"ผี" มีความเป็นมาควบคู่กับมนุษย์ทุกชนชาติ โดยมีคำเรียกเช่น ghost) วิญญาณ (soul) หรือสปิริต (spirit)มีความหมายหากเป็นคำนามจะสิ่งที่ตามปกติแล้วมนุษย์มองไม่เห็น และสัมผัสไม่ได้ ของคนหรือสัตว์ที่ตายไปแล้ว หากเป็นคำวิเศษณ์มีความหมายตามภาษาปากว่า "เลว, ทราม" เช่น "คนผี เด็กผี" หรือหมายถึง "น่าเกลียด" เช่น "หน้าผี"
"นักข่าวผี" หมายถึง กลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างวิชาชีพ “ผู้สื่อข่าว” หาประโยชน์จาก “แหล่งข่าว” ทั้งรีดไถเงิน ขอของแจก ล่ารางวัล ฯลฯ "นักข่าวผี"นั้น มีมานานและยังหาทางขจัดออกไปไม่ได้ อยู่ประจำตามสถานที่ประเภทของข่าวเช่นทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา กระทรวง หน่วยงานต่างๆ ภาคการเงิน ภาคการตลาด หรือสายบันเทิงอยู่ตามงานออร์แกไนซ์ พีอาร์ ดารา และ"นักข่าวผี" ประจำตามสายข่าวต่างๆ พบมากช่วงเทศกาลปีใหม่ งานอีเวนต์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ งานปาร์ตี้สังคมไฮโซง หรืองานสัมมนาบริษัทเอกชนดัง
ยุคดิจิทัลหรือยุคสื่อใหม่ ๆ เช่นสื่อออนไลน์ "นักข่าวผี" มีมากขึ้น มีพฤติกรรมสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการทำเว็บไซต์ขึ้นมาให้สมจริงพร้อมกับทำนามบัตรเป็นของตัวเอง นักข่าวผีเหล่านี้มีพฤติกรรมทั้ง ลวง.. หลอก.. หลอน..สามารถจำแนกได้ 7 จำพวกคือ
“ผีกินฟรี” พบตามงานเลี้ยง “ผีมือยาว” พบตามงานสัมมนา งานเปิดตัวสินค้า “ผีถ่ายรูป” ถ่ายภาพแหล่งข่าวที่เป็นบุคคลสำคัญแล้วเสนอราคา “ผีอัพเกรด” คือนักข่าวจริงแต่อยู่สื่อหัวเล็กแต่อ้างว่ามาจากสื่อหัวใหญ่
“ผีสวมรอย” ชอบสวมรอยเป็นนักเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ “ผีเอเจนซี่”อ้างกับแหล่งข่าววงการธุรกิจหน้าใหม่ และ “ผีแฟนคลับ” อ้างตัวเป็นนักข่าวเพื่อฝ่าด้านป้องกันเข้าไปสัมผัสแหล่งข่าวที่ตัวเองชื่นชม
สาเหตุ คือ ไม่คำนึงถึงผิดเสียที่จะเกิดขึ้นของนักข่าวผี ประกอบกับแหล่งความเมตตาหรือให้เพราะตัดรำคาญ หรือสาเหตุหนึ่งคือพีอาร์กับเอเจน ซีต้องการทำยอดนักข่าวที่มาร่วมงานให้เท่ากับรับปากกับผู้ว่าจ้างไว้ ทำให้ต้องมีการจ้าง-ปล่อย “ผี” ให้มาร่วมงาน
ผลกระทบ คือ เสื่อมเสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือต่อตัวสื่อมวลชน และองค์กรสื่อมวลชนในภาพรวม และทำให้แหล่งข่าว เสียทรัพย์ หรือเสียผลประโยชน์อื่นๆ ด้วย
วิธีการป้องกัน คือ แหล่งข่าวให้ไม่ถูกหรอก 1.ถ้าเกิดสงสัยให้ติดต่อไปยังต้นสังกัด 2.หากมีคนไปอ้างตัวเป็นนักข่าว แต่บอกว่าสามารถหาพื้นที่ลงโฆษณาให้ได้ อย่าเพิ่งไปทำสัญญา เพราะการทำข่าวไม่ควรมีอะไรแลกเปลี่ยน 3.ได้ประสานกับสมาคมนักข่าว สมาคมนักข่าวเศรษฐกิจ ให้ช่วยยกปัญหานี้เป็นปัญหาวิชาชีพ และ 4.ประสานพีอาร์แจ้งชื่อนักข่าวสายนั้นๆ แต่ถ้าไม่แน่ใจให้โทร.ไปถามที่ต้นสังกัดได้ทันที
พีอาร์ต้องรู้ทัน กลั่นกรอง มีวิธีจับพิรุธ สามารถแยกได้ระหว่างนักข่าวจริงกับนักข่าวผี โดยการขอหลักฐานเช่นนามบัตร หมายเลขโทรศัพท์ ขณะที่สมาคมวิชาชีพสื่อช่วยกันดูแลและหาวิธีแสดงตนของนักข่าว อาทิ รณรงค์ให้สวมบัตรนักข่าว หรือพกนามบัตร หรือหน่วยงานที่นักข่าวประจำอยู่ต้องให้มีนักข่าวซึ่งมีบัตรประจำรัฐสภามารับรอง ประให้ติดบัตรตลอด ความร่วมมือกันระหว่างนักข่าว ทีมประชาสัมพันธ์ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำบัญชีดำส่งไปให้สื่อต่าง ๆ นักการเมืองที่ถูกรีดไถแจ้งความ แม้ว่าสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจะระบุว่า ป้องกันที่ลำบาก ทำได้แค่ประกาศเตือนแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานต่างๆก็ตาม
(หมายเหตุ : ที่มาของภาพ https://www.isranews.org/isranews-article/23559-ghost.html)
@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น