วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561
"IBSCมจร"ปรับแผนฝ่ากระแสดิจิทัลเป็นศูนย์ศึกษาพุทธนานาชาติ
"IBSC มจร" ระดมสมองผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ปรับแผนพัฒนาหลังจากใช้มาแล้ว 2 ปี รองรับความเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติภายในระยะเวลาอีก 3 ปี ฝ่ากระแสดิจิทัล เทคโนโลยี ไทยแลนด์ 4.0
วันที่ 12 มี.ค.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มจร เปิดเผยว่า หลังจากที่ IBSC ได้ใช้แผน 12 มาได้ 2 ปีแล้ว จึงได้ร่วมกันระดมสมองผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของIBSC เพื่อร่วมกันปรับแผนพัฒนาวิทยาลัย (Rolling Plan) เพื่อสอดรับกับแผนพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) และแผน 12 ของมหาวิทยาลัย รวมถึงปรับแผนให้สอดรับกับยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนไป ภายหลังที่ได้ใช้แผน 12 ของวิทยาลัยมาได้ 2 ปี โดยมีอาจารย์ศิริวิช ดโนทัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนมาเป็นผู้นำกระบวนการ
เพื่อดำเนินการปรับแผน 12 (Rolling Plans) ระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2561 โดยได้ปรับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม รวมถึงการตัดกลยุทธ์ที่ดำเนินการสำเร็จผลแล้ว ปรับกลยุทธ์ที่ยังไม่ชัดเจน และใส่กลยุทธ์ใหม่เข้าไป ทั้งทุกกลยุทธ์นั้น ต้องสามารถผลักดันวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติให้ก้าวไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติภายในระยะเวลาอีก 3 ปีจากนี้ไป
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าจะปรับแผนทำไม?!? ทำไมจะต้องปรับแผน?!?! ทั้งนี้เพราะกว่าจะได้แผน 12 หรือแผน 5 ปี (2560-2564) เลือดตาแทบกระเด็น พอใช้ได้มาสองปีก็ต้องมาปรับใหม่อีกแล้ว!!!! จะต้องมาเหน็ดเหนื่อยและเสียเวลา เสียเงินทองเพื่อผลประโยชน์อันใดอีก!!!! คำตอบ คือ ก็เพื่อมิให้เสียประโยชน์ มิให้เสียเวลา เสียโอกาส และเสียผู้เสียคนในการพัฒนานั่นเอง จึงมีความจำเป็นต้องปรับแผน หรือ ขยับแผน (Rolling Plan) ด้วยเหตุในยุคปัจจุบันนี้ สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กระแสดิจิทัลและเทคโนโลยี กระแสไทยแลนด์ 4.0 กระแสวัตถุนิยม กระแสความขัดแย้งและความรุนแรง กระแสสังคมผู้สูงอายุ กระแสสังคมอาเซียน
เมื่อโลกเปลี่ยน สิ่งต่างๆ ต้องปรับ เพื่อให้สอดรับกับวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง นี่คือเหตุผลสำคัญว่า เพราะเหตุใด? วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ จึงต้องปรับแผน เพราะการปรับคือความอยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์ต่างที่กำลังเกิดขึ้นและคุกคาม ดังที่ชาล์ล ดาร์วินชี้ชัดเอาไว้ว่า "ผู้อยู่รอด ไม่ใช่ผู้ที่เข้มแข็ง หรือฉลาดที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวเก่งที่สุด"
ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สรรพสัตว์และองค์กรต่างๆ อยู่รอดท่ามกลางความแปลี่ยนได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ คือ "ความไม่ประมาท" อันหมายถึงการมีสติรู้เท่าทันภาวะที่กำลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์แผนที่ผ่านการใช้มา 2 ปีแล้ว ย่อมทำให้พบ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ กิจกรรม โครงการ รวมไปถึงตัวชี้วัดต่างๆ นั้น ไม่สอดรับกับวิถีแห่งยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งนั้น ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการนำองค์กรไปบรรลุวิสัยทัศน์ตามที่ได้เอาไว้ว่า ต้องบรรลุภายใน 5 ปี แต่เมื่อเดินมาได้ 2 ปี ถ้ายังจะทู่ซี้เดินต่อไป ถึงอย่างไรก็ไม่บรรลุ ถ้าเช่นนั้น ผู้นำ รวมถึงคนในองค์กรยังจะก้มหน้าก้มตาเดินทางต่อไปหรือไม่?!?!?!
ขณะที่ มจร 4.0 ที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2550 นั้น เมื่อถึงแผน 12 (2560-2564) ได้มีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก คำถามสำคัญคือ ส่วนงานใดที่จะกลายเป็นองคพยพที่สำคัญในการช่วยมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนไปบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว IBSC จึงเป็นหนึ่งในจิ๊กซอที่จะต่อให้เห็นภาพเหล่านั้น
"ด้วยเหตุนี้ IBSC จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่ว่า "ศูนย์กลางการศึกษามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ" และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว จึงได้จัดวาง 4 พันธกิจ 6 ยุทธศาสตร์ 6 เป้าประสงค์ และ 39 กลยุทธ์ ทั้งนี้ เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เกิดโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้น จึงนำมาสู่การปรับแผนการทำงาน (Rolling Plan) ให้สอดรับกับวิถีดังกล่าว ซึ่งการปรับดังกล่าวจะทำสห้สอดรับกับแผนพัฒนาชาติ แผนอุดมศึกษา แผนมหาวิทยาลัย และแผนพัฒนาคุณภาพเพื่อก้าวไปสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx)" ผอ. IBSC กล่าวและว่า
เมื่อแผนพัฒนาองค์กรชัด คนทำงานในองค์กรย่อมเกิดความชัดแจ้งว่า องค์กรกำลังจะเดินทางไปในทิศทาง และจะส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรไปสู่ทิศทางที่ควรจะเป็นได้หรือไม่?!? แผนชัด คนจึงชัด ระยะเวลาในการเดินทางก็ชัด คนเดินทางก็มีความหวัง หวังว่า ถ้าเดินตามแผนการแล้วเราต้องใช้เวลาเท่าใดจึงจะถึงเป้าหมาย และเราต้องใช้กำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์มากเพียงที่ความฝันจะสำเร็จผลได้ เห็นแผน เห็นงาน เห็นคน เห็นงบประมาณ เห็นความสำเร็จ และเห็นความสุขที่เกิดในขณะก่อนออกเดิน ขณะก้าวเดิน และขณะเดินเหยียบความฝันที่ผันตัวมาสู่ความจริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์พระไตรปิฎกกับศาสตร์สมัยใหม่ยุคเอไอ: หลักการ อุดมการณ์ วิธีการ แผนยุทธศาสตร์ โครงการ และอิทธิพลต่อสังคมไทย
บทนำ พระไตรปิฎกในฐานะแหล่งความรู้ทางศาสนาและจริยธรรมที่ลึกซึ้ง มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับชีวิตมนุษย์และการพัฒนาสังคม การนำแน...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น