วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

บ.ผลิตรถ"ฟอร์ด-มาสด้า"พึ่งธรรมพัฒนาจิตด้วยธรรมะโอดี



พระวิทยากรธรรมะโอดีพัฒนาจิตใจ บุคลากรบริษัทผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก"ฟอร์ด-มาสด้า" แนะแนวทำงานเหนื่อยแบบไม่เหนื่อย สร้างความสุขของชิวิตมิใช่อยู่ที่เงินเดือน


วันที่ 12 มี.ค.2561 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี  เปิดเผยว่า ได้เป็นพระวิทยากรบรรยายสร้างความสุขให้กับบุคลากรบริษัทผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก โดยมีฐานการผลิตรถฟอร์ดและมาสด้าใหญ่ที่สุดในเอเชีย ณ จังหวัดระยอง โดยมีญี่ปุ่นและอเมริการ่วมมือกัน โดยมองเห็นว่าคนในองค์กรต้องได้รับการพัฒนาจิตใจแงะชีวิตที่มีความสุข จึงได้นิมนต์พระวิทยากรธรรมะโอดีเพื่อการพัฒนาองค์กรในยุค 4.0 (Dhamma OD Happy Life) อบรมจำนวน 4 รุ่น เพื่อเสริมสร้างความสุขในการใช้ชีวิตและการทำงานในมิติทางพระพุทธศาสนา ภายใต้คำว่า "ชีวิตเบิกบานการทำงานเป็น" 


การบริหารความสุขการบริหารชีวิตที่มีความสุขต้องเดินทางตามแนวทางสายกลางไม่สุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง พระพุทธศาสนาจึงให้เรามุ่งเดินทางสายกลางตามอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นหนทางสู่สันติสุข จึงมีคำกล่าวว่า "เหนื่อยไม่ใช่ ใช่ไม่เหนื่อย" เพราะอะไรที่มันสุดโต่งเกินไปชีวิตมันจะเหนื่อย ซึ่งจากการวิจัยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 700 คน ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือบุคคลใกล้จะเสียชีวิตมักจะพูดความจริง ซึ่งมีคำถามว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะทำสิ่งใดในชีวิต ผลการวิจัยเมื่อเรานำมาสังเคราะห์แล้วนั้น สามารถแบ่งออกมาได้ 3  ข้อ คือ 

1)"กลับไปใช้เวลากับครอบครัวมากที่สุด "หมายความว่า ให้เวลากับคนในครอบครัวของเรา เพราะการอยู่กับครอบครัวถือว่าเป็นการ"สร้างชั่วโมงทองคำของชีวิต" ซึ่งครอบครัวมีความสำคัญมากต่อชีวิต เราจึงต้องกลับไปใช้ชีวิตกับคนในครอบครัวอย่างสมดุลที่สุด ปัจจัยที่ทำให้ชีวิตและการทำงานครอบครัวสมดุล คือ "การบริหารเวลา " ให้เกิดความสมดุล 

2) " ถ้าหมอเตือนว่าป่วยจะรีบไปหมอและรักษาทันที " หมายความว่า สุขภาพมีความสำคัญต่อชีวิตมาก โรคภัยมีคุณสมบัติพิเศษ คือ โรคไปกับเราทุกที อย่ามัวแต่ทำงานจนลืมดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งสมัยปัจจุบันคนมักจะติดกับดักว่า "มีเงินมหาศาล แต่ไม่มีสังขารจะใช้"ทำงานจนไม่มีเวลาใช้เงิน สุดท้ายเงินที่หามาได้ก็ต้องให้โรงพยาบาล เพราะต้องรักษาร่างกายของตนเอง 

3)"กลับไปทำงานในสิ่งที่ตนเองรัก "หมายถึง รักสิ่งใดกระทำในสิ่งนั้น เราจะมีความสุขทุกครั้งเมื่อเราได้ทำงานที่เรารัก ไม่ต้องรอให้มีทรัพย์ภายนอกแล้วค่อยมีความสุข แต่ความสุขนั้นเป็นสิ่งง่ายๆ คนที่ป่วยหนัก ความสุขของเขา คือ ขอให้หายป่วยก็มีความสุขแล้ว ความสุขจึงอยู่รอบตัวของเรา จึงมีคำกล่าวว่า "ความสุขไม่ได้วัดกันที่ทรัพย์ภายนอก" คนรวยจะมีความสุขมากกว่าคนจน ก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูกเสมอไป เพราะคนรวยๆ มีความทุกข์มากกว่าคนจนก็มีจำนวนมาก ความสุขเกิดขึ้นง่ายๆ เมื่อเราได้ทำงานในสิ่งที่เรารัก แต่อย่าลืมว่า " ทำให้ดีที่สุด ณ จุดที่ทำ เป็นให้ดีที่สุด ณ จุดที่เป็น "

 พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวสรุปว่า  ดังนั้น เปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่าเดิม อดีตให้เป็นบทเรียนของชีวิต สร้างปัจจุบันให้ดีที่สุดต่อตนเองและคนรอบข้าง ฝึกการเข้าถึงความสุขภายในอย่างแท้จริง อย่าเข้าถึงเพียงแค่ความสุขภายนอก เป็นความสุขที่มีเงื่อนไข เช่น รวยก่อนถึงจะมีความสุข หมั่นสร้างค่านิยมในการทำความดีให้กับชีวิตด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นสำคัญของชีวิต จึงทำให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาที่ว่า " ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้จักแบ่ง แบ่งให้เป็นธรรม" 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์พระไตรปิฎกกับศาสตร์สมัยใหม่ยุคเอไอ: หลักการ อุดมการณ์ วิธีการ แผนยุทธศาสตร์ โครงการ และอิทธิพลต่อสังคมไทย

บทนำ พระไตรปิฎกในฐานะแหล่งความรู้ทางศาสนาและจริยธรรมที่ลึกซึ้ง มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับชีวิตมนุษย์และการพัฒนาสังคม การนำแน...