วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

พระพุทธเจ้าทรงใช้สื่อสอนธรรม





การใช้สื่อนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยพระพุทธองค์จะทรงใช้อุปกรณ์รอบตัวของพระองค์ เป็นสื่อในการแสดงธรรม เช่น ในครั้งที่ประทับอยู่ที่สีสปาวันใกล้เมืองโกสัมพี ก็ได้สอนภิกษุทั้งหลายโดยใช้ใบประดู่เป็นอุปกรณ์ คือพระองค์ได้หยิบใบประดู่ลายมาเล็กน้อยแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบไม้ในป่ากับในพระหัตถ์ของพระองค์ที่ไหนมากกว่ากัน  ภิกษุทั้งหลายก็ทูลว่าในป่ามีมากกว่ายิ่งนัก แล้วพระองค์ก็ตรัสแสดงการที่พระองค์ไม่ทรงสอนทั้งหมด เพราะคำสอนของพระองค์นั้นมีมากมายเหมือนไม้ประดู่ลายในป่า แต่ที่ตรัสเปรียบคำสอนที่จำเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ เพราะมีความจำเป็นต่อการทำที่สุดแห่งทุกข์ให้สิ้น(วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า,(สีสปาสูตร,[๑๗๑๒]เล่มที่ ๑๙,http://pjumpa.blogspot.com/2010/02/blog-post_06.html,วันที่ 26 ก.ย.2561) นับได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างในการใช้สื่อการสอนพระองค์ทรงใช้ทุกอย่างที่อยู่ใกล้ตัวมาเป็นสื่อการสอนได้หมด อันนี้ก็เข้ากับทฤษฎีสมัยใหม่ว่า สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องแพงหรูหรา อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ และเหมาะกับกิจกรรมการเรียน การสอน ให้นำมาปรับใช้ได้,เสฐียรพงษ์ วรรณปก : พุทธวิธีสอนในพระไตรปิฎก ว่าด้วย เทคนิควิธีสอน (2), https://www.matichonweekly.com/column/article_47234,วันที่ 26 ก.ย.2561)

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นเรียกว่า "การใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ พืช สัตว์ บุคคล และสิ่งแวดล้อม โดยทรงใช้สื่อและทรงมีเทคนิคตามระดับปัญญาของผู้ฟัง ซึ่งเปรียบได้กับบัว ๔ เหล่า โดยวิธีการสอนแบบการยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา  การใช้อุปกรณ์การสอน  การใช้ภาษา  อุบายการเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล  การรู้จักจังหวะและโอกาส  มีความยืดหยุ่น กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป้าหมายที่พระพุทธเจ้าใช้สื่อสอนธรรมนั้นเพื่อช่วยสอนให้มนุษย์รู้จักฝึกตนเองและปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้เข้ากับธรรมชาติ ,(พระครูสุภาจารนิวิฐ (ทิพย์กระโทก),การศึกษาการใช้สื่อธรรมชาติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)มจร,๒๕๕๖,บทคัดย่อ) เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่นทรงใช้แว่นส่องหน้าเป็นสื่อในการสอนเรื่อง  "สติสัมปชัญญะ" เป็นต้น,(ดร.รังสรรค์ พิมพ์ช่างทอง,วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า,แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/350245,วันที่ 26 ก.ย.2561)

แมคครอสกีได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ส่งสาารเอาไว้ ๕ ประการ ได้แก่  ๑.๑ ความสามารถ (Competence) ได้แก่ความรู้ความสามารถในข้อมูลข่าวสารและในการส่งสารรวมทั้งความสามารถในการจัดการควบคุมสถานการณ์ในการสื่อสาร ๑.๒คุณลักษณะหรือบุคลิกลักษณะ(Character or Appearance) ได้แก่บุคลิกที่ดีทั้งภายในและภายนอก ผู้ส่งสารจะต้องแสดงถึงความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดีสามารถตัดสินใจกระทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งแสดงลักษณะการให้ความอบอุ่นเป็นที่น่าไว้วางใจ อันจะสามารถสร้างความเชื่อถือ เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้รับสาร ๑.๓ ความสุขุม เยือกเย็น (Composure) หมายถึง ความแคล่วคล่องในการสื่อสารไม่มีอาการที่แสดงถึงความตื่นเต้นหวาดกลัว หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ๑.๔ การเป็นคนที่สังคมยอมรับหรือเป็นที่รู้จักทางสังคม (Social Ability)ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ได้รับความรู้สึกที่ดีจากผู้รับสารในเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับสารคาดหวังอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าหากผู้ส่งสารทำการสื่อสารไม่ดี อาจส่งผลทางลบต่อผู้รับสารในครั้งต่อไป ๑.๕.การเป็นคนเปิดเผย(Extroversion)เกิด ขึ้นโดยการให้ข้อมูลที่เพียงพอและไม่ปิดบังข้อมูลของผู้ส่งสารจะทำให้ผู้รับ สารเกิดความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเองรู้สึกไว้วางใจผู้ส่งสารมีผลทำให้ผู้รับ สารสามารถรับรู้และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร( ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี, มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,)

อย่างไรก็ตามการเผยแผ่พระพุทธศาสนามีพัฒนาการในการเผยแผ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุค (ไซเบอร์วนาราม, 2553) 1. ยุคการสื่อสารโดยค าพูดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใช้วิธีมุขปาฐะ 2. ยุคการสื่อสารโดยการเขียนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเขียนตามผนังถ้า จารึกลงใบลาน 3. ยุคการสื่อสารโดยการพิมพ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการพิมพ์หนังสือ พระไตรปิฎก คัมภีร์ ต าราทางพระพุทธศาสนา 4. ยุคการสื่อสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุ
โทรทัศน์ 5. ยุคการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอลมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางดาว เทียม และอินเทอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์,(พระทินวัฒน์ สุขสง,แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก,วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2558,หน้า70,http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5406031707_4377_3123.pdf)
ดังนั้น พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธธรรมและการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้กับพุทธศาสนิกชน นักเรียน นักศึกษา และลูกหลานไทยในยุคใหม่จำเป็นต้องเพิ่มความใส่ใจในการแสวงหาความรู้เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวไปเร็วมาก  พระสงฆ์ในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้สื่อเป็นช่องทางในการเผยแผ่พุทธธรรมให้มากขึ้น รูปแบบและแนวทางการเผยแผ่ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับของประชาชน,(เจ้าอธิการชัยชนะ สุขวฑฺฒโน ( ฤทธิ์บันเริง ), การประยุกต์ธรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)มจร,2555,บทคัดย่อ,http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=1818)
(รูปแบบการสร้างภาวะตื่นรู้เชิงพุทธจิตวิทยาบูรณาการ,มีทฤษฎีมาสโล, http://202.28.109.103:90/etheses/doctor.php?page=118)(รูปแบบการสร้างภาวะตื่นรู้เชิงพุทธจิตวิทยาบูรณาการ,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-58023.pdf) (สันติภาพเชิงพุทธ: แนวคิดและบทบาทการสร้างสันติภาพของพระสงฆ์ไทย,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-58010.pdf)
(ศึกษาสื่อการสอนธรรมแบบรายบุคคลและสัมฤทธิผลของสื่อการสอนธรรมแบบรายบุคคล,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-56016.pdf)(การจัดการความรู?เชิงพุทธบูรณาการ,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-54003.pdf)(การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม, http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-54010.pdf)(การศึกษาวิเคราะห?ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ?า,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-50005.pdf)(รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี :ศึกษาวิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-5-47002.pdf)  (ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์กับความต้องการในพระพุทธศาสนา,http://202.28.109.103/ethesis/mcu-6-58017.pdf)พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหานวัตกรรมสื่อดิจิทัล พระณัฏฐวัฒน์ ญาณปฺปโภ (ตั้งปฐมวงศ์) สารนิพนธ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)) -- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, http://202.28.109.103/ethesis/mcu-6-58027.pdf) (รูปแบบการใช้สื่อการสอนธรรมในสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบัน พรรณนา จาตุรพาณิชย์ สารนิพนธ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)) -- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยhttp://202.28.109.103/ethesis/mcu-6-56059.pdf)การศึกษาวิเคราะห์พระวินัยกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์พระครูสมุห์อินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี (วงค์ไชยคำ)สารนิพนธ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)) -- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://202.28.109.103/ethesis/mcu-6-56072.pdfศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับชาวต่างชาติของพระสงฆ์ในโครงการ Monk chat เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วีรยุทธ พงษ์ศิริ
วิทยานิพนธ์ (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา)) -- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://202.28.109.103/ethesis/mcu-4-59009.pdf บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการลดความขัดแย้งตามแนวทางพระพุทธศาสนา
พระอธิการสุนทร อาภาธโร (แสวงมิ้ม)
วิทยานิพนธ์ (พธ.ม. (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา))--มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยhttp://202.28.109.103/ethesis/mcu-4-56019.pdf  วิเคราะห์บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) = An analysis of the Roles of Pradhammakosajarn (Buddhadasa Bhikkhu) on the Dissemination of Buddhism
พระไพโรจน์ อตุโล (สมหมาย)
วิทยานิพนธ์(พธ.ม.(สาขาวิชาพระพุทธศาสนา))--มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://202.28.109.103/ethesis/mcu-4-56028.pdf




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี

เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดม...