วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

สาเหตุฝรั่งหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา



มีคำตอบสรุปได้ดังนี้

๑. เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เปิดอิสระให้ใช้สติปัญญาพิจารณาก่อนที่จะศรัทธานับถือ ต่างจากศาสนาเดิมที่เขานับถือห้ามคำถาม.โดยให้เชื่อก่อนสิ่งอื่นใด แล้วรอผลของความเชื่อรอจากพระผู้เป็นเจ้าจะประทานพร

๒.ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาแล้ว พบว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อสันติ เริ่มที่ตนเองก่อนแล้วแผ่ไปสู่คนรอบข้างและคนทั้งโลกรวมตลอดถืงสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย ซึ่งศาสนาอื่นมีไม่ครบถ้วนเหมือนพุทธศาสนา

๓. ชาวพุทธในอดีต ถึงปัจจุบันไม่เคยไปเบียดเบียนหรือทำร้ายคนต่างศาสนา มีแต่การช่วยเหลือเผื่อแผ่เมตตาโอบอ้อมอารี ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

๔. ศาสนาเดิมที่พวกเขานับถืออยู่ไม่ให้ทิศทางเดินในอนาคตที่ชัดเจนได้..แต่พระพุทธศาสนาบอกได้ว่า..จะเลือกเดินสู่จุดมุ่งหมายใด..เช่นจะตั้งตนในปัจจุบันให้ดีอย่างไร จะไปสวรรค์ หรือจะไปนิพพานหรือจะไปสู่ภพภูมิแห่งเดรัจฉานหรือสู่ทุคติอบายภูมิอย่างไร ก็อยู่ที่บุคคลจะเลือกปฏิบัติเอง..กำหนดอนาคตได้จากปัจจุบันด้วยตนเองไม่ต้องรอคำตัดสินจากพระผู้เป็นเจ้า

๕. ในท่ามกลางลัทธิต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันเช่น ลัทธิการก่อการร้าย ลัทธิแบ่งแยกดินแดน ที่ใช้อาวุธ ก่อสงคราม ต่าง ๆ ทั่วโลกนี้..พวกเขามองไม่ออกว่า จะหาสันติได้อย่างไร..ชีวิตมนุษย์บนโลกใบนี้เริ่มไม่ปลอดภัยขึ้นทุกวัน ๆ สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเสาะแสวงหาศาสนาที่เน้นคำสอนนำปฏิบัติเพื่อสันติอย่างแท้จริง..นั่นคือพระพุทธศาสนา อันเป็นความหวังสุดท้ายของพวกเขาเหล่านี้นั่นเอง



คำสดุดีที่นักคิดนักเขียน นักปราชญ์ชาวตะวันตก กล่าวถึงพุทธศาสนา
อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า
“ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความ จริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”
แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”
เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”
เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า
“ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็นมา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”
อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลก



เคยได้มา”
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า
“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบ- การณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระ พุทธศาสนา”
อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า
“ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”
เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า
“ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”




Cr.https://koidoo.com/2018/08/25/ฝรั่งหันมาสนใจศึกษา-พุท/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...