พระวีระทูแหกกฎมส.เมียนมาขึ้นเวทีโจมตีโรฮิงญา ค้านรายงานของ "โคฟี
อันนัน" พร้อมให้ใช้กฏอัยการศึกในรัฐยะไข่
ขณะที่บีบีซีตีรายงานชาวพุทธยะไข่ต้องอพยพอยู่อย่างลำบากเช่นกัน
วันที่ 30 ส.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่มหาเถรสมาคมประเทศเมียนมาได้ประกาศห้ามพระวิระทูปราศัยในที่สาธารณะโดยใช้คำพูดสร้างความเกลียดชัง ปรากฏว่าวันนี้พระวีระทูได้แหกฎดังกล่าว ขึ้นเวทีที่หน้าศาลากลางเมืองย่างกุ้ง ประกาศไม่ยอมรับรายงานเรื่องรัฐยะไข่ของนายโคฟี อันนัน พร้อมประณามการโจมตีของ ARSA และเรียกร้องให้ประกาศใช้กฏอัยการศึกในรัฐยะไข่
อย่างไรก็ตามตามที่มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชาวมุสลิมกับเจ้าหน้าที่ประเทศเมียนมาอย่างรุนแรงที่รัฐยะไข่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย และประชาชนทั้งชาวโรฮิงจญาและชาวเมียนมาที่นับถือพุทธได้อพยพออกนอกพื้นที่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนั้นเว็บไซต์บีบีซีได้รายงานว่า เหตุโจมตีด่านตำรวจหลายแห่งในรัฐยะไข่โดยกลุ่มติดอาวุธมุสลิมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย สื่อต่างชาติให้ความสนใจรายงานถึงชะตากรรมของชาวโรฮิงญาหลายพันคนที่ต้องอพยพหนีภัยเข้าสู่บังกลาเทศ ขณะที่ชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธนับร้อยที่ติดและซ่อนตัวอยู่ในบริเวณที่มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธและกองกำลังของเมียนมาเป็นอีกกลุ่มผู้ประสบภัยที่อาจไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก
ไม่ใช่เพียงชาวโรฮิงญาที่ตกเป็นเหยื่อ
"เรารอให้ตำรวจมาช่วยพาพวกเราออกไปจากที่นี่ แต่ตำรวจก็ถูกโจมตีระหว่างทาง เราออกจากที่นี่ไม่ได้ ...ไม่มีใครมาช่วยเราเลย" ตัน ตัน เท ครูชาวพุทธในที่หลบภัยอยู่ในหมู่บ้านเจง เชา หนึ่งในพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงในรัฐยะไข่ บอกกับบีบีซีแผนกภาษาพม่า
โซ วิน บรรณาธิการบีบีซีแผนกภาษาพม่า อธิบายว่า คนภายนอกที่กำลังจับตามองปัญหานี้มักมีความคิดว่า ชาวโรฮิงญาเป็น "ชนกลุ่มน้อย" ในความรุนแรงครั้งนี้ ทั้งที่จริงแล้ว ในสามเขตที่เกิดการปะทะล่าสุด ไม่ว่าจะเป็นเมืองบูดิดอว์ ราติดอว์ และมองดอว์ นั้นมีประชากรชาวโรฮิงญาเป็นสัดส่วนถึง 96 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน
ยะไข่: ไฟแห่งความขัดแย้งปะทุขึ้นอีก เพิ่มเติม: ยอดตายพุ่งแตะ 71 ราย เหตุกลุ่มติดอาวุธมุสลิมโจมตีตำรวจรัฐยะไข่
แม้ว่าก่อนหน้านี้ มีรายงานว่ากองทัพรัฐบาลเมียนมาได้เข้าอพยพชาวยะไข่ที่ไม่ใช่มุสลิมราว 4,000 คนออกจากพื้นที่สู้รบไปยังพื้นที่ปลอดภัยแล้ว โซ วิน ระบุว่า ยังมีชาวยะไข่ที่เป็นชาวพุทธติดอยู่ในพื้นที่ความรุนแรง และบางส่วนต้องหนีเข้าป่า หลายคนเป็นครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนที่ถูกส่งมาจากเมืองหลัก ๆ ในรัฐยะไข่ และในบางกรณี ชาวบ้านในบริเวณนั้นก็ร่วมมือกับกลุ่มติดอาวุธด้วยทำให้พวกเขาไม่กล้าหนีออกไป
"เพราะคนส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นเป็นชาวโรฮิงญา พวกเขา [ชาวพุทธ] เองก็ต้องหนีเอาตัวรอด หลายคนต้องหลบอยู่ในป่า รอให้กองกำลังของรัฐบาลเมียนมามารับ ทางบีบีซีแผนกภาษาพม่าได้แจ้งไปยังกองกำลังที่จะให้การช่วยเหลือแล้ว แต่พวกเขาไม่สามารถเข้าไปได้เพราะการโจมตีเกิดขึ้นหลายจุดมาก"นายโซ วิน ระบุ
โซ วิน มองว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวของชาวยะไข่ไม่ได้รับการพูดถึงมากนักเมื่อเทียบกับข่าวชะตากรรมของชาวโรฮิงญา เป็นเพราะเมื่อชาวโรฮิงญาข้ามไปยังฝั่งบังกลาเทศสำเร็จ สื่อต่างชาติเข้าถึงเพื่อสัมภาษณ์ได้ ซึ่งต่างจากชาวยะไข่กลุ่มดังกล่าวที่ยังไม่มีใครเข้าถึง
เขาบอกว่า เท่าที่ทราบ มีชาวพุทธประมาณสองสามร้อยคนที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในตอนนี้ แม้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ใช่เป้าหมายหลักของกลุ่มติดอาวุธ แต่พวกเขาบอกกับบีบีซีว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย บ้านเรือนถูกทำลายและจุดไฟเผาเช่นกัน
อย่างไรก็ดี จำนวนชาวพุทธที่ตกอยู่ในอันตรายยังเทียบไม่ได้กับจำนวนชาวโรฮิงญาที่ต้องลี้ภัยการสู้รบ ในวันนี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานออกมาระบุว่ามีชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 18,500 คน ที่ต้องอพยพหนีภัยไปยังบังกลาเทศนับตั้งแต่เกิดเหตุปะทะกันเมื่อ 6 วันที่แล้ว ขณะที่ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่ายังคงมีความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ บ้านเรือนหลายหลังถูกเผาทำลาย และมีประชาชนอย่างน้อย 110 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ 11 คน เสียชีวิต
กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน (ARSA)
บรรณาธิการแผนกภาษาพม่าบอกว่า ขัดแย้งในรัฐยะไข่เป็นประเด็นที่ซับซ้อน และสิ่งทำได้ก็คือการพูดถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อย่างเช่นความรุนแรงล่าสุดที่เกิดขึ้น ซึ่งเริ่มจากการที่กลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีสถานีและด่านตำรวจ ทำให้กองทัพต้องเข้ามาดำเนินปฏิบัติการควบคุมพื้นที่ ซึ่งทำให้ชาวโรฮิงญาต้องอพยพหนีออกจากประเทศไป
โซ วิน ระบุว่า กลุ่มติดอาวุธนี้มีชื่อว่า กองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน หรือกลุ่มอาร์ซา (Arakan Rohingya Salvation Army - ARSA) เป็นกลุ่มเดียวกันกับที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด่านตำรวจเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ที่ทำให้ตำรวจ 9 นาย เสียชีวิต
รัฐบาลเมียนมาบอกว่าผู้นำกลุ่มนี้ได้รับการฝึกฝนด้านอุดมการณ์และการสู้รบมาจากต่างแดน โยผู้นำกลุ่มคือนายอตา อุลลาห์ เป็นชาวโรฮิงญาที่เกิดในปากีสถานและไปเติบโตที่ซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มยืนยันว่าไม่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักรบจีฮัดหรือกลุ่มผู้มีแนวคิดสุดโต่งทางศาสนาแต่อย่างใด สมาชิกของกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มที่โกรธแค้นต่อเหตุรุนแรงที่ชาวโรฮิงญาถูกกระทำนับแต่ปี 2012 เป็นต้นมา และวัตถุประสงค์หลักในการต่อสู้คือเพื่อปกป้องชาวมุสลิมโรฮิงญาจากการกดขี่ประหัตประหารของรัฐบาลเมียนมาเท่านั้น
กระบวนการหาสมาชิกของกลุ่มติดอาวุธนี้คือการเข้าไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ และฆ่าเจ้าหน้าที่ชาวโรฮิงญาที่รัฐบาลแต่งตั้งให้ดูแลแต่ละหมู่บ้านเสีย ก่อนที่จะฝึกคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรบ ด้วยความที่ชาวโรฮิงญามักถูกเลือกปฏิบัติเพราะถูกมองว่าเป็นคนไร้สัญชาติ ทำให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ถูกชักจูงให้มีความคิดรุนแรงได้ง่าย
หัวหน้าของกลุ่มนี้อ้างว่าพวกเขามีจำนวนสมาชิกถึงพันคน และหลังจากฝึกซ้อมทางการทหารแล้ว สมาชิกก็จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติกับชาวบ้าน และพร้อมที่จะออกมาสู้รบเมื่อมีเหตุรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เสนอแก้กฎหมายสัญชาติแนวทางเพื่อสันติภาพของ โคฟี อันนัน
ย้อนไปเมื่อปี 1982 กฎหมายสัญชาติในเมียนมาถูกเขียนขึ้นเพื่อรับมือกับคนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดียและจีนที่หลั่งไหลเข้าไปในประเทศ กฎหมายฉบับนี้ห้ามไม่ให้มีการให้สัญชาติผู้ใด ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบรรพบุรุษของตนได้อาศัยอยู่ในเมียนมามาเป็นระยะเวลาที่กำหนด และนี่กลายเป็นประเด็นปัญหาหลักของชาวโรฮิงญา ที่รัฐบาลเมียนมาใช้คำว่า "บังกลาเทศ" ในการนิยามพวกเขา และยืนยันว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายมาจากประเทศบังกลาเทศ
การแก้ไข้ข้อบังคับในกฎหมายเรื่องนี้เป็นหนึ่งในข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐยะไข่ที่นำโดยนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อลดความรุนแรงในรัฐยะไข่และเปิดทางในการให้สัญชาติกับชาวโรฮิงญา เนื่องจากเหตุโจมตีที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากการส่งมอบข้อเสนอนี้ รัฐบาลเมียนมาจึงมองว่า เป็นการวางแผนของกลุ่มติดอาวุธเพราะพวกเขาไม่ต้องการยอมรับข้อเสนอที่คณะกรรมการส่งมอบ และต้องการเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติก่อนการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในเดือนหน้า
""""""""""""""""""""""""""
(หมายเหตุ : - ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Khurtai Maisoong และ http://www.bbc.com/thai/international-41095972)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น