วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สหกรณ์ปากน้ำตอบรับวิถีพุทธพัฒนาบุคลากร4.0
สหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง "การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพล เพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน" พร้อมตอบรับวิถีพุทธสร้างระบบพัฒนาบุคลากรแบบยั่งยืนยุค 4.0
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2560 ดร.อรชร ไกรจักร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง "การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพล เพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน" เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่อง "การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพละ เพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน" โดยเป็นการเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการสร้างระบบการพัฒนาบุคลากร ปัจจัยความสำเร็จ การนำปัญจพละสร้างระบบการพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืน และนำเสนอรายการการวิจัย เรื่อง "การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพล เพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยมีนายวิชิต นวลชื่น สหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานเปิดงาน
หลังจากนั้นพระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร.(พระมหาสุทิตย์ อาภากโร/อบอุ่น ) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร ที่ให้ความสำคัญเป็นองค์บรรยาย ตามด้วยการเสวนาเชิงวิชาการ ที่มีวิทยากรประกอบด้วยนายญาดา ผดุงโภชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 นายพรศักดิ์ คุณวุฒิมโนธรรม ประธานกรรมการสัมนิบาตสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ นางสมทรง ธีระพงศ์ภักดิ ประธานสหกรณ์บริการโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ จำกัด นายจีรนันท์ เดชมิตร หัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ และตน โดยมี ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ ในฐานะผู้ร่วมวิจัย เป็นผู้ดำเนินรายการ
การสัมมนาครั้งนี้มี ผศ.,ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มจร ให้ความสำคัญกับการวิจัยเรื่องนี้ และตัวแทนสหกรณ์ฯในจังหวัดสมุทรปราการเข้าร่วมประมาณ 70 คน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดกระบวนการกิจกรรมกลุ่ม ความเห็นร่วม ข้อเท็จจริงในภาคปฎิบัติของผู้รับผิดชอบ และ สามารถนำ“นวัตกรรม”และ ศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์การนำหลักธรรม “ปัญจะพละ 5" เพื่อสร้างระบบการพัฒนาบุคลากรแบบยั่งยืน” นำไปใช้ได้จริงเหมาะสมกับบริบทของสหกรณ์ทุกประเภท
ดร.อรชร กล่าวต่อว่า จากปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสหกรณ์หลายแห่ง ได้บริหารสหกรณ์ผิดไปจากหลักการสหกรณ์เดิมเริ่มเน้นเป็นรูปธุรกิจได้นำกำไรสุทธิประจำปีมาจัดสรรเป็นเงินกองทุนสงเคราะห์ที่เอื้อประโยชน์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ โดยอาศัยอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการ กำหนดระเบียบขึ้นถือใช้เป็นไปในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง และ เป็นธรรมต่อมวลสมาชิก บางสหกรณ์ พบว่า คณะกรรมการดำเนินการ มีการกำหนดระเบียบขึ้นมาซ้ำซ้อนกับเงินสวัสดิการที่สหกรณ์จัดให้ในรูปแบบไม่เป็นธรรมต่อมวลสมาชิก หรือ กำหนดรูปแบบต่าง ๆ ให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นรายเดือนอย่างไม่ถูกต้องหรือเหมาะสมซึ่งอาจทำให้สหกรณ์ในภาพรวมเสียประโยชน์ได้ จึงทำให้จะส่งผลกระทบต่อหลักการและระบบสหกรณ์ที่ออกแบบและวางระเบียบข้อบังคับและกฎหมายไว้เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกัน
ผู้วิจัยมีความสนใจในการค้นหาการสร้างระบบการพัฒนาปัญจพละเพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน เพื่อให้ได้มาซึ่ง “เครื่องมือ” การพัฒนาด้านจิตใจบูรณาการเข้ากับ มาตรฐาน กฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบสหกรณ์ นำมาเป็นแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการดำเนินการ และ ผู้ปฎิบัติหน้าที่ฝ่ายจัดการ ซึ่งก่อให้เกิด “นวัตกรรม” ของกระบวนการสหกรณ์ทุกประเภท ผลลัพธ์ คือ มีมโนสำนึก ความรักในหน้าที่ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ วางใจตั้งตนที่ถูกต้อง เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ มองเห็นส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเหตุผล สามารถแยกแยะสิ่งดีสิ่งชั่ว รู้ว่าสิ่งไหนควรทำ หรือ ไม่ควรทำ โดยน้อมนำธรรม “ปัญจพละ” ความหมาย คือ การนำหลักธรรมพละ ๕ เป็นเครื่องมือ ขับเคลื่อนบุคลากรทุกระดับ สร้างระบบการพัฒนา เพื่อให้เกิดการคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตามตำแหน่งที่สำคัญ พัฒนาระบบงานให้มีคุณภาพในการขับเคลื่อนบุคลากร ให้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักสหกรณ์
การนำหลักธรรมมาผสมผสาน สร้างระบบการพัฒนาปัญจพละเพื่อสหกรณ์แบบยั่งยืน ถ้าได้มีการออกแบบที่ดี ให้ครบวงจร สามารถนำไปพัฒนาใช้แบบสมบูรณ ในระบบธรรมภิบาลและบุคลากรที่มีคุณธรรม จริยธรรม เกื้อหนุนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ก่อให้เกิดปัญญา และ กำลังแห่งความรอบรู้ หรือ ความฉลาดซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำทุกระดับ ที่พึงมีคุณธรรมในใจ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการองค์กร บุคลากรที่มีความเกี่ยวเนื่อง อันประกอบ ด้วย คณะกรรมการดำเนินการ และ ฝ่ายจัดการบุคลากร ของกระบวนการสหกรณ์ เพื่อความเป็นผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกันตนเอง เข้าใจในระบบสหกรณ์ พึ่งพาตนเอง พอเพียง ตามบริบทของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น
ผลการวิจัย เรื่องนี้จะช่วยค้นหา การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพละเพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน ที่สำคัญเพื่อให้ฐานชีวิตของสมาชิกมีความมั่นคง สมาชิกสามารถเอาสิ่งที่เราเหลือกินเหลือใช้ไปทำการค้ากับผู้อื่น นำเงินเข้ามาเพื่อเป็นเงินออม หรือ เงินที่จะลงทุนต่อไปในอนาคต เปรียบเสมือนบ้านที่มีรากฐานที่แข็งแรง เมื่อเกิดความแข็งแรงแม้ลมพายุที่พัดโหมกระหน่ำ ก็ไม่สามารถทำให้บ้านพังทลายได้ เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันภัยอย่างดีของบุคลากร และ เงินออมของสมาชิกได้นำไปเพื่อวัตถุประสงค์ของสหกรณ์เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง ครอบครัวเข้มแข็ง สอดคล้องยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ Millennium Development Goals ( MDGs) การบริหารหลักการสหกรณ์ในลักษณะสัจจะแห่งการออมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ฉะนั้น งานวิจัยนี้ต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และ ความระมัดระวัง การนำวิชาการและธรรมะ ผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือ การสร้างระบบการพัฒนาปัญจพละเพื่อพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืน ในทุกขั้นตอนของระบบงาน เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้บุคลากรดำรงอยู่ด้วยคุณธรรม และ ความซื่อสัตย์สุจริต คุณค่าของสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ อันจะเป็นหนทางที่จะนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน งานวิจัยนี้นำ ระเบียบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research-PAR ) เพื่อการวิจัย ที่สำคัญงานวิจัยนี้ จะค้นหาบริบทของสหกรณ์เพื่อสอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเน้นที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงและภาวะความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจ สังคม แบบยั่งยืน เกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพคนไทย ให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นกลไกการพัฒนาด้านธรรมภิบาล ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน นอกจากนี้ ปัจจัยความสำเร็จทางอ้อม คือ ส่งเสริมกระบวนการสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
ดร.อรชร กล่าวต่อว่า จากการศึกษาลงพื้นที่ คณะผู้วิจัย พบว่า การนำหลักธรรมมาบูรณการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาบุคลากร น่าจะเป็น “นวัตกรรม”และศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมและเกื้อกูลให้บุคลากรทุกระดับ มีความเข้มแข็งแบบยั่งยืนยุค 4.0 และจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ นายวิชิตและผู้เข้าร่วมต่างตอบรับแนวคิดปัญจพละซึ่งเป็นแนวทางวิถีพุทธนำไปพัฒนาสหกรณ์แบบยั่งยืนต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"ดร.มหานิยม" ร่วมพิธีมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณร ผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
"ดร.มหานิยม"ร่วมพิธีถวายมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค วิเคราะห์บทบาทเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯกับงาน...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น