วันที่ 19 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phuan Pennapa ได้โพสต์แบ่งปันเรื่องราว ว่าตนสอนการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ให้หลาน แต่ครูตรวจให้หลานผิดหมด ทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กรู้สึกงง เพราะมั่นใจว่าสอนหลานถูก จึงได้แบ่งปันภาพโจทย์เลขที่หลานได้ทำ พร้อมถามชาวเน็ตว่าคิดอย่างไรบ้างกับคำตอบนั้น
ต่อมาผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้โพสต์ข้อความอีกครั้ง โดยระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า เกิดจากในช่วงเย็นก่อนกลับบ้าน คุณครูตรวจการบ้านเด็ก 30 เล่ม ด้วยความเร่งรีบและไม่ทันระมัดระวัง คุณครูคิดคำตอบเป็นเรื่องการลบ ครูเลยตรวจคำตอบเป็นการลบ ครูได้ชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบแล้วและยอมรับความผิดพลาดในครั้งนี้ และทางผู้ปกครองต้องขออภัยและขอโทษคุณครู ที่ไม่ได้มาคุยกับครูก่อนในวันนั้นเลย และคราวต่อไปจะโพสต์อะไรจะรอบคอบให้มากกว่านี้ วันนี้เราทางผู้ปกครองและคุณครูปรับความเข้าใจกันดีแล้วและจบเรื่องทุกอย่างแล้ว ขณะที่ชาวโลกออนไลน์ระบุว่า ทุกคนมีสิทธิ์ผิดพลาดกันได้
รายงานข่าวแจ้งว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางโลกออนไลน์คงเป็นตัวชี้วัดได้ว่าประชากรของประเทศไทยมีทักษะตามลักษณะศตวรรษที่ 21 มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์แยกแยะ และชวนให้คิดว่าโจทย์คณิตศาสตร์ดังกล่าวถือว่าเป็นโจทย์ในกรอบและคำตอบก็เป็นคำตอบในกรอบ และควรจะหาคำตอบนอกกรอบหรือไม่ อย่างเช่นนักปรัชญนาม "ลุดวิก วิตเกนสไตน์" เขาไม่ยอมรับความจริงที่พิสูจน์ด้วยแนวคิดคณิตศาสตร์เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังอยู่ที่วิชาคณิตศาสตร์แต่เป็นอีกโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ครูโพสต์ภาพวาดของนักเรียนคนหนึ่งพร้อมข้อความว่า "กระดาษทดเลขวิชาคณิตศาสตร์ #ยันต์ฟันแทงไม่เข้าแต่โดนไม้เรียวก็เจ็บนะคะ" พร้อมกับมีความเห็นตามมาว่านักเรียนคนดังกล่าวชอบที่จะวาด และมีคนชมว่าเขามีความถนัดด้านศิลป์ นั้นแสดงว่าเด็กนักเรียนคนดังกล่าวคิดนอกกรอบใช่หรือไม่จึงทำให้สังคมได้ทราบความถนัดของเขาที่สะท้อนออกมา หากมีการส่งเสริมเขาอาจจะมีผลงานด้านศิลปะที่มาชื่อเสียงก็เป็นได้
...........
(หมายเหตุ :ที่มา http://www.banmuang.co.th/news/education/125656,และข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Kruza'r TugJung Teacher)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น