วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์คืออะไรอย่างไร



ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์คืออะไรอย่างไร  : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

ตามที่ได้เกริ่นนำว่าจะศึกษาเรื่อง "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานเสริมสร้างสันติภาพโลก" เผยแพร่ออกไป ต้องยอมรับว่าไม่โดน หากนำหลักนิเทศศาสตร์มาจับโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของการเขียนข่าวจะต้องพิจารณาหลักคุณค่าของข่าวที่จะสร้างความน่าสนใจต้องประกอบไปด้วย ความรวดเร็ว (Immediacy) ความใกล้ชิด (Proximity) ความเด่น (Prominence) ความผิดปกติ (Unusualness) ความสนใจตามปุถุชนวิสัย (Human interest) ความขัดแย้ง (Conflict) ความลึกลับหรือมีเงื่อนงำ (Mystery / Suspense) ผลกระทบ (Consequence) ความก้าวหน้า (Progress) และ เพศ (Sex)

แต่นักข่าวก็จะต้องยึดมั่นในหลักการ หน้าที่ (Duty)  มีความรับผิดชอบ (Accountability) ภาระผูกพัน (Obligation) ความจริงและความถูกต้อง (Truth and Accuracy) ความยุติธรรม (Fairness) ความสมดุล (Balance) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) วิชาชีพนิยม (Professionalism) โดยสื่อมวลชนจะต้องมีหน้าที่ในการเป็นสุนัขเฝ้ายาม (Watchdog) การเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) การเป็นผู้จัดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความน่าสนใจและมีคุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงไร สื่อมวลชนต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีที่มาอย่างชัดเจน เป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมานำเสนอ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่เป็นกระจก (Mirror) ที่สะท้อนข้อเท็จจริงให้คนในสังคมรับรู้ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง เพื่อตักเตือนและกระตุ้นให้คนในสังคมเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

แม้ว่านักข่าวจะมีหน้าที่หลักสำคัญ คือ การให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform) การให้การศึกษา (to educate) และการให้ความบันเทิง (to entertain) โดยวิชาชีพสื่อมวลชนถือเป็นวิชาชีพที่ได้รับสิทธิ เสรีภาพเป็นพิเศษจากทุกสังคมนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อกันว่า “เสรีภาพของสื่อ คือเสรีภาพของประชาชน”ก็ตามที

พร้อมกันนี้นักข่าวในยุคดิจิทัล(Digital Journalist) จะต้องมีทักษะที่หลากหลายทำข่าวหลายหรือแบบหรือแพลตฟอร์ม อย่างเช่นข่าวหนึ่งข่าวจะต้องทำเสนอได้หลายรูปแบบทั้งข่าวโทรทัศน์ คลิป หนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์แบบมัลติมีเดีย ลงเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แบบทั้ง Real time และ ให้ context กับเนื้อหาข่าวและต้องไม่ cloning content 


พร้อมกันนี้จะต้องมีสัญชาตญาณในการทำข่าว คือ  1) ทำให้เขารู้ว่าข่าวสนุกอย่าไปกลัววิชาข่าว 2) ทำงานที่มากกว่า limit ตัวเอง 3) เขาเรียนรู้จากกระบวนการทดลองให้ได้ข่าวมาด้วยตัวเอง พอเอาทฤษฎี แนวคิดเรื่องข่าวไปเขย่าให้เข้าใจอีกรอบตอนท้าย หลังไปทดลองทำมาแล้วเข้าถึงได้มากกว่า เข้าใจง่ายกว่า ประเด็นกับการเล่าเรื่องอาจไม่ perfect ใน assignment แบบนี้ข่าวจะไม่น่าเบื่อและไม่ต้องกลัวอีกต่อไป

จากประสบการณ์ก็เข้าใจดีว่าการพาดหัวข่าวหรือหัวเรื่องหากมีลักษณะเชิงบวกแล้วยากที่จะได้รับความสนใจ จะมีเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องจริงๆเท่านั้นเข้ามาอ่าน ส่วนใหญ่จะดูเฉพาะพากหัวข่าวเท่านั้นแล้วแสดงความคิดเห็นบ้างเล็กๆน้อยแล้วก็ผ่านไปโดยไม่ได้คลิกเข้าไปอ่านผ่านในเนื้อของข่าวหรือรายงานเลย

ในเบื้องต้นนี้คิดเอาไว้ว่าจะเขียนเป็นตอน เท่าที่คิดได้ตอนนี้คือแบ่งเป็น "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์"   หลังจากนั้นถึงนำไปบูรณาการกับหลักสันติภาพ 

ตอนแรกๆ ก็ไม่มั่นใจถึงความถูกต้องในการใช้คำว่าการใช้คำว่า "พุทธปัญญาประดิษฐ์" มีความถูกต้องมาน้อยเพียงใด แต่เมื่อนำคำว่า"ปรัชญา"มาจับจึงทำให้เกิดความอุ่นใจมากขึ้น ทำให้ไม่ผูกมัดทางคิดมากนัก ในชั้นนี้ก็คงจะกล่าวถึงการนิยามความหมายของคำไปก่อนโดยแบ่งออกเป็น "ปรัชญา" "พุทธ" "ปัญญา" และ"ปัญญาประดิษฐ์" ให้มีความเข้าใจก่อนว่ามีความหมายว่าอย่างไร 

การนิยามความหมายนี้ถือว่าสำคัญมากๆ ที่มีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะไม่ได้มีการตกลงกันแต่ละเรื่องที่ถกเถียงกันนี้จะนิยามความหมายให้ตรงกันอย่างไร ถึงไม่เกิดความขัดแย้ง

หลังจากนั้นก็จะมีการทบทวนวรรณกรรมในแต่ละคำมีความเป็นมาอย่างไรมีแนวคิดอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง หลักจากนั้นจึงนำมาประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคไทยแลนด์ 4.0 หลักจากนั้นถึงจะเชื่อมโยงกับหลักสันติภาพ

ในเบื้องต้นนี้จะกล่าวถึงคำว่า "ปรัชญา"  เสียก่อน ตามที่ได้ศึกษปรัชญาในระดับปริญญาตรีมาเข้าใจความหมายของคำคือความรักในความรู้หรือการแสวงหาความรู้ในเรื่องหลักๆคือความจริงคืออะไรซึ่งก็คืออภิปรัชญา จะแสวงหาความจริงด้วยวิธีการใดคือญาณวิทยา และคุณค่าหรือความงามของความจริงเป็นอย่างไรเป็นต้นคือสุนทริยศาสตร์ เมื่อได้ศึกษาเรื่องๆนั้นจนพบความจริงหรือสังเคราะห์เป็นความคิดของตัวเองได้อย่างสมเหตุสมผลก็จะหยุดเพียงเท่านั้น แล้วมอบความรู้หรือโมเดลนั้นให้คนอื่นนำไปปฏิบัติหรือทดลองใช้ต่อไป

ส่วนคำว่า "พุทธ" นั้น ในชั้นนี้มีความเข้าใจคือหลักความรู้ในหลักอริยสัจ 4 ประการ แล้วขยายความในบริบทต่างๆ และสามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ได้ หากมีการนิยามหลักธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ควรจะมีการเชื่อมโยงเปรียบเทียบกับแนวความคิดต่างๆอยู่เสมออย่างเป็นระบบ

การศึกษาปรัชญานั้นก็จะศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาแต่ยุคสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ก็เกิดความคิดว่าการศึกษาปรัชญานั้นจะนำมาประยุกต์ใช้ให้ทันท่วงทีหรือทันการณ์ได้อย่างไร หรือว่านักปรัชญามีหน้าที่ในการแสวงความรู้เท่านั้นโดยไม่สนใจสังคมเป็นปัจเจกบุคคลคือรักในความรู้ไปเรื่อยๆโดยไม่มีจุดจบ ซึ่งหลักปรัชญาก็ว่าไว้อย่างนั้นว่าเป็นปัญหาปลายเปิด ถ้าเป็นปัญหาปลายปิดแล้วจะไม่ใช่ปัญหาของปรัชญานี่คือความเข้าใจอย่างนี่

และวันนี้(28ก.ย.) ก็ได้มีการท้วงติงจากนักคิดที่ระบุว่าศาสนาพุทธไทยนั้นสามารถแก้ปัญหาทุกข์ได้เฉพาะส่วนบุคคลเท่านั้นแต่ในส่วนของปัญหาสังคมอย่างเช่นการทุจริตคอร์รัปชั่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นศาสนาพุทธไทยยังไม่มีบทบาทตรงนี้มากนัก แม้ว่าจะปัจจุบันนี้พระสงฆ์จะใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่หลักธรรมสู่สังคมก็มีความเห็นยังมีเนื้อหาเดิมๆซ้ำ

ดังนั้น จึงอาจมองได้ว่าทั้งวงการปรัชญาและศาสนาพุทธไทยมีลักษณะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ในชั้นนี้คงเริ่มต้นเพียงเท่านี้ก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ดร.นิยม เวชกามา" จับมือกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ปัญหาตั้งวัดในศรีสะเกษกว่า 300 แห่ง

วันที่ 24 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม  เวชยชัย ในฐานะอนุกรรมมา...