การสื่อสารที่ก่อให้เกิดสันติภาพนั้น มีพื้นฐานมาจาก “การสื่อสารโดยไร้ความรุนแรง”(Nonviolent Communication หรือ NVC) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ดร. มาร์แชล โรเซนเบิร์ก (Marshall Rosenberg) โดยเขาอธิบายพื้นฐานหลักของ “การสื่อสารอย่างสันติ” หรือ “ภาษาแห่งความกรุณา” ว่ามนุษย์ทุกคนมีความกรุณาเป็นพื้นฐาน (ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์, ๒๕๕๔: หน้า ๒๕) สอดคล้องกับการสื่อสารที่เปี่ยมด้วย“เมตตาจิต” หรือ ความรู้สึกที่มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ และการสื่อสารที่เปี่ยมด้วยความ “กรุณา” หรือ ความปรารถนาที่อยากทำให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นการสื่อสารที่เปี่ยมด้วย “สัมมาทิฏฐิ” และ “สัมมาสังกัปปะ” ตามหลักมรรคมีองค์ ๘ และเมื่อใดที่ผู้ส่งสารเกิดความสุขในการสื่อสารนั้นออกไป หากจะสื่อสารที่เป็นตัวการบ่อนทำลายภาวะความสุขของบุคคลอื่น หรือ เป็นการทำลายความสมานฉันท์ของสังคมส่วนรวม ผู้ส่งสารก็น้อมจิตโดยใช้หลัก “โยนิโสมนสิการ” พิจารณาไตร่ตรองถึงข้อเสียหายต่างๆ ในการส่งสาร และใช้หลัก “อุเบกขาธรรม” คือ เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้น โดยสมควรแก่เหตุและวางใจเฉยได้ พร้อมกันนี้ควรใช้หลักการสื่อสารของพระพุทธเจ้าตามหลักวาจาสุภาษิต 5 เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงเลือกที่จะแสดงธรรมสั่งสอนโปรดบุคคลตามความเหมาะสม ทรงมองว่าบุคคลมีความสามารถที่แตกต่างกัน ตามแต่ระดับของปัญญา โดยในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ (พระพรหมคุณาภรณ์, ๒๕๕๖: หน้า ๑๘๒) ได้แบ่งบุคคลออกเป็น ๔ จำพวก คือ (๑) อุคฆฏิตัญญู หมายถึง ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง(๒) วิปจิตัญญู หมายถึง ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ (๓) เนยยะ หมายถึง ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ (๔) ปทปรมะ หมายถึง ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่งไม่อาจเข้าใจความหมาย
ต่อมาเป็นตัวสาร (Message) นอกจากจะประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม คือ ความกรุณา แล้วยังจะต้องประกอบด้วยองค์ธรรมตามหลักพุทธศาสนา คือ “สัมมาวาจา” หรือวาจาชอบ (Right Speech) หมายถึ วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน คือ วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล (๑) เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ (๒) เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน (๓) เป็นวาจาที่กล่าว (๔)ประกอบด้วยประโยชน์ (๕) เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต วาจาสุภาษิตนั้น เป็นศีลพื้นฐานของบุคคลที่พึงปฏิบัติในข้อวจีสุจริต 4
ดังนั้น ส่วนผู้รับสาร (Receiver) หากให้กระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการใช้หลัก “โยนิโสมนสิการ” เพื่อช่วยในการกลั่นกรองข้อมูลอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อแยกแยะความถูกต้องแม่นยำของสารที่รับมา พร้อมทั้ง “อย่าเชื่อมงคล ตื่นข่าว” ให้ใช้หลัก “กาลามสูตร” พร้อมกันนี้มีควรตัวช่วยเสริมให้เป็น ผู้รับสารที่ดี ก็คือ การฟังอย่างตั้งใจ มีสติ และการสังเกตอย่างเปิดใจกว้าง สะอาด สว่าง บริสุทธิ์ ไร้อคติ ซึ่งเป็นการเดินตามทางของอริยมรรค ๘ ที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้ไว้กับสรรพสัตว์กล่าวคือ “สัมมาสติ” และ “สัมมาสมาธิ” นั่นเอง
http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=2048&articlegroup_id=330
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น