วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เล็งชงชื่อ5รูป/คนรับรางวัลสันติภาพโลกที่สวีเดน



เจ้าคุณสวีเดนร่วมงาน"มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก"ที่ "มจร" หวังเรียนรู้และประสานศึกษาจัดงานสันติภาพโลกที่สวีเดน เตรียมเสนอรายชื่อ 5  รูป/คนรับรางวัลสันติภาพโลก





วันที่ 28 ก.พ.2561  ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันจัดการสัมมนาวิชาการ "มาฆบูชา : วันเมตตาสากลโลก" พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส) อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิด ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยานั้น พระวิเทศปุญญาภรณ์ หรือเจ้าคุณสวีเดน เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน  เลขานุการสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปได้เข้าร่วมประชุมด้วย




ในการนี้มีพระวิเทศปุญญาภรณ์ได้เปิดโอกาสให้พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร พระสื่อข่าวสัมภาษณ์ทราบว่า เพื่อเรียนรู้และประสานงานการจัดงานสันติภาพโลก ณ ประเทศสวีเดนวันที่ 30 มิถุนายน 2561  ซึ่งประเทศสวีเดนเป็นสถานที่มอบรางวัลโนเบล  เนื่องจากได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ไทยให้ประสานจัดงานสันติภาพโลก พร้อมกันนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการประชุมพระธรรมทูตโลกหลังจากนั้นก็จะเดินทางไปร่วมงานดังกล่าว และจะมีคณะจากประเทศไทยเดินไปร่วมด้วย  ซึ่งเจ้าคุณสวีเดนนั้นที่มีพาสปอตสีน้ำเงินสามารถเดินทางสะดวกสบาย เพราะไม่ต้องขอวีซ่า  เนื่องในโอกาศวันมาฆบูชานี้จึงขอเชิญชวนทุกรูป/คนร่วมกันสร้างความดี ทำจิตใจให้สงบ ด้วยการสร้างจิตมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ จะได้สร้างสันติภาพโลกด้วยการเริ่มต้นจากตัวของเราก่อน






การประชุมสันติภาพโลกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำศาสนาทั่วโลกมาประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติความรุนแรงในโลกนี้ เพราะความเป็นจริงแล้วศาสนาต้องสร้างสันติภาพมิใช่ศาสนาสร้างความรุนแรงหรือสงคราม การประชุมครั้งนี้เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีของผู้นำระดับโลก เพื่อเป็นการชูวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เป็นสื่อแห่งสันติภาพ และเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานด้านสันติภาพได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ โดยประเทศไทยได้นำเสนอรายชื่อ 5  รูป/คน เพื่อเข้ารับรางวัลสันติภาพโลก





"ดังนั้น การรักผู้อื่น 3 พยางค์เท่านั้นนำไปสู่สันติสุขอย่างชัดเจน ด้วยการก้าวข้ามลัทธินิกายไปสู่เนื้อแท้แห่งศาสนา ทำไมศาสนาซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสันติสุขของมวลมนุษย์จึงกลายเป็นต้นเหตุแห่งสงครามที่ทำลายล้างสันติสุขของมวลมนุษย์เสียเองในบ้างครั้งคำตอบก็ คือ 1)เกิดการยึดติดถือมั่นว่า ศาสนาของตนเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นดีที่สุด 2)เกิดความพยายามยัดเยียดศาสนาของตนให้แก่คนอื่น 3)เกิดการตีความคำสอนของศาสนาผิดๆ 4)เกิดจากความพยายามจะปกป้องศาสนาของตนจากคนที่ถือศาสนาอื่น 5)เกิดจากการเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของศาสนาที่ตนนับถือ"  พระปราโมทย์  กล่าวและว่า





6)เกิดจากความพยายามครอบครองผลประโยชน์ที่เกิดจากศาสนา 7)เกิดจากการนำเอาศาสนาไปรับใช้สถาบันทางการเมือง 8)เกิดจากการแตกนิกายย่อยๆ ระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกัน ศาสนิกของศาสนาจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อมองให้ทะลุสมมุติสัจจะว่าความเป็นศาสนิกชนของตนนั้นเป็นเพียง "เปลือกผิว" ของความเป็นมนุษย์เท่านั้น แก่แท้ของคนเราทุกคน คือ " เราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน อย่าให้ความเป็นเพียงสมมุติบัญญัติทางศาสนา มาแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ของเราออกจากกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...