โดย
นายสำราญ สมพงษ์
๕๙๐๑๑๐๕๐๖๘
เสนอ
พระมหาหรรษา
ธัมมหาโส,รศ.,ดร.และคณะ
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาปฏิบัติการสร้างความปรองดองโดยพุทธสันติวิธี
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสันติศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๙
ปีการศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๙
๑. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ประเทศไทยพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นฉบับที่
๑๒ แล้ว โดยตั้งแต่ฉบับที่ ๙ เป็นต้นมาได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง
โดยฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการบริหารประเทศภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติหรือที่เรียกว่า “ไทยแลนด์ ๔.๐”
แต่ถึงกระนั้นประเทศไทยก็ยังไม่มีทิศทางการพัฒนาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจนพอ
เพราะการใช้วาทกรรมบิดเบือนความหมายของนักประชานิยม
บวกกับระดับอุดมศึกษาก็ยังเน้นหนักวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก จึงทำให้การพัฒนาประเทศตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
แต่หลักการบริหารคนหรือประชากรเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง
และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ส่วนหนึ่งจะต้องมีการระเบิดจากข้างในหรือพัฒนาจากจุดเล็กๆ
แล้วกระจายไปสู่จุดใหญ่ของสังคม จึงต้องเริ่มจากประชากรของประเทศเป็นสำคัญ
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นหลักคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ในมิติต่างๆ
ทรงมีพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ ดังนี้
เมื่อวันที่
๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๗
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี
พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตาม หลักวิชาการ
เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา
จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่
แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย
พออยู่พอกินมีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน
ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด
แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน
พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้
ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน
บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย
เป็นแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว
ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ พระบรมราโชวาทนี้ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่
เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อนเมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว
จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นซึ่งหมายถึง
แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ
ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ
ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอ กินก่อน
เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้
เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวดำเนินไปในทางสายกลางประกอบด้วยคุณสมบัติ
ดังนี้
๑.
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒.
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓.
ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑.
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผนและ ความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒.
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
จากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว
ผู้ศึกษาได้ทดสอบปฏิบัติจริงบนพื้นที่เพียง ๔ ตารางวาหน้าบ้านพักเลขที่ ๖๕/๗๖ หมู่บ้านวิรากร หมู่ ๓ เขตเทศบลตำบลบางใหญ่
อ.บางใหญ่ จ.จังหวัดนนทบุรี ภายใต้รูปแบบ “ฟาร์มสันติวิถีพอเพียง” จากพื้นฐานเดิมที่ได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้การดำรงชีพ
ทั่งชีวิตประจำวัน การงาน ความสัมพันธ์กับสังคม
จุดที่ปรากฏชัดคือเริ่มตั้งแต่ทำงานที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในปี ๒๕๓๖
โดยได้รับเงินเดือนแรกเข้าที่ ๖,๐๐๐ บาทจากวุฒิการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในแต่ละปีบริษัทจะพิจารณาขึ้นเดือนจำนวนเท่าใดก็พอใจในจำนวนนั้น
โดยไม่มีการเรียกร้องที่จะได้รับเงินเดือนเพิ่มเลย
จนกระทั้งย้ายมาทำงานที่เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกตั้งแต่ปี ๒๕๔๗
และได้สมัครใจที่จะลาออกเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙
โดยเงินเดือนที่ได้รับขณะนั้นจำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท
หลังจากสมัครใจที่จะลาออกได้ศึกษาความรู้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ ฝึกปฏิบัติการทำบ้านดิน
และวิสาหกิจชุมชนที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ของดร.เกริก มีมุ่งกิจ บนพื้นที่ ๕๐ ไร่
ได้เข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร
จึงได้เริ่มลงมือปฏิบัติจริงบนพื้นที่ ๔ ตารางวาควบคู่กับกับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
อุปกรณ์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์มอยู่ภายใต้แนวความคิดที่จะนำวัตถุที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
พร้อมกันนี้ได้นำวัตดุที่มีบุคคลนำมาทิ้งในพื้นที่ส่วนบุคคลริมถนนทางเข้าหมู่บ้านตรงกันข้ามอย่างเช่นไม้
ไม้ไผ่ ต้นกล้วย กระถางปลูกต้นไม้ มุ้ง ขวดน้ำ ขี้เลี้อย หญ้าแห้ง
จึงเรียกของเหล่านี้ว่า “อุปกรณ์อริยะ”
จากแนวคิดจากการทำจีวรนุ่งห่มของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลที่หามาได้จากผ้าบังสกุล
โดยที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุนให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย
และใช้พื้นที่ๆมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ที่สุดอย่างเช่นระเบียงบ้าน หลังคา
และจากแนวคิด “บัว ๔ เหล่า”
มองเห็นทุกส่วนมีประโยชน์แม้จะมีโทษบ้างก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
อย่างน้อยก็สามารถนำมาทำปุ๋ยมีประโยชน์กับพืชได้เป็นฐานคิดเชิงบวก
ซึ่งอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานหามาได้เหล่านี้จากต้นทุนคือ “ศูนย์” สุดประหยัด
หลังจากนั้นนำมารื้อถอนประกอบสร้างแล้วบูรณาการตามหลักอริยสัจโมเดลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ตั้งฟาร์มสันติวิถีพอเพียง
พร้อมกันนี้ใช้แนวคิดแบบกล้วยๆ
คือ “ง่ายๆ” หากยากแสดงว่า “ผิด” เพราะกล้วยเป็นพืชที่ทรงคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหมักหน่อกล้วยนำมาประยุกต์ใช้กับเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
และยังเป็นพืชที่เก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้วได้เป็นอย่างดี
อันดับแรก
คือ การทำนาปลูกข้าวตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
จากข้าวที่ได้รับแจกจากการเข้าไปกราบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครึ่งหนึ่ง
โดยสาธิตทั้งปลูกในกระถาง ในเรือ บนดินและขุดเป็นร่องน้ำแล้วเอากระถางที่ปลูกแช่
พืชที่นำมาปลูกเพิ่มอย่างเช่น มะระ ถั่ว กล้วย ฟังทอง พริก ผักโขมแดง ผักกาด ผักกว้างตุ้ง
ผักสลัด โดยมีแนวคิดที่จะเลือกพืชที่มีผลผลิตที่ออกมาเป็นโทนสีแดงหรือม่วง
ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ซื้อมาจำนวน
๑ กิโลกรัม และฝึกการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์เอเอฟจำนวน ๑ กิโลกรัม ทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับปุ๋ยธรรมชาติที่ครบวงจรคือปุ๋ยที่เกิดจากมูลวัวที่ให้
ผลผลิตทางใบ หมูให้ผลผลติทางหัว ไก่ให้ผลผลิตทางผล
ขณะที่มูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยเย็นและสมดุลมีจุลทรีย์และธาตุอาหารที่ให้ผลผลิตครบทั้ง
๓ ด้าน และสามารถพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้ทั้งตัวไส้เดือน มูล และน้ำเหงื่อ
สามารถนำมาทำเป็นน้ำหมักมูลไส้เดือนฉีดพ่นพืช และมีสรรพคุณดับกลิ่นปรับสภาพน้ำ
และทำให้ผิวมนุษย์สดชื่น
ขณะเดียวกันไส้เดือนเป็นสัตว์ตรงตามหลักการของสันติวิธีคือเป็นสัตว์เลือดเย็นที่ชอบอาหารเย็นไม่ร้อน
อาศัยปัจจัยทั้งน้ำ อาหาร สภาพแวดล้อมที่สมดุล ไส้เดือนที่ทรงคุณค่ากับพืชและสัตว์
และเป็นหลักคิดในการสร้างความปรองดองได้
สาธิตการปลูกข้าว
อุปกรณ์และการเลี้ยงไส้เดือน
ผลผลิตที่ได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ทุกขั้นตอนและทุกวันของการลงมือปฏิบัติจะมีการถ่ายภาพลงเฟซบุ๊กส่วนตัว
โดยมีผู้สนใจติดตามจำนวนหนึ่ง
พร้อมกันนี้ทั้งญาติและเพื่อนนิสิตสันติศึกษาได้ถามความคืบหน้าและเป็นพูดคุยอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของฟาร์มสันติวิถีพอเพียง พร้อมกันนี้มีแนวความคิดที่จะขยายฟาร์มสันติวิถีพอเพียงไปที่อำเภอกบินทร์บุรี
จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของน้องสาวจำนวน ๓๐ ไร่
หลังจากได้ฝึกปฏิบัติผ่านไป ๑ ปีแล้ว
ฟาร์มสันติวิถีพอเพียงเป็นรูปแบบของเกษตรอินทรีย์สิถีพอเพียงเชิงพุทธที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล
๕ ผลิตดอกออกช่องสะอาดทั้งด้านสุขกาย พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสังคม มีจิตอาสาเพิ่มพูนด้วยปัญญาที่รู้คู่คุณธรรมอย่างเข้าใจเข้าถึงพร้อมที่จะเป็นรูปแบบที่พัฒนาตามโมเดล
“บวร” บ้าน วัด โรงเรียนหรือโรงแรม อย่างพอเพียง สมดุล สมเหตุสมผล และมีภูมิต้านทานความเสียง
อันจะเป็นรูปแบบที่พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสมาร์ทฟาร์มอริยะที่ใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดสุดคุ้มค่าสุดจะไม่สร้างความสุขสำเร็จที่ต้องทำร้ายหรืิอเบียดเบียนคนอื่น
แต่จะเป็นฟาร์มที่รู้จักแบ่งปันไม่ทรมานตนและคนอื่น จะไม่ใช้วิธีการชวนเชื่อตามทฤษฎีเข็มฉีดยาอัดข้อมูลจนผู้รับข้อมูลเชื่อ
แต่จะมุ่งเสริมปัญญาเป็นบริโภคที่ชาญฉลาดเป็นที่ตั้ง
อย่างไรก็ตามหมู่บ้านวิรากรมีประชากรที่อาศัยมาจากทั่วทุกถิ่นของประเทศไทยต่างคนต่างอยู่
ขาดการบริหารจัดการที่ดี
มีการแข่งขันกันเข้ามาบริหารภายในชุมชนและการแบ่งฝ่ายทางการเมืองตั้งแต่ระดับการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติ
การเป็นอยู่อาศัยระบบการตลาดชุมชนเป็นสำคัญ
จึงส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดและพฤติกรรม
จึงทำให้ขาดความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ทั้งๆ
ที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑล ขณะเดียวกันการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรวมถึงการส่งเสริมยังไม่ปรากฏเป็นรูปแบบมากหนัก
ทั้งๆ ที่ทางเทศบาลตำบลบางใหญ่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ชุมชนภายใต้ชื่อ “ชุมชนหมู่บ้านวิรากร”
ดังนั้น
จึงมีความสนใจที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทดลองปฏิบัติจริงในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านวิรากร
เขตเทศบาลตำบลบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ภายใต้ชื่อเรื่อง “การมีส่วนร่วมเสริมสร้างสังคมสันติสุขยุคไทยแลนด์
๔.๐ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านวิรากร
เทศบาลตำบลบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี” เพื่อเป็นรูปแบบพัฒนาสังคมเมืองเกิดสันติสุขต่อไป
๒.
วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขยุคไทยแลนด์
๔.๐ ตามปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและตามหลักพุทธสันติวิธี
๒.๒
เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขยุคไทยแลนด์ ๔.๐
ตามปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและตามหลักพุทธสันติวิธี
๒.๓ เพื่อนำรูปแบบการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขยุคไทยแลนด์
๔.๐ ตามปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและตามหลักพุทธสันติวิธี ประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านวิรากร
เทศบาลตำบลบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
๓.
ขอบเขตการปฏิบัติการ
๓.๑ ขอบเขตข้อมูล ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการมีส่วนร่วมและสังคมสันติสุข
หลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและพุทธสันติวิธี
อาทิ อริยสัจ ๔ วิถีอริยะ และนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐
จากเอกสารหลักฐานชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ
สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นองค์ความรู้หรือต้นแบบ
นำข้อมูลเหล่านั้นว่าวิเคราะห์สังเคราะห์สรุปเป็นโมเดล และถึงแผนการปฏิบัติการ
หลังจากนั้นนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านวิรากร เขตเทศบาลตำบลบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐
โดยศึกษาสภาพปัญหาและความเป็นมา ทุนทางสังคม จากบุคคลในพื้นที่
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
เปิดเวทีเสวนาหรือโฟกัสกรุ๊ป
แล้วนำข้อมูลวิเคราะห์ถึงจุดดี จุดด้อย อุปสรรค และโอกาสในการพัฒนา แล้วสังเคราะห์เป็นแผนปฏิบัติการต่อไป
๓.๒
ขอบเขต กระบวนการการมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านวิรากร
เทศบาลตำบลบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้กำหนดระยะเวลา ๒ เดือน มิ.ย.-ก.ค.๒๕๖๐ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน
โดยนำหลักคิดว่าด้วยการมีส่วนร่วมและหลักการพัฒนาชุมชนมาประกอบ(ถวิลวดี-สุวรรณ) ดังนี้
๓.๒.๑ ขั้นเตรียมการ
๓.๒.๑.๑ ศึกษาข้อมูลชุมชน
โดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในชุมชน จากหน่วยงานต่างๆ
หรือศึกษาข้อมูลด้านลึกเพิ่มเติมจากชาวบ้าน
กลุ่มผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยการพบปะพูดคุยร่วมกิจกรรมและข้อมูลอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดเวทีประชาคม
โดยการนำหลักการวิจัยภาคสนามสำรวจทุนทางสังคม(ถวิลวดี)
และหลักธรรมว่าด้วยสัปปุริสธรรมเข้ามาประกอบ
๓.๒.๑.๒ การกำหนดทีมดำเนินงาน ทีมงานควรมีผู้นำชุมชนเข้าร่วมด้วย เรียนรู้เรื่องประชาคมตั้งแต่เริ่มแรก
ในอนาคตผู้นำเหล่านี้จะเป็นผู้จัดเวทีประชาคมเอง
จำนวนทีมงานจะมีจำนวนมากน้อยกับขนาดของเวที (
จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเวที )
อาจจะเริ่มตั้งแต่ ๑๐ คน หรือมากกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม
ใช้หลักธรรมว่าด้วยสัปปุริสธรรมเข้ามาประกอบ
๓.๒.๑.๓
การกำหนดผู้ดำเนินการในการจัดเวที นำหลักคิดว่าด้วยคุณสมบัติการเป็น Fa หรือโค้ชชิ่งเข้ามาประยุกต์ใช้
(๑) ผู้กระตุ้นนำ
ทำหน้าที่หลักในการดำเนินการตามประเด็นที่ได้เตรียมมาและปรับตามสถานการณ์
(๒) ผู้สร้างบรรยากาศ ทำหน้าที่ช่วยและเก็บตกจากผู้กระตุ้นหลักของทีมหลงลืมหรือพลาด
รวมทั้งเป็นผู้สร้างบรรยากาศให้ตื่นตัวไม่น่าเบื่อ
(๓) ผู้สังเกตการณ์ ทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรมของผู้ร่วมเวที ให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขสถานการณ์ และสร้างบรรยากาศ
(๔) ผู้อำนวยความสะดวก ทำหน้าที่ในด้านการบริหารอุปกรณ์ ที่ผู้เข้าร่วมเวทีต้องการตามขั้นตอนของเทคนิคที่ใช้รวมถึงหลักการสื่อสารเพื่อสันติหรือสัมมาวาจา(หรรษา-กัญญา-นริศ-พิมพาภรณ์-ชาญชัย)
๓.๒.๑.๔ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำนวนกลุ่มเป้าหมายอยู่ระหว่าง ๓๐-๕๐
คน ผู้ที่เข้าร่วมเวทีควรประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่มต่าง ผู้อาวุโส ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำธรรมชาติ อาสาสมัคร
และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยนำหลักการแบ่ง ๔ และหลักธรรมว่าด้วยสัปปุริสธรรมและหลักการแยกผู้มีสวนได้ส่วนเสียเข้ามาประกอบ(หรรษา-ถวิลวดี)
๓.๒.๑.๕ ระยะเวลาในการจัดเวทีประชาคม
พิจารณาตามความเหมาะสม อยู่ในห้วง ๑-๓ วัน นำหลักธรรมว่าด้วยสัปปุริสธรรมโดยเฉพาะว่าด้วยกาลัญญุตามาประกอบ
กิจกรรม
|
วิธีการ/เทคนิค
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
หมายเหตุ
หลักพุทธสันติวิธีและแนวคิดที่นำมาบูรณาการ
|
๑.
สร้างความคุ้นเคย
๑.๑
แนะนำตัวผู้เข้าร่วม
๑.๒
ละลายพฤติกรรม
|
-เวทีสานเวนา
หรือเวทีอนาคตประเทศไทย สภากาแฟ หรือ ฝึก Fa ประชาพิจารณ์
ประชุมเพื่อมองหาอนาคต(ถวิลวดี) ปรับใช้ตามความเหมาะสม เช่น
เกมที่เสริมสร้างความคุ้นเคยต่างๆ เพลงการปรบมือ การพูดคุย ฯลฯ
|
-สื่อที่ใช้ในการประกอบเกม
เพลงอื่นๆเท่าที่จำเป็น/เทคนิคประชาเสวนา
|
-อริยสัจ
-ปฏิจจสมุปบาท
(ผัสสะการสื่อสาร เวทนาความรู้สึก
ตัณหาความต้องการฝ่ายไม่ดีหรือฉันทะความต้องการฝ่ายดี สัมมาสังกัปปะขอร้อง)
-โยนิโสมนสิการ
-มรรคมีองค์
๘ โดยเฉพาะสัมมาทิฏฐิ และสัมมาวาจาหรือวาจาสุภาษิต)
-อปริหานิยธรรม
-สัปปุริสธรรม
-พรหมวิหาร
-สาราณียธรรม
-สังคหวัตถุ
-แบ่ง ๔ (หรรษา)
-สัมมุขาวินัย
-พุทธลีลา
-อิสรภาพ
เสมอภาค ยุติธรรม --สังคมสันติสุข
-การมีส่วนร่วม
(ถวิลวดี-สุวรรณ)
-การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อสารเพื่อสันติภาพ
ฟังอย่างตั้งใจ
สังเกต ความรู้สึก ความต้องการ ขอร้อง(กัญญา-นริศ-พิมพาภรณ์-ชาญชัย)
-หลักการแยกผู้มีส่วนร่วมหรือแยก
๔ (ถวิลวดี-หรรษา)
-การมีส่วนร่วมประชาชน
รับฟัง คิด พัฒนา เข้าใจเข้าถึงพัฒนา (ถวิลวดี-สุวรรณ)
|
๒.
แจ้งวัตถุประสงค์และข้อตกลงร่วมกันในการประชุม
|
-พูดคุย
-เขียนใส่บัตรคำ
นำเสนอบัตรคำติดแผ่น
ฟลิปชาร์ท
-สรุปรวมเป็นข้อตกลงของที่ประชุม
|
-ปากกาเคมี
-บัตรคำ
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
ให้ข้อคิดพุทธศาสนาหัวข้อ
สังคหวัตถุ ๔ บวกกับแนวคิดการมีส่วนร่วม(ถวิลวดี-สุวรรณ)
|
๓.ร่วมกำหนดความคาดหวัง
|
-แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง
หาความคาดหวังของกลุ่มโดยเขียนลงในบัตรคำ
-สรุปผลรวมผลความคิดของกลุ่มย่อยเป็นของที่ประชุมใหญ่
|
-ปากกาเคมี
-บัตรคำ
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
-ให้ข้อคิดพุทธศาสนาหัวข้อ
สังคหวัตถุ ๔ สังคมสันติสุข บวกกับแนวคิดการมีส่วนร่วมและแยกผู้มีส่วนได้เสีย
อำนาจ
= การใช้อำนาจภาครัฐ ๑๕ คะแนน
การเมือง
= การเมืองกาปกครอง ๑๒ คะแนน
ทรัพยากร
= ผลประโยชน์ ๒๒ คะแนน
ยุติธรรม
= ความไม่เป็นธรรม ๑๒ คะแนน
ศาสนา
= ความขัดแย้งทางศาสนา ๔ คะแนน
ไม่มีสัมพันธภาพ
= สัมพันธภาพ ๓ คะแนน (ถวิลวดี-สุวรรณ)
|
๔.ร่วมการให้ความรู้ชุมชน
|
-สะท้อนปัญหาภายใจชุมชน
เช่น ขยะ ยาเสพติด สัตว์ มีพิษ น้ำเน่าเสีย น้ำท่วม เป็นต้น
โดยใช้เทคนิคการกระตุ้นที่เหมาะสม
|
ปากกาเคมี
-บัตรคำ
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
-ผู้อาวุโส
/ปราชญ์ ชาวบ้าน
|
-อาจให้วาดแผนที่ภาพรวมชุมชนโดยปราชญ์ชาวบ้านอาวุโสเล่าให้ฟัง
ชุมชน นำหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ชุมชนเข้มแข็ง”มาประยุกต์ (สุวรรณ)
|
๕.
ค้นหาสาเหตุปัญหาร่วมกัน
|
-
ใช้ระดมสมอง
-ให้มีอาสาสมัครรวบรวมความคิดจากการระดมสมองเพื่อสรุปต่อที่ประชุมใหญ่ของเวที
-
นำเสนอโดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
|
-ปากกาเคมี
-บัตรคำ
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
-เพื่อหาปัญหาชุมชนทุกแง่มุม
โดยใช้หลักอริยสัจ ๔ สวอท สาเหตุของความขัดแย้ง ๕ (หรรษา)
|
๖.
ร่วมค้นหาความหวังและโอกาส
|
-ผู้เข้าร่วมเวทีต้องกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
|
-ปากกาเคมี
-บัตรคำ
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
|
๗.
ร่วมค้นหาสิ่งดีในชุมชน
|
-ให้ผู้ร่วมประชุมเสนอสิ่งดีที่มีอยู่ในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง(ทุนทางสังคม-ถวิลวดี)
|
-กระดาษฟลิปชาร์ท
-ปากกาเคมี
-เทปกาว
|
|
๘. ร่วมค้นหาแนวร่วมการพัฒนา
|
-ชี้แจง
กระตุ้น ให้ช่วยค้นหา
สรุปประเด็นลงในกระดาษฟลิปชาร์ท
|
-ปากกาเคมี
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
|
๙.
ร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
|
-ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
โดยคำนึงถึงปัจจัยเชิงบวก
|
-ปากกาเคมี
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
-สามารถกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาได้เลย
|
๑๐.ร่วมกันวางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
|
-ผู้เข้าร่วมเวทีร่วมกันกำหนดแผนโครงการ
และกิจกรรม เขียนลงใน ฟลิปชาร์ท จัดหมวดหมู่โครงการกิจกรรม ออกเป็น ๓ ประเภท
๑)ประเภทดำเนินการเองได้
๒)ประเภทต้องดำเนินการ
ร่วมกับผู้อื่น
๓)ประเภทรัฐเป็นผู้ดำเนินการให้
โดยผู้ดำเนินการและผู้ร่วมเวทีสรุปแผน
โครงการ และกิจกรรมที่จะดำเนินการให้บรรลุผล
|
-บอร์ดภาพรวมของชุมชนทั้งหมด
-ปากกาเคมี
-กระดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
-ผู้ดำเนินการต้องกระตุ้นเพื่อให้เกิดโอกาสดีๆในการแก้ปัญหา
|
๑๑. เลือกกลุ่มแกนเพื่อรับผิดชอบดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม
|
-เปิดโอกาสให้ที่ประชุมเลือกกลุ่มแกนรับผิดชอบปฏิบัติการตามโครงการที่กำหนด
|
-ปากกาเคมี
-การดาษฟลิปชาร์ท
-เทปกาว
|
๓.๒.๒
ขั้นจัดทำแผน
๓.๒.๓
ขั้นปฏิบัติการ
๓.๒.๓.๑ วางแผนปฏิบัติการ
เตรียมการผู้ปฏิบัติและส่วนที่เกี่ยวข้อง
เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ งบประมาณที่จำเป็น
และประสานการปฏิบัติที่ต้องการ
๓.๒.๓.๒ ฝึกซักซ้อม
เพื่อทดสอบความพร้อมของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เตรียมชุดสาธิตเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ
ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติ
เพื่อปลุกจิตสำนึกและเสริมสร้างอุดมการณ์ทางพุทธศาสนาในการปฏิบัติ
๓.๒.๓.๓ ลงพื้นที่ปฏิบัติโครงการ ร่วมกัน
๓.๒.๓.๔ ส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับผิดชอบโดยตรง
หรือให้กับเจ้าของพื้นที่ เก็บภาพเตรียมการประชาสัมพันธ์เพื่อหวังผลด้านความร่วมมือในอนาคตและเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่น
๓.๒.๔
ขั้นการติดตามประเมินผล
๓.๒.๔.๑ ผู้ดำเนินการและผู้เข้าร่วมเวที
ร่วมกันทบทวนตัวชี้วัดที่สำคัญและเป้าหมายที่ต้องการในการปฏิบัติงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
๓.๒.๔.๒ เจ้าหน้าที่ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น
และผู้เกี่ยวข้อง ประสานภาคองค์กรต่างๆ
เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมซักซ้อมเพิ่มเติมให้กับเจ้าที่ที่รับผิดชอบติดตามประเมินผล
๓.๒.๔.๓ ออกทำการติดตามงานในพื้นที่
๓.๒.๔.๔ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการติดตามมาวิเคราะห์ประเมินผลหรือผลสัมฤทธิ์ซึ่งอาจจะออกมาในลักษณะได้บ้างเสียบ้าง
ได้ ๕๐/๕๐ หรือแบบชนะทั้งคู่(ถวิลวดี)
๓.๒.๕ ขั้นปรับปรุงแก้ไข
๓.๒.๕.๑ ทบทวนประเด็นปัญหาจากการปฏิบัติว่าสิ่งใดที่บกพร่องไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ประเมินจุดเด่น จุดด้อย
ข้อบกพร่อง
สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขสำหรับการจัดเวทีครั้งต่อไป
๓.๒.๕.๒ ค้นหาสาเหตุต่อปัญหาที่ตรวจพบ
เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
๓.๒.๕.๓ นำแนวทางที่ได้มาปรับปรุงแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์
๓.๒.๕.๔ นำเสนอแผนปฏิบัติการที่ได้รับการแก้ไข
เพื่อให้การปฏิบัติในครั้งต่อไปสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตลอดจนนำผลงานที่ปรากฏในระหว่างปฏิบัติงาน จัดเข้าแฟ้มข้อมูล
และแสดงผลการดำเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชาหรือผู้ที่สนใจทราบ
๓.๓ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๓.๒.๓.๑ ทำให้ทราบรูปแบบการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขยุคไทยแลนด์
๔.๐ ตามปรัชญาเศรษกิจพอเพียงและตามหลักพุทธสันติวิธี
๓.๒.๓.๒ ทำให้ทราบสภาพปัญหาและเป็นมาชุมชนหมู่บ้านวิรากร เทศบาลตำบลบางใหญ่
อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
๓.๒.๓.๓ ทำให้ทราบสภาพปัญหาและเป็นมาชุมชนหมู่บ้านวิรากร เทศบาลตำบลบางใหญ่
อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
๔. สรุปผลการปฏิบัติการ วันที่ 19 ส.ค. 2560 มีการประชุมกลุ่มประกอบด้วยนายสามารถ อารยะรุ่งโรจน์ ประธานสภาเทศบาลตำบลบางใหญ่ นายธนากร มะโนรัตน์ สมาชิกสภาสภาเทศบาลตำบลบางใหญ่ นายวัฒนชัย เหล่าอารีย์ สมาชิกสภาสภาเทศบาลตำบลบางใหญ่ นางบุญมา บุตรสา ประธานหมู่บ้านวิรากร นางนฤมล ศิริประกอบ ประธานชุมชนหมู่บ้านวิรากร นางพรทิพย์ อุณพันธ์ กรรมการชุมชนทรัพย์บางใหญ่ นายสำราญ สมพงษ์ สมาชิกหมู่บ้านวิรากร และสมาชิกหมู่บ้านบางส่วน
ผลการประชุมประธานสภาเห็นด้วยกับการปฏิบัติการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสนอให้ทำโครงการสนับสนุนงบประมาณและเป็นวิทยากร เห็นด้วยในการเพาะเห็ดที่สำนักงานหมู่บ้านที่ว่างมานาน ผลผลิตสามารถจำหน่ายที่ร้านประชารัฐ เลี้ยงไส้เดือนดิน ทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง รณรงค์คัดแยกขยะ
พร้อมกันนี้ได้เผยแพร่การปฏิบัติการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัตการทางเฟซบุ๊ก ไลน์กลุ่มต่างๆเป็นระยะ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการรูปแบบฟาร์มสันติวิถีพอเพียงทางเว็บไซต์บ้านเมือง เว็บไซต์ส่วนตัว โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแก้ปัญหาขยะ กำจัดผักตบชวา ให้แนวคิดเกี่ยวกับการการปฏิบัติการรูปแบบฟาร์มสันติวิถีพอเพียงในการปรับภูมิทัศน์กองการนิสิต มจร
ผลการประชุมประธานสภาเห็นด้วยกับการปฏิบัติการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสนอให้ทำโครงการสนับสนุนงบประมาณและเป็นวิทยากร เห็นด้วยในการเพาะเห็ดที่สำนักงานหมู่บ้านที่ว่างมานาน ผลผลิตสามารถจำหน่ายที่ร้านประชารัฐ เลี้ยงไส้เดือนดิน ทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง รณรงค์คัดแยกขยะ
พร้อมกันนี้ได้เผยแพร่การปฏิบัติการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัตการทางเฟซบุ๊ก ไลน์กลุ่มต่างๆเป็นระยะ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการรูปแบบฟาร์มสันติวิถีพอเพียงทางเว็บไซต์บ้านเมือง เว็บไซต์ส่วนตัว โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแก้ปัญหาขยะ กำจัดผักตบชวา ให้แนวคิดเกี่ยวกับการการปฏิบัติการรูปแบบฟาร์มสันติวิถีพอเพียงในการปรับภูมิทัศน์กองการนิสิต มจร
บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๔๒. (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊ค
พับลิเคชั่น, ๒๖๔๖).
http://dictionary.sanook.com/search/กระบวนการ [๖มิถุนายน ๒๕๖๐].
https://www.im2market.com/2016/05/23/3267 [๖มิถุนายน ๒๕๖๐].
https://th.wikipedia.org/wiki/การปรองดอง [๖มิถุนายน ๒๕๖๐].
สำราญ
สมพงษ์.
“ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธ
สันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.
(บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙).
[6]รุ่งธรรม ศุจิธรรมรักษ์, สันติศึกษากับสันติภาพ,
(นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๓),
หน้า ๑๔, อ้างใน สำราญ สมพงษ์, “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี
: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙), หน้า ๒๓.
[8]นพ.ประเวศ วะสี, สันติวิธีกับสิทธิมนุษยชน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,
๒๕๔๕), คำนำ, อ้างใน สำราญ สมพงษ์, “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี
: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙), หน้า ๒๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น