วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มส.ชี้สังคมพหุวัฒนธรรมแท้จริงคือหัวใจอาเซียน


มส.แนะมหาจุฬาฯต้องเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในอาเซียน  พร้อมตอบโจทย์ภาครัฐและมหาวิทยาลัย ชี้การอยู่ร่วมกันท่ามกลางพหุวัฒนธรรมหัวใจของอาเซียน มีการจัดการศึกษาเป็นฐาน

วันที่ 31 ส.ค.2560 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เจ้าคณะภาค 2 เจ้อาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร บรรยายเรื่อง "Roadmap สู่การเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอาเซียนและของโลก"  จัดโดยศูนย์อาเซียนศึกษา มจร  ซึ่งมีพระศรีธวัชเมธี รองผู้อำนวยการกล่าวถวายรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการทำแผนยุทธศาสตร์ศูนย์อาเซียนศึกษา

พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า ถือว่าเป็นการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมของศูนย์อาเซียนศึกษา ถือว่าเป็นระยะเริ่มต้นในการทำงาน ศูนย์อาเซียนศึกษาเกิดขึ้นเพราะ " เรามีความจำเป็นมากกว่าความต้องการ "ซึ่งทางภาครัฐเปิดประตูเข้าหากันในประชาคมอาเซียน จึงมีความจำเป็นมาก ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนจากภายนอกมากกว่าการขับเคลื่อนจากภายใน คำถามคือ " ปัจจุบันมหาจุฬาฯต้องการศูนย์อาเซียนไหม?" ถือว่าเป็นโจทย์ที่ต้องตอบให้ได้ ก่อนจะเกิดศูนย์อาเซียน มหาจุฬาฯเป็นอย่างไร? ศูนย์อาเซียนมิใช่การเริ่มใหม่ แต่เป็นการรวบรวมสิ่งที่มีอยู่แล้ว


"เราอย่าทำให้เป็นลักษณะขี้ช้างจับตั๊กแตน ศูนย์อาเซียนต้องทำงานระดับคณะ ระดับวิทยาลัย โดยยกวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ IBSC เป็นตัวอย่างว่า ต้องทำให้ระดับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ คำถามคือ เราตั้งศูนย์อาเซียนศึกษามาทำไม ? เราถึงจะกำหนดวิสัยทัศน์ หรือ SWOT ได้ เราทำเมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนเท่านั้น ถ้าเราตั้งวิสัยทัศน์ว่า เป็นเลิศในการบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและพหุวัฒนธรรมในอาเซียน ระดับโครงการก็สามารถทำได้ จึงต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะต้องสนองนโยบายภาครัฐอย่างไร ? ศูนย์อาเซียนมหาวิทยาลัยอื่นตั้งขึ้นเพื่ออะไร? ต้องไปดูคนอื่น มหาจุฬาฯสนองวัตถุประสงค์ของรัฐหรือไม่ อย่างไร? และมหาจุฬาฯต้องการศูนย์อาเซียนหรือไม่อย่างไร ? งานของศูนย์อาเซียนซ้ำซ้อนหรือไม่ ถ้าซ้ำซ้อนตั้งมาเพื่ออะไร?" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า


อาเซียนศึกษาต้องตั้งวิสัยทัศน์ที่สามารถตอบโจทย์ระดับประชาคมอาเซียน มี 3 หลัก คือ " เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง " โดยใส่ใจเรื่องสันติภาพในอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในอาเซียนท่ามกลางพหุวัฒนธรรม ไม่สร้างความขัดแย้งในเรื่องของศาสนาในอาเซียน พระพุทธศาสนาต้องไปสร้างเสถียรภาพในการอยู่ร่วมกัน นี่คือ มุมมองของภาครัฐ ส่วนมุมมองของมหาจุฬาฯ นิสิตมาเรียนมหาจุฬาฯประเทศใดมาเรียนเยอะที่สุด เพราะเหตุใด ในวิทยาลัยเขตเรามีการเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศอาเซียนอย่างไร


มหาจุฬาฯจึงมีการพัฒนา 3 ระดับ คือ "ระดับภูมิภาค ระดับอาเซียน และระดับโลก" เช่นที่เป็นรูปธรรม คือ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ ทั่วโลกต้องมาทำวิจัยที่มหาจุฬาฯ จริงๆ แล้ว การศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก ไม่อยากให้มีในวิทยาลัยเขต อยากให้มีส่วนกลางเท่านั้นเพราะการพัฒนาคุณภาพไม่อยากให้กระจาย แต่วิทยาลัยเขตต้องสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เราจะเอาวิทยาลัยเขตใดเป็นศูนย์กลางอาเซียน


ศูนย์อาเซียนจะต้องเชื่อมกับวิทยาลัยเขต เช่น เราไปวิทยาลัยเขตสุรินทร์ ต้องมีศูนย์อาเซียน ใครจะเรียนภาษากัมพูชา ต้องไปเชื่อมวิทยาลัยเขตสุรินทร์ วิทยาลัยเขตต้องเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียนศูนย์อาเซียนต้องเชื่อมประสาน เราจะบริการด้านพระพุทธศาสนามี 6  ประเทศ เช่น เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา สิงคโปร์ ลาว เป็นต้น ส่วนพหุวัฒนธรรม 3 ประเทศ เช่น มาเลเชีย อินโดนีเชีย บรูไนเป็นศาสนาอิสลาม ส่วนฟิลิปินส์ เป็นศาสนาคริสต์


ด้านเศรษฐกิจ สถาบันการศึกษาต้องส่งเสริมด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ใช้ภาษาในการสื่อสารของประเทศนั้นๆ หรือ ภาษาอังกฤษ แล้วใครรับผิดชอบเกี่ยวกับภาษาอาเซียน นิสิตอยากจะเรียนภาษาอาเซียน ศูนย์อาเซียนจะมีบทบาทอย่างไร ? ภาษาอังกฤษยกให้สถาบันภาษา แต่ภาษาอาเซียนต้องศูนย์อาเซียนเท่านั้น นิสิตอยากจะทราบเกี่ยวกับคัมภีร์พระพุทธศาสนาในอาเซียน เราทำแผนยุทธศาสตร์ถามว่าสัมพันธ์กับวิทยาลัยสงฆ์หรือไม่ ต้องไม่แยกกัน เรามีหลักสูตรสันติศึกษา ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อิสลามในอินโดนีเชีย มาเลเชีย บรูไน มี ๓ ประเภท แต่ละประเทศอยู่ในกลุ่มใด เราโชคดีที่อยู่ในกลุ่ม เราเป็นศูนย์อาเซียนเราจะทำอย่างไร ? เพื่อการอยู่ร่วมกัน เราต้องจัดประชุมสันติสนทนาระหว่างศาสนา อย่าคิดว่าแค่บริการวิชาการเท่านั้น อย่าคิดแค่บริการวิชาการเท่านั้น แต่ต้องจัดการศึกษา ส่งเสริม แลกเปลี่ยน เชื่อมโยง ทำเองไม่ได้เราจะร่วมมือกับใคร จัดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตร พุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนาในอาเซียน


อย่าคิดว่าแต่บริการวิชาการเท่านั้น แต่ต้องทำให้ครบทุกภารกิจมหาจุฬาฯ สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง เราต้องมีคนกลางในประเทศนั้นๆ เพื่อต้องการข้อมูล รวมถึงศิษย์เก่าจากมหาจุฬาฯด้วย อนาคตเราต้องตั้งสำนักงานเพื่อให้คนมาใช้บริการ เพราะศูนย์อาเซียนเทียมเท่ากับวิทยาลัย เราต้องคิดงานให้ใหญ่ ศูนย์อาเซียนมหาจุฬาฯเราต้องระดมความคิดจากนิสิตและคนในประเทศนั้นๆ เขาคาดหวังอะไร ? เขาต้องการอะไร ?


มหาจุฬาฯต้องเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาในอาเซียนเป็นอย่างไร ? ศูนย์อาเซียนจะทำอย่างไร ? เช่น พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาทั่วโลก โดยมีฐานข้อมูล งานวิจัย วรรณกรรม หนังสือพระพุทธศาสนาทั่วโลก พุทธศิลป์ทั่วโลก เรียกว่า มีครบวงจรอยู่ที่เดียว มีศูนย์กลางการประชุมสามารถประชุมกันได้ทั่วโลก ต่อไปจะมีการเชิญครูบาอาจารย์มาจากทั่วโลกมาบรรยาย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใครมีงานวิจัยอะไรมานำเสนอ ศูนย์อาเซียนต้องเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ต้องสนองงานมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในอาเซียน นิสิตจากอาเซียนต้องสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรม อนาคตต้องมีอาคารสถานที่เป็นของตนเอง เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน เราต้องคิดให้เต็มรูปแบบในการทำแผนยุทธศาสตร์ ใครอยากรู้พระพุทธศาสนาในอาเซียนต้องมาที่ศูนย์อาเซียน สังคมพหุวัฒนธรรมเราจะประชุมร่วมกันอย่างไร ? ท่ามกลางความแตกต่างทางศาสนา


รัฐบาลมุ่งให้เราทำให้เรื่องพหุวัฒนธรรม แผนยุทธศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับงบประมาณสอดคล้องกับนโยบายของประเทศและนโยบายมหาจุฬาฯ ถึงสามารถมีงบประมาณสนับสนุนได้ แต่ถ้าวิสัยทัศน์เราแคบก็เป็นของส่วนงานอื่น วิสัยทัศน์เราต้องกว้าง เช่น " มีความเป็นเลิศด้านอาเซียน " ต้องมีสำนักงานที่เชื่อมกับวิทยาเขต เน้นเรื่องอะไร ศูนย์อาเซียนศึกษาต้องไม่เริ่มใหม่ นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาขับเคลื่อน มีใครเป็นผู้ประสานงานในประเทศนั้นๆ ต้องมีสำนักงานในต่างประเทศอาเซียน เราต้องสามารถตอบโจทย์ ทำไมศูนย์อาเซียนศึกษาจะต้องเป็นระดับวิทยาลัย ต้องใช้การ SWOT จุดแข็งเราคืออะไร จุดอ่อนเราคืออะไร เราต้องเตรียมเว็บไซต์ของอาเซียน ทำ 10 ภาษา ให้นิสิตมาช่วยกัน


"ฉะนั้น " เราต้องเริ่มต้นจากจุดแข็งที่เรามี " ใช้หลักของปาเรโต ทำ 20 ส่วนได้  80ส่วน อย่าทำ 80  แล้วได้ 20  เสียของเสียงบประมาณ ถ้าเราสามารถทำ 20 ได้ 80  นั่นคือสุดยอดของหน่วยงานใหม่ เราต้องใช้เครือข่ายในการทำงาน เอาสิ่งที่เรามีแล้วมาทำ ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก นำนิสิตของเรามาช่วยมาระดมสมองเพื่อความต้องการความคาดหวังที่แท้จริง" พระพรหมบัณฑิต กล่าวในที่สุด


และวันเดียวกันนี้พระพรหมบัณฑิตเป็นประธานกล่าวเปิดงานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปี 3 (MCU Contest) รอบคัดเลือกระดับภาค ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 ณ โรงเรียนส่งเสริมพระพุทธศาสนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 1,300 คน



"""""""""""""""""""""""""""

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ณ ห้องสันติศึกษา มหาจุฬาฯ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...