วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ติวเข้ม!พระวิทยากรต้นแบบเป็นพระนักข่าวออนไลน์อย่างมืออาชีพ
ปรับศาสตร์สมัยใหม่เข้าหาพระพุทธศาสนา เน้นแนะ สร้างการมีส่วนร่วมมากกว่าสอนเพียงบรรยาย
ระหว่างวันที่ 10-16 ก.พ.2561 มีการทดลองการใช้รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบธรรมะโอดีโดยพุทธสันติวิธี ภายใต้หัวข้อดุษฏีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ของพระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ด้วยโครงการรพัฒนาวิทยากรต้นแบบธรรมะโอดีโดยพุทธสันติวิธี หลักสูตร "พระวิทยากรต้นแบบด้านสันติภาพ บทบาทพระสงฆ์กับการนำพุทธสันติวิธีเพื่อการเผยแผ่ธรรมพัฒนาองค์กรและสังคมแห่งสันติสุขโดยยึดหลักโอวาทปาติโมกข์ตามแนวทางการสอนของพระพุทธเจ้า" กับพระสงฆ์จากทั่วประเทศจำนวน 100 รูป ก่อนที่จะปฏิบัติการจริงเพื่อเป็นพระวิทยากรมืออาชีพ ที่ศูนย์วิปัสสนาเคลื่อนที่แห่งประเทศไทย วัดสุวรรณประสิทธิ์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร โดยมีวิทยากรหลักคือพระปราโมทย์ เสริมด้วยวิทยากรฝึกอบรมลักษณะต่างๆ
พระปราโมทย์ ได้สรุปผลการทดลองที่ผ่านมาว่า รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบธรรมะโอดีโดยพุทธสันติวิธีที่นำมาทดลองการใช้ในครั้งนี้คือ KUSA Modle K คือ ความรู้ U คือ ความเข้าใจ S คือ เกิดทักษะ A คือ ทัศนคติ เพราะจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เพราะถ้าเราคิดใหม่ทำใหม่ ผลลัพธ์จะใหม่ ทำให้เกิด การฟัง การคิด และการกระทำ ที่จะทำให้เกิดการเรียน การรับรู้ 1. เข้าไปในโลกของผู้ฟัง ด้วยการใช้ ภาษาเดียวกันกับผู้ฟัง เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ฟัง เป็นการเปิดใจสู่การเรียนรู้ 2.เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ เรื่องราวของเรา 3.การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าอบรมจะได้อะไร จึงมี 5 ขั้นตอนของการสอนเป็นโครงสร้างการพูด คือ " ทักทาย ขยายความ เชิญถาม สรุปครบ จบขอบคุณ"
การเผยแผ่ธรรมะยุค 4.0 ต้องรู้ศาสตร์สมัยใหม่
วิธีการเผยแผ่ธรรมะยุค 4.0 จะต้องเป็นแบบ Download คือเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการแบ่งปัน ใช้กระบวนการฟังกันและกันเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตัวของตัวเอง ค้นพบเป้าหมายหรือความสุขด้วยตนเอง มุ่งหาทางออกในปัจจุบันมากกว่าการติดอยู่ในอดีต โดยใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรม ดังนั้นวิทยากรผู้ใช้วิธีการนี้จะต้องเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่ ด้วยการใช้คำว่า"พุทธบูรณาการ" เพื่อทำให้ธรรมะเกิดความน่าสนใจ และผ่านวิธีการที่เรียกว่า"ธรรมะประยุกต์" ด้วยการเขียน การเทศน์ การสอน การบรรยาย การโค้ช เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ยุคใหม่
พระวิทยากรมืออาชีพต้องสร้างการมีส่วนร่วม
การเป็นพระวิทยากรโค้ชพระวิทยากรต้นแบบให้ค้นพบตนเอง สร้างเป้าหมายของชีวิต หลีกเลี่ยงไวรัสที่จะมาทำร้ายชีวิตในขณะที่พัฒนาตน และไม่เป็นจำต้องสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เรื่อยๆ ต่อเนื่อง ต้องสอนได้ทั้งๆ ที่ไม่พร้อมไม่สมบูรณ์ แต่จะเป็นหนทางไปสู่เป้าหมายของเรา เริ่มต้นจากการฟังคนอื่น ฟังด้วยหัวใจ เราไม่ต้องรอให้พร้อม จุดเริ่มต้นจะทำให้การอบรมประทับใจ คือ สร้างการมีส่วนร่วมให้มากกว่านั่งฟังอย่างเดียว เพราะ "การสร้างบริบทในการสอน สำคัญมากกว่า การสอน" หมายถึง วิธีการของการสอนสำคัญกว่าเรื่องที่จะสอน เพราะวิธีที่ดีจะนำไปสู่การเปิดใจที่จะเรียนรู้ พื้นฐานของคนในศตวรรษที่ 21 มักจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรม มากกว่ามานั่งฟังอย่างเดียว เพราะสิ่งที่ท้าท้ายพระวิทยากร คือ ต้องสามารถจัดการ "สิ่งเล็กๆ ที่อยู่ในหัว " ของผู้อบรมให้ได้ คือการไม่สามารถเปิดใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้
โค้ชเยาวชนยุคดิจิตอลต้อผ่านกิจกรรม
การเป็นวิทยากรต้นแบบในมิติการพัฒนาเยาวชน พระอาจารย์แตงโมถือว่าเป็นพระวิทยากรรูปหนึ่งที่มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ มีเทคนิคกระบวนการที่ควรนำมาถ่ายทอดให้พระวิปัสสนาจารย์ซึ่งเป็นพระนักเผยแผ่ธรรมในยุค 4.0 ซึ่งรูปแบบการสอนทำให้เยาวชนมีส่วนร่วม มีกิจกรรม มีท่าทางประกอบในการเรียนรู้ ทำให้เกิดความสนุก มีสาระ เกิดความสงบ สร้างจิตสำนึก และมีความสร้างสรรค์ เป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศด้วย ถือว่าเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่เป็นพลังของพระพุทธศาสนา
"งานของพระธรรมทูตเป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งมอบหมายให้นำธรรมะไปปฏิบัติแล้วสอนให้คนอื่นรู้ตาม":ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอด คือสอนธรรมะของพระพุทธเจ้า เรียกว่า ธรรมทูต หรือ สมณทูต คือ ผู้นำสันติภาพไปสู่ชาวโลก องค์ประกอบของพระธรรมทูต สามารถแบ่งออกได้คือ ความเป็นนักบวช ความเป็นนักการศาสนา ความเป็นนักการทูต ความเป็นนักเทศน์ ความเป็นนักวิชาการ ความเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ความเป็นนักกฎหมาย ความเป็นนักจัดกิจกรรม ความเป็นนักบริหาร ความเป็นนักปรัชญา ความเป็นนักจัดการ ความเป็นนักเขียนนักพูด ความเป็นนักสังเกตการณ์" พระอาจารย์แตงโม ระบุ
สร้างรูปแบบการพัฒนานักข่าวทางพระพุทธศาสนา
ข่าวด้านลบเราสามารถเห็นได้ตามสื่อต่างๆในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อสภาพจิตใจในด้านลบผู้รับข่าว แต่ข่าวด้านบวกเราสามารถเห็นได้ตามสื่อน้อยมาก ทำอย่างไรจะเกิดข่าวด้านบวกในแง่มุมของพระพุทธศาสนาขึ้น พระสงฆ์เรามีกิจกรรมเยอะมาก แต่ขาดการสื่อสารออกไปให้โลกรับรู้รับทราบในเรื่องราวดีๆ ที่เป็นกิจกรรมของพระพุทธศาสนา แต่พอมีเรื่องราวในมุมลบซึ่งก็ยังไม่มีการพิสูจน์ความจริง แต่สื่อปัจจุบันนำไปขยายเกิดดราม่าเกิดการด่าทอในสังคม ทำให้มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนในสังคมเป็นผู้สื่อข่าว ผ่านมือถือของตนเอง บางครั้งมีการวิจารณ์ก่อนการวิจัย ก่อนการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง
การบริโภคข่าวสารยุคดิจิตอลจึงต้องตระหนักผ่านโยนิโสมนสิการ เพราะยุคดิจิตอลเป็นยุค "ความรวดเร็ว" ในการแพร่กระจายข่าวสารทั้งบวกและลบ "ไม่มีขอบเขตจำกัด"ทั้งกาลและเทศะสถานที่ สามารถเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด "การเชื่อมโยงเครือข่าย" ด้วยการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว พอเข้าไปในโลกออนไลน์มีการแพร่ขยายรวดเร็ว ถ้าเป็นข่าวสารทางบวกจะดีขนาดไหน แต่ถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารเป็นเชิงลบจะมีผลต่อจิตใจของผู้คนในสังคม ในยุคนี้จึงต้องเลือกบริโภคข่าวสารอย่างมีสติ มีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร เลือกบริโภคภาษาพระเรียกว่า อินทรีย์สังวร มีโยนิโสมนสิการคือ"วิธีคิด คิดเป็นระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล" ปัจจุบันจึงมีการเกลียดชังโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยเพราะการนำเสนอข่าวในแง่มุมลบที่ขาดไตร่ตรองหรือต้องการขายข่าวเท่านั้น
จึงทำให้นายสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ตระหนักถึงว่าพระพุทธศาสนาขาดพระสงฆ์ที่สื่อสารธรรมภายใต้ นักข่าวด้านพระพุทธศาสนา เพื่อจะสื่อสารกิจกรรมเรื่องราวมุมดีๆ ของพระพุทธศาสนาออกสู่สังคมผ่านข่าวบ้านเมืองในโลกของออนไลน์ จึงมีแรงบันดาลใจอยากพัฒนาพระนักข่าวเพื่อสื่อสารเรื่องราวดีๆ ผ่านงานดุษฏีนิพนธ์ เรื่อง "พุทธนวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อสันติภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทยยุคดิจิตอล" ซึ่งผ่านทฤษฏีการสื่อสารของพระพุทธเจ้า คือ "จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา" และยึดตามทฤษฏีของตะวันตก SMCR ของเดวิด เบอโล คือ ผู้ส่งสาร สารเนื้อหา ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร พร้อมแนะนำการเขียนข่าวซึ่งใช้ทฤษฏีของฮาโรลด์ ลาสแวลล์ คือ Who What Whrer Why When ทำให้ข่าวเกิดความสมบูรณ์
"เสน่ห์ของข่าววิถีพุทธคือ ทำให้ได้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เห็นแง่มุมของพระพุทธศาสนาสามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานและการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงขอชื่นชมและให้กำลังใจคุณสำราญ สมพงษ์ ในการเป็นกำลังสำคัญให้กับพระพุทธศาสนาในการสื่อสารเรื่องราวมุมดีๆ ของพระพุทธศาสนา ถือว่าป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ยืน ในฐานะที่มาเรียนปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ ได้ทำหน้าที่อุบาสกที่ดี แสดงถึงว่าจิตใจที่ดีจะนำไปสู่เรื่องราวที่ดี การพัฒนาพระนักข่าวจึงควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้น ด้วยการสร้างรูปแบบการพัฒนานักข่าวในพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสร้างพระสงฆ์ให้เป็นผู้สื่อสารธรรม เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสืบไป" พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ระบุ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น