วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561
ใครพูดถึง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)ว่าอย่างไร
ใครพูดถึง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)ว่าอย่างไร : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
หลังจากที่เรียบค่ายมาพอสมควรแล้ว มาเข้าสู่เนื้อหาบ้าง ข้อมูลในหัวที่มีอยู่นั้นมีเพียงชิ้นงานชิ้นเดียวคือเกี่ยวกับคำว่า "พุทธปัญญาประดิษฐ์" ส่วนความหมายหรือเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่า "ปรัชญาพุทธประดิษฐ์" ว่าอย่างไรบ้างนั้นยอมรับว่าไม่มีเลย จึงได้ค้นการค้นข้อมูลที่ง่ายที่สุดก็คือที่กูเกิล เพื่อจะได้รู้ว่า ใครพูดว่าอย่างไรบ้าง เป็นการวิจัยแล้วขั้นตอนนี้เรียกว่า "การทบทวนวรรณกรรม" คือการข้อมูลผลงานผ่านที่มานั้นเป็นอย่างไรพอที่จะนำมาอ้างอิ้งได้บ้าง
เคยมีความคิดเกี่ยวกับ "การทบทวนวรรณกรรม" นั้นก็คือเป็นขั้นตอนในอดีตหรือเรียกว่าเป็นการระลึกถึงสิ่งที่ผ่านมาหรือเรียกว่าการระลึกชาติที่ผ่านมาได้ตรงกับอตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต ใน ญาณ 3 ก็คือ อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอนาคต ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนปัจจุบัน และช่วงที่เรียนวิชากระบวนการวิจัยใหม่ก็เกิดความคิดว่าการทำวิจัยก็คือการใช้ ญาณ 3 อตีตังสญาณนี้เป็นเนื้อหาที่อยู่ในบทที่1-2 บทที่ 3 คือ ปัจจุปปันญาณ อันได้แก่กรณีศึกษา ส่วนบทที่ 4 คือ อนาคตังสญาณ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นี่เริ่มจะเข้าสู่การทำวิจัยแล้ว ซึ่งการทำวิจัยนี้ส่วนใหญ่แล้วเราศึกษาวิธีการวิจัยจากศาสตร์ข้างนอกพระพุทธศาสนา ความจริงแล้วหลักธรรมในพระพุทธศาสนาก็มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับการวิจัยเช่นเดียวกันและเป็นหลักธรรมสำคัญที่มีส่วนให้เกิดความรู้หรือตรัสรู้นั่นก็คือ"ธรรมวิจัย" ในโพชฌงค์ 7 ควรจะมีการเขียนตำราระเบียบวิธีวิจัยตามหลักธรรมวิจัยหรือเรียกว่าระเบียบวิธีวิจัยเชิงพุทธ เพราะหากวิจารณ์ระเบียบวิธีวิจัยตามตำราทั่วไปก็คือตามหลักธรรมคืออริยสัจ 4 นั้นเอง
เมื่อได้ค้นข้อมูลโดยใช้คำค้นหาคือ "ปรัชญาพุทธประดิษฐ์(AI)" ได้ทำให้ทราบข้อมูลว่ามีคนที่กล่าวถึงไว้พอสมควร โดยคำว่า "ปรัชญาปัญญาประดิษฐ์(AI)" ได้พบว่าผู้ที่ใช้คำนี้คือปราบดา หยุ่น ลูกชายของสุทธิชัย หยุ่นโดยใช้เป็นชื่อรายการ ส่วนคำว่า "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์" ได้พบว่า ศ.ดร.สมภาร พรมทา ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จากคลิปที่บรรยายให้กับนิสิตหลักสูตรพุทธปรัชาเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 โดยใช้คำว่า "พุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์" โดยในคลิปได้ระบุว่าได้เคยเขียนบทความตามคำนี้ให้ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว หลักจากนั้นก็ได้อธิบายเปรียบเทียบระหว่างพุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์
ต่อมาผู้ที่เกี่ยวถึงปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) คือศาสตราจารย์อุทิศ ศิริวรรณ ซึ่งเป็นนักวิชารการอิสระด้านพระพุทธศาสนาได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ลงในเฟซบุ๊ก Uthit Siriwan เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2560 โดยมีข้อความที่ระบุว่า "พยายามค้นหา Data Science หา Machine Artificial ที่จะช่วยปริวรรตคัมภีร์บาลีออกมาเป็น "ภาษาร่วมสมัย" จาก "ภาษาตาย" เป็น "ภาษาเป็น" ผมจึงสนใจ "แนวโน้ม" และ "เทคโนโลยีทันสมัย" ที่ "เปลี่ยนโลก"นั่นคือ "ปัญญาประดิษฐ์" ก็เลยอยากนำ "สิ่งที่" ผมเรียนรู้และ "สนใจ" มาเล่าไว้"
พร้อมกันนี้ศาสตราจารย์อุทิศ ศิริวรรณ ได้กล่าวถึง "ปัญญาประดิษฐ์" ไว้ว่า หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลักแต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมองแม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์
แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอย หรือการปรับเส้นโค้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้ เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง Machine Intelligence เป็นประเด็นที่ผมสนใจ เพราะ "เครื่องจักร" เป็นปัจจัยที่ใช้ช่วย "ตัดสินใจ" ด้านการตลาด การจัดการ จริยศาสตร์ และจริยธรรม รวมถึง "การจัดการความรู้" ให้ทันสมัยและย่นระยะเวลา จากหลายสิบปี เหลือเพียงแค่ไม่กี่เดือน ผมเชื่อว่า ความรู้กับไฮเทค ไปด้วยกันได้หนังสือ "กลยุทธ์การเรียนดี" ที่ผมแต่งไว้สมัยเรียน ดร. ที่ฟลอริดา ยืนยันความข้อนี้ไว้ชัดเจน"
หลังจากนั้นศาสตราจารย์อุทิศได้กล่าวถึงเทคโนโลยี ดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์เป็นระยะในเฟซบุ๊ก และกระตุ้นให้คณะสงฆ์ให้ความสนใจเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอนธรรม
จากข้อมูลข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า มีผู้ที่กล่าวถึงหรือศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ 3 ศาสตร์นี้คือ ปรัชญา พุทธศาสตร์ และปัญญาประดิษฐ์ พอสมควร ซึ่งจะได้ลงในรายละเอียดต่อไป ช่วงที่รอตอนต่อไปนี้ก็ฟังความเห็นของ ศ.ดร.สมภาร พรมทา ก่อนแล้วกัน แต่พอจะจับความได้ก็คือหลักพุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์ไม่ขัดแย้งกันอย่างไรรอฟังดู
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น