วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
"วุฒิสาร"แนะประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน
เทศกาลวันมาฆบูชา "มจร" จัดถก"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก" "วุฒิสาร"ชี้หลักพุทธไม่ขัดหลักปกครอบแนะผู้เผยแผ่ต้องวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ได้จริง แนะประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน ขณะที่โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรมยันคำพิพากษาที่ดีที่สุดจะเคารพกติกาเพื่อให้ประเทศไทยอยู่เย็นเป็นสุข
วันที่ 28 ก.พ.2561 ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันจัดการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิด ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยานั้น โดยมีการอภิปรายร่วมเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพโลก"
มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านยุติธรรมทางสังคม" และศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง"คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนาสันติภาพด้านการเมืองการปกครอง" ดำเนินรายการโดย พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสันติศึกษา มจร
พระมหาหรรษา ได้เกริ่นนำว่า วันเมตตาสากลโลกมีความสำคัญมาก เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้สร้างสันติภาพ ถือว่าเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพ ด้วยหลักการ อุดมการณ์ วิธีการ จึงถือวันนี้เป็นวันเปิดมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกพระพุทธเจ้าสนับสนุนคนทำงานด้านสันติภาพ บุคคลใดก็ตามที่มุ่งทำงานด้านสันติภาพและการวิจัยด้านสันติภาพเราจะสนับสนุนให้คนเหล่านี้ทำงานอย่างสะดวกสบาย เรามีเครือข่ายคือ สถาบันพระปกเกล้าและศาลยุติธรรม ซึ่งวันนี้เรามีเลขาธิการพระปกเกล้า และผู้แทนเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมถือว่ามีบทบาทด้านสันติภาพ จึงเริ่มประเด็นว่าศาสนาพุทธมีส่วนช่วยให้การเมืองการปกครองเกิดสันติสุขอย่างไร?
ศาสตราจารย์วุฒิสาร กล่าวว่า การมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืนมี 2 ประการ คือ 1)การทำให้สังคมมีสันติสุข เราจะหาสันติภาพเชิงบวกหรือสันติภาพเชิงลบ มีเค้ก ๑ ชิ้น จะต้องแบ่งด้วยความยุติธรรมคือได้เท่ากัน ส่วนเป็นธรรม คือ ใครมีปัญหามากกว่าจะได้มาก ประชารัฐต้องระเบิดจากภายใน เราบอกว่าไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่มีบางกลุ่มยังมาไม่ถึงสถานีเลย เราจะพัฒนา 4.0 ต้องมีการระเบิดมาจากภายใน
2)การพัฒนาคุณภาพสังคม อดีตเราพัฒนาเฉพาะชีวิต ปัจจุบันเรามาพัฒนาคุณภาพสังคม อดีตวัดเป็นสถานที่จัดการความขัดแย้งที่ดีที่สุดในสังคม คนที่เรียนจบจากสถาบันพระพุทธศาสนาเราจะได้คนดีของสังคม เพราะการหล่อหลอมของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีการกระจายอำนาจด้วยพระสงฆ์ออกไปทำงานเพื่อสังคม ในระบบการศึกษาใครคือกลุ่มเสี่ยง เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องเป็นสังคมมีความสามัคคีธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
"ปัจจุบันเราออกแบบ อำนาจในการบังคับขู่เข็ญ (Hard power) เป็นการออกแบบกติกามากมายแต่ความจริงเราต้องกลับมาใช้อำนาจในการโน้มน้าวจูงใจ. (soft power)เอาธรรมาธิปไตยเป็นตัวนำ หลักในพระพุทธศาสนาคือ"ขันติธรรม" ประชาธิไตยต้องอาศัยความอดทน ด้วยการฟังกันด้วยการสามารถ "ควบคุมตนเองให้อยู่ในธรรม"เรามักจะอ้างความชอบธรรมแบบส่วนตัวลืมนึกถึงส่วนรวม การควบคุมตนเองต้องอาศัยไตรสิกขา ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยการควบคุมตนเอง ด้วยการมีศีล 5 เป็นฐานของพื้นฐานชีวิตและสังคม ในสังคมเรามีคนประเภท "ปัญญาเกินสติ" การอยู่ร่วมกันเราต้องมีพรหมวิหาร จึงมีคำกล่าวว่า "ขี่ความตายข้ามความตาย"เหมือนในหลวงรัชกาลที่ 9 เรียกว่า "ขาดทุนคือกำไร" เราต้องทำความเข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนา ปฏิบัติกับปริยัติต้องไปด้วยกัน พระพุทธศาสนามิใช่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง แต่ผู้เผยแผ่ต้องประยุกต์หลักการคำสอน สามารถไปประยุกต์ใช้อย่างแท้จริง ผู้เผยแผ่ต้องมีการวิเคราะห์" ศาสตราจารย์วุฒิสาร กล่าว
นายสุริยัณห์ กล่าวว่า ประชาธิไตยจะเกิดขึ้นต้องมีศรัทธาและปัญญา เราเป็นเมืองพุทธที่เข้มแข็งแต่เรามีความอดทนน้อยที่สุดในการอยู่ร่วมกัน ในศาลยุติธรรมต้องการเห็นคนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข "คำพิพากษาที่ดีที่สุด คือ คู่กรณียอมกันเอง" เราจะเรียกร้องสันติเมื่อเรามีความขัดแย้ง เมื่อเราวุ่นวายเราจึงต้องเรียกร้องหาสันติภาพ มาถึงศาลยุติธรรมคือ บุคคลที่มีควาทุกข์ เราทำงานกับคนทุกข์ คนที่ทำงานในศาลเป็นเกิดมะเร็งมาก เพราะเราเจอปัญหาตลอดการทำงาน คนมีทุกข์ล้วนมาศาล ทำให้คนในศาลต้องหันมาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้ามากขึ้น เป็นธรรมมิใช่เท่ากัน เรามีกำแพงสูง 160 เมตร มี 3 คน คนที่ 1 สูง 180 คนที่สองสูง 150 คนที่สามสูง 140 ถามว่า 3 คนนี้ต้องการที่เหยียบต่างกันแน่นอน
"ศาลจึงใช้หลักฐานในการตัดสิน มีคนไปถามท่านพุทธทาสว่า การตัดสินประหารชีวิต จะบาปไหม? ท่านตอบว่า เราเป็นเพียงผู้ชี้กรรม ขณะที่ตัดสินจิตที่บริสุทธิ์ใจแล้วไม่ต้องกังวล แต่เพียงระวังการปราศจากอคติ เพราะชอบ กลัว รัก หลง ไม่มีทางเที่ยงธรรมใดๆ อคติมิใช่ทำลายเฉพาะเราแต่อคติทำลายคนอื่นอย่างมาก อคติเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ศาลยึดแนวปฏิบัติมาตลอด สังคมเราท้อแท้เพราะคนดีแท้ๆ มิใช่คนดีท้อแท้ เราทำงานเรามีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ" โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวและว่า
พระพุทธศาสนาจะมีบทบาทอย่างไรในการเข้ามามีบทบาทในศาลยุติธรรม ด้วยการตระหนักให้ปราศจากอคติในการตัดสินใจคดีและมีสติในการดำเนินชีวิต พระพุทธศาสนาจึงเป็นสายธารแห่งความร่มเย็นในชีวิต แม้แต่ประเด็นหวย 30 ล้านบาท สังคมไทยเราได้อะไร? เราดูจากสื่อจึงไม่ทราบเลย รู้สึกอย่างไรที่มีครูเข้ามาเกี่ยวข้อง ธรรมะไม่สามารถเข้าสู่จิตใจได้เลย ครูสอนพระพุทธศาสนาแต่อาจจะลืมสอนตนเอง ศาลคือดุจพินิจของการเป็นธรรม จึงต้องไม่มีอคติ เป็นทางที่ไม่ควรเดินเด็ดขาด ธรรมาธิปไตยจะคุ้มครองเราทุกคน
"สังคมสันติภาพ สังคมคุณภาพ ประชาชาธิปไตยเป็นอุดมคติ ต้องมีความพยายามมีความอดทน ต้องทำร่วมกัน เหมือนการเผยแผ่ศาสนามิใช่หน้าที่ของพระอย่างเดียว แต่ต้องเป็นหน้าที่ของทุกคน เราทำงานอย่างมีสติอย่างปล่อยวาง สุดท้ายทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด จากนั้นพระอาจารย์หรรษาย้ำว่า เราจัดงานครั้งนี้ เราต้องการสร้างแรงบันดาลใจ คนที่ทำงานด้านสันติภาพอย่างท้ออย่าเหนื่อย เพราะมีคนอีกมากมายรอเราอยู่ เราจึงพูดเรื่องสันติภาพเพราะสังคมเรายังขัดเเย้งกันอยู่" นายสุริยัณห์ กล่าว
............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น