วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561
'อธิการบดีมจร'มอบทุนนศ.พยาบาล หวังให้บริการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ
วันที่ 27 ก.ย.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า เนื่องในวันสันติภาพสากลเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมาได้นิมนต์พระราชปริยัติกวี อธิการบดี มจร มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 2 ทุน โดยทุนดังกล่าวเกิดจากการที่ได้รับนิมนต์ให้ไปบรรยายประจำวิชา "การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์" มากว่า 7 ปี และนำปัจจัยที่เกิดจากการบรรยายและสนับสนุนเพิ่มเติมเป็นทุนต่อเนื่อง
"ย้ำกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่า แม้เธอจะได้ชื่อว่า #เป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เธอต้องเป็น #พยาบาลวิชาชีวิตด้วย อาชีพของพยาบาลจึงเป็นมากกว่าอาชีพ เพราะต้องเอาชีวิตตัวเองไปแลกกับชีวิตคนอื่น เอาชีวิตของตัวเองไปแลกกับความสุขและ ความทุกข์ ความเป็นและความตายของคนอื่น ถ้าอยากจะทราบว่า อาชีพนี้ สำคัญและยิ่งใหญ่ขนาดไหน?? โปรดสัมผัสได้จาก #พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุผู้เป็นไข้" พระมหาหรรษา ระบุ
พร้อมกันนี้พระมหาหรรษาระบุถึงเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกว่า ขออนุโมทนาต่อผู้อำนวยการ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ที่ออกมาขอโทษผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และสังคมไทย ที่พยาบาลคนหนึ่งขาดสติ จนเป็นเหตุให้แสดงออกต่อผู้ป่วยด้วยท่าทีที่รุนแรง ช่วงเวลาดังกล่าวสะท้อนถึงการขาดจิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
กระบวนการสำนึกรับผิดชอบ อันหมายถึง เมื่อผิดพลาดขาดสติไปแล้ว พลันได้สติกลับคืนมา จึงเกิดสภาวะของการสำนึก และระลึกรู้ต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น สิ่งต่อไปที่จะเกิดตามมา คือ “การรับผิดชอบ” ต่อความผิดพลาดดังกล่าว ฉะนั้น จึงเป็นการคิดถูกต้อง ทำถูกต้อง และพูดถูกต้องโดยการขอโทษจากใจจริง ถัดจากนี้ไปต้องถามต่อไปว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอจะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในประเด็นใดอีก ทั้งทางกฏหมาย ทางศีลธรรม ทางจิตวิทยา ทางสังคม และชดเชยทางกายภาพด้านอื่นๆ จึงจะทำให้เกิดการเยียวยาที่เหมาะสม
คำถามตามมาคือ หากมองย้อนกลับมาที่ตัวพยาบาลซึ่งเป็นผู้กระทำนั้น ในฐานะที่เธออุทิศชีวิตช่วยดูแลผู้ป่วยมาอย่างยาวนาน แต่เพราะขาดสติด้วยอาศัยตัวแปรที่เข้าไปกระตุ้นจนทำให้เธอเกิดอาการป่วยทางจิตเช่นนั้น ใครเล่าจะเข้าไปช่วยดูแล อาการป่วยที่เกิดจากความเครียด และความกดดันจากการทำหน้าที่ซึ่งสะสมและบ่มเพาะมาอย่างต่อเนื่องคืนแล้วคืนเล่า วันแล้ววันเล่า จนส่งผลให้เธอผลักพลังดังกล่าวไปสู่บุคคลที่เรียกว่าผู้ป่วย
สรุปแล้ว ในสถานการณ์นี้ เราจึงเห็นผู้ป่วยอยู่สองคน ทั้งผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียง และผู้ป่วยที่เดินอยู่รอบๆ เตียง เราคาดหวังให้เธอสนใจ และใส่ใจผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียง เฝ้าถนุถนอม ดูแลเอาใจใส่ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ดุจดังไนติงเกล คำถามมีว่า แล้วจะมีใครใส่ใจและสนใจเธอบ้าง เธอผู้คอยเช็ดอุจจาระปัสสาวะ เธอผู้ทิ้งลูกน้อยให้นอนอยู่ที่บ้าน แล้วมาสนใจลูกของคนอื่นในห้องคลอด
กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องกลับมาคิดทบทวน “วิถีชีวิตของเธอเหล่านั้นที่มีลมหายใจเพื่อคนอื่น” เราจะถนุถนอมเธออย่างไร ดูแลและใส่ใจเธออย่างไร ให้เธอมีสุขภาวะทางกายและใจที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งการรับใช้เพื่อนมนุษย์ สังคมก็ต้องเข้าใจและเห็นใจการทำหน้าที่ของเธอ การก่นด่า เหยียบย่ำซ้ำเติม ทั้งที่เธอและผู้เกี่ยวข้องได้ออกมาขอโทษ จึงมิอาจทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นมาได้
พระมหาหรรษา ระบุด้วยว่า มาเถิด มาร่วมกันให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยทั้งสองท่านกันเถอะ ผู้ป่วยบนเตียงก็เอาบุญมาให้ ผู้ป่วยข้างเตียงก็น้อมรับบุญด้วยการตั้งใจทำหน้าที่ตามแนวของพระโพธิสัตว์ต่อไป ดังเพลงมาร์ซของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพที่ว่า “#อันความกรุณาปราณี #จะมีใครบังคับก็หาไม่_หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ_จากฝากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน…”
ผู้่สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันนี้มีพยาบาลวิชาชีพได้เข้ามาศึกษาหลักสูตรพระพุทธศาสนาและหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ มจร และเมื่อผู้ำสำเร็จการศึกษาแล้วได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปบูรณาการกับวิชาชีพให้บริการเพื่อนมนุษย์ให้คลายทุกข์ พร้อมกันยังทำงานร่วมกับพระสงฆ์ในนามคลิลานธรรมและมีโครงการทำร่วมกับทางโรงพยาบาลต่างๆ ด้วย
..............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso,Orachorn Kraichakr โพสต์เพจ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เสาร์ อาทิตย์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น