วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561
อัฏฐมีบูชารำลึกพุทธสันติวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง
พระสงฆ์นานาชาติเมืองกุสินาราสวดมนต์พุทธมนต์เวียนเทียนวันอัฏฐมีบูชารำลึกพุทธสันติวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๑ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สถานที่ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในความดูแลของพระเดชพระคุณ พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล มอบหมายให้พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ จัดกิจกรรมในวันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยเวลา ๑๗.๐๐ น. ที่มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธารีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) พร้อมด้วยคณะสงฆ์นานาชาติ เมืองกุสินารา ไทย อินเดีย เนปาล พม่า ศรีลังกา เวียดนาม ภูฏาน ธิเบต สวดพุทธมนต์ นั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เวียนเทียน ในวันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ หรือ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ในปีอธิกมาส วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (เผาศพพระพุทธเจ้า) วันนี้ จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา” ซึ่งประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา คือ เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในพรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ” (ทีฆนิกาย มหาวรรค. ๑๐/๑๐๐/๑๐๘)
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๗ วัน มัลลกษัตริย์ แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ และภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว กษัตริย์และผู้ครองแคว้นต่าง ๆ รวม ๗ แคว้น ได้แก่
๑. พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองมคธ
๒. กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี
๓. กษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์
๔. กษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ
๕. กษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม
๖. มหาพราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปกะ และ
๗. กษัตริย์มัลละ เมืองปาวา
ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ตอนแรกพวกเจ้ามัลละ แห่งนครกุสินารา ไม่ยอมแบ่งให้จนเกือบจะเป็นชนวนให้เกิดสงครามระหว่างพวกเจ้ามัลละกับกษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง ๗ แคว้นที่มาขอส่วนแบ่ง
แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งก็ระงับลงได้โดยมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ “โทณะ” เข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างกษัตริย์และพราหมณ์เหล่านั้น ความว่า “ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคำอันเอกของข้าพเจ้าพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การจะสับประหารกันเพราะส่วนพระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ไม่ดีเลย ขอเราทั้งหลายทั้งปวง จงยินยอมพร้อมใจยินดีแบ่งพระสรีระออกเป็นแปดส่วนเถิด ขอพระสถูปจงแพร่หลายไปในทิศทั้งหลาย ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุุมีอยู่มาก ฯ” (ทีฆนิกาย มหาวรรค. ๑๐/๑๕๘/๑๓๒)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น