วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
'รอนนี่ โอซุลลิแวนนักสนุกเกอร์อังกฤษนับถือพุทธ
วันที่ 1 ต.ค.2561 Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies-ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร ได้โพสต์ข้อความว่า นอกจากเดวิด เบคแคม ออร์ลันโด บลูม แล้วก็ยังมีคนดังอย่างรอนนี่ โอซุลลิแวน นักสนุกเกอร์แชมป์โลกของอังกฤษที่ประกาศเป็นพุทธมามกะ เขาสนใจพระพุทธศาสนาและอบรมสมาธิเพื่อลดความเครียดมาหลายปีแล้ว ข่าวข้างล่างบอกว่าเขามาประเทศไทยเพื่อพักอยู่ในวัด 3 เดือนเพื่อเรียนรู้พระพุทธศาสนาเพิ่มเติม
ข้อมูลจาก https://www.mirror.co.uk/sport/other-sports/snooker/snooker-champion-ronnie-osullivan-reveals-13314562
วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561
มุมมองพระสงฆ์ต่อปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์?
กรอบ
รูปนาม จารวาก
นิยม อิสซึม
พระพุทธเจ้า
สารีบุตร
นาคเสน มิลินทปัญหา
พุทธทาส
ป.อ.ปยุตโต
พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhism_as_the_foundation_of_science.pdf
พระพรหมบัณฑิต
พระราชปริยัติกวี
พระมหาหรรษา
พระมหาวุฒิชัย
ใครพูดถึง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)ว่าอย่างไร
ใครพูดถึง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)ว่าอย่างไร : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
หลังจากที่เรียบค่ายมาพอสมควรแล้ว มาเข้าสู่เนื้อหาบ้าง ข้อมูลในหัวที่มีอยู่นั้นมีเพียงชิ้นงานชิ้นเดียวคือเกี่ยวกับคำว่า "พุทธปัญญาประดิษฐ์" ส่วนความหมายหรือเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่า "ปรัชญาพุทธประดิษฐ์" ว่าอย่างไรบ้างนั้นยอมรับว่าไม่มีเลย จึงได้ค้นการค้นข้อมูลที่ง่ายที่สุดก็คือที่กูเกิล เพื่อจะได้รู้ว่า ใครพูดว่าอย่างไรบ้าง เป็นการวิจัยแล้วขั้นตอนนี้เรียกว่า "การทบทวนวรรณกรรม" คือการข้อมูลผลงานผ่านที่มานั้นเป็นอย่างไรพอที่จะนำมาอ้างอิ้งได้บ้าง
เคยมีความคิดเกี่ยวกับ "การทบทวนวรรณกรรม" นั้นก็คือเป็นขั้นตอนในอดีตหรือเรียกว่าเป็นการระลึกถึงสิ่งที่ผ่านมาหรือเรียกว่าการระลึกชาติที่ผ่านมาได้ตรงกับอตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต ใน ญาณ 3 ก็คือ อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอนาคต ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนปัจจุบัน และช่วงที่เรียนวิชากระบวนการวิจัยใหม่ก็เกิดความคิดว่าการทำวิจัยก็คือการใช้ ญาณ 3 อตีตังสญาณนี้เป็นเนื้อหาที่อยู่ในบทที่1-2 บทที่ 3 คือ ปัจจุปปันญาณ อันได้แก่กรณีศึกษา ส่วนบทที่ 4 คือ อนาคตังสญาณ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นี่เริ่มจะเข้าสู่การทำวิจัยแล้ว ซึ่งการทำวิจัยนี้ส่วนใหญ่แล้วเราศึกษาวิธีการวิจัยจากศาสตร์ข้างนอกพระพุทธศาสนา ความจริงแล้วหลักธรรมในพระพุทธศาสนาก็มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับการวิจัยเช่นเดียวกันและเป็นหลักธรรมสำคัญที่มีส่วนให้เกิดความรู้หรือตรัสรู้นั่นก็คือ"ธรรมวิจัย" ในโพชฌงค์ 7 ควรจะมีการเขียนตำราระเบียบวิธีวิจัยตามหลักธรรมวิจัยหรือเรียกว่าระเบียบวิธีวิจัยเชิงพุทธ เพราะหากวิจารณ์ระเบียบวิธีวิจัยตามตำราทั่วไปก็คือตามหลักธรรมคืออริยสัจ 4 นั้นเอง
เมื่อได้ค้นข้อมูลโดยใช้คำค้นหาคือ "ปรัชญาพุทธประดิษฐ์(AI)" ได้ทำให้ทราบข้อมูลว่ามีคนที่กล่าวถึงไว้พอสมควร โดยคำว่า "ปรัชญาปัญญาประดิษฐ์(AI)" ได้พบว่าผู้ที่ใช้คำนี้คือปราบดา หยุ่น ลูกชายของสุทธิชัย หยุ่นโดยใช้เป็นชื่อรายการ ส่วนคำว่า "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์" ได้พบว่า ศ.ดร.สมภาร พรมทา ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จากคลิปที่บรรยายให้กับนิสิตหลักสูตรพุทธปรัชาเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 โดยใช้คำว่า "พุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์" โดยในคลิปได้ระบุว่าได้เคยเขียนบทความตามคำนี้ให้ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว หลักจากนั้นก็ได้อธิบายเปรียบเทียบระหว่างพุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์
ต่อมาผู้ที่เกี่ยวถึงปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) คือศาสตราจารย์อุทิศ ศิริวรรณ ซึ่งเป็นนักวิชารการอิสระด้านพระพุทธศาสนาได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ลงในเฟซบุ๊ก Uthit Siriwan เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2560 โดยมีข้อความที่ระบุว่า "พยายามค้นหา Data Science หา Machine Artificial ที่จะช่วยปริวรรตคัมภีร์บาลีออกมาเป็น "ภาษาร่วมสมัย" จาก "ภาษาตาย" เป็น "ภาษาเป็น" ผมจึงสนใจ "แนวโน้ม" และ "เทคโนโลยีทันสมัย" ที่ "เปลี่ยนโลก"นั่นคือ "ปัญญาประดิษฐ์" ก็เลยอยากนำ "สิ่งที่" ผมเรียนรู้และ "สนใจ" มาเล่าไว้"
พร้อมกันนี้ศาสตราจารย์อุทิศ ศิริวรรณ ได้กล่าวถึง "ปัญญาประดิษฐ์" ไว้ว่า หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลักแต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมองแม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์
แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอย หรือการปรับเส้นโค้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้ เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง Machine Intelligence เป็นประเด็นที่ผมสนใจ เพราะ "เครื่องจักร" เป็นปัจจัยที่ใช้ช่วย "ตัดสินใจ" ด้านการตลาด การจัดการ จริยศาสตร์ และจริยธรรม รวมถึง "การจัดการความรู้" ให้ทันสมัยและย่นระยะเวลา จากหลายสิบปี เหลือเพียงแค่ไม่กี่เดือน ผมเชื่อว่า ความรู้กับไฮเทค ไปด้วยกันได้หนังสือ "กลยุทธ์การเรียนดี" ที่ผมแต่งไว้สมัยเรียน ดร. ที่ฟลอริดา ยืนยันความข้อนี้ไว้ชัดเจน"
หลังจากนั้นศาสตราจารย์อุทิศได้กล่าวถึงเทคโนโลยี ดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์เป็นระยะในเฟซบุ๊ก และกระตุ้นให้คณะสงฆ์ให้ความสนใจเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอนธรรม
จากข้อมูลข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า มีผู้ที่กล่าวถึงหรือศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ 3 ศาสตร์นี้คือ ปรัชญา พุทธศาสตร์ และปัญญาประดิษฐ์ พอสมควร ซึ่งจะได้ลงในรายละเอียดต่อไป ช่วงที่รอตอนต่อไปนี้ก็ฟังความเห็นของ ศ.ดร.สมภาร พรมทา ก่อนแล้วกัน แต่พอจะจับความได้ก็คือหลักพุทธปรัชญากับปัญญาประดิษฐ์ไม่ขัดแย้งกันอย่างไรรอฟังดู
พระธรรมทูตไทยและกงสุลใหญ่เมืองเจนไนมอบพระพุทธรูป66องค์
วันเสาร์ ที่ 29 กันยายน 2561 เวลา 09.00 น. พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย พระศรีโพธิวิเทศ (สุพจน์ กิตฺติวณโณ) เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร ป.ธ.7 วัดไทยพุทธคยา และพระครูอุดมโพธิวิเทศ (ณรงค์ อุตฺตมวํโส) วัดไทยพุทธคยา ได้รับนิมนต์จากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ตามประกาศกงสุลใหญ่ เรื่อง การจัดกิจกรรมการมอบพระพุทธรูปให้กับสถานปฏิบัติธรรม,สำนักสงฆ์ ในรัฐทมิฬนาฑู โดยพักตร์วิภา อาวิพันธุ์ รองกงสุลใหญ่,รักษาราชการแทนกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน พร้อมข้าราชการ นักธุรกิจ ชุมชนชาวไทย ให้การต้อนรับ
ด้วยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ร่วมกับวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร และพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล จัดกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดียใต้ โดยการมอบพระพุทธรูปจำนวน 66 องค์ ซึ่งจัดสร้างโดยวัดไทยพุทธคยา เพื่อมอบให้แก่สถานปฏิบัติธรรม,สำนักสงฆ์ในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ณ Dr.Ambedkar Mani Mandapam โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 66 พรรษา 2.เพื่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและอินเดีย 3.เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดียใต้ 4.เพื่อความส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับภาคประชาชนสู่ภาคประชาชน
พิธีการเริ่มขึ้นในเวลา 09.15 น. กงสุลใหญ่จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรอาราธนาศีล พระสงฆ์ให้รับ เสร็จแล้วพระสงฆ์ทั้งนั้นเจริญพระพุทธมนต์ กงสุลใหญ่พร้อมคณะถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์ พร้อมทั้งกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน
พระธรรมโพธิวงศ์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์มอบพระพุทธรูปเป็นปฐมเบื้องต้น หลังจากนั้นกงสุลใหญ่ประธานฝ่ายฆราวาส มอบพระพุทธรูป พร้อมด้วยคณะคนไทยจากบริษัทการบินไทย บริษัทซีพี บริษัทไทยซิมมิท ชุมชนนักเรียนไทยและผู้ปกครองที่พำนักในเมืองเจนไน ร่วมมอบพระพุทธรูป โดยมีคณะสงฆ์ฝ่ายอินเดีย ประธานชุมชนนักเรียนไทยและผู้ปกครองที่พำนักในเมืองเจนไน ร่วมมอบพระพุทธรูป และมีคณะสงฆ์ฝ่ายอินเดีย ประธานชุมชน และตัวแทนเข้าร่วมรับมอบพระพุทธรูป อาทิเช่น Ven Bhikku Wadhwa-Burmese temple,Bhikku Mahanama Thero-Mahabodhi Society of Srilanka ในนามสมาคม Tamil Nadu Boudha Sangam ดังกล่าวอีกด้วย
ภาพ/ข่าว : พระครูอุดมโพธิวิเทศ (รายงานจากรัฐทมิฬนาฑู สาธารณรัฐอินเดีย) Cr.Namaste Dhamma Channel
'คนรุ่นใหม่'มุมมอง'พระว.วชิรเมธี'ไม่ได้วัดที่อายุ
'คนรุ่นใหม่'มุมมอง'พระว.วชิรเมธี'ไม่ได้วัดที่อายุ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ช่วงที่ปีกลองการเมืองดังกระหึ่ม กลุ่มการเมืองกำลังเตรียมตัวเข้าสู่สนามเลือกตั้งทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ จึงเกิดวาทกรรมทางการเมืองขึ้นคือคนรุ่นใหม่เสียงดังถี่ขึ้นโดยอ้างว่าตัวเองได้กระโดดออกจากวงวนของนักการเมืองคนรุ่นเก่าแล้ว จึงเห็นมีการขนกลุ่มคนรุ่นใหม่ออกมาโชว์สื่อในช่วงที่ยังห้ามหาเสียงทางสื่อออนไลน์
ที่นี่มาดูว่าคนรุ่นใหม่นั้นหมายถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่กันแน่ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "young generation" และยกตัวอย่างประโยคคือ "คนรุ่นใหม่มักจะลืมประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา" พร้อมกันนี้มีการนำไปประกอบในการให้ความหมายของคำว่า "คลื่นลูกใหม่" ว่า "คนรุ่นใหม่มักจะลืมประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติสืบต่อๆ คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาและมีความคิดก้าวหน้าที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ แทนคนรุ่นเก่า"
อย่างไรก็ตามมีการระบุว่า "เมื่อพูดถึงคน Gen Y เราจะคิดถึงคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต ทำให้คนรุ่นใหม่มีการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีความคิด ความเชื่อ ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง การขยายตัวของคนรุ่นใหม่จนเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ทำให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นพลังขับสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้บริโภคที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการแตกต่างไปจากสมัยก่อน อันนำไปสู่การเกิดขึ้นอาชีพและไอเดียใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว หรือในฐานะผู้ประกอบการ แรงงานและนักวิชาชีพที่ต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรือ "คนรุ่นใหม่" หมายถึง คนซึ่งมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ปัญหาใหม่ ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด มีความขัดแย้งสูง ผู้ควรจะมีบุคลิกภาพใหม่ และแนวคิดใหม่ ที่สามารถจะใช้ชีวิตทั้งในเชิงแข่งขัน และร่วมมือเพื่ออยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ ควรมีบุคลิกใหม่และแนวคิดใหม่ สำคัญกว่าเรื่องอายุ คนวัยหนุ่มสาวที่ยังมีบุคลิกแบบเก่าคิดแบบเก่าจะกลายเป็นคนยุคเก่าที่ล้าสมัย
"คนรุ่นใหม่" ควรเป็นเป็นอิสระชน ผู้นับถือในสิทธิเสรีภาพทั้งของตนเองและผู้อื่นการเป็นผู้ใฝ่ในการเรียนรู้ และแสวงหาความเป็นจริง กล้าคิด กล้าจินตนาการ กล้าสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ประสบการณ์ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมีอุดมคติหรือจิตสำนึกที่เข้าใจว่า ประโยชน์ส่วนตนผูกพันกับประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว กล้าที่จะยืนหยัดเพื่อหลักการที่ดี และกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตามคำว่า "คนรุ่นใหม่" นี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ จ.เชียงราย ประธานศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ได้ให้ความหมายไว้คราวปาฐกถาธรรม เรื่อง "Gen Z กับการสร้างสังคมใหม่" ในการประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ CSD สัมพันธ์ ครั้งที่ 17 (คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน) ซึ่งมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา จากสถานการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 1,500รูป/คน ที่หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2561
พระมหาวุฒิชัย ได้ระบุว่า "คนรุ่นใหม่ไม่ได้วัดที่อายุ แต่เป็นที่อยู่ในยุคปัจจุบันที่ปฏิวัติสื่อเทคโนโลยี คือคนรุ่นใหม่แม้อายุจะ 70 แล้ว ถ้าเราใช้เฟชบุ๊กเป็น เราจะใช้เพชบุ๊กอย่างไรให้เป็นนาย"
พร้อมกันนี้พระมหาวุฒิชัยกล่าวว่า งานที่มีความสำคัญต่อสังคมและต่อโลก โดยได้เห็นมิติของนิทรรศการโดยมีคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนสังคมและประเทศ คนรุ่นใหม่เกิดมาแล้วก็ต้องเจอไอโพนไอแพด เฟชบุ๊ก เจอเพลงปานามา คนในยุคของ Gen Z จะอยู่อย่างไรให้มีความหมายและมีคุณค่า ขอแนะนำผ่าน 4 ประเด็น คือ 1)รู้ทันเทคโนโลยี 2)บริโภคเทคโยโลยีอย่างเป็นนาย 3)ลงทุนในตัวเอง 4)มีความรับผิดต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์
โลกปัจจุบันเป็นวิกฤตและเป็นโอกาสโลกเชื่อมโยงเดียวกัน แต่จิตใจไปไม่ถึงจึงทำให้เห็นความคับแคบ แม้ประเทศที่เคารพความเป็นมนุษย์สูงสุดอย่างอเมริกา การเหยียดผิวก็กลับมาอีก รู้สึกแบ่งแยกคนผิวดำคนผิวขาว กลุ่มสุดโต่งทางศาสนามีอิทธิพลเพราะเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกทั้งโลก เทคโนโลยีขยายแต่ใจคนขยายไม่ทัน เลยมีการปะทะมีความขัดแย้งกระจายไปทั่วโลก ในยุคปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยถึง 65 ล้านคน ยังมีการแบ่งแยกสูง ขนาดเทคโนโลยีสูงสุดแล้ว เราเกิดมาในโลกนี้ต้องรู้เท่าทันว่าโลกมิใช่มีแต่ความสวยงามเท่านั้น ยังมีด้านที่ใจคนก้าวไม่ทัน เป็นระบบนิเวศใหม่ของโลก ไม่ได้ขึ้นโดยอเมริกา จึงแนะนำไปอ่านหนังสือ"เมื่อโลกไม่หมุนตามอเมริกา" ว่าอเมริกาได้สูญเสียปัญญาวิชาการและเทคโนโลยี นี่คือสภาวะการรู้ทันเทคโนโลยี
คำว่าการรู้ทันมิใช่ความหมายว่าใช้เป็น แต่รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมีเทคโนโลยีเป็นผู้ครองบทบาท พอเทคโนโลยีเกิดมาขึ้นใหม่ เช่น ยูทูป เฟชบุ๊ก เราจะเห็นว่าธนาคารปิดตัวไปเยอะมาก หลายวัดในปัจจุบันการทำบุญเป็นระบบคิวอาร์โค๊ด ป้องกันเรื่องเงินทอนเป็นอย่างดี เทคโนโลยีถึงแต่การจัดยังไม่ถึง เราสามารถติดตามความเคลื่อนของคนทั้งโลก เพลงปานามาทะลุกำแพงวัด นี่คือโลกของเราได้สั่นสะเทือนเพราะบทบาทของเทคโนโลยี ย้อนไปเวลา 20 ปี ตื่นมาพร้อมนาฬิกาปลุกเข้าห้องน้ำ แต่ปัจจุบันเราตื่นมาแล้วมาดูสิ่งที่เราโพสต์ไว้เมื่อคืน เทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา นี่คือภูมิศาสตร์ใหม่ของโลก
ก่อนที่สติปจ๊อปจะเสียชีวิตเขาได้พาครอบครัวไปเที่ยวเพื่อหาชั่วโมงทองคำของชีวิต เขาคือคนที่เกิดมาเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก เอาคอมพิวเตอร์ใหญ่เท่าบ้าน ลดขนาดเหลือเท่าฝ่ามือ ชื่อสติปจ๊อบจึงอยู่ในหนังสือประดิษฐกรรมทุกเล่มของโลก ในวันหนึ่งสติปจ๊อบนั่งคิดถึงคุณค่าชีวิตแถวอเมริกา นั่งจิบกาแฟอย่างมีความสุข ขณะที่เขากำลังนั่งจิบกาแฟเขาเห็นเด็กถือสมาร์ทโพน ทำให้เขาคิดว่า ถ้าเด็กเข้าถึงเทคโนโลยีนั่นคือโอกาสทางการศึกษา นั่นคือสิ่งที่เขาภูมิใจ เขาบอกว่าผมไม่ได้ตื่นเต้นอะไรกับความรวย หรือเจ้าของนามว่า ชายที่รวยที่สุด แต่รู้สึกตื่นเต้นว่า"โลกนี้ดีขึ้นกว่าเรามาถึง"นี่คือคำพูดของผู้ชายที่เกิดเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ด้วยเทคโนโลยี ทำให้ภูมิศาสตร์ของโลกเปลี่ยนไป ทำให้เรารู้เห็นเชื่อมปฏิสัมพันธ์ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น เราจึงรู้เท่ารู้ทัน เราไม่มีทางปฏิเสธเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ไม่ได้วัดที่อายุ แต่เป็นที่อยู่ในยุคปัจจุบันที่ปฏิวัติสื่อเทคโนโลยี เราคือคนรุ่นใหม่แม้อายุจะ 70 แล้ว ถ้าเราใช้เฟชบุ๊กเป็น เราจะใช้เพชบุ๊กอย่างไรให้เป็นนาย
ปัจจุบันมีคนใช้สื่อในทางลบเยอะมาก ใช้บ่น ใช้ประชดชีวิต ใช้ไปทานอาหารไม่อร่อยอัพเฟชแล้วด่า หรือไปทานอาหารทันสวยต้องถ่ายก่อนกิน เที่ยวแจ้งสถานะว่าเราอยู่ที่ใด แต่ที่แย่มากๆ คือ " ใช้แล้วก่อให้เกิดความเกลียดชัง " น่ากลัวมาก ใช้แล้วส่งเสริมทัศนคติในการแบ่งแยก ใช้เเล้วก่อให้เกิดความรุนแรง แชร์ โพสต์ ถือว่าใช้สื่อไม่เป็น ตัวอย่างของการใช้สื่อเป็นในสังคม สื่อรายงานข่าวมีพระสงฆ์รูปหนึ่งในจังหวัดชลบุรีกำลังแบกปูนขึ้นภูเขา ลูกศิษย์ก็ถ่ายภาพขึ้นเฟชบุค เป็นข่าวใหญ่ พอวันต่อมามีจิตอาสามาเป็นจำนวนมาก เป็นปรากฏการณ์ด้านบวกของสื่อออนไลน์ บริโภคสื่ออย่างเป็นนาย วัดบ้านนอก สร้างเสร็จแบบงง ๆ จิตอาสาเหล่านั้นมาจากไหน นี่คือการบริโภคสื่ออย่างสร้างสรรค์ เราต้องใช้สื่อเป็นนาย และชาวนาคนหนึ่งใช้สื่อเทคโนโลยีบังคับรถไถจนควายยืนมองรถไถแบบงงๆ เป็นชาวบ้านดิจิตัล รู้เท่าทันสื่อสามารถนำสื่อมาใช้มากกว่าคนที่อยู่สังคมเมือง ทำอย่างไรคนรุ่นใหม่จะก้าวไปถึงในการใช้สื่อ คำตอบคือ มีสติในการบริโภคสื่อ ตัวอย่างเช่น กระเป๋าของภริยาของผู้นำประเทศ สื่อนำเสนอว่าทำไมถึงมีศักยภาพซื้อกระเป๋าใบละสองล้าน ทำให้เกิดดราม่า
แต่สุดท้ายมีผู้มาเฉลยว่าเป็นกระเป๋าธรรมดาจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มีคนอีกมากมายที่ใช้สื่อไม่เป็น ลักษณะที่ว่า"ใช้สื่อเทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยภูมิปัญญาขั่นต่ำ" นี่คือสิ่งที่เราเห็น เราจะรู้เท่าทัน โรคร้ายที่มากับสังคมดิจิตัลคือ "โรคด่วนตัดสิน" ในการใช้สื่อ แม้แต่พระสงฆ์ก็ตกเป็นเหยื่อ ปัจจุบันหันมาจับผิดออกสื่ออย่างเดียว โดยพวกเดียวกัน คนรู้น้อยพลอยรำคาญ คนที่รู้มากจะเห็นช้างทั้งตัว เห็นแล้วจะเข้าใจจะมีแต่เมตตาและคำแนะนำ คนรู้น้อยวิจารณ์ด่า บรรยากาศของชุมชนแทนที่จะมีเมตตา แต่มีแต่จับผิด ทำให้เราพลังงานเต็มเชิงลบเต็มบ้านเต็มเมืองของเรา เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้สื่อไม่เป็นพระทิเบตได้รางวัลแกรมมี่อวอตส์ ครั้งแรกของโลก สาขาธรรมคีตา สวดไพเราะที่สุดในโลก นั่นคือการใช้สื่อในเชิงสร้างสรรค์ มีโอกาสไปเรียนรู้กับดาไลลามะ เราไม่เห็นการพูดเชิงลบ มีแต่เห็นว่าเราจะช่วยเหลือสังคมอย่างไร เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ซึ่งตรงกับคณะสังคมศาสตร์มาก มีนักข่าวไปถามดาไลลามะว่า ท่านคิดอย่างไรคนนี้เป็นแบบนี้ ท่านตอบว่า "ขออภัยเราไม่ได้ฝึกมาให้พูดใครในเชิงลบ" ท่านจะพูดถึงความท่านไม่พูดถึงคน ท่านบอกว่ามนุษย์เป็นปุถุชนมีความผิดพลาดได้ ทั้งเราและเขา เราจึงไม่ควรจะด่าใคร ด้านงดงามของทุกๆ ศาสนาควรนำมาเสนอผ่านสื่อ เพราะสื่อคือเครื่องมือขยายที่ดีที่สุด เช่นพูดที่นี่คนฟัง 1,500 คน แต่ถ้าผ่านไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค สามารถฟังได้ทั่วโลก ทำนองเดียวกันเราใช้สื่อในทางลบก็ทำเกิดความเกลียดกัน ชังกันได้ทั้งโลก เราต้องหาหลักใหญ่ๆว่า " จะไม่ใช้สื่อเพื่อทำร้ายใคร " หลีกเลี่ยงการใช้สื่อในเชิงลบ
มีคนไปถามท่านรพินปราชญ์ชาวอินเดีย ว่า สิ่งใดง่ายที่สุด คือ การวิจารย์คนอื่น สิ่งใดยากที่สุดคือ การรู้จักตนเอง สิ่งใดยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นเหตุให้ท่านมุ่งทำความดี ความจริง ความงาม ฉันไม่มีเวลาไปทำร้ายใคร ฉันเขียนเพื่อให้คนทั้งโลกสามารถอ่านและนำไปปฏิบัติได้ เราไปใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีก็ใช้เรา เราทุกคนต่างมีตัวตนในเฟชบุ๊ค เราใช้เผยแพร่ตัวตนของเรา คนอื่นก็เสพแล้วตัดสินเสมอ เราใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่กิจกรรมของเรา เเต่สังคมกำลังตัดสินเรา มีผู้ชายคนหนึ่งไปทำงานที่ญี่ปุ่นพอไปถึงญี่ปุ่นผู้บริหารให้ซองขาวพร้อมตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทย ด้วยการโค้งอย่างสุภาพ คนไทยจึงถามว่าทำไมถึงไล่ผมออก เพิ่งมาทำวันแรก ขอโทษที่ทำแบบนี้แต่เราชดเชยเต็มที่ ผู้ชายคนนั้นจึงขอเหตุผลว่าทำไมให้ผมออก คำตอบคือ เราให้ฝ่ายเทคโนโลยีไปตรวจสอบทุกช่องทางของคุณปรากฏว่าคุณมีทัศนคติทางการเมืองที่สุดโต่งมาก และมีหลายภาพที่คุณโพสต์ในโซเซียลเฟชบุ๊ค อนาคตกลัวว่าจะมีปัญหา ตกงานเพราะเทคโนโลยี ถ้าเราใช้อย่างไม่เท่าทันจึงน่ากลัว และผู้หญิงคนหนึ่งโพสต์ข้อความก่อนขึ้นเครื่องพอลงเครื่องชีวิตเธอเปลี่ยนไปในลบ เพราะข้อความที่โพสต์ไปนั้นเอง เป็นข้อความเชิงดูหมิ่น เราอาจจะโพสต์ขำ ๆ เเต่คนอื่นไม่คิดเหมือนเรา คนที่เกิดมาในยุคการปฏิวัติเครื่องสื่อสารคนรุ่นใหม่จะใช้ชีวิตอย่างไร
โลกยิ่งเข้าสู่ทุนนิยมบริโภคนิยมธรรมะยิ่งจำเป็นโดยเฉพาะสติและปัญญา สติจำเป็นทุกๆ กรณี เรามีเครื่องมือที่ทันสมัย มันใช้เราหรือเราใช้มัน เลือกให้ดีๆ ใช้เป็นเราได้งานทำ เหมือนเด็กหนึ่ง ติด 1 ใน 20 ของนิตยสารไทม์ ด้วยการนุ่งทางมะพร้าวแล้วอัพเฟชบุ๊ค เขาใช้สื่อในทางสรรค์ ใช้เป็นได้งานใหม่ ไปถึงเวทีโลกไปเดินแฟชั่นที่ปารีส จากเด็กบ้านนอกที่ชอบการออกแบบ เพราะอานุภาพของสื่อในทางสร้างสรรค์ "สื่อเป็นเครื่องมือขยายศักยภาพในการทำงาน"แต่ถ้าใช้สื่อไม่เป็นเป็นใบมรณบัตร เราต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ เราห้ามนักข่าวจากสื่อไม่ได้ เเต่เราต้องมีสติในการใช้ชีวิต เราต้องชีวิตอย่างมีสติ ใช้สื่ออย่างระมัดระวัง
ในยุคนี้เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ ถ้ามหาวิทยาลัยทั้งโลกไม่ปรับตัว ครูอาจารย์จะตกงาน หลายคณะในมหาวิทยาลัยไม่มีใครเรียน คนรุ่นใหม่เรียนที่ไหนก็ได้ มีการเปิดเรียนแบบออนไลน์ เพราะโลกของเทคโนโลยี คุณอยากเรียนที่ไหนได้ทั้งหมด "ประตูแห่งโอกาสเกิดขึ้นพร้อมเทคโนโลยี" ด้วยการลงทุนในตัวเอง ซึ่งการลงทุนในตนเองที่สำคัญมีกฎแห่งการลงทุน คือ"ลงทุนในตัวเอง"เราอยากประสบความสำเร็จ ความรู้ที่มีอยู่เพียงพอไหม อะไรคือจุดอ่อนของเรา อะไรคือจุดแข็งของเรา ดีกว่าคนอื่น เด่นกว่าคนอื่น เราต้องลงทุนในตนเอง เป็นนักขายแต่ขายไม่ได้ จึงมาวิเคราะห์ตนเองด้วยการไปเรียนการเป็นนักพูด ค้นพบว่าเขาพูดไม่เก่ง จึงเรียนการพูดและการพัฒนาบุคลิกภาพ หยิบก้อนหินก็เป็นเงิน ผู้ชายคนนี้บริจาคให้บิลเกตเป็นอันดับหนึ่ง เขาไปพูดที่ไหนที่น่าฟัง เป็นบุคคลชั้นนำของโลก เพราะเขาลงทุนในตัวเอง ก่อนนอนจะต้องดูคลิปภาษาอังกฤษภาษาจีน
ใครอยากเป็นนักพูดที่ตรึงตราภาษากายที่สุดยอดต้องไปดูนักพูดอย่างแจ๊คหม่า ใครอยากเป็นนักพูดชั้นยอดแบบโน้มน้าวต้องไปการพูดของสติปจอป ใครอยากเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ พูดน้อยต่อยหนักต้องไปดูอิลอนมัส ถือว่าเป็นครูชั้นยอด นี่คือการลงทุนในตนเอง การศึกษายุคใหม่มิใช่ในมหาวิทยาลัย บิลเกตกำลังเฝ้ามองว่าใครสร้างสรรค์ต่อสังคมด้วยการทำคลิปให้ เพราะ "สิ่งที่งดงามที่สุดที่เทคโนโลยีมอบให้กับโลก " เรารับแรงบันดาลใจจากใครเราสามารถเรียนรู้ หน้าตาบ้านๆ แต่ความฝันอินเตอร์ เรามีครูชั้นยอดในเทคโนโลยี ถือว่าเป็นประตูแห่งโอกาส คนรุ่นใหม่ต้องลงในตัวเอง ใครที่ใช้ทักษะเดิมในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะไม่ประสบความสำเร็จ ใครที่มีการพัฒนาตนตลอดจะมีที่ยืนที่ใหม่ๆ
เราต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เราไม่จำเป็นต้องเป็นมหาเศรษฐี นักการเมือง ผู้มีอำนาจ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้จากที่เรายืนอยู่ เราอยู่ตรงไหนเรามาทัศนคติที่ดีต่อโลกต่อสังคม มีความรู้ที่ดี มีศักยภาพเราเปลี่ยนได้ทุกจุด แม้ว่าเราจะถูกหยิบไปวางไว้ตรงไหนของโลก ในชุมชนที่เชียงรายปัจจุบันมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก ตายเพราะสารเคมีโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทำวิจัย นักโภชนาการคนหนึ่งวิจัยว่าถ้ามีคนตาย 100 คน 73 คนตายเพราะไม่ถูกหลักโภชนาการ จึงมีแรงบันดาลใจทำเกษตรเมตตาเยียวยาทุกอย่าง เกษตรสังหารล้างผลาญทุกอย่าง เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งทำในแบบของเราในแบบบริบทของเรา แต่เราต้อง เอาชนะคำคน เอาชนะของสังขาร เอาชนะทั้งปณิธานของตนเอง ใครมีหัวใจนักสู้ไม่มีใครแพ้ ที่เเพ้เพราะเรายอมแพ้เอง
หลักเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ด้วยการขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร สิ่งสำคัญที่สะท้อนสังคมคือ การทำเพื่อคนอื่นของตูน บอดี้แสลม พอทำมีทั้งคนเชื่อและคนแช่ง มีคนด่าและคนชม แต่สิ่งที่ตูนทำเป็นธรรมะคุณจะหาธรรมะข้อใดก็ได้จากสิ่งที่ตูนทำ สมาธิ ปัญญา วิริยะ ระหว่างทางผู้ชายคนนี้หว่านโปรยความสุข ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมให้เห็น และรับผิดชอบสังคม 1,200 ล้าน จึงถามว่าในฐานะเราเป็นพระสงฆ์เราจะรับผิดชอบทางสังคมอย่างไรเพราะตูนจะไปจบการวิ่งที่เชียงราย จึงวาดภาพจิตโพธิสัตว์ให้ตูนคนนำไปประมูลได้ 25 ล้านบาท ทำไมคนจึงอยากได้ เพราะภาพที่วาดนั้นมีคุณตูนเป็นแรงบันดาลใจจึงวาดภาพนี้ ด้านที่งดงามคือเมตตา พื้นฐานของสังคมไทยเป็นพื้นฐานแห่งการให้ สิ่งที่คุณตูนทำถือว่าจุดติดเราจะต่อยอดอย่างไรที่ผู้ชายคนนี้ทำ
ดังนั้นจึงเป็นคลื่อนแห่งความเมตตาที่ผู้คนหนึ่งลุกขึ้นมาทำสังคม คนพร้อมจะช่วยสังคม แต่คนที่จะทำเพื่อสังคมต้องเป็นโครงการที่ดีจริงๆ คนพร้อมจะช่วยมีเยอะ อยู่ที่ฝีมือในการทำโครงการ ลักษณะตนเป็นที่พึ่งของตนจากนั้นต้องให้คนเขาได้พึ่ง จะให้สังคมพึ่งเราในเรื่องใดบ้าง นี่คือความรับผิดชอบทางสังคมด้วยการทำในแบบของเรา สาระสำคัญเรารับมามากแล้ว เราจะคืนอะไรให้กับสังคม คนที่ทำงานใหญ่ทำไมจึงสำเร็จ ทำไมคนถึงรักเขา
ความสำเร็จของตูนคือ" ก้ม กราบ กอด" อ่อนน้อมถ่อมตน กราบพระสงฆ์ กอดให้กำลังใจผู้คนข้างทาง เป็นคนที่มีธรรมะอยู่ในหัวใจมีความเบิกบานกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์ ด้วยเจตนาที่แสนประเสริฐ ตูนจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เราไปทำงานเพื่อสังคมว่าสังคมมีพลังงานบวกมากมายให้เราออกไปทำงาน พร้อมจะทำให้สังคมดีขึ้น ขอให้เราเรียนรู้จุดแข็งของสังคมแล้วคิดโครงการดีๆ ขึ้นมาทำ ทำโครงการอย่าสนใจแต่คำชมแต่เราต้องรับคำด่า "คำชมคำด่าราคาเท่ากัน คนที่ทำงานเพื่อสังคมอย่าแบกหามคำเหล่านี้ " เราเกิดมาเพื่อทำงาน อย่าใช้ที่แบบปลอดภัยแล้วไม่ทำงานนั่นไม่ใช่ชีวิต สุภาษิตฝรั่งกล่าวว่า " เรือที่จอดนิ่งๆ อยู่กับท่าเป็นเรือที่ปลอดภัย แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เรือถูกสร้างขึ้นมา" คนที่เกิดมาอยู่เฉยๆ แล้วมีชีวิตที่ใสสะอาดไม่ผิดพลาดเลย นั่นเป็นชีวิตที่คุ้มค่าหรือ แล้วออกไปมีเบิกบานกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์
..................
(หมายเหตุ : ที่มา : https://www.rsu.ac.th/soc/forum05.html,http://www.banmuang.co.th/news/education/101728)
ทำไมถึงต้องห้ามพระเณรฉันข้าวเย็น ?
วันที่ 29 ก.ย.2561 เฟซบุ๊ก Naga King ได้โพสต์ข้อความว่า ทำไมถึงต้องห้ามพระเณรฉันข้าวเย็น ?
@ หลายคนที่เคยบวชก็คงทราบกันดีว่าโดยศีลวัตรของพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธองค์ทรง "ห้ามไม่ให้พระสาวกฉันข้างในเวลาวิกาล" ซึ่งคำว่าวิกาลนี้หมายถึงเวลาที่ล่วงเลยจากเที่ยงวันไปแล้วจนถึงเช้าวันใหม่
เราเรียกช่วงเวลานั้นว่า "เวลาวิกาล" การที่พระเณรฉันข้าวในเวลาวิกาลนี้ทรงบัญญัติว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ (วิ.ม.(ไทย)๒/๒๔๘/๔๐๕) ซึ่งอาบัติปาจิตตีย์นี้จัดว่าเป็น "ลหุกาบัติ" หรืออาบัติเบาเป็นโทษที่สามารถที่จะปลงอาบัติได้
คำว่าปลงอาบัติ หมายถึง การสารภาพความผิดและสัญญาต่อสงฆ์หรือบุคคลว่า "ผมจะไม่ทำผิดอีกแล้วค๊าบ" การสารภาพนี้เป็นการแสดงเจตจำนงว่าจะไม่ทำความผิดแบบนี้อีกครั้งหนึ่งที่ทำมาครั้งแรกถือว่าเกิดจากความผิดพลาดที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การสารภาพความผิดเช่นนี้ถือว่าเป็นการ "ปลงอาบัติ"อาบัติที่ทำมาก็เป็นอันยกไปหรือตกไป
@ มูลเหตุของอาบัติห้ามฉันข้าวเย็น ?
สำหรับอาบัติที่เกี่ยวกับการ "ฉันข้าวในยามวิกาล" นี้อยู่ในหมวดโภชนวรรค ของอาบัติปาจิตตีย์ โดยมีมูลเหตุมาจาก ภิกษุฉัพพัคคีย์ หรือภิกษุกลุ่ม ๖ รูป นำโดยหัวหน้า
คือ พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ โดยพระกลุ่ม ๖ วายร้ายนี้เป็นพระหัวดื้อชอบทำการละเมิดสิกขาบทอยู่เนืองๆ เช่น การประทุษร้ายตระกูล การพาพรรคพวกฉันข้าวเย็นเป็นอาจิณ
อยู่มาวันหนึ่งมีพระผู้ทรงศีลไปพบท่านที่วัดกีฎาคีรี แล้วเห็นท่านและคณะฉันข้าวเย็นพระรูปนั้นจึงกล่าวกะพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะว่า
“ท่านพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ถ้าพระสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี จะมีสุขภาพดี มีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญมิใช่หรือ ขอท่านทั้งหลายอย่าฉันอาหารเย็นเลยขอรับ”
ฝ่ายพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะกลับตอบแบบสวนทันทีว่า
"ใครพูดเช่นนั้นล่ะท่าน พวกผมฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา วิกาลกลางวัน ผลปรากฎว่ามีสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พวกผมจะไม่เชื่อที่คนอื่นว่า แต่จะทำตามที่พวกผมทำแล้วได้ผลดีดีกว่า เพราะฉะนัน้น พวกผมจะฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวันตามปกตินั่นแหละ"(ม.ม.(ไทย)๑๓/๑๗๕/..)
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระภิกษุผู้มีศีลรูปนั้นจึงนำเอาความจริงดังกล่าวไปกราบทูลแด่พระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงได้เรียกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะมาพบเพื่อสอบถามตามความเป็นจริง และที่สุดก็พบว่าพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะและคณะทำความผิดจริงจึงได้ตำหนิว่า
"โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงว่า "ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์"
จากนั้นทรงแสดงข้อยกเว้นที่พระสามารถฉันอาหารในเวลาวิกาลได้เป็นกรณีพิเศษไม่อาบัติก็คือ ๑. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
@ บทวิเคราะห์ "ฉันข้าวเย็น" ?
ก่อนจบจะขอวิเคราะห์เรื่องฉันข้าวเย็นนี้ให้อ่านกันว่าที่ทรงห้ามเรื่องการฉันข้าวเย็นนี้ก็เพราะ
(๑) มีธรรมเนียมของนักบวชอินเดียโบราณแล้วว่านักบวชต้องไม่ฉันข้าวเย็น ยกเว้นมีเหตุจำเป็นเท่านั้น
(๒) ตามหลักการปฏิบัติธรรมผู้ที่ได้อนาคามีเป็นต้นไปจะมีภัตเพียงหนเดียวโดยอัตโนมัติ แสดงว่าตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปก็จะต้องมีการงดข้าวเย็นกันแล้วโดยเฉพาะในวันพระที่ท่านเหล่านั้นต้องถือศีลอุโบสถอยู่แล้ว
(๓) ในแง่ของสังคม พระสงฆ์สามเณรผู้ถือศีลก็ควรงดข้าวเย็นเนื่องจากว่าจะได้ไม่เป็นภาระยุ่งยากเหมือนชาวบ้านในการหุงหาอาหารและไม่ทำตัวเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป
(๔) โดยหลักฐานการแพทย์ท่านระบุตรงกับที่ทรงบัญญัติก็คือ การงดข้าวเย็นทำให้สุขภาพดี ระบบย่อยดี ปลอดโปร่งกระปรี้กระเปร่า เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมตามสูตร กินน้อย นอนนอน ลงมือทำให้มาก
เพราะเหตุที่ว่ามาทั้งหมดนี้แหละครับพระท่านจึงไม่ฉันข้าวเย็น
ขอบคุณครับ
Naga King
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
อนุฯสนช.จัดประกวด'ครู D7DAYS'ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้สถาบันหลัก
วันที่ 29 ก.ย.2561 นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในฐานะอนุกรรมาธิการฯ. อ.จิรวรรณ ขัยรุ่งเรือง รองผู้จัดการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะทำงาน ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนความว่า
คณะกรรมาธิการฯได้จัดโครงการประกวด "ครู D7DAYS สำนึกรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพื่ออนาคต" เพื่อส่งเสริมให้ครู อาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้กับเด็กและเยาวชน และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของความมั่นคงของชาติ ผ่านการจัดกิจกรรมประกวดคลิปวีดีทัศน์ความยาวไม่เกิน 5 นาที่ รูปแบบการประกวด แบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้
1.รอบคัดเลือก ตัวแทนภาคละ 3 คน ทั้งหมด 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันตก. ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. รอบชิงชนะเลิศ. รางชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ. อันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล และรางวัลชมเชย จำนวน 15 รางวัล. และรางวัล Popular Vote จำนวน 3 รางวัล
ดังนั้นจึงขอเชิญชวนครู อาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา ทั่วประเทศ ที่ทำการสอนและถ่ายทอดความรู้ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวชฺ). ร่วมส่งคลิปวีดิทัศน์เกี่ยวกับการสอนประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที เข้าร่วมประกวด โดย UPlOAD ลง YouTube และส่งลิงก์ผลงานให้ผู้จัดการประกวดทาง Inbox แฟนเพจ D7DAYS ทำดี ทำได้ทุกวัน พร้อมอัพโหลดใบสมัครและกดไลค์กดแชร์ โดยตั้งเป็นสาธารณะ
ทั้งนี้ ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 -31 ตุลาคม. 2561 สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร 0-2831-9196 ถึง 7 หรือ. แฟนเพจ WWW.facebook/d7days
สุขเถิดแม่ชีเอมีธิดาวานร!ขออนุโมทนา
สุขเถิดแม่ชีเอมีธิดาวานร!ขออนุโมทนา : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ทันที่ได้ข่าวว่า น.ส.เอมี่ อาเมเรีย จาคอป อดีตนางเอกละครธิดาวานร ปลงผมบวชชี ที่ศูนย์ปฎิบัติธรรมกัมมัฎฐาน"ขันติสุข" เลขที่ 115 หมู่ 6 ต.ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ตั้งติดริมถนนสายสุวินทวงศ์(ปราจีนบุรี–ศรีมโหสถ) หรือ 319 รู้สึกยินดีกับเธอ นับได้ว่าเธอมาถูกทางแล้ว เดินตามรอยทางรุ่นพี่ "กิ๊ก-มยุริน"ได้่บวชปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศเมียนมา
พิจารณาจากเชื่อสถานที่ปฏิบัติบัติธรรมที่ลงท้ายด้วยคำว่า "ขันติสุข" แปลว่าความสุขที่เกิดความจากความอดทนอดกั้น ซึ่งมีความหมายหลายนัยอย่างเช่นความไว้วางใจ การยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นต้น ถือว่าเป็นหลัก "สันติธรรม" เป็น "โอวาทปฏิโมกขธรรม" คงจะสามารถเป็นสื่อให้แม่ชีเอมี่มีความอดทนกับเวทนาและอารมณ์ที่จรมาในจิตในการปฏิบัติช่วงแรก เมื่อผ่านไปสามารถระงับเวทนาได้ ปีติ สุข ก็จะตามมา
พิจารณาจากการให้สัมภาษณ์ขอแม่ชีเอมี่ ความว่า "หลังจากที่บวชชีแล้วจิตใจสงบขึ้นเยอะมากแล้ว นั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมภาวนาทุกวัน ปล่อยใจให้ว่าง ปลง ปล่อยวางได้มากขึ้น ทุกอย่างที่ผ่านมาจะไม่ขอพูดอะไร ขอตั้งจิตภาวนาปฎิบัติธรรมที่นี่ไปเรื่อยๆโดยไม่มีกำหนด ทุกอย่างขออโหสิกรรมให้ทุกคน และในช่วงเช้าหลังจากที่บวชชีมา จะร่วมสวดมนต์นั่งกรรมมัฎฐานกับแม่ชีและคณะ 4-5 คน และเก็บกวาดสถานที่ปฎิบัติธรรมอย่างคนทั่วไป และจะร่วมใส่บาตรพระด้วยทุกเช้ากรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวรอีกด้วย พร้อมทิ้งท้ายว่า อดีตเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจุบัน-อนาคต เป็นอะไรก็ไม่แน่นอนอยู่แล้ว มาบวชเพื่อความสบายใจ ทดแทนบุญคุญของพ่อ-แม่อยากอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ซึ่งการมาบวชชีไม่มีกำหนด โดยระหว่างการบวชนี้มีโยมแม่มาปฏิบัติธรรมอยู่ด้วย มาบวชแล้วสบายใจขึ้นไม่คิดอะไรมาก"
มีคำที่น่าสนใจอยู่คือ "ปล่อยใจให้ว่าง ปลง" และ "อดีตเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจุบัน-อนาคต เป็นอะไรก็ไม่แน่นอน" ทำให้ทราบว่าเธอเขาใจหลักธรรมและชีวิตมากขึ้น คำว่า "ว่าง" นี้ "พระพุทธทาส" ใช้อธิบายหลักธรรมคือ "อนัตตา" เพราะหากไม่ว่างก็ยากที่ใส่สิ่งใหม่เพิ่มเข้าไปได้ และคำว่า "อะไรก็ไม่แน่นอน" หมายถึง "อนิจจัง" และสิ่งที่เธอประสบก็คือ "ทุกข์" นี้เท่ากับว่าแม่ชีเอมี่ได้เข้าใจหลักไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
และคำว่า "อนิจจัง" ถือได้ว่าเป็นหลักธรรมที่มีประโยชน์สำหรับยุคดิจิทัล ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลง ผันผวนอย่างเร็วรวด หรือที่เรียกว่า "disruption" หากคนยังยึดมั่นในความคิดที่สุดโต่งทางใดทางหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ ก็ยากที่ทำให้เกิดนวัตกรรมเป็นแนวทางที่พัฒนาที่ยั่งยืนได้ รังแต่มีแต่ความขัดแยง ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ
พร้อมกันสามารถที่จะอนุมานได้ว่าการที่แม่ชีเอมี่เดินเข้าหาทางธรรมครั้งนี้ สิ่งหนึ่งคิดว่าคงขึ้นอยู่กับพื้นฐานของครอบครัวโดยเฉพาะแม่ เชื่อแน่ว่าคงได้จะเข้าวัดปฏิบัติธรรมบ้าง จึงสามารถเป็นสื่อไปถึงลูก บ้างครั้งการสอนโดยไม่สอนคือสอนโดยการทำให้ดูก็มีค่ายิ่งประโยชน์เพราะเป็นปลูกฝังทำให้ลูกมีแม่แบบมีแบบอย่างหรือไอดอล
การกระทำของแม่ชีเอมี่ในครั้งนี้คงเป็นตัวอย่างของคนที่ประสบกับปัญหาชีวิต แทนที่จะทำลายชีวิตตัวเองเพื่อออกจากปัญหา เมื่อรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหาคืออะไร แล้วก็หาทางแก้ปัญหาด้วยการปฏิบัติธรรม บวกกับมี "ขันติ" แล้วความสุขก็จะตามมา
จึงขอให้แม่ชีเอมี่จงมีความสุขกับการปฏิบัติธรรมให้เกิดมรรคผลพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ได้มากน้อยก็เป็นอุปนิสัยหรือเป็นการสั่งสมเป็นฐานหรือเป็นวสีในการปฏิบัติคราวต่อไป เพราะหากเข้าใจแล้วจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปฏิบัติธรรมได้
สุขเถิดแม่ชีเอมี่!!!!!
.................
(Cr. http://www.banmuang.co.th/news/entertain/126733)
ทำไมต้อง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์
ทำไมต้อง!ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
วันนี้คงยังเรียบค่ายไปก่อน ขุดเอาสิ่งที่อยู่ในหัวออกมา เพราะว่าที่ผ่านมานั้นต้องย่อมรับว่า ใช้โค้ตคอนโทรล เอ ซี แล้วก็ วี เสียเป็นส่วนมาก ใช้นวัตกรรมตัดแปะ บางครั้งแทบไม่มีความรู้ใหม่เลย พอเกิดความคิดอะไรขึ้นมาหรือได้ฮิ้น ก็เรียบเรียงออกมาในลักษณะเขียนกระทู้
ความจริงแล้วการเขียนข่าว เขียนรายงาน ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการเขียนกระทู้ หาสุภาษิตหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเชื่อต่อไปเรื่อยๆ พอฝึกบ่อยๆ ทำให้เกิดทักษะ จุดที่สำคัญคือจะต้องรู้ประเด็นที่น่าสนใจแล้วพาดหัวเรื่องหรือข่าวให้น่าสนใจตื่นเต้นอย่างไรบ้างครั้งก็ต้องยอมเจ็บตัวโดยมีเป้าหมายต้องการดึงคนมาสู่ธรรม รูปแบบของการเขียนงาน การเขียนข่าวรูปแบบก็จะมีรูปแบบหนึ่งการเขียนรายงานก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง และการเขียนวิทยานิพนธ์ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ในชั้นนี้ต้องการจะเขียนพิมพ์ไปเรื่อยๆ คิดอะไรได้ก็พิมพ์ออกมาแบบไม่ค่อยมีรูปแบบเท่านั้นนักเอาตามความคิดของ "โจน จันได" ที่ว่า "อย่าทำอะไรให้มันยาก หากยากแสดงว่ามันผิด"
เข้าเรื่อง ตามที่ตั้งหัวข้อเรื่องไว้ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญญานั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหลักธรรมพละ 5 หรืออินทรีย์ 5 ที่เป็นหลักธรรมที่ผลักดันให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกับอิทธิบาท 4 แต่ความจริงแล้วองค์ประกอบของหลักธรรมทั้ง 2 นี้ก็คล้ายคลึงกัน คงต้องศึกษาให้ลึกลงไปว่าหลักธรรมแต่ละเรื่องนั้นมีบริบทเป็นอย่างไร ซึ่งพละ 5 หรืออินทรีย์ 5 นั้นจะต้องปรับให้สมดุลโดยมีการจับคู่ดังนี้ ศรัทธาคู่วิริยะ สมาธิคู่ปัญญา ส่วนสติเป็นตัวควบคุมข้อธรรมทั้ง 4 ความจริงแล้วต้องปรับข้อธรรมทั้ง 4 นั้นให้สมดุล เวลาปฏิบัติธรรมพระอาจารย์ท่านจะแนะนำเสมอว่าต้องปรับอินทรีย์ให้สมดุลการปฏิบัติถึงจะก้าวหน้า ขณะเดียวกันหลักธรรมพละ 5 วงการธุรกิจออนไลน์ได้นำไปใช้กระตุ้นให้ผู้ใหม่ๆ ที่เข้ามาสนใจศึกษา ก็วิทยากรเขาก็ไม่ได้บอกนะว่าเนื้อหาที่นำมาบรรยายนั้นคือพละ 5 อาศัยคนวัดจึงทำให้เข้าใจ ก็คิดในใจว่าก็ของวัดดีๆนี่เอง และเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญญานั้นก็มีการรวบรวมไว้ดีแล้วในพระไตรปิฏกฉบับสากล(ภาษาไทย)
ที่มีความสนใจปัญญาเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะการปลูกฝังจากหลวงพ่อที่บอกว่า "ไม่มีอะไรจะให้ หากอยากได้อะไรก็เรียนเอา" นั้นก็คือต้องแสวงหาความรู้หรือปัญญาซึ่งก็ตรงกับหลักปรัชญา เท่ากับว่าหลวงพ่อได้สอนปรัชญาตั้งแต่เป็นเณรน้อยแล้ว โดยที่เราไม่รู้ว่านี้คือหัวใจของปรัชญา ในชั้นการเรียนปริญญาตรีส่วนใหญ่จะใช้สุตมยปัญญาที่เกิดจากการอ่านการเรียนฟัง หรือกอบปี้ เสียมากกว่าไม่ค่อยได้คิดทำความเข้าใจมากเท่าใดนัก หรือแม้แต่การเรียนนักธรรมกับบาลีก็อาศัยการท่องจำให้เกิดสัญญาคือการจำได้ไม่ได้เกิดปัญญาเท่าใดนัก จึงทำให้การเรียนบาลีไม่ก้าวหน้าแต่ก็รอดมาได้ถึงชั้นประโยค 5 พอระดับปริญญาตรีก็จำอีก แต่ดีที่เรียนเอกปรัชญาเป็นฐานในการคิดในระดับปริญญาโทแต่กว่าจะรอดมาได้ก็หนักเหมือนกันเพราะคิดหรือใช้จินตามยปัญญา คิดจินตนาการณ์ไปเรื่อยไร้กรอบความคิดที่ชัดเจน คือคิดแบบไม่มีกรอบหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Mindset หรือ Mindmap จึงยากที่จะสรุปเป็นความคิดใหม่หรือโมเดล
ความจริงแล้วปัญญา 3 ประการนี้ก็คือเป็นพื้นฐานหรือทักษะมนุษย์ดีๆนี้เอง ปัจจุบันนี้ด้านวัตถุได้พัฒนาปัญญา 3 ประการนี้มาเทียบปัญญาของมนุษย์แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความสนใจที่จะศึกษาด้านปัญญาเป็นพิเศษ และปัญญาที่น่าศึกษายิ่งก็คือปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือสมองของพระพุทธเจ้ารองลงมาก็คือสมองของพระสารีบุตร โดยมีหนังสือการศึกษาเปรียบเทียบสมองของพระพุทธเจ้ากับซุนวู น่าจะเป็นฐานในการศึกษาเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีความสนใจด้านปัญญาเช่นนี้ได้เห็นพัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอหรือหุ่นยนต์พร้อมกับการการพัฒนามาเทียบกับด้านวิญญาณด้วยแล้วจึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษายิ่ง บวกกับมีพื้นฐานความคิดอยู่เดิมก็คือจะสนใจเรื่องอะไรจะสนใจในจุดที่เป็นสุดยอดแล้วข้อปลีกย่อยในเรื่องนั้นๆก็จะรู้เอง อย่างเช่นนักการเมืองก็เช่นเดียวกันจะจับนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญหรือหัว ส่วนลูกจ็อกๆๆหรือลูกหาบก็จะปล่อยๆไป ด้วยเหตุนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบปัญญาประดิษฐ์กับปัญญาในพระพุทธศาสนาหรือปัญญาของพระพุทธเจ้า ในชั้นนี้พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้ให้แนวความคิดไว้แล้วว่า "มนุษย์จะต้องพัฒนาปัญญาให้เป็นสัมมาทิฏฐิเพื่อที่จะสามารถควบคลุมปัญญาประดิษฐ์ได้ด้วยการฝึกวิปัสสนากรรมฐานถึงจะสามารถพัฒนาปัญญาเท่าทันปัญญาประดิษฐ์" และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีก็ศึกษาล้ำหน้าไปแล้ว
เมื่อได้กรอบความคิดที่เป็นพุทธปัญญาประดิษฐ์จนกระทั้งพัฒนาเป็นปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์แล้วก็จะมีประโยชน์หรือเป็นตัวเสริมในการทำดุษฎีนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อออนไลน์เพราะอะไร ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้ปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกนำมาใช้งานด้านการสื่อสารทั้งด้านบวกและด้านลบ ส่วนด้านลบก็คือได้นำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยสร้างข่าวปลอมแล้วปล่อยในสื่อออนไลน์ ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันก็จะตกเป็นเหยื่อถูกหลอกเสียเงินเสียทองแม้กระทั้งเสียตัวก็มีมาก
ด้วยเหตุนี้ทำไมจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์" ด้วยประการฉะนี้แล
..........
(หมายเหตุ : ขอบคุณเจ้าของภาพ AI มา ณ โอกาสนี้)
หลักการวินิจฉัยคำสอนว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่?
วันที่ 28 ก.ย.2561 เพจ พุทธธรรม ธรรมะ เพื่อทางพ้นทุกข์ ได้โพสต์ข้อความว่า หลักการวินิจฉัยคำสอนว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่?
"หลักการสำหรับใช้วินิจฉัยคำสอน และการประพฤติปฏิบัติทั่วไป ว่าถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่ ซึ่งเรียกว่า "หลักตัดสินธรรมวินัย"
หลักตัดสินพระธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ "พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี" ครั้งหนึ่ง และแก่ "พระอุบาลีเถระ" ครั้งหนึ่ง
ที่ทรงตรัสแก่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มี ๘ ข้อ ใจความว่า
"ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
๑.สราคะ ( ความติดใคร่ย้อมใจ )
๒.สังโยค ( ความผูกรัดมัดตัวอยู่ในวังวนแห่งทุกข์ )
๓.อาจยะ ( ความพอกพูนกิเลส )
๔.มหิจฉตา ( ความมักมากอยากใหญ่ )
๕.อสันตุฏฐี ( ความไม่รู้จักพอ )
๖.สังคณิกา ( ความมั่วสุมคลุกคลี )
๗.โกสัชชะ ( ความเกียจคร้าน )
๘.ทุพภรตา ( ความเป็นคนเลี้ยงยาก )
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุสาสน์(คำสอนของพระศาสดา)
ส่วนธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อ...
๑.วิราคะ ( ความคลายออกเป็นอิสระ )
๒.วิสังโยค ( ความเปลื้องตนจากวังวนแห่งทุกข์ )
๓.อปจยะ ( ความไม่พอกพูนกิเลส )
๔.อัปปิจฉตา ( ความมักน้อย ไม่มากอยากใหญ่ )
๕.สันตุฏฐี ( ความสันโดษ )
๖.ปวิเวก ( ความสงัด )
๗.วิริยารัมภะ ( ความเร่งระดมความเพียร )
๘.สุรภตา ( ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย )
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์"
( ที่มา : วินย. ๗/๕๒๓/๓๓๑ )
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ "กรณีธรรมกาย"
ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์คืออะไรอย่างไร
ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์คืออะไรอย่างไร : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ตามที่ได้เกริ่นนำว่าจะศึกษาเรื่อง "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานเสริมสร้างสันติภาพโลก" เผยแพร่ออกไป ต้องยอมรับว่าไม่โดน หากนำหลักนิเทศศาสตร์มาจับโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของการเขียนข่าวจะต้องพิจารณาหลักคุณค่าของข่าวที่จะสร้างความน่าสนใจต้องประกอบไปด้วย ความรวดเร็ว (Immediacy) ความใกล้ชิด (Proximity) ความเด่น (Prominence) ความผิดปกติ (Unusualness) ความสนใจตามปุถุชนวิสัย (Human interest) ความขัดแย้ง (Conflict) ความลึกลับหรือมีเงื่อนงำ (Mystery / Suspense) ผลกระทบ (Consequence) ความก้าวหน้า (Progress) และ เพศ (Sex)
แต่นักข่าวก็จะต้องยึดมั่นในหลักการ หน้าที่ (Duty) มีความรับผิดชอบ (Accountability) ภาระผูกพัน (Obligation) ความจริงและความถูกต้อง (Truth and Accuracy) ความยุติธรรม (Fairness) ความสมดุล (Balance) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) วิชาชีพนิยม (Professionalism) โดยสื่อมวลชนจะต้องมีหน้าที่ในการเป็นสุนัขเฝ้ายาม (Watchdog) การเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) การเป็นผู้จัดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความน่าสนใจและมีคุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงไร สื่อมวลชนต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีที่มาอย่างชัดเจน เป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมานำเสนอ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่เป็นกระจก (Mirror) ที่สะท้อนข้อเท็จจริงให้คนในสังคมรับรู้ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง เพื่อตักเตือนและกระตุ้นให้คนในสังคมเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
แม้ว่านักข่าวจะมีหน้าที่หลักสำคัญ คือ การให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform) การให้การศึกษา (to educate) และการให้ความบันเทิง (to entertain) โดยวิชาชีพสื่อมวลชนถือเป็นวิชาชีพที่ได้รับสิทธิ เสรีภาพเป็นพิเศษจากทุกสังคมนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อกันว่า “เสรีภาพของสื่อ คือเสรีภาพของประชาชน”ก็ตามที
พร้อมกันนี้นักข่าวในยุคดิจิทัล(Digital Journalist) จะต้องมีทักษะที่หลากหลายทำข่าวหลายหรือแบบหรือแพลตฟอร์ม อย่างเช่นข่าวหนึ่งข่าวจะต้องทำเสนอได้หลายรูปแบบทั้งข่าวโทรทัศน์ คลิป หนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์แบบมัลติมีเดีย ลงเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แบบทั้ง Real time และ ให้ context กับเนื้อหาข่าวและต้องไม่ cloning content
พร้อมกันนี้จะต้องมีสัญชาตญาณในการทำข่าว คือ 1) ทำให้เขารู้ว่าข่าวสนุกอย่าไปกลัววิชาข่าว 2) ทำงานที่มากกว่า limit ตัวเอง 3) เขาเรียนรู้จากกระบวนการทดลองให้ได้ข่าวมาด้วยตัวเอง พอเอาทฤษฎี แนวคิดเรื่องข่าวไปเขย่าให้เข้าใจอีกรอบตอนท้าย หลังไปทดลองทำมาแล้วเข้าถึงได้มากกว่า เข้าใจง่ายกว่า ประเด็นกับการเล่าเรื่องอาจไม่ perfect ใน assignment แบบนี้ข่าวจะไม่น่าเบื่อและไม่ต้องกลัวอีกต่อไป
จากประสบการณ์ก็เข้าใจดีว่าการพาดหัวข่าวหรือหัวเรื่องหากมีลักษณะเชิงบวกแล้วยากที่จะได้รับความสนใจ จะมีเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องจริงๆเท่านั้นเข้ามาอ่าน ส่วนใหญ่จะดูเฉพาะพากหัวข่าวเท่านั้นแล้วแสดงความคิดเห็นบ้างเล็กๆน้อยแล้วก็ผ่านไปโดยไม่ได้คลิกเข้าไปอ่านผ่านในเนื้อของข่าวหรือรายงานเลย
ในเบื้องต้นนี้คิดเอาไว้ว่าจะเขียนเป็นตอน เท่าที่คิดได้ตอนนี้คือแบ่งเป็น "ปรัชญาพุทธปัญญาประดิษฐ์" หลังจากนั้นถึงนำไปบูรณาการกับหลักสันติภาพ
ตอนแรกๆ ก็ไม่มั่นใจถึงความถูกต้องในการใช้คำว่าการใช้คำว่า "พุทธปัญญาประดิษฐ์" มีความถูกต้องมาน้อยเพียงใด แต่เมื่อนำคำว่า"ปรัชญา"มาจับจึงทำให้เกิดความอุ่นใจมากขึ้น ทำให้ไม่ผูกมัดทางคิดมากนัก ในชั้นนี้ก็คงจะกล่าวถึงการนิยามความหมายของคำไปก่อนโดยแบ่งออกเป็น "ปรัชญา" "พุทธ" "ปัญญา" และ"ปัญญาประดิษฐ์" ให้มีความเข้าใจก่อนว่ามีความหมายว่าอย่างไร
การนิยามความหมายนี้ถือว่าสำคัญมากๆ ที่มีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะไม่ได้มีการตกลงกันแต่ละเรื่องที่ถกเถียงกันนี้จะนิยามความหมายให้ตรงกันอย่างไร ถึงไม่เกิดความขัดแย้ง
หลังจากนั้นก็จะมีการทบทวนวรรณกรรมในแต่ละคำมีความเป็นมาอย่างไรมีแนวคิดอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง หลักจากนั้นจึงนำมาประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคไทยแลนด์ 4.0 หลักจากนั้นถึงจะเชื่อมโยงกับหลักสันติภาพ
ในเบื้องต้นนี้จะกล่าวถึงคำว่า "ปรัชญา" เสียก่อน ตามที่ได้ศึกษปรัชญาในระดับปริญญาตรีมาเข้าใจความหมายของคำคือความรักในความรู้หรือการแสวงหาความรู้ในเรื่องหลักๆคือความจริงคืออะไรซึ่งก็คืออภิปรัชญา จะแสวงหาความจริงด้วยวิธีการใดคือญาณวิทยา และคุณค่าหรือความงามของความจริงเป็นอย่างไรเป็นต้นคือสุนทริยศาสตร์ เมื่อได้ศึกษาเรื่องๆนั้นจนพบความจริงหรือสังเคราะห์เป็นความคิดของตัวเองได้อย่างสมเหตุสมผลก็จะหยุดเพียงเท่านั้น แล้วมอบความรู้หรือโมเดลนั้นให้คนอื่นนำไปปฏิบัติหรือทดลองใช้ต่อไป
ส่วนคำว่า "พุทธ" นั้น ในชั้นนี้มีความเข้าใจคือหลักความรู้ในหลักอริยสัจ 4 ประการ แล้วขยายความในบริบทต่างๆ และสามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ได้ หากมีการนิยามหลักธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ควรจะมีการเชื่อมโยงเปรียบเทียบกับแนวความคิดต่างๆอยู่เสมออย่างเป็นระบบ
การศึกษาปรัชญานั้นก็จะศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาแต่ยุคสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ก็เกิดความคิดว่าการศึกษาปรัชญานั้นจะนำมาประยุกต์ใช้ให้ทันท่วงทีหรือทันการณ์ได้อย่างไร หรือว่านักปรัชญามีหน้าที่ในการแสวงความรู้เท่านั้นโดยไม่สนใจสังคมเป็นปัจเจกบุคคลคือรักในความรู้ไปเรื่อยๆโดยไม่มีจุดจบ ซึ่งหลักปรัชญาก็ว่าไว้อย่างนั้นว่าเป็นปัญหาปลายเปิด ถ้าเป็นปัญหาปลายปิดแล้วจะไม่ใช่ปัญหาของปรัชญานี่คือความเข้าใจอย่างนี่
และวันนี้(28ก.ย.) ก็ได้มีการท้วงติงจากนักคิดที่ระบุว่าศาสนาพุทธไทยนั้นสามารถแก้ปัญหาทุกข์ได้เฉพาะส่วนบุคคลเท่านั้นแต่ในส่วนของปัญหาสังคมอย่างเช่นการทุจริตคอร์รัปชั่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นศาสนาพุทธไทยยังไม่มีบทบาทตรงนี้มากนัก แม้ว่าจะปัจจุบันนี้พระสงฆ์จะใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่หลักธรรมสู่สังคมก็มีความเห็นยังมีเนื้อหาเดิมๆซ้ำ
ดังนั้น จึงอาจมองได้ว่าทั้งวงการปรัชญาและศาสนาพุทธไทยมีลักษณะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ในชั้นนี้คงเริ่มต้นเพียงเท่านี้ก่อน
กลอนพาไป-ใจรักศรัทธาใยถามเหนื่อยไหม
ใจรักศรัทธาใยถามเหนื่อยไหม
จะทุ่มเทให้ทั้งกายใจได้สุดกำลัง
จะทุ่มเททั้งสติปัญาญาไม่หยุดยั้ง
จะมุ่งมั่นหวังแทนคุณด้วยใจทนง
พระพม่าสอนวิธีฝึกสมาธิให้กับแม่ชีศาสนาคริสต์
วันที่ 28 ก.ย.เพจ Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies-ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร ได้รายงานว่า ตั้งแต่มีงานวิจัยออกมาว่าการฝึกสมาธิจะทำให้คนทุกคนที่ฝึกมีความสุขทางใจอย่างแท้จริง แม่ชีในศาสนาอื่นๆ ก็มาทดลองศึกษาทฤษฎีเพื่อเอาไปปฏิบัติบ้าง ในภาพ พระเถรวาทสายพม่ากำลังสอนวิธีฝึกสมาธิให้แม่ชีในศาสนาคริสต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัว The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศ
วันที่ 28 ก.ย.เพจไทยไทม์นิวส์ ออนไลน ได้รายงานว่า บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวที่สุดแห่งยนตรกรรมซาลูนอัจฉริยะ The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศเจนเนอเรชั่นใหม่ล่าสุด ที่มาพร้อมกับดีไซน์ใหม่อัน โดดเด่น และเทคโนโลยีอันล้ำสมัยครบครัน เทียบเท่ารถยนต์ตระกูล The S-Class โดยรถยนต์รุ่นนี้นำเสนอในสามรุ่นย่อย ได้แก่ The C 220 d Avantgarde ราคา 2,349,000 บาท The C 220 d Exclusive ราคา 2,690,000 บาท และ The C 220 d AMG Dynamic ราคา 2,890,000 บาท ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้แล้วที่ผู้จำหน่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์อย่างเป็นทางการ ทั้ง 32 แห่งทั่วประเทศ
มร .ฟรังค์ ชไตน์อัคเคอร์ รองประธานบริหาร ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย มีแนวทางการดำเนินงานภายใต้ กลยุทธ์ “เดอะ เบสท์” (THE BEST) เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่จะนำเสนอ “สิ่งที่ดีที่สุด” ให้กับลูกค้าทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า ซึ่งจากความสำเร็จและการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาของ The new C-Class เจนเนอเรชั่นปัจจุบัน ทำให้ในปี 2560 ที่ผ่านมา The C-Class แบบซาลูนและเอสเตทมียอดขายทั่วโลกรวมกันสูงถึงกว่า 415,000 คัน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้รถยนต์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คือการนำเสนอรุ่นย่อยที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกสรร ซึ่งรวมถึงรถยนต์แบบสปอร์ตคูเป้ และคาบริโอเลต์ สองประตูที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2558 และ 2559 ตามลำดับด้วย”
“รถยนต์ The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศที่ผลิตในปีนี้ ได้รับการออกแบบดีไซน์ใหม่หมดทั้งภายนอกและภายใน โดยจะเน้นที่รูปลักษณ์ด้านหน้า ไฟหน้า และไฟท้าย รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อให้ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ของ The C-Class รุ่นนี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ารถยนต์ตระกูล The S-Class เพื่อยกระดับความปลอดภัยเชิงรุกของรถให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมความสามารถในการขับขี่แบบกึ่งอัตโนมัติได้ในบางสถานการณ์อีกด้วย โดยการเปิดตัว The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศในวันนี้ ทางเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้นำเสนอรถยนต์รุ่น The C 220 d ทั้งหมด 3 รุ่นย่อยด้วยกัน คือ รุ่นที่นำมาจัดแสดงในงานวันนี้ The C 220 d Avantgarde และ The C 220 d AMG Dynamic รวมถึงรุ่นที่จะเริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้ อย่างรุ่น The C 220 d Exclusive อีกด้วย” มร. ฟรังค์ กล่าวเพิ่มเติม
The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศ
The new C-Class รุ่นประกอบในประเทศที่ปรับโฉมใหม่ เป็นการผสมผสานคุณสมบัติอัจฉริยะ และความเร้าใจเข้าด้วยกัน ซึ่งรูปลักษณ์ใหม่นี้ มีความโดดเด่นด้วย ดีไซน์ภายนอก ของรุ่น The C 220 d Avantgarde จะใช้กระจังหน้าสีเงินเสริมโครเมี่ยม พร้อมตราสัญลักษณ์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และล้ออัลลอยแบบ 5 ก้านคู่ ขนาด 18 นิ้ว รุ่น The C 220 d Exclusive จะเป็นกระจังหน้าแบบคลาสสิค พร้อมตราสัญลักษณ์เมอร์เซเดส-เบนซ์อยู่เหนือฝากระโปรงหน้า และล้ออัลลอยแบบ multi-spoke ขนาด 18 นิ้ว ส่วนในรุ่น The C 220 d AMG Dynamic จะติดตั้งกระจังหน้าแบบ diamond grille สีเงิน พร้อมตราสัญลักษณ์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ และล้ออัลลอยดีไซน์สปอร์ตจาก AMG แบบ 5 ก้านคู่ ขนาด 19 นิ้ว ตกแต่งด้วยสีดำ โดยมีกันชน
หน้า-หลังและสเกิร์ตข้างเป็นดีไซน์สปอร์ตแบบ AMG Bodystyling โคมไฟหน้าและหลังแบบใหม่ได้รับการออกแบบโดยใช้เส้นโค้งเป็นองค์ประกอบหลัก พร้อมใช้วัสดุคุณภาพสูงเพื่อสร้างความประทับใจสูงสุดในแง่รูปลักษณ์ และความรู้สึก รวมถึงการใช้ไฟหน้าแบบ LED High Performance ในรุ่น The C 220 d Avantgarde และเทคโนโลยีไฟหน้าแบบ MULTIBEAM LED ในรุ่น The C 220 d Exclusive และ The C 220 d AMG Dynamic พร้อมระบบไฟสูงแบบ ULTRA RANGE Highbeam เป็นครั้งแรกในรถยนต์ The C-Class ซึ่งไฟหน้านี้ประกอบด้วยหลอดไฟ LED ที่ทำงานโดยอิสระจำนวน 84 หลอดต่อโคมไฟหน้า 1 โคม ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถปรับความเข้มแสง โดยใช้ระบบไฟหน้าให้เข้ากับสภาพการจราจรโดยรอบได้ ซึ่งระบบไฟหน้า MULTIBEAM LED มีคุณสมบัติพิเศษมากมายที่เหนือกว่าระบบไฟหน้า LED มาตรฐาน (ที่มีหลอดไฟ LED 19 หลอดต่อโคมไฟหน้า 1 โคม) เช่น ระบบไฟส่องสว่างขณะขับผ่านสี่แยกหรือวงเวียน ระบบไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่ในเมือง และระบบไฟส่องสว่างสำหรับสภาวะอากาศเลวร้าย ทั้งนี้ ระบบไฟสูงแบบ ULTRA RANGE Highbeam จะทำงานอัตโนมัติ หากระบบตรวจจับได้ว่าไม่มีผู้สัญจรในทางรถสวน ถนนข้างหน้าเป็นทางตรง และผู้ขับขี่กำลังใช้ความเร็วตั้งแต่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ระบบไฟสูงแบบ ULTRA RANGE Highbeam จะช่วยให้ไฟหน้าของรถมีความสว่างในระดับที่สูงขึ้นตามความเร็วของรถ โดยสามารถส่องสว่างได้ไกลถึง 650 เมตร นอกจากนี้ในรุ่น The C 220 d AMG Dynamic ยังมีหลังคาพาโนรามิคซันรูฟ ที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ด้วยระบบไฟฟ้าอีกด้วย
ดีไซน์ภายใน และห้องโดยสาร ถูกออกแบบให้มีความหรูหราสไตล์สปอร์ต และมีโครงสร้างที่ดูต่อเนื่องเป็นชิ้นเดียว โดยรุ่น The C 220 d Avantgarde จะมาพร้อมกับพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น พร้อมปุ่มควบคุมแบบ Touch Control ในขณะที่ The C 220 d Exclusive และ The C 220 d AMG Dynamic จะใช้พวงมาลัยที่มาพร้อมระบบพาวเวอร์ปรับระดับด้วยระบบไฟฟ้าและปรับน้ำหนักตามความเร็วรถ ซึ่งในรุ่น The C 220 d AMG Dynamic จะเพิ่มพวงมาลัยที่มาพร้อมกับระบบมัลติฟังก์ชัน ตกแต่งแบบสปอร์ตท้ายตัด พร้อมปุ่มควบคุมแบบ Touch Control โดยรุ่น The C 220 d Avantgarde และ The C 220 d Exclusive ใช้เบาะหุ้มด้วยหนัง ARTICO และ The C 220 d AMG Dynamic ใช้เบาะหุ้มหนังแบบสปอร์ต โดยเบาะด้านหลังของทุกรุ่นยังสามารถพับลงได้แบบ 1/3 และ 2/3 อีกด้วย ทั้ง 3 รุ่นมาพร้อมกับปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ (Push Start) ในขณะที่รุ่น The C 220 d Exclusive และ The C 220 d AMG Dynamic จะมีระบบกุญแจแบบ KEYLESS-GO เสริมเข้ามาด้วย นอกจากนั้น The new C-Class ยังได้นำเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้งานมาจากรถยนต์ The S-Class โดยมีระบบ All-Digital instrument display ที่ทำให้หน้าจอเรือนไมล์แบบดิจิทัลของรุ่น The C 200 d AMG Dynamic มีขนาดใหญ่ถึง 12.3 นิ้ว และยังสามารถปรับรูปแบบการแสดงผลได้ 3 รูปแบบ คือ Classic, Progressive และ Sport โดยรถยนต์ The new C-Class ยังมาพร้อมกับหน้าจอมัลติมีเดียบริเวณกลางคอนโซลแบบ MB Audio 20 ขนาด 10.25 นิ้ว เพื่อใช้ในการควบคุมระบบต่างๆ ของรถได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสด้วยระบบ Touch pad ไม่ว่าจะเป็นระบบ Apple CarPlay™ ระบบถอยจอดแบบอัตโนมัติ หรือระบบแผนที่นำทาง 3 มิติรูปแบบใหม่ในรุ่น The C 220 d Exclusive และ The C 220 d AMG Dynamic เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มสุนทรียภาพในการเดินทางด้วยระบบไฟ สร้างบรรยากาศในห้องโดยสารที่ปรับสีได้ถึง 64 สี และในรุ่น The C 220 d Exclusive ยังได้ติดตั้งฟังก์ชั่นปรับสมดุลอากาศภายในห้องโดยสาร (AIR BALANCE package) ที่ช่วยฟอกอากาศ พร้อมปรับอากาศให้มีกลิ่นหอมด้วยน้ำหอมชนิดเดียวกับในรถยนต์ The S-Class เพื่อยกระดับความสบายในการโดยสารขั้นสูงสุด
ระบบเทคโนโลยี และระบบความปลอดภัย ที่มาพร้อมกับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่รุ่นล่าสุดสำหรับตระกูล The C-Class ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับระบบที่ใช้ในรถยนต์ The S-Class อาทิ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่ช่วยเสริมเรื่องความปลอดภัย และยกระดับประสบการณ์การขับขี่ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น อาทิ โปรแกรมควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ (Electronic Stability Program - ESP®), ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (Anti-lock braking system – ABS), ระบบเบรก ADAPTIVE BRAKE พร้อมฟังก์ชั่น HOLD และ Hill-Start Assist, ไฟเบรกกระพริบฉุกเฉิน (Adaptive brake light), ระบบช่วยเบรกแบบแอคทีฟ ABA (Active Brake Assist system), ระบบรักษาความเร็ว (Cruise Control) และจำกัดความเร็ว (SPEEDTRONIC), ระบบเตือนเพื่อนำรถเข้าศูนย์บริการ (ASSYST Service interval indicator), ระบบเตือนแรงดันลมยาง (Tyre pressure loss warning system), ระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (ATTENTION ASSIST), เซ็นเซอร์ช่วยในการนำรถเข้าจอด (PARKTRONIC), ระบบช่วยการนำรถเข้าจอดแบบอัตโนมัติ (Active Parking Assist), ระบบ DYNAMIC SELECT คือแบบ Sport, Sport+ และ Comfort, ฟังก์ชั่นเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ Apple CarPlay™ & Android Auto และระบบสำหรับเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ Bluetooth นอกจากนั้นยังมีระบบช่วยรักษาระยะห่างจากรถที่อยู่ด้านหน้า (Distance Pilot DISTRONIC) กล้องแสดงภาพรอบทิศทาง (Surround view camera) และระบบเสียงรอบทิศทาง Burmester® surround sound system ที่เป็นฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้ามาในรุ่น AMG Dynamic ระบบแผนที่นำทางที่ติดตั้งเฉพาะในรุ่น The C 220 d Exclusive และ The C 220 d AMG Dynamic และกล้องแสดงภาพด้านหลังขณะถอยรถ (Reversing camera) ที่มีเฉพาะในรุ่น The C 220 d Avantgarde และ The C 220 d Exclusive ด้วย
รุ่น เครื่องยนต์ ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) แรงม้าสูงสุด (แรงม้า/รอบต่อนาที) แรงบิดสูงสุด
(นิวตันเมตรที่ความเร็วรอบต่อนาที) อัตราเร่ง
0-100 กม./ชม.
(วินาที) ความเร็วสูงสุดโดยประมาณ (กม./ชม.)
C 220 d Avantgarde ดีเซล 4 สูบ
แถวเรียง เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ 1,950 143 (194) / 3,800 400 / 1,600-2,800 6.9 240
C 220 d Exclusive ดีเซล 4 สูบ
แถวเรียง เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ 1,950 143 (194) / 3,800 400 / 1,600-2,800 6.9 240
C 220 d
AMG Dynamic ดีเซล 4 สูบ
แถวเรียง เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ 1,950 143 (194) / 3,800 400 / 1,600-2,800 6.9 240
C 220 d Avantgarde ราคา 2,349,000 บาท
• C 220 d Exclusive ราคา 2,690,000 บาท
• C 220 d AMG Dynamic ราคา 2,890,000 บาท
ททท.ส่งเสริม"10เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ"ย้อนรอยวิถึไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว จัดโครงการ "เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย" จัดทำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E- Book) เพื่อส่งเสริมสินค้าด้านการท่องเที่ยวให้พร้อมเสนอขายทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว และเป็นการส่งเสริมและพัฒนทรัพยากรการท่องเที่ยวตามเส้นทางสายน้ำ ตามวิถีไทยดั้งเดิม
โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 เวลา 13.30 น. ที่ ห้องประชุม 1 ชั้น 10 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ คุณนิธี สีแพร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ "10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย" โดยมี คุณสี่รัก คุณประภากร Director of CBT travel (ผู้ประกอบการท่องเที่ยวท้องถิ่น) คุณณปภัช พิณเทพ ประธานสมาคมคลัสเตอร์ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเชิงเกษตรภาคกลาง ร่วมแถลงข่าวด้วย ภายในงานมีคุณณัฐ ศักดาทร ดารานักร้องชื่อดัง ให้เกียติร่วมงาน พร้อมผู้สนับสนุนและสื่อมวลชนจำนวนมาก
สำหรับโครงการ " 10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย " ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) ได้จัดขึ้น มีกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยมีกำหนดจัดโครงการในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2561 วัตถุประสงค์ของโครงการก็เพื่อ จัดทำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ และ เพื่อส่งเสริมสินค้าด้านการท่องเที่ยวให้พร้อมเสนอขายทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ 1.กลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำ (แม่น้ำ ลำคลอง) และ 2. ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว
สำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการ " เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย " แบ่งออกเป็น
1.จัดประชุมหารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมสินค้าท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเรือ (แม่น้ำ ลำคลอง)
2.. สำรวจ รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำสื่อเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและความต้องการทางตลาดในประเทศและต่างประเทศ
3.. สร้างสรรค์และออกแบบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ
4.. จัดทดสอบเส้นทางท่องเที่ยว
สำหรับพื้นที่ดำเนินโครงการ เช่น
1. แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลาง (อยุธยา กรุงเทพฯ และปริมณฑล)
2.. แม่น้ำโขง - ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย )
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี)
3. ทะเลสาบสงขลา (ทะเลน้อย จังหวัดสตูล)
4.แม่น้ำ ลำคลองอื่นๆที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
สำหรับหลักการและเหตุผล โครงการส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำเสนอจุดแข็งของประเทศคือ “วิถีไทย” อันเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความเป็นไทยแท้ดั้งเดิม โดยต่อยอดนำเสนอสินค้าการท่องเที่ยวที่ผูกโยงกับวิถีไทย เพื่อนำรายได้และความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจ ทำให้คนท้องถิ่นเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวและมีรายได้เข้ามาในชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยวในอนาคต
การท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ลำคลอง เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมวิถีชีวิตและวิถีชุมชนตามสองฝั่งแม่น้ำลำคลอง รวมถึงโบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีอยู่ทั้งสองฝั่งคลอง
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการพัฒนาศักยภาพในการท่องเที่ยวทางฝั่งแม่น้ำโขง และมีศักยภาพเพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นมาตรฐานสากล อาทิ โครงการเส้นทางการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขง การวางแผนการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดกิจกรรม เผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวในฝั่งแม่น้ำโขง
กองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความสำคัญของนักท่องเที่ยวดังกล่าวข้างต้น ที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียน และช่วยให้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ขับเคลื่อน ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและบรรยากาศโดยรวมของประเทศ จึงได้จัดทำคู่มือส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพในพื้นที่ cluster ต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไป download ได้ที่ tourismproduct.tourismthailand.org
สาเหตุฝรั่งหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา
มีคำตอบสรุปได้ดังนี้
๑. เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เปิดอิสระให้ใช้สติปัญญาพิจารณาก่อนที่จะศรัทธานับถือ ต่างจากศาสนาเดิมที่เขานับถือห้ามคำถาม.โดยให้เชื่อก่อนสิ่งอื่นใด แล้วรอผลของความเชื่อรอจากพระผู้เป็นเจ้าจะประทานพร
๒.ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาแล้ว พบว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อสันติ เริ่มที่ตนเองก่อนแล้วแผ่ไปสู่คนรอบข้างและคนทั้งโลกรวมตลอดถืงสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย ซึ่งศาสนาอื่นมีไม่ครบถ้วนเหมือนพุทธศาสนา
๓. ชาวพุทธในอดีต ถึงปัจจุบันไม่เคยไปเบียดเบียนหรือทำร้ายคนต่างศาสนา มีแต่การช่วยเหลือเผื่อแผ่เมตตาโอบอ้อมอารี ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
๔. ศาสนาเดิมที่พวกเขานับถืออยู่ไม่ให้ทิศทางเดินในอนาคตที่ชัดเจนได้..แต่พระพุทธศาสนาบอกได้ว่า..จะเลือกเดินสู่จุดมุ่งหมายใด..เช่นจะตั้งตนในปัจจุบันให้ดีอย่างไร จะไปสวรรค์ หรือจะไปนิพพานหรือจะไปสู่ภพภูมิแห่งเดรัจฉานหรือสู่ทุคติอบายภูมิอย่างไร ก็อยู่ที่บุคคลจะเลือกปฏิบัติเอง..กำหนดอนาคตได้จากปัจจุบันด้วยตนเองไม่ต้องรอคำตัดสินจากพระผู้เป็นเจ้า
๕. ในท่ามกลางลัทธิต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันเช่น ลัทธิการก่อการร้าย ลัทธิแบ่งแยกดินแดน ที่ใช้อาวุธ ก่อสงคราม ต่าง ๆ ทั่วโลกนี้..พวกเขามองไม่ออกว่า จะหาสันติได้อย่างไร..ชีวิตมนุษย์บนโลกใบนี้เริ่มไม่ปลอดภัยขึ้นทุกวัน ๆ สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเสาะแสวงหาศาสนาที่เน้นคำสอนนำปฏิบัติเพื่อสันติอย่างแท้จริง..นั่นคือพระพุทธศาสนา อันเป็นความหวังสุดท้ายของพวกเขาเหล่านี้นั่นเอง
คำสดุดีที่นักคิดนักเขียน นักปราชญ์ชาวตะวันตก กล่าวถึงพุทธศาสนา
อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า
“ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความ จริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”
แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”
เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”
เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า
“ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็นมา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”
อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลก
เคยได้มา”
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า
“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบ- การณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระ พุทธศาสนา”
อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า
“ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”
เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า
“ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”
Cr.https://koidoo.com/2018/08/25/ฝรั่งหันมาสนใจศึกษา-พุท/
นักข่าวมีหน้าที่รู้คุณค่าข่าวแต่ต้องคำนึงหลักการ
หน้าที่หลักสำคัญของสื่อมวลชน คือ การให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform) การให้การศึกษา (to educate) และการให้ความบันเทิง (to entertain) โดยวิชาชีพสื่อมวลชนถือเป็นวิชาชีพที่ได้รับสิทธิ เสรีภาพเป็นพิเศษจากทุกสังคมนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อกันว่า “เสรีภาพของสื่อ คือเสรีภาพของประชาชน” (ศิริวรรณ อนันต์โท และสันทัด ทองรินทร์, 2559 : 4-5)
จะต้องยึดมั่นในหลักการ หน้าที่ (Duty) มีความรับผิดชอบ (Accountability) ภาระผูกพัน (Obligation) ความจริงและความถูกต้อง (Truth and Accuracy) ความยุติธรรม (Fairness) ความสมดุล (Balance) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) วิชาชีพนิยม (Professionalism) โดยสื่อมวลชนจะต้องมีหน้าที่ในการเป็นสุนัขเฝ้ายาม (Watchdog) การเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) การเป็นผู้จัดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความน่าสนใจและมีคุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงไร สื่อมวลชนต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีที่มาอย่างชัดเจน เป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมานำเสนอ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่เป็นกระจก (Mirror) ที่สะท้อนข้อเท็จจริงให้คนในสังคมรับรู้ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง เพื่อตักเตือนและกระตุ้นให้คนในสังคมเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที (Goran&Karamarko, 2015, 141 ; นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2540 อ้างถึงใน บุปผา บุญสมสุข, 2558, 116 ; McQuail, 2005 อ้างถึงใน Ravi, 2012, 307; กาญจนา แก้วเทพ, 2556, 94)
คุณค่าข่าว ซึ่งประกอบไปด้วย ความรวดเร็ว (Immediacy) ความใกล้ชิด (Proximity) ความเด่น (Prominence) ความผิดปกติ (Unusualness) ความสนใจตามปุถุชนวิสัย (Human interest) ความขัดแย้ง (Conflict) ความลึกลับหรือมีเงื่อนงำ (Mystery / Suspense) ผลกระทบ (Consequence) ความก้าวหน้า (Progress) และ เพศ (Sex), (พัชราภา เอื้ออมรวนิช,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี,สิทธิส่วนบุคคลกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน,http://www.presscouncil.or.th/จับจ้องส่องจริยธรรมสื่/งานวิจัย-บทความวิชาการ-ก/articles00001/)
ดิจิทัลเท่านั้นลดความเหลื่อมล้ำได้
ดิจิทัลเท่านั้นลดความเหลื่อมล้ำได้
กรรมแต่เหตุไฉนห้ามใช้หาเสียง
สร้างกลไกไซเบอร์ป้องภัยเสี่ยง
ทำเป็นเลี่ยงพวกตรูใช้ได้สบายใจ
21ก.ย.วันสันติภาพก็งั้นๆ
ไม่พาสรรค์ดุจเดชอำนาจ
ผามออีแดงมีไว้ขู่ดูองอาจ
สาระขันเป็นพันธุ์เงียบงันเอย
สันติภาพที่เงียบงัน
ถูกขังในกรงใหญ่
จะอ้างปากต้องทำใจ
เหตุถูกขังให้เงียบงัน
หรือนี่คือเป็นเพียงมโนนึก
เป็นที่ฝึกให้เราถึงฝั่งหมาย
จะลำบากบ้างก็เพียงแต่กาย
ที่วางหมายคือ"จรถ พหุชนา"
จิตนั่นยังหวนคิด
ญาติมิตรร่วมกุฎิ
ได้พึ่งพิงประทั้งชีวิต
ได้พิชิตทุกข์ยากนานา
จิตอาสาทำสิ่งใดไม่หวังผล
เห็นมนุษย์คนใดมีทุกข์เข็น
หัวใจเต็นหวังเขาได้อยู่เย็น
จิตอาสาเกิดทำดีด้วยหัวใจ
สมัยสุโขทัยราชธานีจารึกไว้
ใครไคร่ค้าม้าวัวควายค้าได้
ประชาภิบาลแสนสุขสบายใจ
แต่ไฉนไทย4.0ห้ามค้าพันธุ์
ขอฝันติดไว้ข้างฝา
ในอุราไร้ซึ่งฝั่งฝัน
ขออยู่แบบคู่เคียงวัน
คงหยุดฝันไร้ใฝ่ปอง
เุถียงนาที่เธอนั่ง
แฝกบังกันหนาว
ว้าเหว่เป็นคราว
ก็ใจเจ้าไม่นิ่งเอง
สังคมไร้เมตตาไม่น่าอยู่
สังคมปากหอยปูไม่อบอุ่น
สังคมเหยี่ยวกาแสนทารุณ
สังคมเนรคุณวุ่นวายใจ (พระเทพปฏิภาณกวี)
จิตอาสานำพาให้ชื่นจิต
พัฒนาชีวิตให้เกิดผล
ช่วยสัตว์ใหญ่น้อยพึ่งตน
เพราะมนุษย์มีจิตกรุณา
จิตอาสาทำสิ่งใดไม่หวังผล
เห็นมนุษย์คนใดมีทุกข์เข็น
หัวใจเต็นหวังเขาได้อยู่เย็น
จิตอาสาเกิดทำดีด้วยหัวใจ
จิตอาสานำพาสู่เวทีโลก
มวลมนุษย์ดับทุกข์เข็น
สันติภาพเกิดก่อร่มเย็น
จะมีได้ต้องเริ่มที่จิตใจเอย
อักษรสื่อสารชำนาญศิลป์
"ฉัน เธอ"โบยบินสืบสาน
แสวงหาปัญญาล้ำไหว้วาน
ช่วยมนุษย์หลุดมายาคติไฉน
ทฤษฎีประดับไว้ในโลกา
จงอย่าวิจารณ์อย่างไม่มีญาณ
จะวิตกเกิดวิจิกิจฉาฉุดสงสัย
จงวิเคราะห์วิจักขณ์อย่าวุ่นใจ
จะว้าวกวนวนจนเวียนหัวใจ
จะจบลงที่วิบัติ"เจ๊ง เจ็บ จน"
จงสร้างความรู้ด้วยหลักวิชชา
จงสร้างวิสัยทัศน์วินัยวิชาการ์
จะสุขเกษมประดับไว้ในโลกา
จะเกิดพัฒนาวิวัฒน์สมใจเอย
ดุษฎีชนภววิสัยต้องสูงมาก
จำลำบากขุดไปให้ถึงแก่น
เหตุผลทฤษฏีรับอันหนาแน่น
สังเคราะห์เป็นนวัตกรรมชื่นใจ
ดูต้นไม้บิ๊กในวนา
เหล่าสกุณาได้อาศัย
จิกกินผลาสบายฤทัย
ถ่ายมูลไว้ให้เชยชม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
แนวทางนำ "เครือข่าย ไอที การวิจัย" ช่วยยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์ไทยยุค AI
การยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในยุค AI จำเป็นต้องใช้เครือข่าย ไอที และการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา แม้ว่าจะมีความท้าทาย แต่การวางแผนแ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...