"ชัยอนันต์ สมุทวณิช" แนวคิดทางสายกลาง"นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่" : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
การถึงแก่กรรมของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตนายกราชบัณฑิตสถาน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และมีบทบาทต่อการเมืองไทยอย่างสูง เสียชีวิตเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวัย 74 ปี นั้น
เกียรติคุณของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ นอกจากจะเป็นนักรัฐศาสตร์ นักการศึกษา ที่มีความเชื่อว่า "การเล่น เพื่อรู้เป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาเด็ก โดยได้คิดบัญญัติศัพท์ Plearn ซึ่งมาจากคำว่า play + learn เป็นการเปลี่ยนการเรียนตลอดชีวิต ให้เป็นการเพลินตลอดชีวิต" และนำมาใช้กับวชิราวุธวิทยาลัยแล้ว ศ.ดร.ชัยอนันต์ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนานั่นก็คือ "ทางสายกลาง"
ชื่อของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องช่วงที่ทำหน้าที่เป็นนักข่าวประจำรัฐสภา ว่างๆ ก็จะเข้าไปหาความรู้ที่ห้องสมุดประจำรัฐสภา ด้วยความที่เป็นคนวัดมาก่อน สิ่งที่สนใจอันดับแรกก็คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ได้เห็นหนังสือสื่อรัฐศาสตร์ที่เขียนโดยศ.ดร.ชัยอนันต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทางสายกลาง แต่ก็อ่านด้วยความไม่เข้าใจว่าศ.ดร.ชัยอนันต์มีความคิดอย่างไรก็เกี่ยวเรื่องนี้
หลังจากนั้นศ.ดร.ชัยอนันต์ได้รับการสรรหาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วงที่สำนักงานอยู่ที่ถนนท่าพระอาทิตย์และย้ายไปแถวสะพานพุทธ แม้ว่าจะมีโอกาสสัมภาษณ์แต่ก็น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นการสัมภาษณ์พิเศษหมู่เสียมากกว่า ด้วยความที่เป็นักข่าวตัวเล็กๆ จากวันนั้นจนกระทั้งศ.ดร.ชัยอนันต์ ถึงแก่กรรมก็ยังไม่ได้ศึกษาแนวคิดทางด้านรัฐศาสตร์และทางสายกลางของศ.ดร.ชัยอนันต์อีกเลย
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงศ.ดร.ชัยอนันต์ จึงได้สืบค้นแนวคิดเกี่ยวกับคำว่า"สายกลาง" โดยพบที่บทความเรื่อง "ราชประชาสมาสัย" เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 13 ธันวาคม 2516 โดยเพจ"การเมืองไทย" นำมาเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2013 โดยเสนอวุฒิสภามีคุณสมบัติตามที่ประชาชนต้องการ คือ 1. วุฒิสภาจะประกอบด้วยบุคคลจากอาชีพต่างๆที่มีคุณธรรม ความสามารถ และไม่ฝักใฝ่กับพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะ 2. เปิดโอกาสให้บุคคลจากกลุ่มอาชีพที่เสียเปรียบในสังคมแต่เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มีความสำคัญ เช่น ชาวนา ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในรัฐสภา 3. การที่คณะองคมนตรี เสนอรายชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเลือก เท่ากับทำให้วุฒิสภาได้รับอาณัติจากปวงชนโดยทางอ้อม และก่อให้เกิดความชอบธรรมในการปฏิบัติงาน 4. การที่คณะองคมนตรีซึ่งเป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้เลือกวุฒิสมาชิก จะทำให้ผู้ได้รับเลือกระลึกอยู่เสมอว่า จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และมุ่งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมต่อประชาชนอย่างแท้จริง
ราชประชาสมาสัยเป็นทางสายกลาง เป็นแนวทางใหม่สำหรับระบบการเมืองไทย ซึ่งเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการทางการเมืองและสังคมไทย
และได้พบว่า ศ.ดร.ชัยอนันต์ ได้ให้ความคิดไว้ในหนังสือ "กฎแห่งความช้า" ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2557 ระบุไว้ว่า "ทางสายกลางคือ กึ่งกลางระหว่างความช้ากับความเร็ว" "การทบทวนแนวคิดที่เน้นความจำเริญทางเศรษฐกิจ (Growth) แบบพุ่งทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงดุลยภาพของมิติอื่นๆ ทางสังคม มาเป็นแนวคิดที่เห็นความสำคัญของการดำเนินการในทางสายกลาง ยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" (อ้างในบทความเรื่อง "ไตรภาคีสู่สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน",http://www.tungsong.com/Read/thipakeepap/read_03.asp)
บทความเรื่อง" นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ ในการพัฒนคน" ของ "วรพล หนูนุ่น" (https://www.gotoknow.org/posts/7032)ได้ยกแนวคิดของศ.ดร.ชัยอนันต์ดังนี้ "ทฤษฎีใหม่" เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานอยู่บนเมตตาธรรมและจริยธรรมของการให้ความพอดี ความเพียงพอ อิงธรรมของธรรมชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานเป็นแนวทางไว้ และ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ก็ได้อันเชิญไปปาฐกถา ในฐานะผู้แทนของราชบัณฑิตยสถาน เมื่อคราวการสัมนาโครงการปราชญ์เพื่อกู้แผ่นดิน เมื่อปี 2541 (รายละเอียดอื่นผมไม่ได้บันทึกย่อไว้ จากบันทึกย่อเรื่องเมื่อ 10 มี.ค.2543)
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับ "ทฤษฎีใหม่" ว่า เป็นมิติความหลากหลาย เป็นทางสายกลาง มีจริยธรรมเป็นรากฐาน และเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการอยู่รวมกันของสิ่งแตกต่างหลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ตรงกันข้าม ขัดแย้ง แข่งขัน เอาแพ้ เอาชนะ ครอบงำซึ่งกันและกัน หากเอื้อต่อกันและเกิดเป็น "ดุลยภาพที่เคลื่อนไหว" (Dynamic Balance) "พึ่งพิงอิงกัน" (Interdependence) มากกว่าที่จะเป็นเพียงแค่การ "พึ่งพาอาศัย" (dependence) ความยิ่งใหญ่ของ "ทฤษฎีใหม่" นี้ สรุปได้ 9 ประการ เรียกว่า "นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่" คือ 1. หลากหลาย (Multiple Diverse) 2. ร่วมนำ (Co - existing) 3. คิด-ทำ (Thinking - Doing) 4. เรียบง่าย (Simple) 5. ผสานทุกอย่าง (Integrating) 6. ควรแก่สถานการณ์ (Timely) 7. องค์รวมรอบด้าน (Holistic) 8. บันดาลใจ (Inspiling)
9. ไม่ไฝ่อุดมการณ์ - เป็นการสากล (Universal) บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชายขอบ ใน เรื่องเล่าจากพ่อ
จากบทความของ "วรพล หนูนุ่น" เกี่ยวกับแนวคิดทางสายกลางของศ.ดร.ชัยอนันต์ดังกล่าวนี้ ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องสืบค้นในบริบทอื่นอีกแล้ว
“พฤกษภผกาสร อีกกุญชรอัดปลดปลง
โททนเสน่ห์คง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรี
สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”
.................
(หมายเหตุ : ภาพจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/september43/book1/, http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol21No4_01)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น