วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"ผู้มีแต่ให้"แม่ชีทองสุขมหาอุบาสิกาจากฮ่องกง




แม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี มหาอุบาสิกาผู้มีแต่ให้จากฮ่องกง แม่ชีทองสุขผู้มีความเบิกบานกับการให้ทาน:การสะสมบุญนำมาซึ่งความสุข:จากทรัพย์ภายนอกพัฒนาสู่ทรัพย์ภายใน : ฝึกการสละยึดมั่นถือมั่น ยิ่งให้ยิ่งหอม:การให้เป็นการสมานหมู่ชนอยู่กันด้วยความรัก"





แม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี มหาอุบาสิกาผู้มีแต่ให้จากฮ่องกง มีจิตพลังอันศรัทธาเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพลพระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทย รุ่น ๔๖ วัดสุวรรณประสิทธิ์ จำนวน ๑๕๐ รูป ซึ่งอบรมจำนวน ๓ เดือนประจำทุกปี เดือนธันวาคมฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เดือนมกราคมฝึกอบรมพระไตรปิฏก เดือนกุมภาพันธ์ฝึกอบรมการเทศน์ การปาฐกถา การสัมโมทนียกถา การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่างๆ การประยุกต์คำสอนเพื่อบูรณการในการเผยแผ่ ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการอบรมในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ คุณแม่ชีทองสุข นามเจ็ดนาม และคณะจากฮ่องกง จงถือโอกาสสร้างมหาทานกับพระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทย ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม





คำว่าจาคะเป็นการเสียสละ เป็นการแบ่งปันการให้ การแบ่งปัน หรือการให้เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สมานหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี ไมตรีและสันติสุข เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ททมาโน ปิโย โหติ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก” การให้เป็นทั้งมรรคและผลโดยตัวของมันเอง การให้เป็นมรรคเมื่อเป็นกุศโลบายให้คนรู้จักแบ่งปันเป็นผล เมื่อก่อให้เกิดความสำราญบานใจขณะกำลังให้หรือครั้งให้ไปแล้ว เมื่อยามอนุสรณ์ถึงก็ก่อให้เกิดความสดชื่นรื่นเย็นในหัวใจที่ตนได้ทำกรรมดีไว้แก่เพื่อมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ที่ใดก็ตามที่การให้ยังเป็นสารถที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ ณ สถานที่นั้นสวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงส่วนที่ใด ที่ปราศจากการให้ที่นั้นไซร์ คือนรกบนดินอารยธรรมของมนุษย์รุ่งเรืองเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้เพราะเรายังมีบุคคลผู้เบิกบานกับการให้กระจายกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง




การให้เป็นปัจจัยแห่งการฝึกตนและฝึกคนเป็นต้นว่าการให้เพื่อสงเคราะห์ในยามยากทำให้เราได้บำเพ็ญเมตตาธรรมต่อเพื่อมนุษย์การให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทำให้เราได้ถมช่องว่างทางสังคมให้เต็ม การให้แก่คนรู้จักมักคุ้นทำให้เราได้เชื่อมสัมพันธไมตรีการให้คืนแก่สังคมของนักธุรกิจทำให้เขาได้มีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบต่อสังคมการให้ของนักบวชเป็นการป้องกันการสะสมเกินจำเป็นการให้ของปัจเจกบุคคลเป็นการฝึกกำจัดความละโมบโลภมากแต่หัวใจสำคัญที่สุดของการให้ก็คือ การกำจัดความยึดติดถือมั่นใน“อัตตา”หรือตัวฉันของฉันกล่าวสั้นที่สุดการให้อย่างไม่มีตัวฉัน คือ สาระสำคัญของการให้เมื่อมนุษย์เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้โลกจะกลายเป็นดินแดนสุขาวดีทรัพยากรจะยังพอมีสำหรับอนุชนที่กำลังจะตามมาในวันพรุ่งนี้



จึงขออนุโมทนาบุญกับคุณแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี และคณะจากฮ่องกงทราบข่าวการฝึกวิปัสสนาจารย์ของพระสงฆ์จากทั่วประเทศ จึงเกิดพลังแห่งศรัทธา น้อมบริจาคปัจจัยจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาทเพื่อการสนับสนุนโครงการเป็นค่าอาหาร น้ำปานะ และปัจจัยส่วนหนึ่งถวายพระสงฆ์ทุกรูปเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทางและสนับสนุนการศึกษา ขอบุญกุศลอันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของคณะพระวิปัสสนาจารย์ตั้งแต่วันแรกจนถึงสิ้นสุดโครงการ ขอพลังบุญจงรักษาคุ้มครองแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสีและคณะทุกท่านตลอดไป


..................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...