วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมทางปัญญาในยุคดิจิทัล4ฐานปฎิรูปการศึกษาไทย






สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาผนึกกำลังกับเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจัดขึ้น เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการปฎิรูปการศึกษาในมิติต่างๆ และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาให้กับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ และระดับผู้บริหาร ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2561 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการฯ งานนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมวิชาการที่หลากหลาย การเสวนาในหัวข้อต่างๆ การนำเสนอผลงานวิชาการ หนึ่งในนั้นมีการอภิปรายเรื่อง “นวัตกรรมทางปัญญาในยุคดิจิทัล” โดย “กลุ่มวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางปัญญา ม.ขอนแก่น”

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ กล่าวว่า 
นวัตกรรมทางปัญญายุคดิจิทัล
ทักษะเสาะแสวงหาความรู้ 
ทักษะวิเคราะห์เปรียบเทียบอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ทฤษฎีสร้างสรรค์ หรือทฤษฎีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
ยุคดิจิทัล ห้องเรียนเป็น Smart Class Room 
ผู้ที่มาได้รับประสบการณ์ตรงผ่าน 4 ฐานการเรียนรู้ ฐานแรก คือ “Web-Based Learning Multimedia” จะเป็นนวัตกรรมที่ใช้มัลติมีเดีย เน้นการประมวลสารสนเทศ การคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ โดยสามารถใช้ได้ทั้งผู้เรียนและครู 
“ฐานการเรียนรู้ที่สอง “Augmented Reality” หรือเทคโนโลยีเสมือนจริง เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กในปัจจุบันหากมีอะไรที่สามารถใช้งานหรือเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือจะโดนใจ ดังนั้น หากให้เขาส่องใบไม้จริงซึ่งได้สร้างบทเรียนวิธีการ Augmented Reality ไว้ ก็จะได้เห็นกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งท้าทายกว่าการได้นั่งเรียนอยู่ในชั้นเรียนทั่วไป หรือแม้แต่สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่สามารถทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ แต่หากใช้โทรศัพท์มือถือส่องเข้าไปแล้วเห็นวิดีโอเห็นซีเนริโอของการสังเคราะห์แสงหรืออะไรต่างๆ เด็กจะชอบและสนใจเรียน 
มาถึงฐานการเรียนรู้ที่สาม “Application Game” หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ม.ขอนแก่น บอกว่า มาจากการที่เด็กชอบเล่นเกมและแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยหลังจากที่กลุ่มได้วิจัยและแปลงการวิจัยที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาเหล่านี้มาใส่ในแอพพลิเคชั่น เมื่อเปิดดูในโทรศัพท์ก็สามารถเรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชั่นซึ่งน่าสนใจกว่าการที่จะไปนั่งฟังเพียงอย่างเดียว เป็นการส่งเสริมปัญญาจริง ทำให้เกิดกระบวนการทางปัญญา โดยใส่หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดหรือกระบวนการทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณหรือการคิดสร้างสรรค์ลงไปด้วย
ฐานการเรียนที่สี่ “Neuroscience” จากที่กล่าวถึงการออกแบบโดย Pedagogy ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น แสดงให้เห็นว่าเป็นวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ให้เห็นคลื่นไฟฟ้าสมองที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ Pedagogy ออกแบบแสดงให้เห็นว่าเวลาที่กำลังทำภารกิจส่งเสริมนั้น คลื่นสมองอยู่ในเรนจ์ความคิดสร้างสรรค์”
หากจะปฏิรูปการเรียนรู้ ถ้าพูดอย่างเดียวจะไม่ชัดเจน แต่ถ้าได้ลงมือทำให้เห็นเป็นนวัตกรรม หรือเป็นสิ่งที่ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมที่ได้ลงมือเรียนผ่านกระบวนการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น,(กลุ่มวิจัยนวัตกรรม มข. ชี้ “นวัตกรรมทางปัญญาในยุคดิจิทัล” อีกแนวทางขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาของประเทศ, 
https://www.matichon.co.th/education/news_1137584,วันที่ 20 ก.ย.2561) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...