วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561
สกว.ระดมสมองโจทย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมอง
สกว. เปิดเวทีระดมสมองนักวิชาการและภาคเอกชน เพื่อกำหนดกรอบประเด็นวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมอง สู่การใช้ประโยชน์จริงในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมี สกว.เป็นตัวกลางขับเคลื่อนและสนับสนุนทุนวิจัย
วันที่ 7 มีนาคม 2561 ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานการประชุมเพื่อกำหนดกรอบประเด็นวิจัยด้าน “ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมอง (Artificial Intelligence and Brain Science)” ณ โรงแรมวิคทรี แบงค๊อค เพื่อระดมสมองนักวิชาการจาก 8 สถาบันการศึกษา รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานวิจัยและภาคเอกชน เพื่อร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์
ทั้งนี้ สกว. เห็นความสำคัญของงานวิจัยทั้งสองด้านดังกล่าว จากผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาจะเป็นนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการขยายเครือข่ายที่จะพัฒนางานวิจัยร่วมกัน เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคของปัญญาประดิษฐ์ แต่อาจจะมีภาวะคุกคามที่ไม่คาดฝัน จึงจำเป็นต้องหารือกันถึงประโยชน์และโทษจากการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์สมองก็มีความสำคัญต่อการพูด คิด และตัดสินใจ ทั้งสองส่วนจึงมีความเกี่ยวข้องกัน แต่การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นแบบคู่ขนาน ไม่ค่อยเชื่อมโยงกันและขาดการเรียนรู้การทำงานของทั้งสองส่วน จึงอยากให้นักวิชาการและภาคส่วนที่จะใช้ประโยชน์จับมือกันเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลลผิตที่ดี รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพภายใต้บริบทของประเทศ
“ในยุค Big Data เราต้องเรียนรู้ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมองให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน สกว. เองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้และพยายามผลักดันให้เกิดการรวมพลังระหว่างภาควิชาการที่เข้มแข็ง และความต้องการของฝ่ายผู้ใช้ประโยชน์ ให้เกิดผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งขั้นตอนการทำงานจากนี้ไปจะต้องทบทวนสถานภาพและรวบรวมองค์ความรู้ เทคโนโลยี ทั้งจากงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยและพัฒนา ตลอดจนนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ เพื่อหาช่องว่างและศึกษาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ก่อนจะวางโรดแมป กำหนดยุทศาสตร์ กลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชนที่ต้องการนำงานไปต่อยอดใช้ประโยชน์ โดย สกว. จะทำหน้าที่เป็นคนกลางและตัวเร่งให้เกิดการขับเคลื่อน สนับสนุนทุนวิจัย และเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์สมองตามที่ต้องการ และมีผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การแพทย์ เกษตร อุตสาหกรรมต่างๆ” ผู้อำนวยการ สกว.ระบุ
ด้าน ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า ไทยยังขาดผู้ประสานงานที่ดี ขาดการเชื่อมโยงและการกำหนดโจทย์ย่อยที่จะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนและผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจึงต้องสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ และเดินไปให้ถูกทาง ในการพัฒนาต่อไปในอนาคตจะต้องใจเย็น สร้างเชื้อและสร้างศักยภาพ ไม่อยากให้ติดกับดักปัญญาประดิษฐ์โดยขาดการสร้างจินตทัศน์ (Visualization) ที่จะต่อยอดได้ชัดเจน ที่สำคัญคือต้องมีการใช้ประโยชน์ที่ง่ายและสานต่อที่ดี มีการกำหนดกรอบมาตรฐานที่จะเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ในแต่ละภาคส่วน
(หมายเหตุ ที่มา : https://www.trf.or.th/trf-events-activities/11940-artificial-intelligence-and-brain-science,เผยแพร่เมื่อ วันพุธ, 07 มีนาคม 2561 ,เปิดดูเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2561)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: บาลีที่รัก
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ "บาลีที่รัก" บทนำ แนะนำตัวละครและฉากหลัง ทองสุข : ชายหนุ่มนักเขียนนิยายอิงธรรมะที่มีความรู้ด้านบาลีจ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น