วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561
นิสิตป.เอกสันติศึกษา "มจร" ชี้ปมกม."จรูญ-ปรีชา"เจ้าของหวย30ล้าน
วันที่ 1 มี.ค.2561 ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวแสดงทัศนะเกี่ยวกับข้อพิพาทหวย 30 ล้านบาทระหว่างนายปรีชา ใคร่ครวญ อายุ 50 ปี ครูชำนาญการพิเศษในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่อ้างสิทธิลอตเตอรี่ที่หายไป กับ ร.ต.ท.จรูญ วิมล อายุ 62 ปี อดีตข้าราชการตำรวจ ที่เป็นผู้ครอบครองสลาก ว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ทั้งสื่อหลักสื่อโซเชียล อาจทำให้สังคมมีความเห็นไปทางใดทางหนึ่งได้ มีหลายคดีที่ข้อเท็จจริงตามสื่อ แตกต่างกับข้อเท็จจริงในสำนวนศาลก็ได้
"ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ปรากฏและยุติในสำนวนคดีในการสืบพยานในชั้นศาลเป็นข้อเท็จจริงที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ กฎหมายจึงให้ถือข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติในชั้นสืบพยานในศาล เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิพากษาคดีเท่านั้น"ว่าที่ พ.ต.สมบัติ ระบุ
เมื่อถามว่ามีหลักกฎหมาย หรือหลักจารีตประเพณีใดกรณีไม่มีกฎหมายหรือไม่ ที่จะให้ชัดเจนว่าหวยเป็นของใคร และใครสุจริต หรือไม่ โฆษกสภาทนายความฯ กล่าวว่าเบื้องต้นต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1369 คือ "บุคคลใดยึดถือทรัพย์สิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ายึดถือเพื่อตน" และมาตรา 1370 คือ "ผู้ครอบครองนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าครอบครองโดยสุจริต โดยสงบและเปิดเผย" ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลของสำนักงานสลากกินแบ่งฯ ที่จะจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับเท่านั้น
อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว หากมีพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสลากกินแบ่งฉบับดังกล่าวมีเจ้าของที่แท้จริงเป็นใคร เจ้าของที่แท้จริงก็เป็นผู้ที่มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่น สามารถติดตามเอาคืนจากผู้ที่ครอบครองโดยไม่มีสิทธิหรือครอบครองโดยไม่ชอบได้ ตาม ป.พ.พ. ม.1336 โดยข้อสิษนิษฐานจะเป็นประโยชน์กับผู้ครองครองจนกว่าจะถูกพิสูจน์หักล้างได้ ดังนั้น เมื่อคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ จึงต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ในชั้นศาลต่อไป
ส่วนคดีอาญา หากมีกรณีให้การเท็จ ก็ต้องถูกดำเนินคดีทั้งตัวการ , ตัวการร่วม และผู้สนับสนุน ที่มีส่วนในการกระทำความผิดต่อไป การกลับพูดความจริงให้พนักงานสอบสวนหรือในการสืบพยานในชั้นศาล ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ และพนักงานสอบสวนอาจกันไว้เป็นพยานโดยไม่ถูกดำเนินคดีได้.
........
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaipost.net/main/detail/4110)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น