วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

"มจร"จุดพลังพระสงฆ์ยุคใหม่เกื้อกูลสังคม



"มจร"จัดสัมมนาปฏิบัติศาสนกิจภาคอีสาน เพิ่มวิทยายุทธบัณฑิตมหาจุฬาฯรุ่น ๖๓ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระนิสิตป.เอกสันติศึกษา แนะพระสงฆ์ยุคใหม่จุดไฟวิชาการใส่เชื้อความดีเกื้อกูลสังคมกตัญญูกตเวทีสถาบัน





วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้เป็นพระวิทยากรบรรยายสร้างแรงบันดาลใจปลุกพลังการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาให้กับบัณฑิตมหาจุฬาฯรุ่น ๖๓ ในโครงการสัมมนาปฏิบัติศาสนกิจภาคอีสาน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตขอนแก่น จำนวน ๖๐๐ รูป ซึ่งจะเข้ารับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดโดยกองการนิสิต มจร ร่วมกับ มจร  วิทยาลัยเขตขอนแก่น โดยมีพระโสภณพัฒนบัณฑิตรศ.ดร.รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตขอนแก่นเป็นประธาน และมีผู้บริหารจากส่วนกลางประกอบด้วยพระมหาราชัน จิตฺตปาโล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต พระมหาถวิล กลฺยาณธมฺโม ผอ.สำนักทะเบียนและวัดผล พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต ร่วมด้วย



ในโอกาสนี้ได้แสดงมุทิตาจิตกับบัณฑิตมหาจุฬารุ่นที่ ๖๓ จำนวน ๖๐๐ รูป ในเขตภาคอีสาน เพราะกว่าจะประสบความสำเร็จต้องพัฒนาตนเป็นดินเหนียวยอมให้ครูอาจารย์ปั้นแต่งให้มีวิชายอดจรณะเยี่ยม ต้องยอมเป็นโคเขาขาด เป็นผ้าเช็ดเช้า เป็นเด็กจัณฑาล ผ่านการบ่มเพาะจนเป็นบัณฑิตของมหาจุฬา ซึ่งมหาจุฬาให้โอกาสบุคคลทุกชนชั้นในการพัฒนาตนเอง ภายใต้คำว่า "จุดไฟด้วยวิชาการ ใส่เชื้อด้วยความดีงาม เกื้อกูลด้วยการออกไปปฏิบัติศาสนกิจ และหนุนปัญญา โดยไม่ยินดีในความสำเร็จเพียงพุทธศาสตรบัณฑิต" แต่จะพัฒนาตนเป็นมหาบัณฑิตและดุษฏีนิพนธ์ต่อไป เพราะการศึกษาไม่มีคำว่าสิ้นสุด เป็นบุคคลผู้บำเพ็ญตนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต



พระพุทธเจ้ามี Mindset ด้วยการ"จบประโยชน์ตนนึกถึงประโยชน์คนอื่น" เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วพระองค์ได้มีพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระมหากรุณาธิคุณต่อมวลสรรพสัตว์ทั้งปวงด้วยการสร้างเครือข่ายในการเผยแผ่ธรรมเริ่มจากพระปัญจวัคคีย์ ด้วยการจาริกเพื่อประโยชน์สุขเพื่อเกื้อกูลแก่มหาชนทั้งหลาย Mindsetของบัณฑิตมหาจุฬาจึงสรุปมี ๔ ประการ คือ



๑)"วิชายอดจรณะเยี่ยม" หมายถึง ศึกษาคันถธุระให้รู้จริงรู้ลึกเก่งในด้านวิชาการ คันถธุระเป็นความฉลาดแต่บางครั้งขาดความสงบ จึงต้องมีวิปัสสนาธุระเป็นเครื่องมือเพื่อไม่ออกนอกเส้นทาง จึงเข้าลักษณะที่ว่า "เริ่มด้วยความสงบจบด้วยความฉลาด"



๒)"รู้เท่าทันเทคโนโลยี" หมายถึง เทคโนโลยีเป็นโอกาสและวิกฤตจึงต้องมีสติในการบริโภคสื่อเทคโนโลยี จึงควรใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ธรรม ใช้สื่อเตือนสติคนในสังคม สิ่งสำคัญอย่ากล่าวร้ายโจมตีใครเพราะจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ควรพึงระวังว่า "อย่าใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยภูมิปัญญาขั้นต่ำ" สื่อสารด้วยการกระทบธรรมมากกว่ากระทบคน



๓)"ลงทุนในตนเอง" หมายถึง ไม่ฉลาดสิ่งใดลงทุนในสิ่งนั้น อยากยิ่งใหญ่ต้องฝึกเรียนรู้มากกว่าคนอื่น จิม โรห์น ปรมาจารย์ด้านความสำเร็จกล่าวว่า "ถ้าอยากจะมีมากกว่าที่เคยมี คุณต้องเป็นมากกว่าที่เคยเป็น" ต้องกล้าลงทุนกับตนเอง ลงทุนใน ๔ ทักษะ คือ การฟัง การอ่าน การพูด การเขียน ฝึกชีวิตออกมาจาก "จังหวะตกใจ" ด้วยการออกมาพื้นที่สบาย การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดคือการพัฒนาตน


๔)"รับผิดชอบต่อสังคม"หมายถึง สร้างประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสังคม ภายใต้พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ด้วยเป็นผู้สงบเย็นและเป็นประโยชน์ บัณฑิตมหาจุฬาจึงใช้คำว่า"จ่ายคืนสังคม" หมายถึง เมื่อศึกษาเล่าเรียนจากมหาจุฬาแล้วก็ออกไปช่วยเหลือสังคม คืนให้กับสังคมด้วยมิติการปฏิบัติศาสนกิจในเผยแผ่ธรรมด้วยMindsetตามแนวของ "อุดมการณ์ หลักการ วิธีการ"



บุคคลในโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จล้วนมี Mindset ในทางบวก ซึ่ง Mindset เป็นวิธีคิดในการนำไปสู่พฤติกรรมบวกหรือลบของแต่ละบุคคล จึงสามารถแบ่งออก ๒ ประการ คือ ๑)ทัศนคติปิด (Fixed Mindset) เป็นลักษณะบุคคลที่กลัวความผิดพลาด วิ่งหนีคำวิจารณ์ มีความอดทนต่ำ ท้อแท้ง่าย ล้มเลิกเร็ว ประสบความสำเร็จช้า มีคนจำนวนมากที่มีMindsetแบบนี้ จึงยากที่จะประสบความสำเร็จ



๒)ทัศนคติเปิด (Growth Mindset) เป็นลักษณะบุคคลที่มีการเรียนรู้ ทุกความผิดพลาดเป็นบทเรียนเป็นประสบการณ์บททดสอบ เพราะยิ่งสูงยิ่งเจอมารตัวใหญ่ ยิ่งสูงยิ่งต้องมีสติในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เช่น คุณตูนที่ลุกขึ้นมาทำเพื่อสังคม จนสามารถวิ่งไปอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วประเทศ ถึงช่วงแรกๆ จะมีการวิจารณ์แบบดราม่า แต่สุดท้ายคุณตูนได้เปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ตนเองยืนด้วยการ "ก้ม กราบ กอด " เป็นบุคคลผู้สร้างแรงบันดาลใจ คุณตูนจึงเป็นบุคคลที่มีMindsetเป็นสัมมาทิฐิ สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้


การปฏิบัติศาสนกิจจึงเป็นการคืนสู่สังคมด้วยการให้บัณฑิตออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในมิติต่างตามกรอบของคณะสงฆ์ การปฏิบัติศาสนกิจจึงเป็นการสนองงานของคณะสงฆ์ในมิติการเผยเเผ่ การปกครอง การศึกษา เป็นต้น จึงเป็นการกตัญญูต่อพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า "การกตัญญูต่อมหาจุฬาเท่ากับการกตัญญูต่อพระพุทธศาสนา" จึงต้อง Kusan Model ซึ่งประกอบด้วย K คือ ความรู้ของบัณฑิต U คือ ความเข้าใจของบัณฑิต S คือทักษะของบัณฑิต A คือ ทัศนคติของบัณฑิต N คือ การสร้างข่ายการทำงานของบัญฑิต ดังนั้น การปฏิบัติศาสนกิจคือ การเอาธรรมไปทำ เอาธรรมะของพระพุทธเจ้าลงสู่วิถีชีวิตของผู้คน



"จึงขอขอบพระคุณกองกิจการนิสิตมหาจุฬาฯที่ให้โอกาสธรรมะโอดีมาสร้างแรงบันดาจใจให้พระสงฆ์ยุคใหม่ได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ยืน เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อพระพุทธศาสนาสืบไป" พระปราโมทย์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์สิ่งที่น่าชื่นชมจากผลการชกมวยสากลนัดพิเศษระหว่างเจค พอลกับไมค์ ไทสันในปริบทพุทธสันติวิธี

บทนำ การชกมวยสากลนัดพิเศษระหว่างเจค พอล (Jake Paul) และไมค์ ไทสัน (Mike Tyson) สะท้อนถึงความน่าสนใจในการผสมผสานระหว่างความบันเทิงด้านกีฬา กา...