วันที่ 13 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา มีการฝึกอบรมการโค้ชเชิงพุทธจิตวิทยา (Buddhist Psychology Coaching) โดยสถาบันโค้ชไทยร่วมกับศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำของพระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. เจ้าอาวาส และผู้อำนวยการวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ในการนี้พระสุธีรัตนบัณฑิต กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของเรียนรู้ในครั้งนี้ว่า การโค้ชทางโลกและโค้ชทางธรรม มุ่งเน้นปัญญาทางโลกและปัญญาทางธรรม ต้องการให้วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ให้คนในสังคมมาเรียนรู้ที่วัด กิจกรรมทางวัด เช่น ดูหนังหาแก่นธรรม โดยมีดารามาแบ่งปันเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ชีวิต ถือว่าเป็นโอกาสให้วัดมีการเปิดกว้างในการเรียนรู้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เป้าหมายสุดท้ายของจิตวิทยา คือ ค้นหาตัวตน ใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ ส่วนทางพระพุทธศาสนา เป้าหมายสุดท้าย คือ จัดการกับความทุกข์ของตัวเราเองและสงบเย็นเป็นประโยชน์ สถานที่วัดแห่งนี้ จึงเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทุกมิติทุกคนมาใช้งานได้เลย
จากนั้น ดร.ทายาท ศรีปลั่ง พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มจร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทเดอะไนล์ จำกัด กล่าวว่า ผมเริ่มจากการเรียนพุทธจิตวิทยา มหาจุฬาฯ เห็นมิติการเรียนรู้แบบธรรมะแต่ยังขาดการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ สมัยนี้ต้องมีการประยุกต์ในการเรียนรู้ ฝึกการตั้งคำถามเยอะๆ การโค้งเชิงพุทธจิตวิทยาจะทำให้เราเห็นมิติการเรียนรู้สมัยใหม่ จึงมีการจัดโครงการดีๆ แบบนี้
จุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ต้องเป็นบุคคลน้ำไม่เต็มแก้ว ซึ่งระหว่างทางโลกและทางธรรม พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญกับการค้นพบศักยภาพของตนเอง เหตุดีผลจึงดี จุดมุ่งหมายของชีวิตทางโลกคือ มีความสุข ประสบความสำเร็จ และทางธรรม คือ พ้นความทุกข์ แล้วมีความสุขความสำเร็จด้วยวิธีการอย่างไร ? สรุปมีสองคำ คือ " มีความสุข และความสำเร็จ " จึงตั้งคำถามว่า ความสุขเป็นที่มาของความสำเร็จ หรือ ความสำเร็จเป็นที่มาของความสุข หัวใจของโค้ช คือ ต้องทำความกระจ่าง มีความชัดเจน การโค้ชต้องฝึกจับประเด็น ๓ ข้อ คือ
1) ความสุข 2) ความสำเร็จ 3) พ้นทุกข์ สามคำนี้เกี่ยวข้องกับการโค้ชอย่างไร ? คำตอบ คือ การค้นพบตนเอง เราจะสามารถให้เขาไปสู่ความสุขหรือความสำเร็จได้อย่างไร ? โค้ชต้องเชื่อมโยงศักยภาพ สะท้อน กระตุ้นไปสู่ความสำเร็จ เป้าหมายชีวิตของตนเองคืออะไร พัฒนาจากเชิงลบสู่การพัฒนาที่เป็นบวก เป็นการตระหนักรู้สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
ถ้าเราจะโค้ชใครสักคน โดยบุคคลนั้นกำลังเผชิญความทุกข์ มี 2 วิธีคือ 1) Download คือ รับฟังปัญหา ถามให้เขาคิด สร้างให้แก้ปัญหาด้วยตนเอง คิด วิเคราะห์ หาเหตุปัจจัย ค้นพบศักยภาพ คนที่จะเป็นโค้ชจะต้องใช้กระบวนการ Download 2) Upload คือ การสอน บอกกล่าว ชี้แนวทาง เทศน์ แนะนำ ใส่ข้อมูลของเราให้คนอื่น การจะเป็นโค้ชจึงต้องหลีกเลี่ยงการ Upload
เราจะเรียน 3 ประเด็น คือ " รูปแบบการโค้ช ทักษะการโค้ช กระบวนการโค้ช " ทุกคนมีศักยภาพในตนเอง ให้เขาเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เพื่อค้นพบตัวเอง เหมือนแมวเห็นตนเองเป็นเสือ เป็นกระจกเงาเห็นพลังในตัวตน " โค้ชต้องเชื่อศักยภาพของคนอื่น " เราต้องไม่ชี้นำ ซึ่งบุคคลที่ชอบชี้นำ คือ ครู พระ หัวหน้า พ่อแม่ ผู้บริหาร การชี้นำมิใช่การโค้ช "โค้ชไม่ใช่มีหน้าที่แก้ปัญหาให้ใคร" แต่โค้ชต้องทำให้ทุกคนค้นพบศักยภาพของตนเอง โค้ชต้องไม่ตัดสินว่าผิดถูก แต่ให้เขาค้นพบตนเอง จงเชื่อในศักยภาพของตนเอง
การรับรู้ (Perception) เราเห็นภาพต่างกัน หรือ มองต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าเราใช้อะไรมอง เพราะเรามีมิติความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ประสบการณ์ที่ต่างกัน ความจริงขึ้นอยู่กับมุมมอง โค้ชไม่มีสิทธิ์เห็นต่าง แล้วแต่เขาจะมองว่าเป็นปัญหาหรือ ทุกข์ก็ตาม กรอบความคิดมีผลต่อพฤติกรรม โค้ชรุ่นพี่ ได้แบ่งปัน คือ การค้นพบศักยภาพตนเอง การค้นพบตนเอง ดึงศักยภาพคนอื่น เราต้องเป็นหุ้นส่วน คือ ความเป็นหนึ่งเดียว ค้นพบตนเองได้อย่างไร ? คำถามกระตุ้นความคิด ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เราจะไม่จมปลักกับอดีต แต่เราจะเปลี่ยนปัจจุบันและอนาคต มุ่งเน้นทางออกของปัญหาที่สร้างสรรค์ด้วยคำถาม การใช้วิธีชี้นำทำไมไม่ได้ผล เพราะอะไร? วิธีการตัวรอดของมนุษย์ 3 ประการมีวิวัฒนาการของสมอง 1) หลีกเลี่ยงจากอันตราย 2) การเข้าหาบางสิ่งบางอย่าง 3) อยากจะมีพวกพ้องเป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ทุกคนมีชุดความเชื่อของแต่ละคน เถรวาทมุ่งที่ตนเองก้าวข้ามความทุกข์ จึงมีการสาธิตการโค้ช ด้วยการตั้งคำถามว่า " อยากจะ............ แต่......= ปัญหา อยากจะ.......แต่.....=เป้าหมาย โค้ชต้องมุ่งหาทางออก โค้ชต้องชำนาญในการตั้งคำถาม คำถามต้องมีพลัง กระตุ้นให้เกิดความคิด
ช่วงบ่ายจึงต้องมีวิธีการการโค้ช โดยผู้โค้ช มีการตั้งคำถาม ถามความรู้สึก ให้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยการให้เกียรติ ค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผู้โค้ชต้องไม่ชี้ว่าผิดหรือถูก แต่ให้คิดด้วยตนเองใช้ทักษะหรือกระบวนการสะท้อนกลับ ทางออกที่เหมาะสมจากตัวท่านเอง ถามสิ่งท่านเชื่อถือ ต้องให้ผู้ถูกโค้ชหาคำตอบด้วยตัวเขาเอง คำว่า "การชี้นำ" จะออกมาจากผู้โค้ช เป็นประเด็นจากผู้โค้ช โค้ชทีมจะมีเป้าหมายเดียวกัน สรุปการโค้ช คือ " ชี้นำตนเอง ปลอดภัย มุ่งทางออก ข้อมูลป้อนกลับ ท้าทาย กระบวนการ "ทักษะการโค้ชมี 3 ประการ คือ " การฟัง การถาม การสะท้อนกลับ " เราจะเริ่มจากการถาม รูปแบบการถาม คือ
1)คำถามปลายปิด:Yes-No Question มุ่งใช้คำว่า " ใช่ ได้ ไม่ใช่ ไม่ได้ " 2)คำถามปลายเปิด : Open-Ended Question มุ่งใช้คำว่า " ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เท่าไหร่ " 3)คำถามเพื่อการสอบสวน : Investigation Question มุ่งใช้คำว่า ทำไม จึงมีการฝึกตั้งคำถาม เช่น อยากจะแต่งงาน (เป้าหมาย) แต่คุณแม่ยังไม่อนุญาต (ปัจจุบัน) เช่น ตั้งเป้าว่าอีกกี่ปีจะแต่งงาน ? ทำอย่างไรบ้างคุณแม่จะอนุญาต ? โค้ชจะต้องตั้งคำถามปลายเปิดให้มากถึง 95% การโค้ชต้องฟังให้มาก คำถามที่ไม่ควรถามคือ ใช้คำถามว่าทำไม คำถามอารมณ์ทางลบ คำถามเน้นไปยังปัญหา เราอย่าคิดทางออกแทนคนอื่น การโค้ชคือ การหาคำตอบด้วยตัวของเขาเอง มิใช่โค้ชหาคำตอบเอง ผู้โค้ชจึงต้องมีการโพกัส Focus คือ " วิสัยทัศน์ วางแผน รายละเอียด ปัญหา อารมณ์ " คำถามเพื่อการเรียนรู้ Learning Questions ต้องเป็นคำถามปลายเปิด ให้กำลังใจเพื่อผูกพัน จึงมีการฝึกตั้งคำถาม โค้ชอย่าคิดแทน อย่าสรุปแทน การโค้ช "เป้าหมายต้อง "ชัด นิ่ง มีพลัง "
โค้ชต้องชัดว่า เป้าหมายสุดท้ายคืออะไร เป้าหมายในการโค้ชครั้งนี้ เป้าหมายแฝง หรือ วาระซ่อนเร้น การโค้ชจึงต้องเน้นปัจจุบันและอนาคต โค้ชต้องไม่นำพาไปสู่อดีต เรื่องราวที่เจ็บปวด ถามให้เห็นปัญหาแต่อย่างไปเจาะรากลึกของปัญหา ทักษะการโค้ชมี 3 ประการ คือ " การฟัง การถาม การสะท้อนกลับ " ทักษะการฟังเป็นปัจจัยสำคัญ การฟังที่ดีมาจากอะไร ? พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา ความเชื่อมี 2 ประการ คือ " ความเชื่อเสริมพลัง คือ เชื่อว่าเราทำได้ และความเชื่อขัดขวางกั้นให้เราเจริญ คือ เชื่อว่าเราทำไม่ได้ "การโค้ชจึงต้องฝึกทักษะการฟัง เราจะทราบคำสำคัญ เพื่อการตั้งคำถามในการโค้ช การฝึกสติจึงมีความสำคัญในการเป็นโค้ช ในฐานะโค้ชเราใช้คำว่า " การฟังเชิงรุก " เป็นการฟังด้วยการมีสติ การฟังจึงแบ่งออก 6 ประการ คือ
1)การฟังเพื่อประเมิน 2)การฟังเพื่อตีความ 3)การฟังเพื่อแนะนำ 4)การฟังเพื่อจดจ่อที่เขาพูด สรุปความ5)การฟังเพื่อเข้าใจความรู้สึกใต้คำพูด 6)การฟังเพื่อหาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ เขามีเมล็ดพันธุ์บางอย่าง การฟังแบบโค้ชต้องไม่มีอัตตา ต้องไม่มีเสียงตัดสินทั้งหมด เข้าใจแต่ไม่เห็นด้วย สรุปการฟังต้อง "ฟังด้วยหู ฟังด้วยตา ฟังด้วยใจ" โดยมีโจทย์ว่า " ให้เราเล่าเรื่องที่เสียใจที่สุดในชีวิต " โดยโค้ชตั้งใจฟังอย่างแบบเชิงรุก โดยใช้สติและสมาธิ
สรุปการโค้ชคือกระบวนการกระตุ้นความคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อดึงศักยภาพออกมา โดยเป็นก้าวข้ามจากจุด A ไปจุด B เป็นการนำตนเองมิใช่ให้ใครมาชี้นำ โค้ชใช้ทักษะการถาม ถามแบบโค้ช ถามเพื่อหาทางออกในอนาคต จะไม่ถามไปสู่อดีต เพราะปกติเมื่อมีสิ่งเร้าเรามีการตอบโต้แบบอัตโนมัติ ทำอย่างไรเราจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่ช้าลง หรือไม่มีการโต้ตอบ ช้าลงจึงต้องมีสติกำกับควบคุม ด้วยการใช้ชีวิตช้าๆ ส่วนTell เป็นการสอนสั่ง คำแนะนำ แต่การ ASK เป็นการถามเชิงสร้างสรรค์ อย่าถามลองภูมิไม่เกิดประโยชน์ในการโค้ช การโค้ชทำให้เห็นมิติของโลกภายใน คือ EQ ส่วนโลกภายนอก คือ IQ สิ่งสำคัญคือ เราจะใช้โยนิโสมนสิการ และกาลามสูตร มาประยุกต์ในการถามอย่างไร ? ให้เราลองไป Coaching ในวิถีชีวิตของเรา ฝึกการถามมากขึ้น ฝึกการฟังมากขึ้น เรื่องราวต่างๆ เราต้องสัมผัสร่วมความรู้สึก แต่ต้องดึงตนเองกลับมาให้ได้ การฟังเราสามารถ in ได้แต่ต้อง out ออกมาให้ได้ การฟังเป็นทักษะที่ยากที่สุด ต้องไปศึกษาหลักกาลามสูตรที่สอดรับกับการฟัง เป็นกระบวนการสื่อสารในการโค้ช
ดังนั้น การโค้ชเป็นวิธีการเทคนิคกระบวนการในการเผยแผ่ธรรมะสมัยใหม่ กระบวนการโค้ชเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนไปสู่เป้าหมาย ด้วยตัวของเขาเองค้นพบศักยภาพตนเอง จึงฝากคำพูดไว้ว่า " ถ้าเรารู้จักตนเอง เราจะรู้จักคนทั้งโลก "
.........................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร วิทยากรธรรมะโอดี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น