วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561
ทำไมถึงต้องห้ามพระเณรฉันข้าวเย็น ?
วันที่ 29 ก.ย.2561 เฟซบุ๊ก Naga King ได้โพสต์ข้อความว่า ทำไมถึงต้องห้ามพระเณรฉันข้าวเย็น ?
@ หลายคนที่เคยบวชก็คงทราบกันดีว่าโดยศีลวัตรของพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธองค์ทรง "ห้ามไม่ให้พระสาวกฉันข้างในเวลาวิกาล" ซึ่งคำว่าวิกาลนี้หมายถึงเวลาที่ล่วงเลยจากเที่ยงวันไปแล้วจนถึงเช้าวันใหม่
เราเรียกช่วงเวลานั้นว่า "เวลาวิกาล" การที่พระเณรฉันข้าวในเวลาวิกาลนี้ทรงบัญญัติว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ (วิ.ม.(ไทย)๒/๒๔๘/๔๐๕) ซึ่งอาบัติปาจิตตีย์นี้จัดว่าเป็น "ลหุกาบัติ" หรืออาบัติเบาเป็นโทษที่สามารถที่จะปลงอาบัติได้
คำว่าปลงอาบัติ หมายถึง การสารภาพความผิดและสัญญาต่อสงฆ์หรือบุคคลว่า "ผมจะไม่ทำผิดอีกแล้วค๊าบ" การสารภาพนี้เป็นการแสดงเจตจำนงว่าจะไม่ทำความผิดแบบนี้อีกครั้งหนึ่งที่ทำมาครั้งแรกถือว่าเกิดจากความผิดพลาดที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การสารภาพความผิดเช่นนี้ถือว่าเป็นการ "ปลงอาบัติ"อาบัติที่ทำมาก็เป็นอันยกไปหรือตกไป
@ มูลเหตุของอาบัติห้ามฉันข้าวเย็น ?
สำหรับอาบัติที่เกี่ยวกับการ "ฉันข้าวในยามวิกาล" นี้อยู่ในหมวดโภชนวรรค ของอาบัติปาจิตตีย์ โดยมีมูลเหตุมาจาก ภิกษุฉัพพัคคีย์ หรือภิกษุกลุ่ม ๖ รูป นำโดยหัวหน้า
คือ พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ โดยพระกลุ่ม ๖ วายร้ายนี้เป็นพระหัวดื้อชอบทำการละเมิดสิกขาบทอยู่เนืองๆ เช่น การประทุษร้ายตระกูล การพาพรรคพวกฉันข้าวเย็นเป็นอาจิณ
อยู่มาวันหนึ่งมีพระผู้ทรงศีลไปพบท่านที่วัดกีฎาคีรี แล้วเห็นท่านและคณะฉันข้าวเย็นพระรูปนั้นจึงกล่าวกะพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะว่า
“ท่านพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ถ้าพระสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี จะมีสุขภาพดี มีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญมิใช่หรือ ขอท่านทั้งหลายอย่าฉันอาหารเย็นเลยขอรับ”
ฝ่ายพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะกลับตอบแบบสวนทันทีว่า
"ใครพูดเช่นนั้นล่ะท่าน พวกผมฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา วิกาลกลางวัน ผลปรากฎว่ามีสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พวกผมจะไม่เชื่อที่คนอื่นว่า แต่จะทำตามที่พวกผมทำแล้วได้ผลดีดีกว่า เพราะฉะนัน้น พวกผมจะฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวันตามปกตินั่นแหละ"(ม.ม.(ไทย)๑๓/๑๗๕/..)
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระภิกษุผู้มีศีลรูปนั้นจึงนำเอาความจริงดังกล่าวไปกราบทูลแด่พระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงได้เรียกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะมาพบเพื่อสอบถามตามความเป็นจริง และที่สุดก็พบว่าพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะทำความผิดจริงจึงได้ตำหนิว่า
"โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงว่า "ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์"
จากนั้นทรงแสดงข้อยกเว้นที่พระสามารถฉันอาหารในเวลาวิกาลได้เป็นกรณีพิเศษไม่อาบัติก็คือ ๑. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
@ บทวิเคราะห์ "ฉันข้าวเย็น" ?
ก่อนจบจะขอวิเคราะห์เรื่องฉันข้าวเย็นนี้ให้อ่านกันว่าที่ทรงห้ามเรื่องการฉันข้าวเย็นนี้ก็เพราะ
(๑) มีธรรมเนียมของนักบวชอินเดียโบราณแล้วว่านักบวชต้องไม่ฉันข้าวเย็น ยกเว้นมีเหตุจำเป็นเท่านั้น
(๒) ตามหลักการปฏิบัติธรรมผู้ที่ได้อนาคามีเป็นต้นไปจะมีภัตเพียงหนเดียวโดยอัตโนมัติ แสดงว่าตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปก็จะต้องมีการงดข้าวเย็นกันแล้วโดยเฉพาะในวันพระที่ท่านเหล่านั้นต้องถือศีลอุโบสถอยู่แล้ว
(๓) ในแง่ของสังคม พระสงฆ์สามเณรผู้ถือศีลก็ควรงดข้าวเย็นเนื่องจากว่าจะได้ไม่เป็นภาระยุ่งยากเหมือนชาวบ้านในการหุงหาอาหารและไม่ทำตัวเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป
(๔) โดยหลักฐานการแพทย์ท่านระบุตรงกับที่ทรงบัญญัติก็คือ การงดข้าวเย็นทำให้สุขภาพดี ระบบย่อยดี ปลอดโปร่งกระปรี้กระเปร่า เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมตามสูตร กินน้อย นอนนอน ลงมือทำให้มาก
เพราะเหตุที่ว่ามาทั้งหมดนี้แหละครับพระท่านจึงไม่ฉันข้าวเย็น
ขอบคุณครับ
Naga King
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น