วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

๓ เทคนิคเขียนอย่างไรให้เป็นเล่ม



มีหลายคนมาขอคำแนะนำในการเขียนหนังสือให้เป็นเล่ม เพราะต้องการมีผลงานเป็นของตนเอง. ซึ่งก็ได้แนะนำและสอนการเขียนไปก็เยอะพอสมควร. แต่สุดท้ายแล้ว. ก็ยังไม่เห็นจะมีผลงานอะไรออกมาเลย.

ก็เลยอยากจะให้อีกเทคนิคหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการมีผลงานเขียนเป็นของตนเอง



เทคนิดดังกล่าวมีชื่อว่า. ๓ ข.

เราจะมาไล่เลียงกันที่ละข้อนะ. ข้อที่ ๑. คือ



ขอให้เขียนเถอะครับ. เขียนเลย เพราะร้อยคำแนะนำ ก็ไม่สู้ลงมือเขียนเสียเดียวนี้. เขียนสิ่งที่เราอยากเขียน และสิ่งที่เราจะเขียนนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนอ่าน. ถ้าอยากมีผลงานเป็นของตนเองก็จงลงมือเขียนเลย ไม่ต้องลังเล



ไม่ต้องคิดว่าจะเขียนอะไรดี. ตัวเองมีอะไรดีก็เอาสิ่งนั้นแหละมาเขียน. ความรู้. ความสามารถ ประสบการณ์. เรื่องเล่า. ได้ยินมา. ได้ฟังมา ได้อ่านมา หรือคิดขึ้นได้เอง. เหล่านี้ก็สามารถนำมาเขียนได้. สิ่งดีดีที่เรามีถ้าเขียนออกมาให้คนอื่นได้อ่านด้วย. ก็จะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนร่วมและเราก็ได้พัฒนาทักษะการเขียนของเราด้วย ที่สำคัญคือ เราก็จะมีผลงานเป็นเล่มของตนเองแน่นอน



เขียนไปใครจะอ่าน ?

ก็นั่นสินะ…

แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องนั้นมาก. เขียนลงเฟสบุ๊ค เขียนลงบล็อก ลงเน็ต หรือเขียนแล้วปริ้นแจก. ยังไงก็มีคนอ่าน อ่านมากอ่านน้อยก็จะค่อยๆ เป็นไป ถ้าเขาเห็นประโยชน์จากสิ่งที่เราเขียน. รับรองได้ว่าเขาจะต้องติดตามอ่านแน่นอน ฉะนั้นเวลาเขียนก็นึกถึงหน้าคนอ่านเข้าไว้.

เราเขียนสะสมไว้ทีละเล็กละน้อย ไปทุกวัน หรือวันเว้นวัน ไม่นานเราจะมีหนังสือหนึ่งเล่มแน่นอน.

ฉะนั้นแล้ว

เทคนิคการเขียนหนังสือย่างไรให้เป็นเล่ม ๓ ประการ

ก็คือ

เขียน. เขียน และก็เขียน

ตราบใดที่ยังไม่เลิกเขียน. ความสำเร็จจะเกิดขึ้นแน่นอน

ขอแค่จงเริ่มเขียนเสียที. รับรองว่า ท่านต้องมีผลงานเขียนเป็นของตัวเองอย่างแน่นอน…ฟันธง

ข้อมูลจาก https://prasit008.wordpress.com/2018/02/23/๓-เทคนิคเขียนอย่างไรให้/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...