วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
หลักการวินิจฉัยคำสอนว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่?
วันที่ 28 ก.ย.2561 เพจ พุทธธรรม ธรรมะ เพื่อทางพ้นทุกข์ ได้โพสต์ข้อความว่า หลักการวินิจฉัยคำสอนว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่?
"หลักการสำหรับใช้วินิจฉัยคำสอน และการประพฤติปฏิบัติทั่วไป ว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่ ซึ่งเรียกว่า "หลักตัดสินธรรมวินัย"
หลักตัดสินพระธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ "พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี" ครั้งหนึ่ง และแก่ "พระอุบาลีเถระ" ครั้งหนึ่ง
ที่ทรงตรัสแก่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มี ๘ ข้อ ใจความว่า
"ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
๑.สราคะ ( ความติดใคร่ย้อมใจ )
๒.สังโยค ( ความผูกรัดมัดตัวอยู่ในวังวนแห่งทุกข์ )
๓.อาจยะ ( ความพอกพูนกิเลส )
๔.มหิจฉตา ( ความมักมากอยากใหญ่ )
๕.อสันตุฏฐี ( ความไม่รู้จักพอ )
๖.สังคณิกา ( ความมั่วสุมคลุกคลี )
๗.โกสัชชะ ( ความเกียจคร้าน )
๘.ทุพภรตา ( ความเป็นคนเลี้ยงยาก )
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุสาสน์(คำสอนของพระศาสดา)
ส่วนธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อ...
๑.วิราคะ ( ความคลายออกเป็นอิสระ )
๒.วิสังโยค ( ความเปลื้องตนจากวังวนแห่งทุกข์ )
๓.อปจยะ ( ความไม่พอกพูนกิเลส )
๔.อัปปิจฉตา ( ความมักน้อย ไม่มากอยากใหญ่ )
๕.สันตุฏฐี ( ความสันโดษ )
๖.ปวิเวก ( ความสงัด )
๗.วิริยารัมภะ ( ความเร่งระดมความเพียร )
๘.สุรภตา ( ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย )
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์"
( ที่มา : วินย. ๗/๕๒๓/๓๓๑ )
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ "กรณีธรรมกาย"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"โคกหนองนาโมเดล" จากจุดเริ่มต้นชุมชนแห่งความเอื้ออาทร ผ่านหลักธรรมแห่งการให้
โครงการ "โคกหนองนาโมเดล" เป็นตัวอย่างที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนผ่านหลักธรรมและแนวคิดของการให้ ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างความยั่งยืนในชุม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น