วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"IBSCมจร"เปิดหลักสูตรปั้นพระสอนสมาธิสู่อินเตอร์




วันที่ 12 ก.พ.2561 ตามที่มีการประชุมโครงการอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ของคณะกรรมการอำนวยการและดำเนินงานโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ 24/2561 เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2561 ที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา  มีประเด็นก็คือว่ามีความต้องการพระธรรมทูตที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ เพราะจะอำนวยประโยชน์ในการเผยแผ่ได้มากนั้น



พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า  ด้วยปัญหาที่สะท้อนผ่านจากพระธรรมทูตที่ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมแก่ชาวต่างชาติในทวีปยุโรปและอเมริกาที่ว่า พระสงฆ์ไทย รวมถึงฆราวาสที่ทำหน้าที่สอนกรรมฐานแก่ชาวต่างชาติมักจะประสบปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จนทำให้การสอนกรรมฐานไม่บรรลุผล และทำให้การเผยแผ่เข้าไม่ถึงความต้องการที่แท้จริงของชาวต่างประเทศที่ต้องการศึกษาและพัฒนาสติกับสมาธิอย่างลึกซึ้ง



"อาศัยเหตุผลและตัวแปรดังกล่าว จึงทำให้คณะกรรมการประจำวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 วันที่ 9  ก.พ.2561 ได้พิจารณาอนุมัติให้วิทยาลัยร่วมกับสถาบันวิปัสสนาธุระเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิปัสสนาจารย์ หรือครูสมาธิ โดยใช่เวลาเรียน 1 ปี 24 หน่วยกิต หรือ 2 ภาคการศึกษาเท่านั้น สาระสำคัญของหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาเทคนิค ทักษะการสอน เทคนิคการสอบอารมณ์ การออกแบบ และการพัฒนาสถานปฏิบัติธรรม รวมถึงจรรยาบรรณของวิปัสสนาจารย์" พระมหาหรรษา  กล่าวและว่า



เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรนี้ คือ ครูสมาธิสามารถใช้ภาษาอังกฤษสอนสมาธิได้อย่างคล่องแคล้ว ครูสมาธิสามารถมีเทคนิคและมีทักษะการสอนได้อย่างมีจรรยาบรรณ และเมื่อจบแล้ว สามารถจัดตั้งสำนักปฏิบัติ หรือพัฒนาสำนักปฏิบัติให้สามารถรองรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมถึงเดินทางไปสอนธรรมในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผล



"ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาจะเน้นผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติสมาธิมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ที่กำลังทำหน้าที่เป็นครูสอนสมาธิ ซึ่งเมื่อจบแล้ว หรือยังไม่จบ จะสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้สอนกรรมฐานต่อไป พร้อมกันนี้ ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านฝึกสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างชาติ 380 ชั่วโมง จึงจะมีสิทธิ์รับประกาศนียบัตรจากวิทยาลัย"  ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา กล่าว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...