วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561
พระถาม!ต้องละทุกอย่างได้แล้วจึงจะบวชใช่หรือ?
วันที่ 16 มิ.ย.หลังจากพระปริยัติธาดา (ป.ธาดา) ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับ "ถวายเงินแก่พระ เป็นความผิดเสียหายร้ายแรงจริงหรือ?" ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว"Pariyat Thada"ต่อมาได้แสดงความเห็นอีกครั้งความว่า
"ต้องละทุกอย่างได้แล้วจึงจะบวชใช่หรือ?
ได้เห็นพระถามกระทาชายคนหนึ่งว่า โยมเคยบวชหรือยัง เขาตอบว่า ยัง เพราะยังสละละวางไม่ได้ เขาจึงไม่บวช
คำตอบแบบนี้ผู้เขียนเคยได้ยินหลายครั้งเหมือนกัน แสดงว่าต้องมีคนส่วนหนึ่งที่คิดแบบนี้ ถามว่าคิดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ คนที่ตอบแบบนี้ แสดงว่าไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา เป็นชาวพุทธแต่ในนามเท่านั้น สงสัยว่า ที่บอกว่าสละละวางได้นั้นเขาหมายความแค่ไหน เพราะคำนี้มีความหมายว่า ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น คืออุปาทานเสียได้ ก็ได้ หรือจะหมายถึงว่า ยังสละวิถีชีวิตโลกีย์ของตนไม่ได้
ในสมัยพุทธกาล มีตัวอย่างชีวิตของผู้ที่บรรลุอรหันต์แล้วมาขอบวชก็มีบ้าง เช่น พระพาหิยทารุจิริยะ เป็นต้น. ซึ่งมีน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ที่บวชโดยยังไม่บรรลุอะไรเลย ในสมัยหลังพุทธกาลมาแล้ว ก็น่าจะหายากยิ่งขึ้นไปอีก มาถึงปัจจุบันยิ่งไม่ต้องพูดถึง ถ้าจะรอให้บรรลุธรรมคือปล่อยวางทุกสิ่งแล้วจึงจะบวช คงจะไม่มีพระบวชสักรูปเดียวในปัจจุบัน ฟันธง!
ในคำขอบวช มีคำว่า สพฺพทุกฺขนิสฺสรณนิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย แปลว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นการสลัดออกซึ่งทุกข์ทั้งปวง แสดงว่าตอนที่บวชนี้ยังเป็นปุถุชนคนมีกิเลสหนาอยู่ บวชเข้ามาก็เพื่อปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่หมดกิเลสแล้วจึงเข้ามาบวช ญาติโยมทั่วไปมักชอบมองว่า บวชเป็นพระแล้วต้องปล่อยวางได้ ต้องละได้ทุกอย่าง คำว่าบวช ก็แผลงมาจากคำว่า ปวช แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึงเว้นจากวิถีแบบฆราวาส มาดำเนินวิถีแห่งนักบวช ซึ่งพระที่บวชมาแล้วก็ต้องยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด แบบพระ ไม่ใช่แบบฆราวาสวิสัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติกันอยู่แล้ว
แต่สาธุชนทั้งหลายพึงทราบว่า พระที่บวชมาทั้งหมดนั้น ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร ยังเป็นปุถุชนกันเป็นส่วนใหญ่ ยังอยู่ในระหว่างการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้บรรลุที่สุดแห่งทุกข์กันทั้งสิ้น ดังนั้น สถานะของพระในปัจจุบันคือกัลยาณมิตรของญาติโยม ที่จะขักชวนแนะนำให้บำเพ็ญตามหลักทาน ศีล ภาวนา ส่วนพระท่านก็บำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ต่างคนต่างทำ โดยญาติโยมมีพระเป็นพี่เลี้ยง
ดังนั้น พระในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นพระที่มีกิเลสเหมือนญาติโยม เพียงแต่ว่า ต้องควบคุมกายวาจาให้อยู่ในพระวินัยบัญญัติ มีศีลาจารวัตรเรียบร้อย อยู่ในสมณสารูป ส่วนคุณธรรมเป็นเรื่องภายใน ไม่มีใครจะมาชี้บอกได้ว่า ใครเป็นอริยบุคคลหรือไม่อย่างไร เว้นแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรับรองให้ได้ว่าใครเป็นอริยบุคคลหรือไม่อย่างไร
ดังนั้น จึงมีความรู้สึกคันปากยิบๆ อยากจะด่าขึ้นมาเป็นกำลังทีเดียวเชียว สำหรับพวกที่ชอบตั้งพระที่ตนศรัทธาว่าเป็นพระอริยะ ว่า แหม คุณนี่ช่างเก่งกล้าสามารถเปรียบปานพระพุทธเจ้าเลยนะ เป็นคนที่หนาด้วยกิเลสแท้ๆ บังอาจไปรู้ว่าพระท่านเป็นอริยะขั้นนั้นขั้นนี้ ควรจะศึกษาพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งลงไปบ้างจะได้รู้ว่าควรทำอย่างนั้นหรือไม่
ญาติโยมชาวพุทธทั้งหลายได้รู้สึกกันบ้างหรือไม่ว่า ผู้ที่บวชเป็นพระแล้วอยู่จำพรรษาต่อไปนานๆจนเป็นกำลังของพระศาสนาในปัจจุบัน มีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ทุกวันนี้มีแต่พระผักบุ้งผักชีบวชยังไม่ทันจะรู้อะไรก็ลาสิกขากันแล้ว
............
ลาสิกขา นะ. ไม่ใช่ลาสิกขาบท กรุณาใช้กันให้ถูกด้วย ถ้าลาสิกขาบท ก็คือลาศีลเป็นข้อๆ 227 สิกขาบท ส่วนคำว่า ลาสิกขา หมายถึง ลาไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา แล้วไปบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา อันเป็นฆราวาสวิสัย
..........
นี่ก็คือผลของการไม่ได้ศึกษาเรียนรู้นั่นแหละ
.........
มาว่ากันต่อ การที่ทุกวันนี้มีพระที่จะมาสืบทอดรับภาระงานพระศาสนาน้อยลงทุกทีๆ เพราะที่จะบวชนานๆนั้นมีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย แถมทุกวันนี้ ยังโดนพวกที่เคร่งจนคลั่ง มาคอยจับผิดเพ่งโทษพระ กระจายข่าวเสียหายให้มากยิ่งขึ้น จะบอกอะไรให้นะ ในฐานะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ เราสามารถพูดจากันดีๆได้ เคารพกัน หารือกัน ว่าพวกเราจะทำยังไงให้สังคมดีขึ้น ทั้งสังคมพระและญาติโยม ช่วยกันบอก แนะนำกันดีๆ โยมอยากได้แบบไหน พระอยากได้แบบไหน คุยกันดีๆ. เมืองไทยจะล่มจมในวันสองวันนี้หรืออย่างไรถ้าพระยังจับเงินจับทองอยู่ อย่าบ้ากันจนคลั่งนักเลย. ถ้ามันเสียหายมากจริง เมืองไทยก็พังมาตั้งแต่อยุธยาแล้ว
เล่นกันอย่างนี้ ก็คือช่วยกันตัดรอน บั่นทอน บ่อนทำลายพระศาสนาให้สั้นลงทุกทีนั่นเอง อยากจะให้เป็นอย่างนั้นไหม ถ้าอยากก็ช่วยกันบั่นทอนเข้าไป
ขอฝากการพระศาสนาไว้ว่า
ถ้าคิดได้. ให้ช่วยคิด
คิดไม่ได้. ให้ช่วยทำ
ทำไม่ได้ ให้ความร่วมมือ
ถ้าให้ความร่วมมือไม่ได้ ก็ให้กำลังใจ
ถ้าแม้กำลังใจก็ให้ไม่ได้. ให้สงบนิ่งฯ
ข้อคิดนี้ได้มาจากผู้ใหญ่บ้านหนองอ้อ อ.มะขาม จ.จันทบุรี หวังว่าคงช่วยปรับทัศนคติเรื่องการบวชได้พอสมควร และหวังว่าคำตอบที่ได้คงจะไม่เหมือนเดิมอีกนะ
ด้วยความปรารถนาดี
พระปริยัติธาดา (ป.ธาดา)
16 มิถุนายน 61
10.38 น."
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
สาธุ
ตอบลบ