ยกหมู่บ้านชาวพุทธ100%หมู่บ้านต้นแบบศีล5แปดริ้ว โรงเรียนสวดมนต์ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ที่ผ่านมา พระพรหมเสนาบดี ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่วนกลาง พร้อมด้วย พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ นางจุไรรัตน์ มีศิริ กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ และ พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก และพระศรีกิตติเมธี ได้ตรวจเยี่ยมโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” จังหวัดฉะเชิงเทรา ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๒ โดยพระราชเวที ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะภาค ๑๒ พระราชปริยัติสุนทร เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา พระราชภาวนาพิธาน รองเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา พระศรีกิตติเมธี เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา (ธ) พระครูโชติพัฒนากร เจ้าอาวาสวัดบางปรงธรรมโชติการาม รักษาการเจ้าคณะอำเภอเมือง พระครูสุตภาวนาพิธาน เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา พระสังฆาธิการทุกรูป
และ นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายธัญเทพ หมื่นยุทธ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา นายอาทร ช่วยณรงค์ กำนันตำบลบางพระ นางมะลิวัลย์ จิตรไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนราชการภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา และประชาชนหมู่บ้านบางปรง มาร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก
นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้ประสานเครือข่ายจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมเด่น ๆ ได้แก่ ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม การอัญเชิญหลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากน้ำ งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร
พระราชปริยัติสุนทร เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ในนามคณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้ง ๒ นิกาย พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวพอสรุปได้ว่า ในด้านการดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ ๓ ด้านเชิงคุณภาพ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ โดยมอบหมายคณะกรรมการระดับอำเภอคัดเลือก หมู่บ้านที่มีผลงานเชิงประจักษ์ ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่ามีหมู่บ้านที่มีผลงานตามตัวชี้วัด เหมาะสมที่จะเป็นหมู่บ้านต้นแบบทั้งสิ้น ๑๓๒ หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๓๖ และคณะกรรมการระดับจังหวัด ได้ดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบที่ดีที่สุดอำเภอละ ๑ แห่ง เพื่อประกวดระดับจังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนในระดับภาคต่อไป
โดยมีการประเมินในด้านยุทธศาสตร์ ๔ ด้านคือ
1. ด้านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน
2. ด้านกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕
3. ด้านกิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ
4. ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.)
โดยคณะสงฆ์ และส่วนราชการทุกภาคส่วนได้มีส่วนในการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
อย่างเต็มกำลังความสามารถ
จังหวัดฉะเชิงเทราได้คัดเลือก หมู่บ้านต้นแบบ เพื่อให้คณะกรรมการส่วงนกลาง ได้เยี่ยมชม คือ หมู่บ้าน “บ้านฝั่งคลบางปรง” หมู่ที่ ๙ ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวนครอบครัว ๙๖ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๕๔๕ คน สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น ๕๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น หรือ หมู่บ้าน มีอะไรบ้าง มีระบบการจำหน่าย
- หมู่สะเต๊ะที่มีชื่อเสียงในขณะนี้มีผู้ต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก และทำรายได้ให้กับชุมชน
- น้ำดื่มสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำรางจืด (ล้างสารพิษในร่างกาย)
- ขนมเปี๊ยะบางปรที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ
- ขนมจาก
- ขนมกงของดีของหมู่บ้าน
- ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ
- การผลิตเสื้อผ้าสตรี (โอทอป)
โดยมีการจัดจำหน่ายภายในจังหวัด และจัดส่งไปจำหน่ายในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นสินค้าโอทอป
จุดเด่นของหมู่บ้าน คือ อะไร
วัดบางปรง ซึ่งมีพระมณฑปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งมีโบสถ์เก่าประมาณ ๓๐๐ ปี และหลวงพ่ออู่ทองศักดิ์สิทธิ์ ในด้านการดำเนินการโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” มีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งประชาชนในชุมชนที่มีความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือทุกในทุก ๆ เรื่อง ในด้านการดำเนินการโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” มีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นภายในหมู่บ้าน โรงเรียนได้มีการสวดมนต์ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความเห็นจากเจ้าอาวาสของวัดประจำหมู่บ้าน ถึงภาพรวมการรักษาศีลของประชาชนในหมู่บ้าน
- ประชาชนในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ วันพระจะมีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญตักบาตร รับศีล ฟังธรรม และรักษาอุโบสถอยู่ตลอดเวลา และมักจะขยันทำบุญเลี้ยงพระกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” เกิดขึ้น ทำให้เกิดความปรองดองสามัคคี ร่วมด้วยช่วยกันทำงานจนเกิดความสำเร็จของโครงการฯ
ความเห็นผู้ใหญ่บ้าน
ตั้งแต่ดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” นี้มาทำให้ภายในหมู่บ้านเกิดความรักความสามัคคีเกิดความปรองดองสมานฉันท์ มีการร่วมด้วยช่วยกันจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในวัด โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ช่วยเหลือกันในทุกๆ เรื่อง
ถามเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับสถิติคดีในหมู่บ้าน
- คดีด้านอาชญากรรมไม่มีเกิดขึ้นในหมู่บ้านบางปรง หมู่ที่ ๙
- ด้านยาเสพติดไม่พบบุคคลเสี่ยงที่จะติดยาเสพติด
- ด้านสังคมมีเล็กน้อยส่วนมากเป็นเรื่องภายในครอบครัว สามารถไกลเกลี่ยได้ในระดับหมู่บ้าน
ความเห็นคณะกรรมการประเมิน
จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” โดยจังหวัดฉะเชิงเทราได้มีการดำเนินโครงการฯ ตามแผนยุทธศาสตร์ทั้ง ๔ ด้าน คือ
1. ด้านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน
2. ด้านกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕
3. ด้านกิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ
4. ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.)
มีการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเรียบง่าย มีการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในชุมชุนและจัดส่งจำหน่างไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว นำหลัก “บวร” มาใช้ในการดำเนินกิจกรรรม คือ วัด บ้าน โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” จึงขอให้จังหวัดฉะเชิงเทราได้ดำเนินโครงการฯ “หมู่บ้าน รักษาศีล ๕” ต่อไป เนื่องจากเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น