วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561
รัฐบาลสิงคโปร์เริ่ม'AI Singapore'Thailand4.0ไม่พอแล้ว
วันที่ 25 ก.ย.2561 เพจ Digital Age Magazine ได้โพสต์ข้อความที่อ้างอิง http://www.digitalagemag.com/ai-singapore-course/ ที่ระบุว่า รัฐบาลสิงคโปร์มองอนาคตระยะยาว – เริ่มโครงการ “AI Singapore” ให้ความรู้ประชาชนในการใช้ AI ในประเทศอย่างเต็มที่ นั่นคือรัฐบาลได้จัดอบรมนักพัฒนาในในราคาถูกๆ ส่วน คนทั่วๆไปที่ไม่ใช่นักพัฒนานั้นอบรมการใช้ AI ในการทำงานได้ฟรีๆ
นั่นคือโครงการนี้แบ่งเป็น 2 หลักสูตรคือ …
“AI4E” สัมมนา 3 ชั่วโมงฟรีแก่ประชาชนทั่วไป แนะนำให้รู้จักปัญญาประดิษฐ์ และแนวทางนำมาใช้งานในการทำงาน
“AI4I” คอร์ส 3 เดือน เรียนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ด้วยราคา 500 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือประมาณหนึ่งหมื่นสองพันบาทเท่านั้น โดยจบแล้วได้ประกาศนียบัตรด้วย
…และนอกจากคอร์สทั้งหลายนี้แล้ว รัฐยังจะส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรมต่างๆต่อไปด้วย
สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้รายงานเรื่อง "ไทยด้อยกว่าสิงคโปร์ตรงไหน!การศึกษาสร้างชาติ"ความว่า
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเสนอบทความเรื่อง "ถอดความสำเร็จ สิงคโปร์ สร้างการศึกษาที่ดีเพื่อสร้างชาติ" ทางเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ ที่ได้นำเสนอจากการบรรยายของ ดร.ลิม ไล เฉิน, ศ.ดร.โล อี ลิง ที่ศึกษาเพราะหตุใดผลสอบ PISA ประจำปี 2015 ปรากฏว่าประเทศสิงคโปร์ได้คะแนนสูงสุดของทั้ง 3 วิชาที่ทำการประเมิน ได้แก่ การอ่าน, วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อะไรเป็นปัจจัยของความสำเร็จ และสร้างให้สิงคโปร์เป็นชาติที่มีความเข้มแข็งทางการศึกษามาอย่างยาวนาน
โดยพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้ถอดความขอสรุปประเด็นสำคัญของการจัดการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ในมุมมองของข้าพเจ้า โดยการศึกษาคำนึงถึง 1 ประเด็น คือ
1) " ความเป็นพหุวัฒนธรรม " โดยการให้เกียรติเคารพทุกความเชื่อในสิงคโปร์ มีการจัดการศึกษาที่คำนึงในด้านของความเป็นพหุวัฒนธรรม เพราะสิงคโปร์มีความหลากหลาย ถ้าทุกประเทศคำนึงเรื่องนี้ จะสามารถทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อย่าลืมว่าความเท่าเทียมกันถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ถ้ามีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้สิทธิมากกว่าก็จะสร้างความเกลียดชังตามมาได้ในระบบของการศึกษา
2) " ความเสมอภาค " ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษาของสิงคโปร์ ซึ่งไม่มีใครได้สิทธิพิเศษในด้านศึกษา แต่ทุกคนมีสิทธิเสมอภาค บางประเทศเราจะเห็นว่าคนรวยมีสิทธิการเข้าถึงการศึกษามากกว่าคนรากหญ้า ทำให้เกิดการเปรียบเทียบหรือดูถูกกัน ถือว่าเป็นจุดอ่อน สิงคโปร์จึงมองว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาแต่คุณต้องพัฒนาตนเองใช้ความสามารถของตนเอง มากกว่าใช้เส้นสาย จึงทำให้มีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง
3) " การพัฒนาครูมีคุณภาพ " สิงคโปร์มองว่า การที่เด็กจะมีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพ จึงมีการยกย่องครูอย่างต่อเนื่อง จากความสามารถของครู ครูจึงต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คำถามคือ มีการพัฒนาครูอย่างไรถึงสามารถพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เราควรหาคำตอบนี้ผ่านการวิจัยในการพัฒนาต้นแบบทางการศึกษา
4) " นโยบายการศึกษามีคุณภาพ " การจะจัดนโยบายด้านศึกษาต้องผ่านกระบวนการโยนิโสมนสิการ มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบกว่าจะประกาศนโยบายใดๆ เกี่ยวกับการศึกษา ต้องสื่อสารกับบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ว่ามีความเห็นอย่างไร กว่าจะประกาศเป็นนโยบายด้านการศึกษา แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยทางศึกษา มิใช่สั่งการนโยบายเพียงอย่างเดียว หรือ เผด็จการทางศึกษา ประเด็นนี้ถือว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
5) " ส่งเสริมความสามารถมากกว่าใช้เส้น " ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากในส่วนของการเน้นความสามารถมากกว่าใช้เส้นสาย เพราะถ้าใช้เส้นสายจะนำไปสู่การได้คนไม่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ เพราะแม้แต่เข้าสู่การศึกษาเบื้องต้นก็เริ่มคอรัปชั่นแล้ว พอโตไปทำงานมีหรือจะไม่คอรัปชั่นในการทำงาน การที่สิงคโปร์เน้นความสามารถทำให้ทุกคนต้องพัฒนาตนเอง จึงทำให้คนสิงคโปร์มีคุณภาพ แต่ถ้ามัวแต่ใช้เส้นสายเราจะได้คนไร้คุณภาพมาทำงานประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายในระบบการศึกษา
ขณะที่การศึกษาไทยก็เป็นที่ทราบกันดีว่าอยู่อันดับ 8 ของอาเซียน และเมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดนำเสนอข้อมูลจากการลงพื้นที่สังเคราะห์เอกสารงานวิจัย ทั้งสิ้น 16 จังหวัด ภายใต้ “โครงการการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากล่างสู่บน” ของ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการและทีมวิจัย โดยมีผู้ประสานงาน (Node) และนักวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมรับฟัง และให้ความเห็นการนำเสนอข้อมูล “การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุมชน” วันที่ 18-19 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ได้สรุปว่า จากเก็บข้อมูลภาคสนามทุกจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ปัจจัยที่ ร.ร.ที่อยู่รอด มีคุณลักษณะ3 ประการ คือ เปลี่ยนมุมมองจากการปฏิบัติตามนโยบายเป็นจากล่างสู่บน การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของเครือข่าย สร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะการเรียนรู้ผ่านวิถีเกษตร (ไส้เดือนดิน) และการันตีว่า การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมและพัฒนาคน 4.0
จากการถอดความสำเร็จของประเทศสิงคโปร์และเวทีการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว.นั้น ทำให้เกิดความคิดว่า ประเทศสิงคโปรค์มีอะไรที่ประเทศไทยไม่มี จึงได้ถอดความเชิงพุูทธบูรณาการอีกรอบตามหลักปัญญา 3 ประการคือ
๑) สุตมยปัญญา - การอ่าน ความสามารถทางภาษา สัมมวาจา -การสื่อสาร อัตตาหิ - พึ่งตัวเอง
๒) จินตมยปัญญา - คณิตศาสตร์ คิดรอบครอบด้วยหลักโยนิโสมนสิการ
๓) ภาวนามยปัญญา- วิทยาศาสตร์ พหุวัฒนธรรมด้วยฐานขันติธรรม การมีส่วนร่วมปรึกษาหารือด้วยหลักสังฆะอย่างเชื่อมโยงกันหรือโครงข่ายด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท โครงข่าย มีความเทียงธรรมด้วยอวิโรธนะในทศพิธราชธรรม และหลักปฏิบัติการที่ละเอียดด้วยโอวาทปาฏิโมกข์
พร้อมกันนี้ประเทศไทยมีศาสตร์พระราชาตามที่พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้สรุปเข้าใจง่ายคือ ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้จักแบ่ง แบ่งต้องเป็นธรรม
แล้วเป็นเพราะอะไรการพัฒนาระหว่างประเทศสิงคโปร์และกับประเทศไทยถึงห่างกันมากนัก และโจทย์นี้เป็นโจทย์ต้นๆที่ต้องแก้หรือว่าเอาไว้ท้ายๆ
ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/education/94595
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขับเคลื่อนชะลอการขายยางสร้างเสถียรภาพราคาและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน
โครงการชะลอการขายยางพารามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านราคายางพาราและสนับสนุนสภาพคล่องทางการเงินให้แก่เกษตรกร โครงการดังกล่าวแสดงให...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น