วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มส.แนะให้คิด!เหตุใดปท.ใหญ่สามัคคีไม่ใช้อำนาจ

 มส.แนะให้คิด!เหตุใดปท.ใหญ่สามัคคีไม่ใช้อำนาจ  เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎกติกาลดความขัดแย้งได้ผ่านกระบวนการจัดการที่ดี ชี้คนเก่งที่สร้างดาวคนละดวงถือว่าเป็นกับดักขององค์กร


เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2560ที่ผ่านมา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวในการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหาร มจร ว่า  ตามภูมิศาสตร์มหาจุฬาฯมีวิทยาลัยเขตมากที่สุดจึงเป็นทั้งจุดแข็งและอ่อน จุดแข็ง คือ การมีเครือข่าย สามารถทำงานได้เชื่อมโยงทั่วถึง ส่วนจุดอ่อน คือ ความขัดแย้งเสี่ยงที่จะเกิดเพราะมีสมาชิกเป็นจำนวนมากรวมถึงคุณภาพไม่เท่ากัน


ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าองค์กรใหญ่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร คำตอบ คือ ลดความขัดแย้งและสลายความขัดแย้ง คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ถ้าไม่มีกระบวนการจัดการความขัดแย้งไปไม่รอด องค์กรที่เติบโตมากๆ จะมีสนิมเกิดขึ้นจะทำลายตัวของมันเอง บางครั้งเราก็ตกในวังวนของความขัดแย้ง ดังนั้น เราจะไม่ให้เกิดความขัดแย้งได้อย่างไร ?


"บ้านเมืองของเราขัดแย้งกันมาก เกิดเพราะอะไร ทำไมบางประเทศใหญ่กว่าทำไมถึงมีความสามัคคีกัน โดยไม่ต้องใช้อำนาจบังคับ เราต้องเรียนรู้จากประเทศนั้นๆ จึงมีระบอบไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 2 ระบอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สามารถคุมอยู่ คือ 1) การใช้อำนาจแบบเผด็จการ คุมอยู่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 2) การใช้ประชาธิปไตย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบหลอมๆ ไม่เกิดความขัดแย้ง" อธิการบดีมหาจุฬา กล่าวและว่า


มหาจุฬาฯคงไม่เอาแบบแรก เพราะเราไม่ได้อยู่ร่วมกันแบบกฎเหล็ก มหาจุฬาฯเป็นองค์กรทางศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและการวิจัย เพื่อให้องค์กรเติบโต การวิจัยทำให้คิดวิเคราะห์เป็น มหาจุฬาฯจึงเติบโตท่ามกลางของคณะสงฆ์ เราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เติบโต มีเสรีภาพทางวิชาการเพราะงานวิจัยส่งเสริมให้คิดวิเคราะห์เป็นตัวของตัวเอง ในมหาวิทยาลัยต้องฟังต้องเอื้อต่อผู้ใต้บังคับบัญชา มิฉะนั้นไม่เติบโตทางวิชาการ เราต้องให้โอกาสทุกคนได้เติบโต และแสดงออก เราเป็นมหาวิทยาลัยเป็นมิตรฉันพี่น้อง แต่เสรีภาพทางวิชาการนำไปสู่ความขัดแย้งสูง ถ้าเราบริหารไม่ดี หลายแห่งติดกับดัก เรียกว่า " มีคนเก่งที่สร้างดาวคนละดวง "


....................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่อง...