วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

บทเรียน“ถ้ำหลวง”โอกาสยกระดับวงการสื่อไทย




ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2561 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน มีการจัด “โครงการตรวจสุขภาพให้สื่อมวลชน” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพ (For friends) แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และนักเรียนหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง(ปธพ.)รุ่นที่ 6 มี นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดโครงการ


นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และพลตรีวุฒิไชย อิศระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช/แพทย์ใหญ่กองทัพภาคที่ 3 พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ร่วมเป็นวิทยากร

นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า มีการจัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ หรือทีม MCATT คอยดูแลญาติ ดั้งนั้น ญาติต้องมีกลุ่ม Line ร่วมกับทีม MCATT อยู่ในกลุ่ม ประมาณ 50 คน ทำแบบกลุ่มไลน์ ขณะที่สื่อมวลชนเตรียมตัวรู้ตัวเองก่อน

พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวแนะนำสื่อมวลชนและองค์กรวิชาชีพสื่อว่า ถ้านักข่าวจะไปทำข่าวภัยพิบัติหรือตามสถานที่อย่างถ้ำหลวง ต้องมีความฟิต มียารักษาโรคประจำตัวติด หากมีอาการป่วยต้องสมุดสุขภาพประจำตัว เวลาลงพื้นที่ต้องทราบด้วยว่าจุดนั้นมีความเสี่ยงโรคอะไร คำแนะนำคือ ในปัจจุบันโลกโซเชียลมีความสะดวก สามารถโหลดผลการตรวจสุขภาพ หรือ ผลแล็ปที่หมอได้ตรวจสุขภาพให้ โหลดไว้ในอีเมลตัวเอง เพราะในนั้นจะมีข้อมูลโรคเก่าของเรา เราเคยไปตรวจอะไรไว้บ้าง ขอให้นำข้อมูลเก็บไว้ทีตัว เพื่อการเดินทางไปที่ไหนก็ตาม เพราะเคยเกิดกรณีที่มีคนไปเจ็บป่วยทีต่างประเทศ แทนที่หมอจะได้เห็นผลแล็ปที่นำติดตัวไป แต่หมอไม่มั่นใจจึงต้องสแกนตรวจใหม่ทั้งหมดเพื่อความชัวร์ จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก


พลตรีวุฒิไชย อิศระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในฐานะแพทย์ใหญ่กองทัพภาคที่ 3  เห็นว่า บอกได้เลยว่า 80% ของสื่อมวลชนไทยนำเสนอผิดทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ให้เด็กกิน วิธีการ/กระบวนการการนำเอาเด็กออกมา และสำหรับผมมองว่าการจัดการสื่อครั้งนี้มีระบบมากที่สุดครั้งหนึ่งในกระบวนการจัดการสื่อ แม้ว่าทำให้สื่อมวลชนลำบากมากแต่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือ สื่อมวลชนต้องใช้หลักรู้เขารู้เรา เพราะยืนยันมาเสมอว่า การนำเสนอกระบวนการสำคัญว่าผลลัพธ์ หากรู้กระบวนการ ก็จะรู้ผลลัพธ์ของมันแน่นอน สื่อมวลชนอย่าพยายามให้ความสำคัญกับข่าวแรกที่ได้ แล้วกระโจนเข้าไปหาข่าวนั้นตั้งแต่แรก หากเรากระโจนตามข่าวตั้งแต่แรก 

สื่อมวลชนต้องใช้หลักรู้เขารู้เรา เพราะยืนยันมาเสมอว่า การนำเสนอกระบวนการสำคัญว่าผลลัพธ์ หากรู้กระบวนการ ก็จะรู้ผลลัพธ์ของมันแน่นอน สื่อมวลชนอย่าพยายามให้ความสำคัญกับข่าวแรกที่ได้ แล้วกระโจนเข้าไปหาข่าวนั้นตั้งแต่แรก หากเรากระโจนตามข่าวตั้งแต่แรกเราจะพลาดในมุมมองที่ควรจะนำเสนอในแต่ละประเด็น ขอให้เข้าใจการนำเสนอข่าวว่า บางครั้งกระทบภาพลักษณ์หรือไม่อย่างไร ซึ่งเราเชื่อว่าอยู่ในวิจารณญาณว่าท่านจะนำเสนอในรูปแบบใด

เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “หมายด่วน” ส่งผลให้ขาดการเตรียมตัวที่ดี เสี่ยงถูก  “เหมารวม” เครื่องมือฮิต เฟซบุ๊กไลฟ์  ดังนั้นจึงควรแบ่งกลุ่มถอดบทเรียนหลายๆ วง เพื่อให้ได้คู่มือหรือตำราสักเล่มให้กับวิชาชีพของเราที่จะนำไปใช้ได้ในอนาคต

วงแรกเป็นการเชิญทีมข่าวภาคสนามมาเล่าให้ฟังถึงเบื้องหลังการทำงาน เวทีที่สอง เวทีระดับหัวหน้าข่าว/บรรณาธิการ ที่มีอำนาจในการสั่งการ  เวทีที่สาม เป็นเวทีของนักวิชาการมาช่วยกันให้คำแนะนำและนำไปสู่ตำราการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่สนามข่าว และอาจจะมีคำแนะนำให้กับกองบรรณาธิการ

เวทีที่สี่ อาจจะเป็นเวทีใหญ่ที่สุด คือ นำมุมมองจากทุกเวที มาเปิดเวทีที่ระดมหน่วยงานร่วมกับองค์กรสื่อ อย่างเช่น องค์กรวิชาชีพสื่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ หน่วยงานความมั่นคง กสทช. กู้ภัย เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน ในการทำข่าวในสถานการณ์ภัยพิบัติ และอาจจะได้หลักสูตรการอบรมร่วมกันระหว่างนักข่าวกับหน่วยงานก็เป็นไปได้

หากได้อย่างน้อย 4 เวทีนี้ เชื่อว่าวิกฤติที่สังคมวิจารณ์การทำงานของสื่อในครั้งนี้ จะกลายเป็นโอกาสปฏิรูปที่จะช่วยยกระดับวิชาชีพสื่อมวลชนไทย ในการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤติและภัยพิบัติ ได้เป็นอย่างดี(http://www.presscouncil.or.th/จับจ้องส่องจริยธรรมสื่/งานวิจัย-บทความวิชาการ-ก/cave4067/

ทีมแพทย์ถ้ำหลวง แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ หมูป่า-ญาติ-จนท.-สื่อ https://www.isranews.org/isranews/68371-media-68371.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนชะลอการขายยางสร้างเสถียรภาพราคาและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน

โครงการชะลอการขายยางพารามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านราคายางพาราและสนับสนุนสภาพคล่องทางการเงินให้แก่เกษตรกร โครงการดังกล่าวแสดงให...