วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทึ่ง!จบแค่ป.2-4ทำวิจัยระดับป.เอกแก้ปัญหาชุมชน










ทึ่ง!จบแค่ป.2-4ทำวิจัยระดับป.เอกแก้ปัญหาชุมชนแพรกหนามแดงที่หมดศรัทธาการแก้ปัญหาของภาครัฐ ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาที่แท้จริงของตัวเอง





ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการจัดการความขัดแย้ง ณ ชุมชนแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จัดโดยหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโทและเอก ทั้งภาคพิเศษและอินเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา  มจร  ซึ่งการออกแบบการจัดการความขัดแย้งต้องสัมพันธ์กับชุมชน ยึดตามหลักสัปปุริสธรรม คือ "รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน  รู้บุคคล" สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งสำคัญในการจัดการความขัดแย้ง ใช้กระบวนการในภูมิปัญญาของตนเอง  รับฟังข้อมูลจากนายปัญญา โตกทอง ที่ระบุว่า "ผมจบป.4 ด้วยฐานะทางบ้านยากจน จึงศึกษาวิชาชีวิต"

             




"เป็นการวิจัยท้องถิ่นร่วมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ระหว่างคนน้ำเค็มกับคนน้ำจืด เป็นชุมชนแพรกหนามแดง เกิดจากการความขัดแย้งของคนสองน้ำโดยมีธรรมชาติเป็นสาเหตุ ด้วยความเจริญทางถนน ทำให้มีการตัดสายน้ำ ทำให้คนสองน้ำเกิดความขัดแย้งกัน เพราะมีการเลี้ยงปลาและปลูกข้าว ต้องอาศัยน้ำ  จึงเกิดการทะเลาะกัน จึงมีการวิจัยสร้างรูปแบบการจัดการน้ำ ด้วยการลงพื้นที่พูดคุยกันร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิ์พูดเป็นเวทีสาธารณะด้วยเหตุที่มาของความขัดแย้ง  มองเข้าไปในใจของคน การพูดคุยทำให้เราเข้าใจ  เราจะช่วยกันแก้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยการนำนวัตกรรมและภูมิปัญญาของคนในชุมชน จึงเกิดกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในการอยู่ร่วมกัน จึงเกิดสายน้ำแห่งชีวิตทุกชีวิตอยู่ร่วมกันบนความเกื้อกูล โดยอาศัยการมีส่วนร่วม ชุมชนใดไม่คุยกันล้มลสายแน่นอน" นายปัญญา กล่าวและว่า





ชุมชนของเรา "หมดความศรัทธาการแก้ปัญหาของรัฐ"  รัฐได้ข้อมูลแต่ไม่ได้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหาของชุมชน  จึงมีโอกาสไปศึกษาการวิจัยเรื่องน้ำ โดยใช้งานวิจัยมาเป็นแก้ปัญหาในชุมชนของตนเอง ด้วยการฟัง จับประเด็น แล้วตั้งคำถามเพื่อการพัฒนา  การวิจัยในท้องถิ่นจะต้องมีกลุ่มแกนนำ ปัญหาในการวิจัยต้องเกิดจากชุมชน ถ้าจากคนนอกวิจัยขึ้นหิ้ง เราเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง มีแผนในการทำงาน  ทีมงานวิจัยต้องไปจัดเวทีกับชาวบ้าน ทั้งฝั่งน้ำจืดและน้ำเค็ม คนมาก็คุยคนน้อยก็คุย  พอจะคุยเรื่องน้ำคุยไม่ได้ไม่ให้ความร่วมมือ จึงเปลี่ยนเรื่องคุยเรื่องประวัติศาสตร์โดยคุยกับคนแก่ คนแก่จะเล่าเรื่องราวในอดีตมีความสวยงามไม่มีความขัดแย้ง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยการนำอดีตมาเป็นบทเรียน



จึงสรุปว่านี่คือชีวิตของคน ปัญญาจริงๆ เป็นการใช้ปัญญาแบบท้องถิ่น เขื่อนไม่สามารถใช้ได้ทุกที่ เวลาทำงานต้องเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นๆ การเข้าใจประวัติศาสตร์ เข้าใจทุกอยาก ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก  คนชุมชนให้รู้สึกว่านี่คือปัญหา ต้องมีกระบวนการในการจัดการแก้ปัญหา ด้วยการเริ่มคุยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนเราต้องใช้กระบวนการ "จุดไฟ ใส่เชื้อ  เกื้อกูล  หนุนปัญญา" เราในฐานะผู้นำทำแล้วไม่หวังอะไร ทำเพราะเป็นความดี เหมือนการปลูกต้นไม้ ด้วยการจริงใจ ตั้งใจ สนใจ ใส่ใจอย่างต่อเนื่อง  ผู้นำต้องไม่มีคำว่า  "เราทำทำไม เราได้อะไร"  คุณลุงถึงจะขาไม่สมบูรณ์แต่คุณลุงลุกขึ้นมาทำเพื่อคนอื่น "สังคมไม่ได้ทอดทิ้งลุง แต่ลุงทิ้งสังคม" เราต้องให้คนเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง เราต้องทำหน้าที่เป็นพลเมือง เป็นกำลังของบ้านเมือง อย่าเป็นภาระของบ้านเมือง เราจะต้องสื่อสารเพื่อสันติภาพด้วยการสื่อสารอย่างจริงใจ ไม่มีวาระซ่อนเร้น  เราต้องคุยกันแบบไม่มีโจทย์แบบไม่มีจำเลย ปัญหาของชุมชนในปัจจุบันคนดีรวมกลุ่มกันยาก แต่คนไม่ดีจะรวมกลุ่มกันง่าย นักวิชาการต้องออกมาทำงานในชุมชนจะทราบปัญหาที่แท้จริง  ความสำเร็จของคุณปัญญาคือความสำเร็จของชุมชนเพราะช่วยกันจึงสำเร็จ




นายสุรจิต ชิรเวทย์ อดีต ส.ว.สมุทรสงคราม ออกแบบเขื่อนกั้นน้ำตามภูมิปัญญาซึ่งเพียงจบป.2 ครึ่ง ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างเขื่อนมาจากการแรงกดดันเวลาเกิดความขัดแย้ง กล่าวว่าปัญหาภาครัฐไม่เข้าใจปัญหาของน้ำขึ้นน้ำลง กรมชลประทานไม่ได้เข้าใจเพราะมีหน้าที่ในการหาน้ำเพื่อการเกษตรเท่านั้น คนแม่กลองเราตั้งถิ่นริมน้ำ เราทำอย่างไรจะอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลง เราต้องแผ่กว้างน้ำให้เย็นเพราะน้ำเป็นเพศหญิง เรียกว่า ขุดดินให้น้ำอยู่ ส่วนไฟภูเขาเป็นเพศชายมีความแข็ง เราไม่มีการออกแบบที่ถูกต้อง เราจึงเกิดความเหลื่อมล้ำ คนมีเงินถมดินสูงขึ้นทุกวัน เราเป็นโรคกลัวน้ำมาก  แม่น้ำปิงวังยมน่านไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันถนนทุกเส้นมีทางกั้นน้ำขวางเส้นทางน้ำ  น้ำ 1  ลูกบาศก์เท่ากับ  1 ตัน เราตั้งถิ่นที่อยู่กั้นทางสายน้ำ



ทางน้ำเรามีเยอะแต่เราสร้างสะพานกั้นไว้ เราไม่เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง ในกรุงเทพฯเวลาฝนตกน้ำไม่มีที่ไป เราทิ้งจุดแข็งของตนเองไปหาจุดอ่อน กรุงเทพถือวัฒนธรรมเหมือนชาวสวน อาหารไทยคือการนำสมุนไพรไปอยู่ในอาหารแต่พอถนนตัดผ่านทำให้เสียระบบทั้งหมด วิศวกรเน้นสร้างให้แข็งแรงแต่ลืมวิถีชีวิตลืมระบบนิเทศของธรรมชาติ ทำให้ระบบธรรมชาติเสียหาย เราลืมรากเหง้าของตนเอง ซึ่งเขื่อนที่แข็งกระด้างที่จะทำลายระบบของสัตว์ทั้งหมด ธรรมชาติคือธรรมะแท้จริง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเราจะเข้าใจอิทปัจจยตามีการเชื่อมโยงกัน คนโบราณจึงอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากกว่าต่อสู้กับธรรมชาติ มาตรฐานสิ่งก่อสร้างจะต้องมีการจัดการ เพศหญิงจะต้องเสรี เพศหญิงอ่อนแอ ควรหาทางสอดคล้องมิใช่หาทางต่อสู้  แม่น้ำท่าจีนคด แบน ไหลช้า เวลาป่วยจะป่วยนาน ธรรมชาติ เราต้องร่วมกับธรรมชาติ
         


ชีวิตอย่าให้แข็งแกร่งขนาดนั้นเหมือนต้นไม้ที่มียอดเดียวเวลามีอะไรมาทำร้ายก็ตาย แต่ถ้ามียอดกิ่งก้านสาขามากๆ จะช่วยกัน เราต้องทำงานเป็นทีมอย่าเก่งคนเดียว " อย่าเป็นดาราชายดาราหญิงยอดเยี่ยม"ต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ เราพยายามจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมจริงๆ ต้องมีวินัย สามารถทำงานเป็นทีมได้  แต่จุดแข็งประเทศไทยเราเด่นในเรื่อง"อาหาร ท่องเที่ยว บริการ" แต่จะพัฒนาอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมมาอยู่ตรงที่มีดินมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย เราเดินทางมาผิดจึงเป็นแบบนี้  คนโบราณมีบ้านต้องมีใต้ถุง เพราะให้ลมรอดใต้ถุง นี่คือหลักแนวคิดบรรพบุรุษของเรา แม่กลองเล็กที่สุดในประเทศไทย ข้าราชการมาอยู่ก็ผ่านไป จังหวัดที่มีความเป็นชนบทจะสามารถแก้ปัญหาได้ แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวปลาไม่สามารถวางไข่ได้ เช่น เขื่อนปากมูล อาชีพหลักชาวบ้านคือ ประมง  พอไปสร้างเขื่อนจึงมีปัญหา แต่ภาครัฐมุ่งแต่จะปั่นไฟ ซึ่งปลาหนังชอบมุด ชอบเกล็ดชอบกระโดด ความจริงชาวบ้านไม่มีเวลาไปทะเลาะกับรัฐถ้าเขาไม่เดือดร้อนจริงๆ ประเทศนี้คุยด้วยเหตุผลไม่ได้ ต้องใช้อำนาจ เพราะเรามักกล่าวว่า " ความล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม "
               


ทำอย่างไรประเทศนี้จะสร้างวัฒนธรรมปรึกษาหารือมากกว่าวัฒนธรรมสั่งการ ในช่วงอุทกภัยในไทยที่ผ่านมาเป็นภัยที่มีความเสียหายมากที่สุดในโลก เราต้องกลับมาทบทวนเรื่องธรรมชาติ  ต่อไปอากาศบริสุทธิ์  อาหารไร้สารพิษต้องซื้อในราคาเพียง  ปัจจุบันอาหารบ้านเรา 80 เปอร์เซ็น มีการปนเปื้อนสารพิษ "เศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำตอบที่สุดในประเทศไทย" แต่ทำยากมากเพราะมหากษัตริย์ที่คิดเศรษฐกิจพอเพียงพระองค์มีความขยันมากพระพุทธเจ้าสอนเราเป็นครั้งสุดท้าย สอนให้เราไม่ประมาท การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดผลก็ต่อเมื่อผ่านไปแล้ว  20 ปี ผู้ปกครองเป็นอย่างไร ผู้ตามก็เป็นอย่างนั้น ทุกท่านคงทราบว่า "ระบบอุปถัมภ์บ้านเราเข้มแข็งมาก"ประชาธิปไตยในแบบพระพุทธเจ้า ถ้ามีการค้านเพียงเสียงเดียวก็ตกแล้ว เช่น การรับกฐิน แต่บ้านเราขนาดนั้นค้านหลายเสียงยังไม่ฟังกันเลย
             


ดังนั้น การไปอยู่ที่ใดก็ต้องอยู่อย่างกลมกลืนในพื้นที่นั้น ๆ  ไม่ไปแข็งข้อกับสิ่งแวดล้อม ฝึกให้อยู่และวางท่าทีให้เข้ากับบริบทนั้นๆ ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ของคนในชุมชน ออกแบบสอดรับกับการใช้งานใช้งานให้เหมาะสมกับบริบท การมีส่วนร่วมจะทำให้อยู่รอด เวลาเราทำงานด้านจัดการความขัดแย้งอย่าไปขัดแย้งกับธรรมชาติ  มนุษย์ไม่ใช่เจ้าของธรรมชาติ แต่มนุษย์ต่างหากที่ต้องอาศัยธรรมชาติ แล้วชีวิตเราก็จะกลับสู่ธรรมชาติเหมือนเดิม


...............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก pramote od pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์  วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา มจร)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวทางความร่วมมือระหว่างไทยกับบิ๊กสื่อสารโลก

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและบริษัทชั้นนำระดับโลกและพันธมิตรทางเศรษฐกิจจะเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลและความสามารถในการแข่งขันข...