วันที่ 14 ส.ค.2560 สังคมออนไลน์มีการเผยแพร่คลิปที่ตำรวจจับผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย มีการโต้แย้งกันในข้อกฎหมาย ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท) กล่าวถึงการปฏิรูปตำรวจว่า ขณะที่คณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ กำลังประชุมอยู่ในห้องประชุมอยู่ทุกวัน เพื่อหาแนวทางการได้”ตำรวจในดวงใจ” ด้วยประเด็นคำถามที่จะสร้างตำรวจยุคใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องตอบคำถามทั่วไปของชาวบ้านให้ได้ หากตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ อย่าหวังว่าชาวจะไว้เนื้อเชื่อใจตำรวจหรือองค์กรตำรวจ นั่นก็คือ
1. ประชาชนหรือชาวบ้านได้อะไร จากการปฏิรูปตำรวจคราวนี้
2. การปฏิรูปตำรวจ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม ที่จะทำให้เข้าระบบและเข้ารูปเข้ารอยความเป็นตำรวจที่แท้จริง
3. ปฏิรูปตำรวจแล้ว ตำรวจทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือเปล่า
4. ปัญหาที่แท้จริงของตำรวจอยู่ตรงไหน ที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกไม่ดีกับตำรวจ
5. อย่าพูดว่าที่ผ่านมาการทำงานของตำรวจดีอยู่แล้ว หากดีจริงคงไม่ต้องมาปฏิรูปกัน
6. ประเด็นการปฏิรูปตำรวจต้องชัดเจน ว่ามีกี่เรื่อง กี่ประเด็น
โครงสร้าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อำนาจหน้าที่ การกระจายอำนาจ จัดรูปแบบการบริหารจัดการ โอนย้ายหน่วยงานบางหน่วยให้ไปสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตร พิจารณาชั้นยศ ตำแหน่ง ตำรวจต้องไม่มียศได้หรือไม่ พิจารณาการจัดรูปแบบงานของตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน ที่ไม่ทำให้งานตำรวจในพื้นที่กลายเป็นผู้มีอิทธิพลเสียเอง การแต่งตั้งโยกย้ายที่เป็นธรรม + การสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการแต่งตั้งโยกย้าย ให้มีการจัดเก็บข้อมูลความดีความชอบและประวัติหรือผลการทำงานที่เสื่อมเสีย การสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ และการจัดกระบวนการการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ การตั้งด่าน การไม่รีดไถ ไม่รับส่วย การไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน จะมีมาตรการอย่างไร
นอกจากนี้ต้องมีมาตรการและการแก้ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา (1) การมีส่วนร่วมของประชาชน มีส่วนร่วมอย่างไร (2) การตั้งหน่วยงานและภารกิจของตำรวจที่ซ้ำซ้อนหลายหน่วยงานแทนที่จะแก้ปัญหา กลับกลายเป็นต้องเพิ่มโต๊ะในการจ่ายเงินหรือจ่ายส่วย (3) ให้มีคณะกรรมการการติดตามการแก้ปัญหากิจการตำรวจ หรือการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ (4) การเพิ่มความรู้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง และไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ตอบชาวบ้านยังไม่ได้ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับตำรวจ
(5) ตำรวจบางหน่วยงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานเศรษฐกิจ ไปแจ้งจับชาวบ้าน ร้านเล็กร้านน้อยว่าขายของไม่เสียภาษีนำเข้า แต่สินค้าเหล่านี้มาจากจากแถวโบ๊เบ สำเพ็ง ที่เขาบอกว่าเสียภาษีนำเข้ามาแล้ว ทำให้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน จนเกิดความรังเกียจตำรวจ (6) ในเรื่องเงินรางวัลค่าปรับ ทำให้เกิดการสร้างผลงานยัดเยียดข้อหาให้กับชาวบ้านที่เกิดบนถนน ที่เกิดไม่เว้นแต่ละวัน
"เหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่สร้างภาพลักษณ์ไม่ดีให้กับตำรวจ ในห้องประชุมคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ ก็ประชุมไปเถอะ ข้างนอกห้องประชุมตำรวจก็ยังสร้างภาพลักษณ์ไม่ดีให้กับตำรวจอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกไม่ดีกับตำรวจ หากเสนอการปฏิรูปตำรวจในห้องประชุมไปแล้ว นอกห้องประชุมตำรวจยังทำงานอย่างนี้ บอกได้ว่าการปฏิรูปตำรวจคราวนี้หากไม่ใช้ยาแรงจริงคงปฏิรูปตำรวจไม่สำเร็จ"นายเสรีกล่าว
""""""""""""
ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/crime/88107
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น