วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"IBSC มจร" ผนึก "Google" พัฒนาพุทธปัญญาประดิษฐ์เพื่อชาวโลก




วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการ  IBSC และบริษัท Google ประเทศไทย นำโดยนายไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย ได้ร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางในการนำ Digital และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาลัยให้ก้าวไปสู่ Smart College ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หรือ EdPEx เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ





แนวทางในการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นเลิศให้แก่วิทยาลัยนั้น ประกอบไปด้วยการพัฒนาองค์ประกอบภายในของวิทยาลัย คือ การนำ  Big Data มาพัฒนาระบบการบริหารจัดการวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ และการพัฒนา และบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของนิสิต และผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิผล และตอบโจทย์ของคณาจารย์ และนิสิต รวมถึงการให้การบริการด้านการศึกษาของเจ้าหน้าที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น




ขณะที่การพัฒนาองค์ประกอบภายนอกนั้น เป็นการเปิดพื้นที่และจัดวางสถานะของพระพุทธศาสนาอยู่ในเวทีระดับโลก 2 เวที (Global Platform) คือ (1) Smart Mind เวทีที่สามารถทำให้พระพุทธศาสนาสามารถสนองตอบความต้องการด้านสติ สันติ สมาธิ จิตใจ สุขภาพ ที่สังคมโลกกำลังกำลังอิ่มเอมกับวัตถุนิยมแล้วโหยหาความสุขจากภายในจิตใจ และ (2) Smart Intelligence เวทีทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ที่นักวิชาการทั่วโลก ทั้งผู้สนใจเรียนด้านวิชาการ และนักวิจัย ที่สนใจมาศึกษาพระพุทธศาสนาแบบลึกซึ้งจนสามารถเข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติจนเข้าถึงความจริงสูงสุด




การดำเนินการโดยการนำ ดิจิทัล และเทคโนโลยีมาพัฒนาทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กรโดยการศึกษาพระพุทธศาสนาสู่เวทีโลกนั้น จะสามารถนำ IBSC ไปวางเอาใน Platform อื่นๆ ในโลกนี้ ประดุจเอาสิ่งวางจำหน่ายในพื้นที่ขอบตลาดนัด (Sunday Market) ซึ่งจะทำให้ IBSC สามารถเป็นสะพานในการเชื่อมให้ชาวโลกได้รู้จัก ศึกษา เรียนรู้  แล้วกลุ่มคนที่สนใจพระพุทธศาสนาในมิติต่างๆ ทั้ง Texual Buddhism, Intellectual Buddhism, Practical Buddhism และ Engaged Buddhism เดินเข้ามาสู่โลกของพระพุทธศาสนาทั้งในมิติของจิตใจ และมิติของการศึกษาทางวิชาการ ณ วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติต่อไป เมื่อนั้น ภาพแห่งความฝันที่ว่า "ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ" จะบรรลุผลในที่สุด












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...