วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

'บิ๊กตู่'สอนธรรม!ทั้งหิริ-สันติ-ธรรมาภิบาล



 วันที่ 24 ก.ย.61 - ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้โอวาทคณะนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ที่จะเดินทางไปร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 3 ที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย



ในกการนี้พล.อ.ประยุทธ์ถึงการเมืองว่า "อย่าให้การเมืองอย่างเดียวนำพาประเทศชาติไป การเมืองสำคัญแต่ต้องเป็นการที่มีธรรมาภิบาล" พร้อมกันนี้ยังได้ยกหลักธรรมหลายข้ออย่างเช่นขันติคือความอดทน  พหุวัฒนาธรรมคือไม่มีการแบ่งแยกและกีดกั้น



อวิโรธนะคือความเท่าเทียม สันติคือคามสงบสุขและความเรียบร้อยของบ้านเมือง   ธรรมเป็นโลกบาลคือหิริโอตัปปะ ความละอายเกรงกลัวต่อบาป ทำอะไรไม่ดี ได้เงินจากสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และสติคือรู้จักแพ้รู้จักชนะ วิริยะคือความทุ่มเท และสมาธิคือความมุ่งมั่น

คำว่า "สันติ" ตามความหมายถึงกล่าวดังกล่าว หากกล่าวตามหลักบริหารแล้ว คือเป้าหมาย หากบูรณาการกับหลักอริยสัจ คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ (ทุกฺขนิโรธ)  เป็นภาวะที่ยุติความขัดแย้ง เป็นบรมสุข  โดยมีคำว่า “สันติ” (Peace)  เป็นไวพจน์ ซึ่งพุทธพจน์รับรองในธรรมบทคือ  นตฺถิสนฺติ ปรํสุขํ” แปลความว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”  นับเป็นเป้าหมายหรือจุดสุดยอดของ ดังนั้น “สันติ” คือ ไม่มีความขัดแย้ง เป็นความสุขสงบ เป็นสุขภายใน  ส่วนคำว่า “สุขา สงฺฆสฺสสามคฺคี” ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้ เป็นความสุขภายนอก เพราะต้องเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น   “สันติ” นั้นมีความหมายทั้งในเชิงลบ คือ สภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง และเชิงบวก คือสภาวะที่มีความรัก สามัคคี และความยุติธรรม และมี 1 ลักษณะคือ “อัชฌัตติกสันติ” ความสงบภายใน(Inner Peace)  และ “พาหิรสันติ” ความสงบภายนอก(Outer Peace)  โดยขยายกว้างออกไปอีก 3 ระดับ 

คือ 1.“สันติภาพภายในตนเอง” (to live in harmony with oneself) อยู่อย่างกลมกลืนกับสันติภายในจิตใจของตนเอง เป็นระดับตนเอง  2.สันติภาพกับคนอื่น (with others) อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ เป็นระดับผู้อื่น  และ 3.สันติภาพกับธรรมชาติ (with the natural environment) อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับธรรมชาติได้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า “ยสฺสรุกขสฺสฉายาย นิสีเทยฺยสเยยฺย วา น ตสฺสสาขํภญฺเชยฺยมิตฺตทุฏฺโฐหิปาปโก”  แปลความว่า “บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักก้านรานกิ่งและใบของต้นไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม” ทรงย้ำเตือนเสมอว่า “จงเป็นมิตรกับธรรมชาติ” อย่างไรก็ตามหากความสงบด้วยการกดเอาไว้ยังไม่ถือว่าเป็นสันติภาพ 

ขณะที่ ผศ.รท.ดร.บรรจบ  บรรณรุจิ  ได้เสนอว่า เจ้าชายสิทธัตถะแห่งแคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์เป็นคนแรกที่พูดคำว่า “สันติภาพ” ทรงออกบวชเดินทางสู่สันติ ดังคำว่า “สนฺติวรปทํ ปริเยสมาโน” แปลคว่า“ทางสู่สันติอันประเสริฐ”  โดยพบสันติในเดือนวันเพ็ญวิสาขะ เรียกว่า “นิพพาน”  หลังจากนั้นเดินทางออกสอนสันติภาพ 45 พรรษา   พระธรรมทำให้เกิดพระพุทธเจ้า นั่นหมายความว่า ต้องเดินตามมรรคมีองค์ 8 เป็นเส้นทางสู่การเป็นพระพุทธเจ้า     จึงเกิดคำพูดว่า “สทฺธมฺโม  ครุกาตพฺโพ”  ต้องเคารพสัทธรรมที่แท้จริง แล้วพระพุทธเจ้าก็นำธรรมมาสั่งสอน โดยแบ่งออกเป็นพระธรรมและพระวินัย เช่น อริยสัจ ปฏิจสมุปบาท ซึ่งพระพุทธเจ้าทิ้งกองทัพทางโลก แต่มีกองทัพทางธรรม เพื่อบอกว่ายิ่งใหญ่มากกว่ากองทัพทางโลกซึ่งมีแต่ความรุนแรง แต่กองทัพทางธรรมมีแต่สันติสุข ฉะนั้นกองทัพธรรมจึงยิ่งใหญ่กว่ากองทัพสงคราม 

ด้าน “โยฮันกัลตุง”ได้เสนอนำเสนอสันติภาพเชิงลบ หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงทางตรง”   เช่น ความรุนแรงต่อบุคคล  คนกำลังตีกัน เราไปห้ามอย่าตีกันเลย  ส่วนสันติเชิงบวก หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง”  เช่น ความยากจน การเหยียดผิว  ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมทางสังคม  ที่คนโกรธกันเพราะอะไร  เพราะไม่ยุติธรรม  เราจะทำอย่างไรให้เกิดความพอใจ จึงมีคำว่า “สงครามเกิดขึ้นที่จิตใจของมนุษย์ สันติภาพจึงต้องเริ่มจากจิตใจของมนุษย์เช่นกัน” 


“นิโรธ”นี้พระพุทธองค์กำหนดกิจไว้ว่าจะต้องทำให้แจ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กกต.แจงขั้นตอนสมัครรับเลือกเป็น สว. พร้อมขอรับใบสมัครได้ตั้งแต่ 10 พ.ค.นี้

  เมื่อวันที่  8 พฤษภาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง แจ้งว่าผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา สามารถขอรับใบสมัครได้ตั้งแต่ว...