓๔ รูป ที่เดินทางมาจากศูนย์อบรมต่างๆ ทั่วประเทศนั้น กำลังฝึกอบรมในหลักสูตรที่สนองตามมติแนวทางของมหาเถรสมาคม และร่วมทำกิจกรรมในแต่ละแห่ง โดยเคลื่อนที่ด้วยวิธีโดยสารรถบัส และเรือเป็นหลัก

๗. ดอกเบญจทรัพย์ที่ใช้มนการต้อนรับพระธรรมยาตรา ในลักษณะโปรยหรือวางบนพื้น ณ ภายในพื้นที่อนุสรณ์สถานของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญทั้ง ๖ แห่งนั้น เน้นดอกเบญทรัพย์ “หลากสี” เพื่อสืบสานพุทธประเพณีตามอย่างในพระไตรปิฎก ที่ระบุว่า ครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกไปโปรดที่เมืองเวสาลี ชาวเมืองราชคฤห์โปรยส่งด้วยดอกไม้ ๕ สี และชาวเมืองเวสาลี โปรยรับด้วยดอกไม้ ๑๐ สี เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความเคารพนบนอบในพระรัตนตรัย

๘. รูปแบบกิจกรรมในปีนี้ ไม่ใช้คำว่า “เดินธุดงค์” ... ใช้ว่า “ธรรมยาตรา”

๙. เป็นกิจกรรมบุญกุศลในบวรพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

๑๐. จัดโดยการประสานงานของเครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ร่วมกับ องค์การพุทธโลก (พล) และองค์กรภาคีกว่า ๒๐ องค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...