วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
"ไทย-ฮังการี"ลงนามร่วมมือพัฒนาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท
วันที่ 14 มิ.ย.2561 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พร้อมด้วยพระราชปริยัติกวี รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร เดินทางไปที่สถานเอกอัครราชทูตฮังการี ถนนวิทยุ กทม. เพื่อเป็นพยานในการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มจร กับวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท ประเทศฮังการี ซึ่งมี ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) เป็นผู้ลงนามข้อตกลง ฝ่ายประเทศไทย ดร. ปีเตอร์ ยาคอป เอกอัครราชทูตฮังการี ประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ฝ่ายประเทศประเทศฮังการี
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับฮังการีเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฮังการีโดยร่วมมือกับวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท เป็นความตกลงระดับทวิภาคีที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฮังการี มีสาระสำคัญเพื่อเป็นการรับรองและสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฮังการีโดยร่วมมือกับวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกทในสาขาวิชาพระพุทธศาสนศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ทั้งนี้ ดร. สุภัทร กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศฮังการีมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน การลงนามความตกลงฯ ครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการธำรงรักษาและเพิ่มพูนความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่างไทยและฮังการี โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาพระพุทธศาสนศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาแก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร เปิดเผยว่า พระพรหมบัณฑิต ย้ำมาโดยตลอดว่า "การมีมหาจุฬาฯ ไม่ใช่เพื่อมหาจุฬาฯ แต่การมีมหาจุฬาฯ เพื่อตอบปัญหาหรือทุกข์ของชาวโลก" วันนี้ มหาจุฬาฯจึงอยู่เหนือคำว่า พื้นที่ เขตแดน ภาษา ชาติพันธุ์ และประเทศ การลงนาม MoU ที่สถานทูตฮังการี โดยมีนายสุภัทรเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยและนายปีเตอร์เป็นผู้แทนรัฐบาลฮังการี
"จึงเป็นการเปิดขอบฟ้าของนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุโรปอย่างเป็นทางการ โดยผ่านประตูของมหาวิทยาลัยธรรมเกท ปูดาเปสต์ ฮังการี อย่างเป็นทางการ โดยมีรัฐบาลของประเทศทั้งสองเข้ามารับรู้และร่วมผลักดัน 10 ปี บนเส้นทางสายนี้ สายที่นำพระพุทธศาสนาสู่ทวีปยุโรปอย่างเต็มภาคภูมิ และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไม?!?! จึงต้องมีมหาจุฬาฯ การรักษามหาจุฬาฯ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาพระพุทธศาสนาเพื่อส่งต่อพุทธปัญญาแก่ชาวโลกต่อไป" พระมหาหรรษา ระบุ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: โขงไหลลั่น ธรรมนำใจ
ເນື້ອເພງ : ດຣ.ສົມພົງສ໌,AI ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) โขงไหลลั่ง น้ำใจเปี่ยมล้น ฮวมกันน้อยจนใหญ...
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjIzJWezDZsjKLDFnap2WUMsdGzgmzpQfKj31eYQ5L0cicGqakckXVyLLTb5H8tNh95ZzBdydNmJcoUUUtcM2LL_XQH9miNkiAdCFFCkQXagIYthOxgCdZSkcd0Phf-YeJBZHd-KeTe484w4JCmvBBuAJ00gQo3GbvJF4C1Cklu9qyIO5tsI-rd4FQP/w525-h349/14978_0.jpg)
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
-
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2567 เฟซบุ๊ก Wat Pan Ken ได้โพสต์ข้อความว่า เรื่องการปรับปรุงหลักสูตรบาลีสนามหลวง 1. ไม่เป็นไปตามที่พรบ.กำหนด อันนี้ผ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น