วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ผอ.หลักสูตรสันติศึกษานำเจริญจิตภาวนาสู้ภัยน้ำท่วม
เสธ.มทบ.210รายงาน "ประจิน" นำทหารจาก มทบ.210 ช่วยน้ำท่วมนครพนม พร้อมร่วมคณะครอบครัวสันติศึกษา "มจร" มอบสิ่งของผู้ประสบภัยที่ตำบลพิมาน อ.นาแก ผอ.หลักสูตรสันติศึกษานำเจริญจิตภาวนาสร้างกำลังใจสู้ภัยด้วย
วันที่ 5 ส.ค.2560 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค กันแจกถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ อ.นาแก จ.นครพนม ในการนี้ได้ฟังบรรยายสรุปและการชี้แจงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงจากพันเอกกิตติพงษ์ พุทธิมณี เสนาธิการมมณฑลทหารบกที่ 210 (มทบ.210) จังหวัดนครพนม ถึงการใช้กำลังกองร้อยบรรเทาสาธารณภัยและชุดแพทย์เคลื่อนที่ ของ มทบ.210 เข้าช่วยเหลือประชาชนประสบอุทกภัยในจังหวัดนครพนมด้วย
ขณะเดียวกันพันเอกกิตติพงษ์ นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้ว ปัจจุบันนี้ยังได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร โดยได้ร่วมกับนิสิตหลักสูตรสันติศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและเอกในนาม"ครอบครัวสันติศึกษา" บริจาคทุนทรัพย์ยอดรวมเบื้องต้น 208,700 บาท เพื่อดำเนินการผลิตได้นำน้ำสันติศึกษาซึ่งเป็นน้ำประจำหลักสูตรทั้งแต่เริ่มแรกที่เกิดอุทกภัยใหม่ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา
หลังจากนั้นวันที่ 3 ส.ค.2560 นี้ พระหรรษาและครอบครัวสันติศึกษาได้นำน้ำชุดแรก จำนวน 100,000 ขวด ลงไปช่วยผู้ประสบภัยพื้นที่จุดแรกที่วัดสะพานคำ อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งมีพระมหาคาวี เจ้าอาวาสวัดสะพานคำ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นพระหรรษาได้นำคณะได้เดินทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยพื้นที่บ้านนาคูณทุ่ง หมู่ 3 ต.นาคูณใหญ่ อ.นาหว้า จ.นครพนม และต่อด้วยที่ตำบลโพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่งทั้งสองจุดนั้นน้ำยังท่วมสูงอยู่
วันที่ 4 ครอบครัวสันติศึกษา มจร ภายใต้การนำของพระหรรษาได้ร่วมกับร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครนครพนม นำโดยพระครูสิริเจติยานุกิจ และคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิต ร่วมกันจัดแจงสิ่งของ หลังจากนั้นเวลา 10:00 น. วันที่ 5 สิงหาคม 2560 ได้นำลงพื้นที่ช่วยเหลือช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบมหาอุทกภัยในพื้นที่วัดท่าลาด ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ทั้งนี้โดยมีพันเอกกิตติพงษ์นำทหาร จาก มทบ.210 จังหวัดนครพนม อำนวยการตลอดกิจกรรมของครอบครัวสันติศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในการนี้พระหรรษาได้นำพาผู้ประสบภัยเจริญจิตภาวนาสร้างกำลังใจสู้ภัยน้ำท่วมด้วย
ขณะที่ธารน้ำจากพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสที่ได้ร่วมกันบริจาคได้ถูกลำเลียงถึงถึงจังหวัดสกลนครแล้ว โดยกองทัพภาคที่ 4 และ ศอบต. นำสิ่งของขึ้นเครื่องบิน C130 จากสนามบินบ้านทอน จ.นราธิวาส เพื่อมอบให้พี่น้องที่ประสบภัยที่ จ.สกลนคร นครพนม และจังหวัดในภาคอีสานที่ประสบภัย
พระมหาหรรษา ระบุว่า จากประสบการณ์ที่เคยอยู่บนลำน้ำเป็นระยะเวลา 3 เดือน เมื่อคราวที่มหาจุฬาฯ ถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 ทำให้รู้ซึ้งถึงหัวอกคนที่ถูกน้ำท่วมว่า ในความเป็นจริงแล้ว คนที่เผชิญหน้ากับชาตากรรมเช่นนี้ จำเป็นต้องต่อเติมและเสริมแต่ง เพื่อสร้างสุขภาวะในด้านใดบ้าง ทั้งในขณะที่เผชิญหน้ากับน้ำท่วม และหลังจากน้ำท่วมจนถึงวันน้ำลด
ในสถานการณ์การเยียวยาผู้ประสบภัยนั้น มิได้เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญต่อจากนี้ คือการเข้าไปช่วยเยียวยาจิตใจของผู้ที่ประสบความสูญเสียทรัพย์ภายนอก เช่น ข้าวนา สัตว์เลี้ยง บ้านเรือน และของมีค่าอื่นๆ และสูญเสียทรัพย์ภายใน ได้แก่ ความมั่นคงในชีวิต ความหวัง กำลังใจ ความศรัทธาต่อคุณค่าที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในเชิงบวก สิ่งเหล่านี้ ท้าทายต่อกลุ่มคนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ และสนับสนุน ซึ่งจะต้องวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ทั้งด้านอาชีพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสุขภาวะแบบองค์รวม ทั้งกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา
ในการเสริมแรงในด้านกายภาพนั้น เชื่อว่าหน่วยงานต่างๆ คงเข้าไปช่วยกระตุ้น และส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันใกล้ ทั้งเงินช่วยเหลือทั้งแบบให้เปล่า และปราศจากดอกเบี้ย รวมไปถึงการส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ นอกจากการทำนา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ การเยียวจิตเพื่อเสริมทัศนคติในเชิงบวกเพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมได้มีพลังกายใจต่อสู้ต่อไปอย่างมั่นคงมั่นใจในการดำเนินชีวิต ทัศนคติเชิงบวกที่ต้องกระตุ้นคืออะไร?!? นักจิตวิทยา อาจจะรวมถึงพระสงฆ์หรือหมอต้องทำหน้าที่คอยกระตุ้นพลังบวกภายใน
(1) น้ำท่วมกายไม่น่ากลัวเท่ากับทุกข์ท่วมใจ น้ำท่วมกายไม่ช้าไม่นานก็จะเดินทางผ่านไป แต่ถ้าเมื่อใดน้ำยังท่วมขังอยู่ในใจ ที่เกิดจากภาพสะท้อนของการย้ำคิดย้ำทำ ความทุกข์ที่เกิดจากความหวาดกลัว ความสูญเสีย ความพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ก็จะยังคงรบกวนจิตใจอยู่ทุกช่วงเวลาของการดำเนินชีวิต จนทำให้ไม่สามารถที่จะก้าวเดินไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ชีวิตได้อีกต่อไป ชีวิตก็จะติดหล่มจมดิ่งอยู่กับความทุกข์ที่เกาะกัดกิน
(2) น้ำพัดพาสิ่งของมีค่าไป แต่อย่าให้พัดพาความหวังและกำลังใจไปด้วย มนุษย์ก่อนที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติ ย่อมล้วนมีความหวังทั้งสิ้น หวังว่าข้าวกล้าจะดี หวังว่าจะขายข้าวใช้หนี้สิน หวังว่าจะมีข้าวกินตลอดฤดูหลังเก็บเกี่ยว จนมีข้าวเปลือกบางส่วนเหลือไว้ในหว่านในปีถัดไป และหวังว่าจะนำส่วนที่เหลือจากเก็บไว้กินไปขายใช้หนี้และส่งลูกเรียนหนังสือ แต่หลังจากน้ำท่วมเป็นสัปดาห์ ข้าวกล้าก็เริ่มเปื่อย และเน่าเสียในที่สุด
(3) น้ำพัดผ่านมา ยังพัดพาความรักมาด้วย เพราะน้ำทำให้เราได้มีโอกาสได้อยู่ดูแลคนที่เรารักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทำให้เกิดการเห็นอกเห็นใจระหว่างคนในครอบครัวและชุมชน ที่ช่วยเหลือและเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในหว่างน้ำท่วม สามีและภรรยาอาจจะมีเวลาอยู่ด้วยกันมากยิ่งขึ้น ลูกอาจจะได้อยู่ดูแลพ่อแม่มากยิ่งขึ้น ลูกสะไภ้กับแม่สามีอาจจะมีเวลาเกื้อกูลกันจนทำให้รักกันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน น้ำได้พัดเอาความรักของพี่น้องในสังคมไทย ที่นำสิ่งของต่างๆ มามอบให้ด้วยความห่วงใย พร้อมกำลังใจที่มาพร้อมกับสิ่งของเหล่านั้น น้ำท่วมครั้งใด คนไทยจะเห็นใจและรักกันมากขึ้น
สรุปแล้ว การเยียวยาจึงเริ่มต้นด้วยการช่วยกันเยียวยาร่างกายให้ความทุกข์ยากลำบากได้ทุเลาเบาบางลง เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับต่อสู้ชีวิตต่อไป อย่างไรก็ตาม การเยียวยาจึงมิได้จบลงเพียงแค่นั้น หากแต่ยังเดินต่อไปสู่ก้าวที่สำคัญโดยการเสริมแรงใจให้มีทัศนคติให้สามารถยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิต แล้วอยู่ในโลกของความเป็นจริง หลังจากนั้น ทบทวนถึงสิ่งต่างๆ ที่ตัวเองมีอยู่ แล้วใช้สิ่งที่มีไปพัฒนาคุณค่าภายนอกและภายในต่อไป ความสุขและความทุกข์จึงขึ้นอยู่กับการเริ่มต้นวางจิตให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวแปรต่างๆ ที่เข้ามากระทบ วางจิตได้ก็จะเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติที่พร้อมจะก้าวเดินต่อไปอีกครั้ง และหลังจากนี้ ไม่ว่าจะล้มอีกครั้ง น้ำท่วมอีกกี่หน จิตใจก็จะไม่วกวนรักษาตนเป็นสุขตลอดไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่อง...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น